Please wait...

<< Back

ราชวงศ์หยวน

(น.275) แม้ว่าเหตุการณ์ได้พลิกกลับมาในทางดีแล้ว แต่เมิ่งลี่จวินก็ยังไม่ยอมเผยตนว่าเป็นหญิง พ่อแม่มาหาก็ไม่ยอมรับ หวงฝู่เซ่าหัวของแต่งงานก็ไม่ตกลงปลงใจด้วย ต่อมาเมื่อจักรพรรดิทรงรู้ว่าเมิ่งลี่จวินเป็นผู้หญิง ก็มีรับสั่งให้เป็นสนม นางจึงเดือดร้อนมากจนกระอักเลือด เฉินตวนเซิงแต่งเรื่องค้างไว้เพียงแค่นี้ เพราะจบไม่ลง ส่วนกวีหญิงที่มาประพันธ์ต่อนั้น เขียนแบบทั่วๆ ไป ไม่มีอะไรพิเศษ จบด้วยความสุข (Happy Ending) เหตุที่จบไม่ลงนั้น นักวิจารณ์วรรณคดีเห็นว่า การผูกเรื่องนั้นหากดูผิวเผินก็เหมือนเรื่องทั่วๆ ไป มีเรื่องธรรมะ-อธรรม ความรัก ปัญหาการสมรส แต่ถ้าพิเคราะห์ให้ลึกซึ้งจะพบว่า เฉินตวนเซิงได้อาศัยเมิ่งลี่จวิน ตัวละครเอกในเรื่องสะท้อนความรู้ ความสามารถ ความเชื่อมั่น ความคิด และอุดมการณ์ของตนเอง การเขียนให้เมิ่งลี่จวินไม่ยอมรับพ่อแม่ ทั้งๆ ที่ตามขนมของจีน พ่อแม่เป็นใหญ่ พ่อแม่ของคู่หมั้นมากราบไหว้ก็ยอมให้ทำ ทั้งๆ ที่ตนเองอยู่ในฐานะกึ่งสะใภ้แล้ว คู่หมั้นมาขอแต่งงานก็ไม่ตกลง แสดงให้เห็นถึงการต่อต้านขนมประเพณีจีนตามลัทธิขงจื้อที่ผู้หญิงถูกจำกัดสิทธิ ไม่ได้รับการยกย่อง ด้วยเหตุนี้ เมื่อเขียนถึงตอนที่เมิ่งลี่จวินถูกจับได้ว่าเป็นผู้หญิง จึงประพันธ์ต่อไม่ได้ เพราะไม่ต้องการให้นางต้องไปอยู่ในขนบประเพณีเดิมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ ผู้หญิงต้องทำตามทุกอย่าง จึงไม่รู้ว่าจะเขียนต่ออย่างไรดี ทิ้งค้างไว้จบไม่ได้

เย็นสบายชายน้ำ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 177

(น.177) หอนกกระเรียนเหลือง

ไปที่ห้องหนึ่ง ซึ่งทำหอจำลองนกกระเรียนเหลืองในสมัยต่างๆ เล่าประวัติว่าหอนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสามก๊กประมาณ ค.ศ. 223 ซุนกวนสร้างเป็นหอดูข้าศึก เขาเล่าเรื่องสามก๊กตอนเล่าปี่ตีกังตั๋ง เรื่องกวนอูฆ่าตัวตาย
สมัยราชวงศ์ถัง เป็นสถานที่ใหญ่โตหรูหรา มีหลายตึก
สมัยราชวงศ์ซ่ง ก็ใหญ่เหมือนราชวงศ์ถัง
สมัยราชวงศ์หยวน ใช้ในทางยุทธศาสตร์อย่างแท้จริงคือ เอาไว้ดูข้าศึก

เย็นสบายชายน้ำ หน้า 291

(น.291) สวนยู่หยวน
ในสวนมีศาลาต่างๆ เช่น ว่างเจียงถิง หรือศาลาชมแม่น้ำ ข้างหน้ามีสิงโตเหล็กสมัยราชวงศ์หยวน สิงโตเป็นสัตว์มงคลที่คนจีนชอบ ทำรูปสิงโตตัวเมียจะมีลูกอยู่ด้วย ส่วนสิงโตตัวผู้จะมีลูกบอลหรือลูกโลกเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ

เย็นสบายชายน้ำ หน้า 305-307

(น.305) พู่กันที่มีชื่อเสียงในสมัยราชวงศ์ถังและซ่งคือ พู่กันฝีมือจูเก๋อ เรียกกันว่า พู่กันจูเก๋อ ราชวงศ์หยวนมีพู่กันฝีมือจางจิ้นจงและเฝิงยิ่งเคอ ราชวงศ์หมิงมีพู่กันของลู่จี้เวิง จางเหวินกุ้ย และราชวงศ์ชิงมีพู่กันฝีมือซุนจือฟาและเฮ่อเหลียงชิง แหล่งผลิตพู่กันที่มีชื่อสมัยราชวงศ์ถังและซ่งคือ เมืองซวนเฉิง มณฑลอันฮุย สมัยราชวงศ์หยวนนิยมพู่กันที่ทำจากตำบลซ่านเหลียนสั่ว อำเภออู๋ซิ่ง มณฑลเจ้อเจียง เดิมอำเภอนี้เรียกว่า เมือง

(น.306) หูโจว พู่กันที่ทำที่เมืองนี้จึงเรียกกันว่า หูปี่ นับถือกันว่ามีคุณสมบัติเป็นเลิศครบ 4 ประการคือ หัวพู่กันกลมมน ขนพู่เสมอกัน ด้ามแข็งแรง ปลายแหลมคม พู่กันนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เหมิงซี เป็นอนุสรณ์แด่เหมิงเถียนผู้ประดิษฐ์พู่กันชนิดใช้ขนสัตว์เป็นพู่ การผลิตพู่กันที่เมืองนี้เจริญรุ่งเรืองมาก และทำส่งใช้ในราชสำนักด้วย

(น.306) หมึก (โม่)
การใช้หมึกน่าจะมีมาแล้วตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชาง ในการขุดค้นสุสานสมัยจ้านกว๋อและสมัยฮั่นพบหมึกก้อนฝังอยู่ด้วย ตรงกับที่หนังสือจวงจื่อว่าในสมัยชุนชิวจ้านกว๋อมีหมึกใช้กันแพร่หลายแล้ว แต่เดิมชาวจีนใช้พู่กันจุ่มรักเขียนหนังสือ ต่อมาจึงรู้จักทำหมึกใช้ มีการขุดพบกระบอกไม้ไผ่โบราณ มีตัวอักษรที่ใช้รักปนกับที่ใช้หมึก ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เริ่มทำหมึกนั้นมีกล่าวไว้ต่างๆ กันไปไม่เป็นที่ยุติ ในหนังสือต่างๆ กล่าวถึงผู้ผลิตหมึกที่มีชื่อเสียงในสมัยต่างๆ เช่น สมัยสามก๊ก เหวยต้าน ชาวเว่ย ผลิตหมึกคุณภาพเยี่ยม สีประดุจรัก สมัยราชวงศ์จิ้นมีหมึกของจางจิ้น ราชวงศ์ซ่งมีหมึกของจางหย่ง หลิวฝาในราชวงศ์จิน หูเหวินจงในราชวงศ์หยวน หลอหลงเหวิน เฉินจนฝัง หูคายหยวน ฯลฯ ในราชวงศ์หมิงและชิง ตระกูลเหล่านี้ต่างก็จัดทำหนังสือเรื่องการผลิตหมึก มีภาพแสดงหมึกแบบ

(น.307) ต่างๆ เป็นการแข่งขันทางการค้า เป็นผลงานที่เหลือตกทอดมาถึงรุ่นหลัง

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 51-52,58,65

(น.51) สุสานของผู้หญิงสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ต่อราชวงศ์หยวน เสียชีวิตอายุ 17 ปี บิดามารดาของผู้หญิงคนนี้เป็นข้าราชการชั้นสูง ประจำด่านเมืองเฉวียนโจว
มีเสื้อผ้าทำด้วยไหม สภาพยังดี มีกางเกงขนาดกางเกงเด็ก
ในสุสานนี้พบโบราณวัตถุ 300 กว่าชิ้น
ภาชนะเงินสมัยราชวงศ์ซ่ง ชิ้นหนึ่งเป็นถ้วยเงิน จารึกตัวอักษรเล่าความรู้สึกที่สอบจอหงวนได้ ถาดของถ้วยนี้จารึกเป็นรูปอาคาร
ภาพสะพานลั่วหยัง เป็นสะพานที่สร้างขึ้นสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ต่อกับราชวงศ์หยวน เป็นสะพานหินข้ามแม่น้ำลั่วหยัง จากเฉวียนโจว ไปฮุ่ยอาน
สมัยที่มีการติดต่อกับต่างประเทศอย่างเต็มที่คือ สมัยราชวงศ์ซ่ง พบสิ่งของต่างๆ ที่มาจากสุเหร่า แผ่นจารึกภาษาอาหรับ สิ่งของจากโบสถ์คริสต์ศาสนา เทวรูปศาสนาฮินดู (สันนิษฐานว่าเป็นนางทุรคา) ศาสนามานีเคี่ยน (Manichean) จากเปอร์เซีย ภาษาจีนเรียกว่า หมิงเจี้ยว (ภาษาแต้จิ๋ว เรียกว่า เม้งก่า)


(น.51) รูป

(น.52) สมัยราชวงศ์ซ่งถือเป็นจุดสุดยอดของการศึกษาแบบประเพณี การศึกษาเจริญมาก มีบุคคลสำคัญหลายท่าน เช่น หลี่กัง นักปรัชญาจูซี แสดงแท่นฝนหมึกแบบต่างๆ กระจกทองแดง (สำริด?) รูปเซียนข้ามสมุทร ลัทธิเต๋า สมัยราชวงศ์ซ่งต่อกับราชวงศ์หยวน

(น.58) ห้องต่อไปที่ดูคือ เรื่องการแสดงในมณฑลฝูเจี้ยน งิ้วมีหลายประเภท แม้แต่ในมณฑลฝูเจี้ยนเท่านั้นก็มีหลายแบบ งิ้วเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่งและหยวน มีงิ้วแบบผู่เซียน (อยู่ใต้ฝูโจวประมาณ 100 กิโลเมตร) หลีหยวน (แถวๆ เฉวียนโจว) สมัยราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง จึงมีงิ้วเกาเจี่ย งิ้วหมิ่น งิ้วเซียง (แถวฮกเกี้ยนตอนใต้นิยมเล่นกันจนถึงปัจจุบันและแพร่ไปที่ไต้หวัน)

(น.65) ข. สมัยราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน
การค้าส่งเครื่องถ้วยไปต่างประเทศรุ่งเรือง มีเตาเผามากขึ้นขยายเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ มีการเผาเคลือบ 3 แบบ
เตาหลงเฉวียน เคลือบสีน้ำเงิน
เตาเจี้ยน เคลือบดำ (ส่งขายญี่ปุ่น)

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 174,177,181,190

(น.174) สุเหร่ามีนายกสมาคมมุสลิมชื่อ Hajji Abdullah Huang Quirun มารับ ศาสนาอิสลามเข้ามาในจีนราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 ลูกศิษย์ของพระมะหะหมัดได้เดินทางมากับเรือสินค้า เข้ามาอยู่ที่เมืองเฉวียนโจวและเผยแพร่ศาสนาอิสลามที่เมืองนี้จนถึงแก่กรรม และมีสุสานอยู่ที่นี่ด้วย มีข้อมูลบอกว่าในสมัยราชวงศ์ซ่งมีชาวมุสลิมจำนวนมากเป็นหมื่นๆ คนอยู่ที่นี่ มาจากเมือง Shiraj บริเวณอ่าวเปอร์เซีย ชาวเปอร์เซีย (อิหร่าน) เป็นผู้บูรณะสุเหร่านี้เมื่อ ค.ศ. 1310 ในสมัยราชวงศ์หยวน ปัจจุบันนี้เหลือเพียงประมาณ 1,000 คน ผู้สร้างสุเหร่าเป็นคนอาหรับ สร้างในปี ค.ศ. 1009 ตามประวัติว่าสร้าง 7 แห่ง ขณะนี้เหลืออยู่แห่งเดียว และเป็นวัด-ศาสนาสถานที่สำคัญ 1 ใน 10 ของจีน ที่รัฐบาลประกาศให้อนุรักษ์ใน ค.ศ. 1992

(น.177) ท่าเรือเฉวียนโจวนั้นพัฒนาไปได้ระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยราชวงศ์หยวน เปรียบได้กับท่าเรืออเล็กซานเดรียในอียิปต์

(น.181) สุสานอันศักดิ์สิทธิ์ (หลิงซานเซิ่งมู่)

(น.181) บริเวณสุสานมีแผ่นศิลาจารึกโบราณที่สำคัญอยู่ 5 แผ่น สมัยราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิง เป็นภาษาอาหรับ แผ่นแรก ค.ศ. 1322 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบูรณะศาสนสถาน อีกแผ่นหนึ่ง ค.ศ. 1417 ปีที่ 15 ของจักรพรรดิหย่งเล่อ นายพลเจิ้งเหอได้มาคารวะสุสานนี้และได้ไปที่ต่างๆ หลายแห่ง มีการกล่าวถึงเมืองล่าถง เมืองถง เมืองหลี่เฉิง ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของเมืองเฉวียนโจว คนอาหรับชื่อถังซง กล่าวถึงศิษย์พระมะหะหมัดที่พูดว่า “เราจะไปหาความรู้ จะไม่กลัวทางไกล” (ไปประเทศจีน) คริสต์ศตวรรษที่ 17 สมัยราชวงศ์ชิง มีจารึกกล่าวถึงข้าราชการชั้นสูงที่นับถือศาสนาอิสลามต้องมาคารวะที่นี่

(น.190) ศาสนาคริสต์ มีหลักฐานว่าแพร่เข้ามาในจีนตั้งแต่ราชวงศ์หยวน มีจารึกที่เขียนเป็นภาษาตุรกีโบราณที่ใช้ในซีเรียโบราณ ยังไม่มีคนอ่านได้เพราะตัวอักษรเลือนมาก หินหลุมศพมีรูปไม้กางเขนของศาสนาคริสต์นิกายฟรานซิสกัน เป็นนิกายหนึ่งของคาทอลิก นักบวชชาวอิตาลีชื่อ ฟรานซิส แห่งเมืองอัสซีซิ (Assisi) เป็นผู้ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1209 แพร่เข้ามาในจีนที่เมืองปักกิ่งและเฉวียนโจวเมื่อ ค.ศ. 1294 แล้วหยุดชะงักไปพักหนึ่ง จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในสมัยราชวงศ์ชิง ศาสนาคริสต์จึงแพร่เข้ามาในจีนอีกครั้งหนึ่งหลายนิกายทั้งคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และออร์โธดอกซ์

หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 69,79

(น.69) พิพิธภัณฑ์มณฑลซายตง
ในการขุดค้น ค.ศ. 1970 พบโบราณวัตถุ 432 ชิ้น เป็นตุ๊กตาดินเผาเขียนสี (สีจางไปแล้ว) และนักดนตรีรวม 406 คน ม้า 24 ตัว รถคันหนึ่ง นอกจากนั้นมีหมากล้อม ตราประทับของอ๋องแห่งแคว้นหลู่ ภาพเขียนสมัยราชวงศ์หยวน ปลอกพู่กันหยก ปลอกพู่กันงาช้าง แท่นฝนหมึกหยก ตราประทับหนังสือ เครื่องเซรามิก

(น.79) ในต้าหมิงหูมีเกาะ 6 เกาะ มีอยู่เกาะหนึ่งมีศาลากลางทะเลสาบ (หูซินถิง) ที่เกาะฉวินฟังเซียงเต่า มีสวนบุปผชาติ มีวัดทางศาสนาเต๋า และศาลาแปดเหลี่ยมชื่อ ลี่เซี่ย ซึ่งมีประวัติว่าสร้างมา 1,400 กว่าปีแล้ว แต่ที่เห็นในปัจจุบันคือ ศาลาที่สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิคังซี ปีที่ 32 มีประวัติ 300 กว่าปีเท่านั้น ป้ายหน้าศาลาเป็นลายพระหัตถ์จักรพรรดิเฉียนหลง ข้างในจัดให้มีรูปคนดังเมืองจี่หนานทุกยุคทุกสมัย 15 ท่าน คือ
1. โจวเหยียน สมัยจั้นกว๋อ ก่อน ค.ศ. 355-265 ปี เป็นนักปรัชญา
2. ฝูเซิง สมัยราชวงศ์ฮั่น ในยุคที่ฉินสื่อหวงตี้ (จิ๋นซีฮ่องเต้) สั่งเผาคัมภีร์ขงจื่อจนหมด แต่ท่านผู้นี้จำไว้ได้ ภายหลังท่องให้ผู้อื่นเขียน
3. หลวงจีนอี้จิ้ง สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 635-713) เป็นผู้นำคัมภีร์พุทธศาสนาจากอินเดียมา 300 กว่าเรื่อง แปลได้ 107 เรื่องก็ถึงแก่มรณภาพ
4. กวีเอกหลี่ชิงเจ้า สมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 1084-1151) มีชื่อเสียงในด้านการแต่งบทกวีรักและโศก
5. ซินชี่จี๋ (ค.ศ. 1140-1207) สมัยราชวงศ์ซ่ง เป็นกวีผู้รักชาติ
6. ตู้เหรินเจี๋ย สมัยราชวงศ์จินหรือกิมก๊ก (ค.ศ. 1210-1280) เป็นนักแต่งบทขับสำหรับเล่นงิ้ว
7. จังหยั่งเหา สมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1270-1329) นักแต่งบทขับสำหรับเล่นงิ้ว
8. จังฉี่เหยียน สมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1285-1353) เป็นนักประวัติศาสตร์

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 127-128

(น.127) พระพุทธรูปในลัทธิมี่จง (ตันตระ) พระพักตร์งาม อวบอิ่มแบบผู้หญิงสมัยราชวงศ์ถัง มีพักตร์ 11 พระหัตถ์ 6

(น.128) สมัยราชวงศ์ซ่งและหยวน

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 164

(น.164) สมัยราชวงศ์หยวนมีการรบกันบ่อย มีพระรูปหนึ่งชื่อ ฟู่หยวน ช่วยให้สังคมสงบสุข จักรพรรดิจึงตั้งเป็นจิ้วกว๋อกง เจดีย์ที่มีรูสำหรับบรรจุอัฐิของพระทั่วๆ ไปไม่ได้ดีเด่นอะไร เมื่อเผาแล้วเอากระดูกมาไว้รวมๆ กัน เจดีย์เก่าที่สุดสมัยราชวงศ์ถัง ค.ศ. 791 มีเจดีย์ที่พิเศษน่าศึกษาหลายแห่ง เช่น ศิลาจารึกที่พระญี่ปุ่นชื่อพระเซ่าหยวนเป็นผู้เขียน ในสมัยราชวงศ์หยวน พระเซ่าหยวนมาเรียนนิกายฉานที่นี่ (คำว่าฉาน มาจากคำ ธยาน ในภาษาสันสกฤต ตรงกับคำว่า ฌาน ในภาษาบาลี ญี่ปุ่นออกเสียงว่า เซ็น) จึงสร้างเจดีย์ถวายพระอาจารย์ชื่อพระจวีอาน มีเจดีย์ที่มีลายปากั้ว ซึ่งเป็นเครื่องหมายลัทธิเต๋า