Please wait...

<< Back

มหาวิทยาลัยปักกิ่ง

จากหนังสือ

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 48

(น.48) รูป 39 ชื่อรูป สถานทูต
(น.48) ตู่ให้หนังสือบุคคลสำคัญ (โบราณ) ของจีน มีภาพเขียนประกอบ (Celebrated Chinese Historical Figures) ครูกู้ให้หนังสือที่ครูกู้แปล รับประทานอาหารกลางวัน แล้วให้ของที่ระลึกแก่เจ้าหน้าที่สถานทูต ถ่ายรูปร่วมกัน พี่หวานแยกไปมหา- วิทยาลัยปักกิ่งกับอาจารย์เอกสัณห์ ข้าพเจ้าไปอุทยานโลกแห่งปักกิ่ง (Beijing World

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 114

ท่อนนี้ ดูเหมือนท่านพูดเรื่องส่่วนประกอบที่มาใช้ปรุุงอาหาร ขณะกำลังเสวยกับคณะ
(น.114)ทางไปถึง 400-500 คน การตรวจของศุลกากร 790,000 ครั้งต่อปี สินค้า 5 แสนตัน ช่วงนี้เป็นฤดูหนาวมีคนไปมาน้อย ถามท่านนายกเทศมนตรีว่าเป็นคนที่นี่หรือเปล่า เขาบอกว่าไม่ใช่ เป็นคนชานตุง ไปเรียนจบวิชาปรัชญาจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง คุยกันเรื่องผ้าป่านหย่าหมา ผู้ช่วยทูตทหารบกบอกว่า ซื้อมาแล้วเป็นผ้าลินิน โรงแรมใช้ทำเป็นผ้าบุผนัง กล่าวกันว่ามีคุณสมบัติปรับความชื้นในห้องได้ ดูดกลิ่นได้ ฆ่าเชื้อโรคบางชนิดได้ ในด้านอาหารที่รับประทานในงานเลี้ยงก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น เม็ดสนที่นกเฟยหลงชอบ โสมคนฮกลกซิ่ว ปลาเต่าซือหรือไป๋หยู เอ็นวัว เขาว่าเป็นยาบำรุงผิว โหวโถวหรือเห็ดหัวลิง ได้ความรู้ใหม่ว่าเห็ดชนิดนี้ขึ้นเป็นคู่ๆ บนต้นจั้ว มีตัวผู้ตัวเมีย ขนาดไม่เท่ากัน ถั่วแดงห่อไข่ขาว หม้อไฟผักกาดเปรี้ยวกับวุ้นเส้น เกี๊ยวเสฉวน มีแผ่นเต้าหู้ห่อต้นหอมอย่างที่รับประทานเมื่อวาน รู้สึกว่าคุณก่วนจะรับประทานได้มากที่สุดอย่างเอร็ดอร่อยเพราะเป็นของทางอีสานโดยเฉพาะ ที่อื่นหารับประทานแบบนี้ยาก ข้าพเจ้าก็ชอบ รับประทานเสร็จ ทางจีนมีเต้นดิสโก้ ข้าพเจ้าไม่ได้ไปแต่พวกเราก็ไปกันหลายคน

แกะรอยโสม
แกะรอยโสม หน้า 143,145,147,151,152

(น.143) วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2534 วันนี้ไปวิ่งเหมือนเมื่อวานนี้ ยังปวดหูอยู่บ้าง รับประทานข้าวเช้าแล้วกำลังเตรียมจะไป เปียนเหมยเข้ามาในห้อง เขาบอกว่าวันนี้เขาจะตามไปด้วย เขาเอาของมาฝากและฝากให้อารยาและกิ่งด้วย มีจดหมายมาให้ฉบับหนึ่งเผื่อจะไม่มีเวลาคุยกันนานพอ เล่าเรื่องกิ่งโชคไม่ดีขาหัก เขาบอกว่าเขาก็โชคไม่ดี เที่ยวนี้มาตามข้าพเจ้าไม่ได้ เพราะตอนนี้ย้ายงานไปแล้ว ตกลงทั้งเปียนเหมยกับพี่อู๋ก็ขึ้นมานั่งรถด้วย คุยกันหัวเราะก้ากๆ เรื่องสนทนาที่ไม่รู้จักเบื่อคือเรื่องเมื่อปีที่แล้ว เรื่องข่าวคราวของคนที่ไม่ได้มาคราวนี้ คือ ครูกู้ ป้าจัน ซุบ อาจารย์สารสิน อารยา กิ่ง รวมทั้งพี่ติ๋ม และท่านทูตเตชด้วย ข้าพเจ้าเล่าเรื่องเหตุการณ์กิ่งขาหัก (ทั้งๆ ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์) เรื่องไปอยู่กับท่านทูตเตชและคุณติ๋มที่เจนีวาเมื่อต้นปีนี้ เหมยเขาบอกว่าเขาเคยเห็นข้าพเจ้าใน “World News” ในโทรทัศน์จีนนี้ด้วย แต่ไม่ทราบว่าทำอะไร ไปถึงมหาวิทยาลัยปักกิ่ง พี่อู๋ชี้ให้ดูตึกภาษาตะวันออกที่เขาเคยเรียน แต่คราวนี้เราไม่ได้ไปที่นั่น ให้ไปที่ห้องรับรอง มีรองนายกสภามหาวิทยาลัยมารับ ท่านรองนายกสภามหาวิทยาลัยกล่าวต้อนรับ ขออภัยที่อธิการบดี คือศาสตราจารย์อู๋ชูเชิงไปราชการต่างประเทศ ไม่สามารถมาต้อนรับได้ อย่างไรก็ตามก็มีผู้ที่มาต้อนรับหลายท่าน ในที่นี้ส่วนมากจะเคยไปเมืองไทย ได้แก่อาจารย์สิทธิชัย และอาจารย์ลำเจียกภรรยา
(น.145) รูป 141 รองนายกสภามหาวิทยาลัยต้อนรับ (น.145) อาจารย์สิทธิชัยสอนภาษาไทยอยู่ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งนี้ร่วมสี่สิบปีแล้วกระมัง ใครๆ ที่รู้ภาษาไทยที่ข้าพเจ้าได้พบมาล้วนเป็นลูกศิษย์อาจารย์ อาจารย์จางเยี่ยนชิว ขณะนี้เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ (ครูจางที่สอนภาษาจีน) ศาสตราจารย์หลินเตา ผู้อำนวยการศูนย์ภาษาจีน ศาสตราจารย์พันเจ้าหมิ่ง รองผู้อำนวยการ ศาสตราจารย์หัวหลีเจีย คณบดีคณะภาษาจีน ศาสตราจารย์เฉินเจียโห้ คณบดีภาษาตะวันออก ศาสตราจารย์โจวหนานจี ศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้นก็เป็นอาจารย์ภาษาไทยอื่นๆ อาจารย์มหาวิทยาลัยปักกิ่งหลายท่านในที่นี้เคยไปเมืองไทย เรียนภาษาไทย และประทับใจเมืองไทย การพัฒนาความสัมพันธ์ไทยจีนทำให้มีผู้รู้จักภาษาไทยมากขึ้น
(น.147) เรายังไม่ได้สนทนาอะไรมากนัก ท่านรองนายกสภาฯ ให้เอกสารแนะนำมหาวิทยาลัยปักกิ่ง แล้วพานั่งรถไปชมการสอนภาษาไทยพลางชมธรรมชาติ นำเที่ยวไปพลาง รถผ่านหอสมุดกลาง อาคารเรียน สระน้ำชื่ออู๋หมิง หมายความว่าไม่มีชื่อ สระนี้เขาว่าพยายามทำทิวทัศน์ให้เหมือนอีเหอหยวน พระราชวังฤดูร้อน เวลาหน้าหนาวน้ำในสระจะเป็นน้ำแข็งจนกระทั่งเล่นสเก็ตได้ ศาสตราจารย์ฮ่าวปิน รองนายกสภามหาวิทยาลัยท่านนี้เป็นอาจารย์ทางประวัติศาสตร์จีน เชี่ยวชาญในยุคสมัยใหม่ หมายถึงช่วง ค.ศ. 1840 คือตอนปลายราชวงศ์ชิง ตอนเกิดสงครามฝิ่น จนถึง ค.ศ. 1949 คือตอนปลดแอก และยังมีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเอเชียแปซิฟิก ส่วนผู้ที่เป็นล่ามคืออาจารย์ฟู่เจิงโหย่ว หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย คณะภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยปักกิ่งและยังเป็นเลขา-
(น.151) รูป 148 ถ่ายรูปร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยปักกิ่ง ทั้งที่เป็นนักศึกษาไทย และนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทย
(น.151) อ่านสำเนียงภาษาไทยชัดเจน พอมีคนหนึ่งแปล อาจารย์ก็ถามว่าคนอื่นๆ เห็นด้วยกับคำแปลของเพื่อนหรือไม่ เขาจะลุกขึ้นแสดงความคิดเห็นว่าคำแปลที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร สุดท้ายอาจารย์จะอธิบาย หลังจากนั้นพบกับนักศึกษาไทยที่เรียนที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งและสถาบันสอนภาษาจีน ทั้งหมดดูมีจำนวนหลายสิบ จะเท่าไรก็ไม่ทราบไม่ได้นับ ส่วนมากเรียนภาษาจีน ที่มาเรียนวิชาอื่นมีน้อยมากเนื่องจากมีอุปสรรคทางด้านภาษา ปีนี้ตู่ได้เรียนปริญญาโทภาษาจีน โดยทางรัฐบาลจีนให้ทุนต่อ เมื่อปีที่แล้วเป็นทุนเรียนเพียงปีเดียว การเรียนปริญญาโทมีกำหนด 3 ปี จึงจะดูว่าสมควรต่อปริญญาเอกหรือไม่ ปริญญาเอกเข้าใจว่ายากมาก ข้าพเจ้าได้สนทนากับนักศึกษาเหล่านี้นานพอสมควร ยังไม่ทันจบดีก็ไอใหญ่ จึงคิดว่าถ่ายรูปกันดีกว่า ได้ถ่ายรูปหมู่ทั้งอาจารย์นักศึกษาฝ่าย
(น.152) ไทยและจีน เห็นนักศึกษาจีนติดเข็มนักกีฬาไทย ถามเขาว่าเขาเป็นนักกีฬาหรือ เขาบอกว่าในช่วงกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ได้ไปช่วยเป็นล่ามให้นักกีฬาของไทย ข้าพเจ้าอยากดูมหาวิทยาลัยปักกิ่งและสนทนากับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยให้มากกว่านี้ แต่มีเวลาจำกัดจึงต้องลาเดินทางต่อไปที่ถนนซูโจว แต่แรกข้าพเจ้าก็ไม่เข้าใจว่าคืออะไร ทั้งพี่อู๋และหลี่ก็ไม่เคยไปและไม่รู้จักทั้งคู่ ไปถึงมีคนแต่งตัวแบบจีนโบราณมาอธิบายว่าเป็นถนนเข้าพระราชวังฤดูร้อนคือวังอีเหอหยวน สมัยพระเจ้าเฉียน หลงบริเวณนี้ยังเป็นศูนย์การค้าใหญ่ ในสมัยนั้นมีร้านค้ามากมาย หกสิบกว่าร้าน มีแม้แต่ธนาคาร เขาพาเราไปเที่ยวตามร้านต่างๆ มีร้านเครื่องถ้วยจิงเต้อเจิ้นอันลือชื่อ เครื่องกังไสสมัยราชวงศ์ชิง แต่เป็นของที่ทำขึ้นใหม่ ขายได้ดีเหมือนกัน ที่สำหรับไหว้เทวดา แผงลอยขายของกระจุกระจิกในตลาด ร้านทอผ้าแบบโบราณ เขาเอากี่โบราณมาจากซูโจวจริงๆ เมืองซูโจวนี้มีชื่อเสียงในเรื่องแพรไหม ร้านขายดอกไม้ (ที่โชว์ไว้เป็นดอกไม้พลาสติกทั้งนั้น) เครื่องแบบข้าราชการ ธนาคาร เขาเล่าว่าสมัยก่อนเขาไม่ได้เรียกธนาคารว่า “อิงหาง” อย่างในปัจจุบันแต่เรียกว่า “เฉียนจ้วง” สำหรับที่นี่เขาบอกว่าใครอยากจะซื้ออะไรก็ต้องเอาเงินปัจจุบันมาแลกเงินโบราณแบบมีรูที่นี่ จึงจะเอาไปซื้อของตามร้านได้ ดูถึงตรงนี้หันไปดูทิวทัศน์สวยงาม ได้บรรยากาศโบราณดี ข้าพเจ้าเลยถามว่ามีคนมาถ่ายหนังบ้างหรือเปล่า เขาบอกว่ามีเหมือนกัน เช่นเรื่องจักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จเจียงหนาน จักรพรรดิเฉียนหลงนั้น ตามประวัติศาสตร์ว่าโปรดเจียงหนานจริงๆ

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงามหน้า116

(น. 54) ตอนกลางวันเลี้ยงอาหารอาจารย์ที่เคยสอนภาษาจีน อาจารย์มาได้ 3 ท่าน รวมทั้งอาจารย์ที่สอนอยู่ในปัจจุบันรวมเป็น 4 ท่าน คือ อาจารย์จังเยี่ยนชิว เคยเป็นหัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เป็นอาจารย์คนแรกที่สอนภาษาจีนให้แก่ข้าพเจ้า หลักการสอนของอาจารย์จังก็คือให้ออกเสียงต่างๆ ให้ถูกต้องเสียก่อน โดยฝึกพูดดังๆ ทีละตัว แล้วค่อยให้เรียนตัวหนังสือ ต่อมาอาจารย์ไม่ค่อยสบายเดินทางกลับปักกิ่งไปในระหว่างที่ข้าพเจ้ายังเดินทางย่ำแดนมังกรอยู่ใน พ.ศ. 2524 อาจารย์ได้ช่วยคุณกัวเซวียนอิ่ง แปล แก้วจอมแก่น เป็นภาษาจีน โดยดูจากภาษาอังกฤษที่คุณหญิงจำนงศรีแปลไว้ เพื่อสอบเทียบส่วนที่คุณกัวแปลจากภาษาไทย ปัจจุบันอาจารย์เกษียณอายุแล้ว แต่ยังทำงานอยู่ที่สถาบันภาษาอังกฤษ ได้ทำข้อสอบมาตรฐานสำหรับสอบภาษาอังกฤษ (น. 54) รูป 40 คณะครูจีนที่มารับประทานอาหารกลางวัน จากซ้ายไปขวา อาจารย์จังเยี่ยนชิว อาจารย์ฟู่อู่อี้ ข้าพเจ้า อาจารย์หวังเยี่ย อาจารย์ฟั่นชุนหมิง

เจียงหนานแสนงามหน้า68,69,70

(น. 68) วันจันทร์ที่ 5 เมษายน 2542 เช้าวันนี้ (08.30 น.) ไปมหาวิทยาลัยปักกิ่ง อธิการบดี (ศาสตราจารย์เฉิน) กล่าวต้อนรับว่า ข้าพเจ้าได้มาที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้ว เป็นมิตรเก่าที่คนจีนคุ้นเคย และแนะนำบุคคลต่างๆ ที่มาร่วมรับรอง มีรองอธิการบดีซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศ ศาสตราจารย์จังเยี่ยนชิว ที่เคยสอนภาษาจีนข้าพเจ้า เป็นศาสตราจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นมีคณบดีการศึกษาโพ้นทะเล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา รวมทั้งหัวหน้าแผนกเอเชียและแอฟริกาของกองวิเทศสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย ท่านอธิการบดีเองเป็นนักฟิสิกส์ทางด้านปรมาณู (particle acceleration) ท่านว่าเครื่องมือที่มหาวิทยาลัยนั้นมีแต่ขนาดเล็ก ข้าพเจ้าถามถึงการฉลองมหาวิทยาลัยปักกิ่งครบรอบร้อยปี อธิการบดีบอกว่า งานนี้ประสบความสำเร็จดี ประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมินเอาใจใส่เป็นพิเศษมาร่วมงามด้วย จัดงานฉลองที่มหาศาลาประชาชน มีศิษย์เก่ามากันประมาณเจ็ดแปดหมื่นคน สิ่งที่สำคัญคือการจัดสัมมนาทางวิชาการหลายครั้ง ได้เชิญอธิการบดีจากมหาวิทยาลัยมีชื่อในโลก 90 กว่าคน และอธิการบดีมหาวิทยาลัยในประเทศประมาณร้อยกว่าคน หัวข้อสัมมนาคือ การพัฒนาการอุดมศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21 และยังได้จัดให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจีน
(น. 69) รูป 49 อธิการบดีมอบหนังสือ
(น. 69)ศึกษาจากหลายประเทศมาประชุมกันด้วย เรื่องวิวัฒนาการและการพัฒนาจัดการวัฒนธรรมจีนสู่ศตวรรษที่ 21 การที่จัดพิธีฉลองได้ใหญ่โตเพราะเหตุผล 2 ประการ 1. รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีจูหรงจีจะสร้างสรรค์ประเทศให้ก้าวหน้าด้วยการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอุดมศึกษา เพื่อให้เป็นแกนนำในการสร้างองค์ความรู้พัฒนาประเทศชาติ 2. ตลอดร้อยปีที่ผ่านมามหาวิทยาลัยปักกิ่งมีความผูกพันใกล้ชิดกับประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อเอกราชของประชาชาติจีน
(น. 70) ส่วนสำคัญของการฉลองคือสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน ที่ว่า จีนจะต้องเน้นการพัฒนาอุดมศึกษามหาวิทยาลัยต้องเป็นพลังสำคัญในการสร้างสรรค์ประเทศ จีนพยายามสร้างมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศให้ได้มาตรฐานเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก ความหวังเช่นนี้ยังห่างไกลจากความเป็นจริง ทุกคนพยายามทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่ประธานาธิบดีตั้งไว้ มหาวิทยาลัยต้องปฏิบัติหน้าที่เสมือนสะพานที่เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนวิชาการระหว่างประเทศ ข้าพเจ้าถามถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยปักกิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อจะพัฒนาประเทศสู่ศตวรรษใหม่ อธิการบดีตอบว่าในด้านเศรษฐกิจมีส่วนร่วมคิดเรื่องการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่และขนาดกลาง การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ได้ศึกษาปัญหาวิกฤติการณ์ทางด้านการเงินของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเป็นบทเรียนในการปฏิรูปเศรษฐกิจของจีน ถามถึงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ อธิการบดีตอบว่าได้ติดต่อกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศถึง 150 แห่ง มีนักศึกษาต่างประเทศมาเรียนทั้งในระยะยาวและระยะสั้นรวมแล้ว 2,000 กว่าคน มีนักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาเรียนระยะสั้น มีการศึกษาวิชาเกี่ยวกับประเทศต่างๆ เช่น ไทยคดีศึกษา การศึกษาปัญหาเกี่ยวกับอเมริกาและญี่ปุ่น มีการแลกเปลี่ยนอาจารย์และจัดหลักสูตรระดับปริญญาตรี ถึง

ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า 4

(น.4) รูป 3 พบเปียนเหมย (น.4) คุนหมิง ศาสตราจารย์หวงฮุ่ยคุน รองอธิการบดีสถาบันชนชาติมณฑลยูนนาน (น.4) ฝ่ายไทยมีคณะสถานทูต สถานกงสุล และเจ้าหน้าที่การบินไทย ครั้งนี้เปลี่ยนล่ามใหม่ชื่อ คุณหลิวหลานเจิน เป็นเพื่อนเรียนหนังสือชั้นเดียวกับพี่อู๋หุ้ยชิง และทำงานอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศเหมือนกัน ส่วนตำรวจประจำตัวคราวนี้เป็นคนใหม่ชื่อคุณหลี่หงเยี่ยน (พูดภาษาอังกฤษเก่ง) คุณหลี่เจียถิง รองผู้ว่ามณฑลนั่งรถจากสนามบินไปโรงแรมจินหลง (มังกรทอง) ด้วยกัน ท่านรองฯ บอกว่าเพิ่งกลับมาจากการประชุมที่ BOI จัดที่แหลมฉบัง ถนนเข้านครคุนหมิงมีรถหลายชนิด รถยนต์ รถจักรยาน รถเทียมม้า และรถอีแต๋น เป็นต้น ท่านรองฯ หลี่ชี้ให้ดูศูนย์การค้ายูนนานที่ใหญ่ที่สุด สร้าง 10 เดือน ใช้เงิน 400 ล้านหยวน ท่านเล่าว่าท่านเป็นคนมณฑลยูนนาน ไปเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และออกไปทำงานอยู่ต่างจังหวัดหลายปีอยู่ฮาร์บิน 30 กว่าปี จึงกลับมณฑลยูนนานเมื่อ 10 กว่าปีมานี้เอง ไปถึงโรงแรมที่แปลกใจที่สุดคือเจอเปียนเหมย เขารู้ข่าวว่าข้าพเจ้ามาเมืองจีน แต่ไม่ได้เข้าปักกิ่ง จึงตัดสินใจนั่งเครื่องบินมาหาที่นี้ ตอนนี้ยังไม่มีเวลาคุยกันมาก คืนนี้หลังอาหารให้ข้าพเจ้าโทรฯ บอก เขาจะได้ขึ้นมาคุยด้วย เจอเพื่อนเก่าอีกคนคือคุณเจียง เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอกหน้า3,4

(น.(3) ข้าพเจ้าเรียนภาษาจีนมา 20 ปีแล้ว แต่ความรู้ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ทั้งๆที่สถานทูตจีนจัดครูมาสอนเป็นประจำ จึงเกิดความคิดว่า ถ้าข้าพเจ้าได้มาอยู่ในแวดวงคนจีน เรียนภาษาจีนอย่างเดียวไม่ต้องทำงานอื่นสักพักหนึ่งน่าจะดีขึ้น ปัญหาอยู่ที่ว่าระยะหลังๆ นี้การงานที่เมืองไทยค่อนข้างมาก จะปลีกตัวมาได้นานสักเท่าไหร่ เมื่อ 3 ปีก่อนเคยไปสหรัฐอเมริกาเดือนหนึ่ง จึงคิดว่าน่าจะอยู่จีนได้เหมือนกัน ได้ไปลองปรึกษากับใครๆ ที่เมืองจีน ทั้งทางมหาวิทยาลัยและคนอื่น ทุกคนต่างเห็นดีด้วย ลองไปสืบราคาที่อยู่และค่าเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง รู้สึกว่าค่อนข้างแพง แต่ก็น่าจะสู้ราคาได้ ภายหลังท่านทูตฟู่เสวียจัง ทูตจีนประจำประเทศไทยในขณะนั้นบอกว่ากระทรวงศึกษาธิการจีนจะรับภาระค่าใช้จ่ายทุกๆ ด้าน ทั้งด้านที่พักในมหาวิทยาลัย การเล่าเรียน และอาหารการกิน มหาวิทยาลัยปักกิ่งจัดตารางสอนมาให้ ครั้งแรกหนักด้านเนื้อหามากเกินไป ข้าพเจ้าจึงแจ้งเขาว่าด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีนนั้น ข้าพเจ้าเรียนไปมากแล้วจากหนังสือภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ข้าพเจ้ายังอ่อนในด้านภาษาจีน ทั้งการพูด การฟัง และการเขียน เขาจึงจัดตารางเรียนให้ใหม่ มีครู 2 คน ครูจังอิง สอนภาษาจีน-ไวยากรณ์ การอ่าน ส่วนครูหวังรั่วเจียง สอนภาษาพูด นอกจากนั้นยังให้เรียนการรำมวยจีนไทเก๊ก เขียนภาพจีน เขียนตัวหนังสือ และสีซอเอ้อร์หูด้วย
(น.(4)) เขาจัดที่พักที่สบายให้ในมหาวิทยาลัย มีพร้อมทุกอย่าง (เป็นหอพักที่จัดสำหรับศาสตราจารย์ทรงคุณวุฒิ ชาวต่างประเทศ ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งเชิญมาสอนหรือมาร่วมค้นคว้าวิจัย) ข้าพเจ้าขอให้จี้ (จินตนา) และครูฟั่น (ครูภาษาจีนที่สอนอยู่ประจำ) ให้ไปด้วย อาจารย์นิออนบอกว่าอยากเห็นหิมะ จึงไปด้วยอีกคน จี้และอาจารย์นิออนพักที่ทำเนียบทูต ส่วนครูฟั่นพักที่บ้านของตนเอง

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอกหน้า2,4

(น.2) วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2544 ข้าพเจ้าและคณะเดินทางถึงสนามบินปักกิ่ง ราว 16:00 น. เวลาท้องถิ่น มาดามเฉียนเจิ้งอิง รองประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองไปรับที่สนามบิน มาดามเฉียนเพิ่งไปเป็นแขกของสมเด็จแม่เมื่อต้นเดือน ข้าพเจ้ามีส่วนรับรองมาดามด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คณะอาจารย์มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ท่านทูตจีนประจำประเทศไทยคนใหม่ (เยี่ยนถิงไอ้) และคณะสถานทูตไทย มาต้อนรับ นั่งรถไปมหาวิทยาลัยปักกิ่ง กับมาดามเฉียน อาจารย์พาไปที่หอพัก จัดข้าวของ
(น.4) ตอนค่ำมีงานเลี้ยงอาหารที่ห้องอาหารของมหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์สูจื่อหง อธิการบดีเป็นเจ้าภาพ ท่านเป็นวิศวกรชีวภาพ และยังเป็นรองประธานสภาวิทยาศาสตร์จีนด้วย (Chinese Academy of Sciences) เคยไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ไม่เคยมาเมืองไทย แต่รู้จักนักวิชาการไทยหลายคนในการประชุมต่างๆ ก่อนรับประทานอาหาร ท่านอธิการบดีกล่าวปราศรัยและเชิญท่านทูตปราศรัย มีศาสตราจารย์เผย์เสี่ยวรุ่ย เป็นผู้แปล เมื่อรับประทานจวนเสร็จ คณะชมรมนาฏศิลป์และดนตรีจีนของมหาวิทยาลัยปักกิ่งจัดการแสดง ผู้แสดงเป็นนักศึกษาคณะต่างๆ ไม่ใช่มีแต่เฉพาะพวกที่เรียนดนตรีหรือเรียนดนตรีนอกเวลาเรียน เหมือนกับชมรมดนตรีไทยตามมหาวิทยาลัยของเรา มีนักศึกษาคนหนึ่งมาประกาศและอีกคนหนึ่งเป็นศิษย์ของศาสตราจารย์เผย์แปลเป็นภาษาไทย ผู้แปลคนนี้ไปรับข้าพเจ้าที่สนามบินด้วย รายการแสดงมี 1. ดนตรีของเผ่าทาจิก (ภาษาจีนใช้ว่า ถ่าจี๋เค่อ) แสดงความร่าเริง 2. รำพัด ดูสวยงามดี 3. เพลงรักชาวไต่ เป่าน้ำเต้าประสานเสียง 4. เพลงมองโกล “ไซ่หม่า” หรือ “แข่งม้า” ซอเอ้อร์หูแสดงหมู่ เมื่อจบการแสดงแล้วนักศึกษาเอาแผ่นซีดีเพลงเอ้อร์หูมาให้ มีเพลง “แข่งม้า” ที่เขาเล่น ก่อนหน้านั้นอธิการบดีให้ซอเอ้อร์หูคันหนึ่ง อาจารย์เผย์เชิญให้ข้าพเจ้าออกไปกล่าวอะไรก็ได้เป็นภาษาไทยหรือจีนก็ได้ ข้าพเจ้าว่าจะพูดภาษาจีน ถ้าพูดไม่ได้ขอให้อาจารย์ช่วย ปรากฏว่าพูดได้แม้จะไม่ถูกต้องนัก ครูที่สอนชอบใจมาก บอกว่าถ้ากล้าพูดอย่างนี้ สอนง่ายกว่านักเรียนที่กลัวพูดผิด ไม่กล้าพูด

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอกหน้า6,7

(น.6) ตอนเช้า ครูฟั่นจากบ้านมามหาวิทยาลัย ครูของมหาวิทยาลัยปักกิ่งมี 2 คน คือ ครูจังอิง สอนภาษาหนังสืออ่านเขียน ครูหวังรั่วเจียง สอนภาษาพูด วันแรกนี้ก่อนสอนประชุมกันว่า การเรียน กิจกรรมนอกหลักสูตรและการกินอยู่จะทำอย่างไร วันนี้จึงเริ่มเรียนจริงๆ เพียงเล็กน้อย ตอนกลางวันไปรับประทานกับคณะอาจารย์ที่ห้องอาหารของมหาวิทยาลัย อาหารดี ได้พูดภาษาจีน แต่ว่าใช้เวลานาน ส่วนอาหารการกินในวันต่อๆ ไปนั้น ตกลงกันว่าห้องอาหารของมหาวิทยาลัยจะส่งอาหารกลางวันให้ มื้อเย็นข้าพเจ้าจะทำเอง (น.6) รูป 4 ถ่ายรูปหมู่ในงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและรัฐมนตรีช่วยว่าการเลี้ยงอาหารค่ำที่ โรงแรมปักกิ่งแกรนด์โฮเต็ล
(น.7) เรียนเสร็จแล้ว เตรียมตัวไปโรงแรมปักกิ่งแกรนด์โฮเต็ล วันนี้มาดามเฉินจื้อลี่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจีนเป็นเจ้าภาพ เนื่องจากรถไม่ติดก็เลยไปถึงเร็ว นั่งคุยกับคุณเถียนเสี่ยวกัง รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์สักครู่หนึ่ง มีคนมาบอกว่ามาดามเฉินจื้อลี่พร้อมแล้ว ขึ้นไปชั้นสาม มีแขกหลายคน นอกจากมาดามเฉินแล้วยังมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ชื่อ ศาสตราจารย์เหว่ยอวี้ (ที่ไปรับที่สนามบิน) คุณเถียนเสี่ยวกัง คุณพันกว่างเสวีย จากกรมเอเชียพูดภาษาลาว ศาสตราจารย์ฉือหุ้ยเซิง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยปักกิ่ง พูดกันเรื่องการศึกษา ตั้งแต่เรื่องกระทรวงศึกษาจีนช่วยสร้างศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โครงการส่งอาจารย์มาช่วยสอนภาษาจีนที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัญหาการสอนภาษาจีนระดับมัธยมและประถมศึกษาในประเทศไทย รวมทั้งการแลกเปลี่ยนนักเรียน และอาจารย์สอนคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ของจีน การสอนคนพิการ เป็นต้น วันนี้เสิร์ฟอาหารเร็ว เสร็จก่อนทุ่มครึ่ง

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอกหน้า10

(น.10) รูป 7 เรียนการเขียนภาพจีนกับครูหลิวผิง
(น.10) ตอนบ่าย 14:30 น. เรียนวาดภาพจีนกับครูชื่อ หลิวผิง เป็นจิตรกรมีชื่อเขียนภาพได้หลายแบบ มีลูกชายเรียนศิลปะอยู่ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ครูซื้อของมาให้เป็นชุดหลายอย่าง ทั้งพู่กันแบบต่างๆ กระดาษทั้งชนิดโดนน้ำแล้วซึมและที่ไม่ซึม การเขียนภาพแต่ละอย่างใช้กระดาษไม่เหมือนกัน บางอย่างซึมมาก บางอย่างซึมน้อย สีต่างๆ หมึกขวด แท่นฝนหมึก อ่างใส่น้ำ กระบอกใส่พู่กัน แท่นวางพู่กันเป็นขวดรูปมังกร 5 เล็บ มีภาพตัวอย่างมาให้ดู วาดภาพต้นเหมยให้ดูด้วย แล้วให้วาดเองเป็นการบ้าน ที่จริงจะต้องเรียนถึงประมาณ 4 โมงตรง แต่ครูสอนไปถึง 6 โมงเย็น ข้าพเจ้าชอบมาก เพราะครูอธิบายให้ฟังด้วยว่าควรสีอย่างไร แต่ว่าชักหิวแล้ว รับประทานอาหารค่ำทำเองและเอาของในตู้เย็นเหลือจากกลางวันมาอุ่น รับประทานได้ดี อาจารย์นิออนทำซุปให้ด้วย

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอกหน้า28

(น.28) รูป 28 มาดามเฉียนเจิ้งอิงกับลูกสาวมาเยี่ยมที่หอพัก
ตอนค่ำไปรับประทานกับ คุณดอน พี่หนูเล็ก (ภรรยาท่านทูต) เหล่าเติ้ง หงเอี้ยน คุณขลุ่ย อาจารย์มหาวิทยาลัยปักกิ่ง 3-4 ท่าน ได้พูดภาษาจีนอีก ร้านที่ไปเป็นร้านอาหารท่านประธานเหมา อาหารหูหนาน ห้องที่รับประทานชื่อ หวงเสาซาน ตามชื่อบ้านเกิดท่านประธานเหมา ประธานของร้านเคยเป็นเลขานุการของประธานเหมา มีพ่อครัวของประธานเหมาอายุ 92 แล้วยังมีชีวิตอยู่ ร่างกายแข็งแรง มาที่ภัตตาคารนี้ทุกคืน อาหารถูกปากข้าพเจ้ามาก มีรสเผ็ดบ้าง เหล่าเติ้ง หัวหน้าตำรวจซึ่งเป็นคนเสฉวน บอกว่าทางใต้อากาศร้อน ไม่มีตู้เย็นเก็บอาหาร ต้องใส่เครื่องเทศเผ็ดๆ เพื่อรักษาคุณภาพอาหาร อาจารย์ฟู่เล่าเรื่องคำยืมจีนในภาษาไทยว่ามี 800 กว่าคำ เท่าที่วิจัยมาส่วนใหญ่เป็นชื่ออาหาร ส่วนคำพ้องมี 20 กว่าคำ

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอกหน้า30

(น.30) รับประทานอาหารกลางวันกับครูฟั่น มีไก่ผัดใส่เครื่องเทศรสเผ็ดและรสที่ทำให้ลิ้นชา เรียกภาษาจีนว่า หมาล่า เหมือนที่รับประทานที่เสฉวน อร่อยดี แตงกวาผัด ของหวานมีเห็ดหูหนูกับพุทราลอยแก้ว ข้าพเจ้า (แถมเอง) รับประทานไอศกรีม BUDS ที่อยู่ในตู้เย็นใส่สตรอเบอรี่สด ตอนบ่าย อาจารย์จังเจิ้งกั๋ว มาสอนเขียนพู่กันจีน อาจารย์บอกว่าฝึกมา 50 ปีแล้ว เป็นสมาชิกสมาคมพู่กันจีน เอาชุดเขียนพู่กันและกระดาษมาให้ ส่วนตราบอกว่า อาจารย์หลี่จากศูนย์สอนภาษาจีนมหาวิทยาลัยปักกิ่งแกะให้ข้าพเจ้า 2 อัน แถมด้วยตราเล็กๆ ห้อยคอได้ จะสอนการประทับตราทีหลัง วันนี้สอนเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้ทั้งหมดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องรัตนะทั้ง 4 แห่งห้องหนังสือ เรื่องลักษณะอักษรประเภทต่างๆ คนมีชื่อเสียงสมัยต่างๆ สุดท้ายให้เขียนตัวอักษร คำว่า หย่ง (ตัวอักษรจีน) เขียนอยู่หลายครั้ง 16:30 น. ไปจงหนานไห่ พบรองนายกรัฐมนตรีหลี่หลานชิง มีอาจารย์มหาวิทยาลัยปักกิ่งอยู่ด้วยหลายท่าน ท่านรองนายกฯ บอกว่าภรรยาของท่านฝากความระลึกถึงมาด้วย เมื่อสองปีก่อนข้าพเจ้ามาปักกิ่งในวันเกิดพอดี ท่านและภรรยาจัดงานวันเกิดให้ ท่านเล่าเรื่องการไปทิเบตว่า ควรปรับตัวที่ชิงไห่ก่อน วันแรกที่ไปทิเบตไม่ควรเคลื่อนไหวมาก ต่อจากนั้นให้เดินช้าๆ แล้วจะได้เห็นสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง ถ้าเป็นหวัดไม่ควรไปทิเบต จากทิเบตอยากให้ไปเสฉวน ไปดูเอ๋อเหมยซาน (เขาง้อไบ๊) และจิ่วไจ้โกว เมื่อลากลับ อู๋จวิ้น (ล่าม) บอกว่า พรุ่งนี้ขอมาคุยด้วยเรื่องรายการที่เขารับผิดชอบจัดให้ ในรถหงเอี้ยนบอกว่า ไปทิเบตเดือนสิงหาคมอากาศดี คงไม่เป็นหวัดและให้เคี้ยวโสมฝรั่งก่อน กลับหอพัก ข้าพเจ้าทำกับข้าวหลายชนิด รวมทั้งไข่เจียวเลี้ยงทุกคน

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอกหน้า47,49,50

(น.47) รูป 47 มองเห็นถังน้ำของมหาวิทยาลัยทำเป็นรูปเจดีย์
(น.47) เมื่อเรียนเสร็จครูหวังมา เอาเอกสารที่ต้องการมาเกือบครบ ขาดไป 2 รายการที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยปักกิ่งหาไม่พบ ต้องไปหาที่หอสมุดแห่งชาติ เอกสารพวกนี้ข้าพเจ้าหาให้ซุป (ศุภรัตน์) เพราะเขากำลังทำวิจัยเรื่องชาวจีนในประเทศไทย ครูฟั่นไปที่ศูนย์หนังสือของมหาวิทยาลัยปักกิ่งไปดูว่ามีหนังสือเรียนภาษาจีนอะไรบ้างที่จะซื้อไปเป็นตัวอย่างการเรียนการสอนภาษาจีนได้ ครูหวังสอนการสนทนาเรื่องโรงเรียน เรื่องหวังเหมิงและเรื่องสถานที่ที่จะไปเสาร์อาทิตย์
(น.49) อาจารย์ใหญ่อธิบายว่าโรงเรียนนี้ตั้งมาตั้งแต่ ค.ศ.1907 แต่ก่อนมีแต่นักเรียนชาย เพิ่งมีนักเรียนหญิงเมื่อ 20 กว่าปีมานี้เอง ที่โรงเรียนนี้นักเรียนทุกคนตั้งใจเรียน สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ทุกคน ประมาณ 95% สอบเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำของจีน เช่น มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยชิงหัว การสอบโอลิมปิกวิชาการ เช่น วิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา นักเรียนโรงเรียนนี้ได้รางวัลเหรียญทองและเหรียญเงินกันทุกปี มีอาจารย์มหาวิทยาลัยมาช่วยติวให้ นอกจากการเรียนวิชาการแล้ว มีกิจกรรมนอกหลักสูตร เช่น งานชมรมต่างๆ อาทิ การวาดภาพ การเขียนพู่กันจีน การถ่ายรูป ทางโรงเรียนจัดนิทรรศการภาพถ่าย ภาพพู่กันจีน และภาพเขียนเป็นประจำ ด้านกีฬาที่นี่สนับสนุนให้นักเรียนว่ายน้ำทุกคน เพราะโรงเรียนมีสระมาตรฐานโอลิมปิก มีสนามกีฬาทุกประเภท ทีมว่ายน้ำ ทีมบาสเกตบอลของโรงเรียนชนะการแข่งขัน ทีมฟุตบอลก็นับว่าดี มีชมรมดนตรี ชมรมขับร้อง ในด้านวิชาการมีคอมพิวเตอร์ หอดูดาว เป็นต้น ขอขึ้นไปดูหอดูดาวของโรงเรียนเห็นว่ามีกล้อง 300 เซนติเมตร เขาบอกว่าตอนนี้ปิดซ่อม นักเรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนไปมา มีนักเรียนประจำอยู่ประมาณ 300 คน มีหอพัก โรงอาหาร (น.49) รูป 50 นักเรียนโรงเรียนมัธยมหมายเลข 4
(น.50) เราไปดูตึกกีฬา มีห้องว่ายน้ำที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลมาดูเมื่อวานนี้ อาจารย์ใหญ่บอกว่ามีคณะนักว่ายน้ำจากต่างประเทศมาแข่งขันกับนักเรียนที่โรงเรียนนี้บ่อยๆ เมื่อเร็วๆ นี้มีนักเรียนจากโรงเรียนมัธยมอีตันในอังกฤษมาแข่งขันว่ายน้ำ ไม่ต้องกลัวเรื่องน้ำเย็นอากาศหนาวเพราะมีเครื่องทำความอบอุ่นทั้งตึก ดูห้องบาสเกตบอล และออกไปข้างนอกเห็นมีสนามกีฬาหลายประเภท เช่น ฟุตบอล วอลเลย์บอล บาสเกตบอล ฯลฯ อาคารห้องสมุด มีอาจารย์บรรณารักษ์คอยดูแล มีทั้งระบบบัตร รายการหนังสือและคอมพิวเตอร์ เปิดตั้งแต่เช้าจนกลางคืน 3 ทุ่ม มีห้องเอกสารสั่งหนังสือวารสารมามาก มีห้องให้นักเรียนมาอ่านหนังสือ ทำการบ้าน ห้องให้ใช้คอมพิวเตอร์ค้น web ต่างๆ อีกห้องเป็นห้องที่ให้ครูเตรียมการสอน มีคอมพิวเตอร์ค้นข้อมูลจาก web รูปภาพเขียนและลายมือพู่กันที่ติดไว้ข้างฝา เป็นฝีมือศิษย์เก่าทั้งนั้น ศิษย์เก่าโรงเรียนนี้มีชื่อเสียงและมีหลายอาชีพ นักคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งก็เป็นศิษย์เก่า เวลาจะวางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียน ศิษย์เก่าคนนี้ก็จะมาช่วยเป็นที่ปรึกษา อาจารย์หวังที่ถ่ายรูปข้าพเจ้าก็เป็นศิษย์เก่า โรงเรียนมีประวัติยาวถึง 97 ปี มีศิษย์เก่าจบ 30,000 คน โรงเรียนนี้สอนภาษาต่างประเทศภาษาเดียวคือ ภาษาอังกฤษ แต่มีความสัมพันธ์กับโรงเรียนมัธยมในต่างประเทศหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเกาหลี ยังไม่มีนักเรียนต่างประเทศมาเรียน แต่นักเรียนของโรงเรียนนี้เคยไปเรียนที่นิวซีแลนด์ เวลานักเรียนติดต่อกันใช้แต่ภาษาอังกฤษ ไม่ได้เรียนภาษาญี่ปุ่นหรือเกาหลี

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอกหน้า63,69,70

(น.63) ที่จริงยังมีเรื่องสนทนากันอีกมาก แต่เวลาหมดแล้ว เลยต้องลาเดินทางไปที่วัดต้าเจวี๋ย (ซึ่งน่าจะแปลว่า วัดมหาโพธิ) ที่วัดมีคนที่ดูแลวัด คุณซูเสี่ยวเฟิง ซึ่งเป็นรองผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมกรุงปักกิ่ง อาจารย์มหาวิทยาลัยปักกิ่ง (มีทั้งที่ตามข้าพเจ้าจากมหาวิทยาลัยแต่แรกและรออยู่ที่วัด) วัดต้าเจวี๋ยตั้งอยู่ที่เชิงเขาหยังไถ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอไห่เตี้ยน สร้างเมื่อ ค.ศ.1068 สมัยราชวงศ์เหลียว สมัยก่อนเรียกชื่อว่าชิงสุ่ยย่วน แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นวัดหลิงเฉวียนในสมัยราชวงศ์จิน (ค.ศ.1115-1234) ในค.ศ.1428 สมัยจักรพรรดิเซวียนเต๋อ (ค.ศ.1426-1435) ราชวงศ์หมิง มีการซ่อมครั้งใหม่เปลี่ยนชื่อเป็น ต้าเจวี๋ย วัดนี้มีลักษณะพิเศษคือ หันทางทิศตะวันออก วัดอื่นๆ หันทางทิศใต้ เรื่องทิศทางของวัดนี้ข้าพเจ้าไม่สู้จะเข้าใจดีนัก สันนิษฐานว่าทิศใต้ถือว่าเป็นทิศหลัก บางคนก็ว่าเลียนแบบวัดที่สร้างวัดแรกที่ภูมิประเทศบังคับให้หันทางทิศใต้ ที่หันทางตะวันออกบางคนว่าเป็นด้วยภูมิประเทศบังคับเช่นกัน หรือเป็นธรรมเนียมของราชวงศ์เหลียว แต่ข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะมีเหตุผลทางศาสนาคือ เมื่อสาธุชนเดินเข้าไปไหว้พระ เข้าทางตะวันออกก็จะเป็นพระอยู่ทางตะวันตก คือ ดินแดนสุขาวดี มีวิหารต่างๆ เช่น วิหารจตุโลกบาล วิหารมหาวีระ (ต้าสยงเป่าเตี้ยน) วิหารอมิตภะ (อู๋เลี่ยงโซ่วฝอเตี้ยน) วิหารมหากรุณา (ต้าเปยถาน) นอกจากนั้นยังมีวิหารอะไรต่อมิอะไรอีกแยะ (ซื่ออี ซีหยุน หลิงเย่า หลงหวังถัง) มีหอกลอง หอระฆัง ที่สำคัญอีกอย่างคือ มีธารน้ำและสระน้ำที่มีน้ำตลอดเวลา เราดูปลาที่สระน้ำนี้ได้เพราะว่ามาจากน้ำพุร้อนหลิงเฉวียน น้ำจึงไม่เป็นน้ำแข็งตอนหน้าหนาว
(น.69) รูป 72 ดื่มชา
(น.69) ก่อนที่จะเข้าไปรับประทาน เข้าห้องน้ำก่อน ที่นี่เหมือนโรงแรมได้ความว่ามี 2 ห้องนอน ค่าเข้าพักคืนละ 20,000 บาท ศาสตราจารย์จี้เซี่ยนหลิน อาจารย์มหาวิทยาลัยปักกิ่งที่ชำนาญด้านภาษาสันสกฤต อายุเกือบ 90 ปีแล้วเคยมาพัก อาคารอีกอาคารแปลงเป็นร้านน้ำชาและภัตตาคารชื่อว่า ร้านน้ำชาปัญญารู้กระจ่าง (หมิงหุ้ยฉาหยวน) เมื่อเข้าไปนั่งมีคนเอาชามะลิมาให้ดื่มแล้วเล่าเรื่องการชงชา ว่าเขาใช้น้ำจากลำธารที่วัดนี้ในการชงน้ำชา คนที่ออกมาชงชาแต่งตัวเป็นชี แต่ไม่ได้โกนศีรษะ สวมประคำ ดูเหมือนจะเป็นนักแสดง ชงไปเปิดสวดมนต์นโม อมิตาพุทธ (จับความได้แค่นี้) มีผู้ช่วย 2 คนเอาของต่างๆ มาและเป็นคนเสิร์ฟชา ตอนแรกตั้งธูปเทียนเผากำยานทำท่าเหมือนนั่งสมาธิ เอาอุปกรณ์ชงชาออกมาต้องค่อยๆ เปิด ค่อยๆ เช็ด อุปกรณ์เหมือนพิธีชงชาญี่ปุ่น แต่จะแสดงท่าทางมากกว่า (ที่จริงญี่ปุ่นก็เอามาจากจีนนั่นแหละ) เขาเรียกชานี้ว่า ฉานฉา (ฉาน ตรงกับคำว่า ธยาน หรือ ฌาน คำว่า เซ็น ในภาษาญี่ปุ่น ส่วนคำว่า ฉา แปลว่า ชา)
(น.70) เมื่อเสร็จเข้าไปในห้องรับประทานอาหารกลางวันเป็นอาหารจากเซ่าซิงรับประทานกับเหล้าเซ่าซิง อาหารอร่อยทุกอย่าง คุยกับพวกอาจารย์ถึงพวกนักวิชาการด้านจีนศึกษาต่างๆ พวกอาจารย์เขาแปลกใจว่าข้าพเจ้ารู้จักอาจารย์หลายท่าน หลายมหาวิทยาลัย พูดกันถึงอาจารย์ Oksenburg ที่เพิ่งเสียชีวิตเมื่อ 2 วันมานี้ ทางมหาวิทยาลัยปักกิ่งส่งจดหมายแสดงความเสียใจไปแล้ว เขาว่ารองอธิการบดีเฉินจังเหลียงที่เป็นนักชีววิศวกรรม (ข้าพเจ้าพบเขาเมื่อปีที่แล้ว) อยากเชิญข้าพเจ้าดูการวิจัย เห็นจะต้องจัดเวลาดีๆ เมื่อรับประทานเสร็จแล้ว ข้าพเจ้ากลับเข้าห้องน้ำ ออกมาเซ็นชื่อ นายกเทศมนตรี (เป็นนักประวัติศาสตร์ ดูแลพิพิธภัณฑ์และศิลปกรรมต่างๆ) ให้หนังสือ Illustrated Beijing’s History เป็นเรื่องประวัติศาสตร์ปักกิ่ง ประกอบภาพศิลปวัตถุต่างๆ เขียนเป็นภาษาจีน ที่จริงจะดูการชงชาแบบนักวิชาการ (ใช้กาดินเผาและกรรมวิธีเป็นพิเศษกว่าชาชาวนาที่ใส่ในไม้ไผ่และชงแก่ๆ) แต่เหล่าเติ้งผู้ควบคุมเวลาบอกว่า เราช้ากว่าเวลามากแล้วให้กลับเลย ทางวัดให้ชามา 2 ชนิดคือ ชาเหมาเฟิงกับชาอะไรอีกอย่างจำไม่ได้แล้ว กลับมาถึงหอพักนั่งเขียนหนังสืออยู่พักหนึ่ง อาจารย์นิออนกับจี้ชวนทำกับข้าว ข้าพเจ้ายังไม่หิว แต่ว่ารับประทานเสียก็ดี เลยผัดถั่วแบบที่ชิมเมื่อวานนี้ที่โรงเรียนหงจื้อ เป็นวันแรกที่ทำกับข้าวโดยไม่ใส่น้ำมันหอย ใช้น้ำมันธรรมดาเจียวกระเทียม ใส่ถั่ว ใส่เบคอน ใส่เกลือไม่ใส่น้ำปลา ทางโรงเรียนใส่ซุป จี้บอกว่าเราไม่มีซุปใส่น้ำก็แล้วกัน ข้าพเจ้าหันไปเห็นซุปไก่แบรนด์ ก็เลยว่าใส่ซุปแบรนด์ดีกว่า เป็นอันว่าได้ตำราใหม่ ข้าพเจ้ารู้สึกว่าอร่อยมาก แต่อาจารย์นิออนไม่ยอมชิมอ้างว่าอิ่ม จะเอาไปชิมที่สถานทูต

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอกหน้า88

(น.88) ที่จริงลี่เหล่านี้ก็เป็นคนแมนจู ที่เรียกว่าลี่เจียไช่ คือ กับข้าวตระกูลลี่นั้นเป็นเพราะวันหนึ่งผู่เจี๋ยน้องของจักรพรรดิผู่อี๋ มารับประทานและมอบลายมือเอาไว้ด้วย อาหารร้านนี้เป็นอาหารธรรมชาติ ปลอดสารพิษ แต่แรกมีคนบอกข้าพเจ้าว่าร้านนี้เรียกหาเมนูไม่ได้ เจ้าของอยากทำอาหารอะไรก็ทำให้อย่างนั้น ที่จริงมีเมนู ราคาตั้งแต่ 200 หยวน ต่อคน 400, 500 จนถึง 1,200, 1,500 หยวน ตอนรับประทานพูดกันถึงภาษาปักกิ่งกับภาษาจีนกลางไม่เหมือนกัน ปักกิ่งมีเสียง ร เรือ ที่เรียกว่าเสียง retroflex มาก จนฟังไม่รู้เรื่อง รับประทานเสร็จกลับหอพัก อ่านและเขียนบันทึกจนเกือบ 5 โมงครึ่ง จึงแต่งตัวไปสภาที่ปรึกษาการเมืองจีน มาดามเฉียนเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหาร แต่แรกบอกว่าจะเลี้ยงที่บ้าน แต่ว่าบ้านค่อนข้างเล็กเลยมาเลี้ยงที่สภา พรุ่งนี้เปิดสภาแล้ว สหายเก่าของมาดามคือ มาดามเซี่ยและนักชลประทานอีกคน แขกนอกนี้มีอู๋จวิ้น อธิบดีในกระทรวงศึกษาธิการ ท่าทูตดอน อัครราชทูตสุรพิทย์ หงเอี้ยน รับประทานเสร็จ ตอน 2 ทุ่มกว่าออกมา ถึงมหาวิทยาลัยปักกิ่งเขียนบันทึกและซ้อมซอเอ้อร์หู (น.88) รูป 93 ดอกไม้ประจำวัน

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอกหน้า113,116

(น.113) รูป 125 โรงเรียนประถมศึกษาของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง
(น.113) โรงเรียนนี้ได้รางวัลเป็นโรงเรียนตัวอย่าง และโรงเรียนประถมก้าวหน้า อาจารย์หลิว (อาจารย์ใหญ่) และอาจารย์หลี่ (ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่) มาต้อนรับบอกว่า นักเรียนของโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นบุตรของอาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง นอกจากลูกก็มีหลาน มีบุคคลอื่นๆ บ้าง เด็กๆ ที่มาต้อนรับ 3 คนเป็นนักเรียนชั้น ป.5 วันนี้นักเรียน ป.4 กับ ป.6 ออกไปศึกษานอกสถานที่ เด็กนักเรียน 3 คนพูดคุยตอบคำถามได้ดี โรงเรียนเริ่มเรียน 8:00-11:40 น. หยุดรับประทานอาหาร 14:00-15:00 น. เรียนภาคบ่าย หลังจากนั้นให้นักเรียนเลือกเรียนกิจกรรมนอกหลักสูตรได้ ด้านกีฬา นักเรียนโรงเรียนนี้ก็ประสบความสำเร็จดี เห็นเพลงประจำโรงเรียนติดอยู่ข้างฝาก็เลยขอให้นักเรียนร้องให้ฟัง นักเรียนร้องทันทีไม่อิดเอื้อน เด็กพวกนี้ร้องเพลงได้ดี เสียงไม่เพี้ยนเลย
(น.116) รูป 129 โรงเรียนอนุบาล เด็กเสื้อแดงที่มารับเป็นลูกอาจารย์คนหนึ่งของมหาวิทยาลัย
(น.116) เราไปที่โรงเรียนอนุบาลของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนนี้ส่วนใหญ่เป็นบุตรหลานของอาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ที่หน้าประตูมีครู และนักเรียนคนหนึ่งมารับ มีหน้าที่เอาดอกไม้มาให้ข้าพเจ้า พูดอะไรก็พูดด้วย ตอนหลังก็เลยจูงข้าพเจ้าและเกาะอยู่ตลอด ข้าพเจ้าเลยบอกกับครูว่านี่คือลูกสาวข้าพเจ้า น่ารักมาก ทำผมทรงน้ำพุ ที่จริงเป็นบุตรอาจารย์คนหนึ่งของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ดูเด็กๆ เรียนกิจกรรมประกอบจังหวะ ครูดีดเปียโน นักเรียนเต้นตามเพลง นักเรียนเรียนวาดภาพใช้สีเทียน วันนี้ครูให้เขียนภาพเทียนถาน ซึ่งไม่ใช่ง่ายเลย เด็กๆ ก็เขียนได้ เด็กคนที่เขียนได้สวยที่สุดเอาภาพมาให้ข้าพเจ้า แกล้งถามว่าภาพอะไร เด็กบอกว่าเทียนถาน ถามว่าเคยไปไหม เขาว่าเคยไปแล้ว

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอกหน้า121

(น.121) รูป 134 รำมวยจีน
(น.121) เรียนภาษาจีนวันนี้ ครูจังอิงอธิบายการบ้านเก่า ข้าพเจ้าเขียนหนังสือตกๆ หล่นๆ ครูเลยเล่าเรื่อง จี้หยุน ซึ่งเป็นเสนาบดีมหาดไทยสมัยราชวงศ์ชิง เป็นคนที่ลายมือดี วันหนึ่งเขาลอกบทกวีของหวังจือฮ่วน (ค.ศ.688-742) กวีสมัยราชวงศ์ถังถวายจักรพรรดิเฉียนหลง ทรงเห็นว่า จี้หยุนลอกตกไปคำหนึ่ง จี้หยุนกราบทูลว่านี่ไม่ใช่ซือ (ซึ่งแต่ละบรรทัดมีคำเท่ากัน และมีสัมผัส) แต่เป็นฉือ (ซึ่งจำนวนบรรทัดและจำนวนคำในแต่ละบรรทัดเป็นไปตามแบบแผนฉันทลักษณ์ที่แน่นอน และมีสัมผัส) แบ่งคำใหม่ อ่านได้ความเหมือนกัน ครูเล่าเรื่อง ไช่หยวนเผย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เพราะว่าเราได้เดินผ่านอนุสาวรีย์ของท่าน แล้วคุยกันว่าท่านผู้นี้เป็นอธิการบดีเมื่อไร ครูไปดูจารึกที่อนุสาวรีย์ เห็นว่าเป็นอธิการระหว่าง ค.ศ.1906 ถึง 1907 เป็นคนมีชื่อเสียง มีคนที่มีชื่อเสียง เช่น หลู่ซวิ่น มาทำงานด้วย เคยเป็นรัฐมนตรีศึกษา 2 ปี

Next >>