<< Back
สงครามฝิ่น
จากหนังสือ
เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอกเล่ม 2 เหลียวหนิง หน้า 70
(น.70) รูป 83 พระเจ้าเต้ากวง
รูป 84 พระเจ้าเสียนเฟิง
(น.70)
8. พระเจ้าเต้ากวง (ค.ศ. 1821-1850) เป็นโอรสองค์ที่ 2 ของพระเจ้าเจียชิ่ง เจอปัญหาสงครามฝิ่น ปัญหาจักรวรรดินิยม
9. พระเจ้าเสียนเฟิง (ค.ศ. 1851-1861) เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ของพระเจ้าเต้ากวง ขณะครองราชย์บ้านเมืองปั่นป่วน จักรวรรดินิยมรุกราน มีกบฏไท่เผ็ง ค.ศ. 1860 มีสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ตอนที่ชาติตะวันตก 8 ชาติมารุกราน ไปประทับอยู่ที่เฉิงเต๋อ ขณะไม่อยู่ที่ปักกิ่ง วังหยวนหมิงหยวนถูกอังกฤษและฝรั่งเศสเผา
แกะรอยโสม
แกะรอยโสม หน้า 123,131
(น.123) รูป 118 ชมทัศนียภาพในสวน
Admiring the beautiful landscape in the Park.
(น.123) ตอนบ่ายไปสวนหยวนหมิงหยวน อยู่ไม่ไกลจากพระราชวังฤดูร้อนอีเหอหยวนนัก แต่ข้าพเจ้าไม่เคยไป เมื่อไปถึงเจ้าหน้าที่ของสวนอธิบายว่าสวนนี้สร้างในสมัยราชวงศ์ชิง พระเจ้าคังซีสร้างพระราชทานพระเจ้าหย่งเจิ้น (องค์ชายสี่ในเรื่องศึกสายเลือด) เมื่อ ค.ศ. 1860 เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ทหารพันธมิตร 8 ชาติ เผาทำลายพระราชวังนี้ มาภายหลังทางราชการจีนจึงค่อยๆ บูรณะ ไปทีละเล็กทีละน้อย เช่นประตูก็เพิ่งบูรณะใน ค.ศ. 1988 นี่เอง วันนี้เราจะเดินดูสถานที่ต่างๆ ข้าพเจ้าสังเกตว่าเรามาตอนนี้คงไม่มีอะไรดูมากนัก ถ้าเป็นช่วงหลังจากนี้ ประมาณเดือนพฤษภาคม เมื่อต้นไม้ผลิดอกออกใบเต็มที่ คงจะสวยงามมาก พี่อู๋ชี้ให้ดูต้นหยาง ต้นหวย ซึ่งเขาถือกันว่าเป็นต้นไม้ประจำปักกิ่ง ต้นไป๋ ซึ่งคล้ายๆ กับต้นสน คือไม่ทิ้งใบในฤดูหนาว ต้นพลับ และต้นท้อป่า
(น.131) รูป 126 ในพิพิธภัณฑ์มีรูปจำลองอาคารต่างๆ
In the Yuan Ming Yuan Park Museum there is a miniature model of all the buildings in the Park.
รูป 127 ในพิพิธภัณฑ์มีรูปจำลองอาคารต่างๆ
In the Yuan Ming Yuan Park Museum there is a miniature model of all the buildings in the Park.
(น.131) เก้าเกาะ ที่ประทับจักรพรรดิอยู่ตรงกลาง แสดงถึงอำนาจในการปกครองแผ่นดิน มีภาพสะพานแบบต่างๆ หอและศาลา การประดับดอกไม้ ต้นไม้ให้เข้ากับความคิดการสร้างศาลา ศิลปะการก่อสร้างนี้มีอิทธิพลศิลปะเจียงหนานคือภาคใต้ของจีน ซึ่งพระเจ้าเฉียนหลงโปรดปราน ในพิพิธภัณฑ์มีภาพเหตุการณ์วันที่ฝรั่งเข้าทำลายวังเมื่อเดือนตุลาคม 1856 อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สหรัฐ ฯลฯ เข้ามา ช่วงนั้นเรียกว่าสงครามฝิ่น ครั้งที่ 2 ทหารราชวงศ์ชิงอ่อนแอไม่กล้าต่อสู้ พวกฝรั่งเข้าเทียนสิน บังคับให้ทำสนธิสัญญาซึ่งเขาเรียกว่าเป็นสัญญาขายชาติ
แกะรอยโสม หน้า 147
(น.147) รูป 143 ป้ายต้อนรับที่แผนกภาษาไทย
(น.147) เรายังไม่ได้สนทนาอะไรมากนัก ท่านรองนายกสภาฯ ให้เอกสารแนะนำมหาวิทยาลัยปักกิ่ง แล้วพานั่งรถไปชมการสอนภาษาไทยพลางชมธรรมชาติ นำเที่ยวไปพลาง รถผ่านหอสมุดกลาง อาคารเรียน สระน้ำชื่ออู๋หมิง หมายความว่าไม่มีชื่อ สระนี้เขาว่าพยายามทำทิวทัศน์ให้เหมือนอีเหอหยวน พระราชวังฤดูร้อน เวลาหน้าหนาวน้ำในสระจะเป็นน้ำแข็งจนกระทั่งเล่นสเก็ตได้ ศาสตราจารย์ฮ่าวปิน รองนายกสภามหาวิทยาลัยท่านนี้เป็นอาจารย์ทางประวัติศาสตร์จีน เชี่ยวชาญในยุคสมัยใหม่ หมายถึงช่วง ค.ศ. 1840 คือตอนปลายราชวงศ์ชิง ตอนเกิดสงครามฝิ่น จนถึง ค.ศ. 1949 คือตอนปลดแอก และยังมีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเอเชียแปซิฟิก ส่วนผู้ที่เป็นล่ามคืออาจารย์ฟู่เจิงโหย่ว หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย คณะภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยปักกิ่งและยังเป็นเลขา-
เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงามหน้า 211
(น. 211) ในเมืองนี้ยังมีนักวิชาการมีชื่อที่เขียนหนังสือไว้หลายคน เช่น พระโอรสองค์หนึ่งของจักรพรรดิเหลียงอู่ตี้ (ค.ศ. 502 – 519) ได้คัดสรรความเรียงและกวีนิพนธ์ดีๆ มารวมเล่มเผยแพร่ ตอนที่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นมาเมืองจีนครั้งแรก ท่านประธานเหมาเจ๋อตงก็มอบหนังสือนี้ให้ มีนักวิชาการชื่อ หลิวเสวีย เขียนตำราเกี่ยวกับกลวิธีการประพันธ์ ตั้งชื่อว่า เหวินซินเตียวหลง (แกะสลักมังกรในหัวใจวรรณคดี) นักวิทยาศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่งชื่อ เสิ่นคั่ว เขียนหนังสือรวมบทความทางวิทยาศาสตร์ ตั้งชื่อหนังสือว่า เมิ่งซีปี่ถาน (เมิ่งซี เป็นชื่อสวนที่เสิ่นคั่วสร้างขึ้น ปี่ถาน แปลว่า งานเขียนเขียนเล่าเรื่อง)
เมืองนี้เป็นเมืองท่องเที่ยว มีภูเขาจินซาน เจียวซาน และเป่ยกู้ซาน ยังมีหนานซาน เป็นป่าอนุรักษ์ เหมาซานเป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ของลัทธิเต๋า ส่วนเป่าหัวซานเคยเป็นที่มั่นของพวกต่อต้านญี่ปุ่น ที่นี่มีเจดีย์หลายแห่ง ทั้งเจดีย์ไม้ อิฐ หิน เหล็ก เจดีย์ที่จินซานเป็นเจดีย์ไม้ พรุ่งนี้จะได้เห็นเจดีย์เหล็ก
เมืองเจิ้นเจียงยังเป็นเมืองวีรชนคนกล้า ต่อสู้ศัตรูผู้รุกรานในสมัยราชวงศ์ซ่ง ตอนสงครามฝิ่นก็ต่อสู้กับพวกอังกฤษที่ภูเขาเจียวซาน ขณะนี้ยังมีปืนใหญ่ที่ใช้รบสมัยนั้น สมัยสงครามต่อต้านญี่ปุ่น นายพลเฉินอี้กับนายพลซู่อวี้รบอยู่ที่ภูเขาเหมาซาน ขณะนี้มีอนุสาวรีย์เป็นเครื่องระลึกถึงคุณความดี ที่ภูเขานี้มีปาฏิหาริย์แปลกประหลาดอยู่อย่างหนึ่งคือ เวลาจุดประทัด เสียงประทัดจะสะท้อนดังเหมือนเสียงแตร
เย็นสบายชายน้ำ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 226
(น.226) เนื้อแข็ง ตอนประธานาธิบดีเยลต์ซินมาก็เลี้ยงนกกระทาแบบนี้ เยลต์ซินรับประทานสองจาน ข้าพเจ้าถามถึงหนังสือ จงกว๋อเขออี่ซัวปู้ หรือ จีนสามารถกล่าวว่า ไม่ ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ราวเดือนเมษายนปีนี้ มีคนอ่านและกล่าวถึงกันมาก ท่านนายกรัฐมนตรีบอกว่าแต่ก่อนนี้มีชาวญี่ปุ่นแต่งเรื่อง ญี่ปุ่นพูดว่าไม่ก็ได้ เร็วๆ นี้ชาวจีนก็แต่งบ้าง เท่าที่อ่านคร่าวๆ เห็นว่าหลายตอนเขียนถึงเรื่องสำคัญๆ เช่น ตอนที่ท่านนายกฯ พูดกับท่านนายกฯ จอห์น เมเจอร์ เกี่ยวกับเรื่องฮ่องกง มีการเจรจาราว ค.ศ. 1990 - 1991 ขณะนั้นประเทศจีนกำลังลำบากมาก เมเจอร์จะสร้างสนามบินใหม่ที่ฮ่องกง เมื่อเจรจาแล้วเมเจอร์บอกว่ามีเรื่องที่ส.ส.อังกฤษฝากมาว่า จีนจะต้องสนใจเรื่องสิทธิมนุษยชน ท่านก็เลยพูดบ้างว่า ได้รับจดหมายของส.ส.จีน ฝากความเห็นว่าพวกเขาไม่ลืมสงครามฝิ่นเมื่อ 150 ปีมาแล้วที่อังกฤษมายึดครองจีนและเผาสวนหยวนหมิงหยวน แต่ไม่มีเวลาพูดอะไรต่อมากไปกว่านี้ ในหนังสือก็บันทึกเรื่องนี้ไว้ ตอนที่ท่านไปพักผ่อนที่เป่ยต้าเหอ เพื่อนเอาหนังสือให้อ่าน ก็อ่านดูคร่าวๆ ที่จริงการพูดว่า “ไม่” นั้นไม่ได้หมายความว่าจะปฏิเสธไปทุกอย่าง ต้องถือการร่วมมือเป็นสำคัญ ต้องปฏิเสธเฉพาะเวลาถูกกดขี่ ผู้ที่เขียนเรื่องนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญรุ่นหนุ่ม อาจจะคิดอะไรไม่ลึกนัก
ยังมีอีกตอนหนึ่งเป็นตอนที่ท่านนายกรัฐมนตรีตอบคำถามในการประชุมที่ปารีส มีผู้ถามว่า จีนมีท่าทีอย่างไรในเรื่องการเข้าเป็นสมาชิก WTO ตอบว่า จีนเป็นประเทศใหญ่ ในด้านการค้าระหว่างประเทศ ถ้าให้จีนอยู่นอกองค์การ “World Trade Organization” หรือ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 290
(น.290) รูป 261 สวนยู่หยวน
(น.290) สวนยู่หยวน สร้างสมัยต้นราชวงศ์หมิง ค.ศ. 1559 ผู้สร้างเป็นขุนนางตระกูลพาน ซึ่งเป็นชาวเซี่ยงไฮ้ แต่ไปรับราชการเป็นผู้ว่าราชการมณฑลเสฉวน สร้างบ้านหลังนี้เพื่อแสดงความกตัญญูต่อบิดา ซึ่งเคยเป็นเสนาบดีกลาโหมของเสฉวน เมื่อสร้างเสร็จบิดาก็เสียชีวิตพอดี แต่ก่อนเป็นสวนใหญ่โต ปลูกทั้งต้นไม้ต่าง ๆ และปลูกผัก ร้านน้ำชาก็เป็นส่วนหนึ่งของสวนนี้ ตอนที่เกิดสงครามฝิ่นใน ค.ศ. 1839 สวนถูกทำลายไปมาก เพิ่งมาซ่อมราว ค.ศ. 1959 ซ่อมเสร็จ ค.ศ. 1980
เข้าไปในสวนนี้จะเห็นต้นแป๊ะก๊วยต้นใหญ่อายุ 400 ปี ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือสวนหิน ทำเป็นเขามอ เป็นแห่งเดียวในเซี่ยงไฮ้ นำหินมาจากหลายแหล่ง เช่น อำเภออู่คัง มณฑลเจ้อเจียง มีหินที่เอามาจากทะเลสาบไท่หู การนำหินมาประกอบกันไม่ได้ใช้ซีเมนต์ ใช้ปูนผสมข้าวเหนียว
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า44,53
(น.44) รูป
(น.44) ตอนมารับตำแหน่งที่มณฑลกวางตุ้งหลินเจ๋อสูเคยเรียกพวก (พ่อค้า) 13 ห้าง (สือซานหัง) ที่ก่วงโจว (เมืองกวางตุ้ง) มาประชุม และบอกว่าวันใดที่ฝิ่นยังไม่หมดสิ้นไป ตัวข้าพเจ้าจะไม่กลับกรุง ขอเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เป็นไปไม่ได้ที่ฝิ่นจะไม่หมดสิ้น (13 ห้าง คือ กลุ่มพ่อค้าจีนที่ร่วมทุนกับพวกฝรั่ง ได้รับสิทธิพิเศษผูกขาดทางการค้า)
แต่แรกเมื่อมีรายงานการปราบฝิ่นส่งเข้ากรุง จักรพรรดิเต้ากวงทรงแทงหนังสือว่าเป็นเรื่องน่ายินดี รับทราบแล้ว เอกสารฉบับนี้เป็นสำเนา ตัวจริงอยู่พระราชวังกู้กงในกรุงปักกิ่ง จักรพรรดิเต้ากวงรู้ว่าชนะ จึงปิดประกาศ อันเป็นเหตุผลหนึ่งที่พวกฝรั่งมาทำสงครามฝิ่น
ศาลาที่ 3 สถานการณ์สงครามฝิ่น (ค.ศ. 1839-1842) มีแผนที่ตอนที่พวกฝรั่งไปถึงเมืองเทียนสิน จักรพรรดิเต้ากวงกริ้วหลินเจ๋อสู ปลดออกจากตำแหน่ง ให้ฉีซ่านไปเจรจากับอังกฤษ ค.ศ. 1841 ทหารอังกฤษรุกรานเกาะฮ่องกง มีอิฐกำแพง ค.ศ. 1841 โอ่งดินปืน จักรพรรดิไม่เพียงแต่ปลดหลินเจ๋อสูเท่านั้น แต่เนรเทศไปซินเกียง เขาต้องจากครอบครัวที่เมืองซีอาน เดินทางเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1842 ขณะนั้นเขาร่างวาทะที่เจียงเจ๋อหมินเขียนลายมือพู่กันไว้ เดินทาง 4 เดือน ไปถึงเมืองอีหลี มณฑลซินเกียง ตอนนั้นอายุ 58 ปี เขาเป็นที่เคารพของชาวซินเกียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขุนนางชาวแมนจู ชื่อปู้เหยียนไท่
Next >>