Please wait...

<< Back

ราชวงศ์เหนือ-ใต้

จากหนังสือ

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 2 เหลียวหนิง หน้า 29-31

(น.29) ห้องที่ 5 สมัยเว่ย จิ้น จนถึงถัง (คริสต์ศตวรรษที่ 3-8) ของที่ตั้งแสดงมีจานฝนหมึก ภาชนะ เครื่องประดับ คนแถวเหลียวหนิงตะวันตกเรียกว่าพวกเซียนเปย เป็นบรรพบุรุษของพวกหนู่เจิน พวกนี้เป็นเผ่าพันธุ์ใกล้เคียงกับพวกกลุ่มชนที่อยู่

(น.30) แถวๆ ตุนหวง มณฑลกานซู พบหลุมศพน้องกษัตริย์ ของที่พบมีแก้วมาจากทางตะวันตก เข้าใจว่าแถวๆโรม ฉะนั้นถือได้ว่าเส้นทางแถบนี้ต่อมาจากเส้นทางสายแพรไหม มีพระราชลัญจกรทองคำ หมวกทองคำ (มีช่อดอกไม้ทองคำประดับที่ยอดหมวก) มีลักษณะคล้ายๆกับหมวกที่พบในอัฟกานิสถาน อุปกรณ์การขี่ม้า เช่น บังโกลน สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องใช้ของคนในสังคม เลี้ยงสัตว์เร่ร่อนในทุ่งหญ้า

(น.31) สมัยนี้ทางตะวันตกของมณฑลมีถ้ำพระพุทธรูป พุทธศาสนาเข้ามาทางตะวันตกประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 4 ตามเส้นทางแพรไหมสายทุ้งหญ้า โดยที่คนกลุ่มน้อยนำเข้ามา มีศิลาจารึกวางบนหลังเต่า สมัยราชวงศ์เหนือ-ใต้ สิ่งที่แปลกอย่างหนึ่งคือ รองเท้าหนามสำหรับเดินบนหิมะ สมัยสุยและถังมีเครื่องเคลือบ 3 สี พิพิธภัณฑ์แสดงรูปจำลองหลุมศพ พบในเฉาหยางซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเหลียวหนิง หลุมศพสมัยนี้มีตุ๊กตาเช่นเดียวกับสุสานจิ๋นซี แต่ตัวขนาดเล็ก

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 5 ภาคผนวก หน้า 3-5,7-10,12

(น.3) 3. ราชวงศ์โจว ประมาณก่อน ค.ศ. 1122 – 770 บางหลักฐานระบุว่าประมาณก่อน ค.ศ. 1027 – 770
4. ยุคชุนชิว ก่อน ค.ศ. 770 – 476
5. ยุคจ้านกว๋อ ก่อน ค.ศ. 476 – 221
6. ราชวงศ์ฉิน ก่อน ค.ศ. 221 – 206
7. ราชวงศ์ฮั่น ก่อน ค.ศ. 206 – ค.ศ. 220
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ก่อน ค.ศ. 206 – ค.ศ. 8
หวังหมางยึดอำนาจ (ราชวงศ์ซิน) ค.ศ. 8 – 23
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ค.ศ. 25 – 220
8. สมัยสามก๊ก ค.ศ. 220 – 265
ราชวงศ์เว่ย (ก๊กของโจโฉ ตั้งเมืองหลวงที่ลั่วหยาง) ค.ศ. 220 – 265
ราชวงศ์สู่หรือสู่ฮั่น (ก๊กของเล่าปี่ ตั้งเมืองหลวงที่เฉิงตู) ค.ศ. 221 – 263
ราชวงศ์หวู (ก๊กของซุนกวน ตั้งเมืองหลวงที่หนานจิง) ค.ศ. 222 – 280
9. ราชวงศ์จิ้นตะวันตก ค.ศ. 265 – 317 ราชวงศ์นี้สามารถรวบรวมประเทศจีนหลังสมัยสามก๊กให้เป็นปึกแผ่นอยู่ประมาณ 50 ปีเศษ
10. ราชวงศ์ใต้และราชวงศ์เหนือ (สมัยแห่งการแตกแยกทางการเมือง)

(น.4) ราชวงศ์ใต้
ราชวงศ์จิ้นตะวันออก ค.ศ. 317 – 420 ราชวงศ์นี้สืบสันตติวงศ์มาจากราชวงศ์จิ้นตะวันตก ใน ค.ศ. 317 อพยพหนีการรุกรานของพวกอนารยชน 5 เผ่ามาอยู่ทางใต้ และมาตั้งเมืองหลวงที่หนานจิง
ราชวงศ์หลิวซ่ง ค.ศ. 420 – 479
ราชวงศ์ฉีใต้ ค.ศ. 479 – 502
ราชวงศ์เหลียง ค.ศ. 502 – 557
ราชวงศ์เฉิน ค.ศ. 557 – 589

(น.5) ราชวงศ์ต่าง ๆ ทางภาคใต้ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่หนานจิง เมื่อรวมกับราชวงศ์หวูของซุนกวน ซึ่งเคยตั้งเมืองหลวงอยู่ที่หนานจิงเหมือนกัน จะมีจำนวนทั้งหมด 6 ราชวงศ์ จึงเรียกราชวงศ์ทางใต้รวมกันว่า ราชวงศ์เหนือใต้ หรือหกราชวงศ์ ได้แก่ ราชวงศ์หวู จิ้นตะวันออก หลิวซ่ง ฉีใต้ เหลียง และเฉิน

(น.7) ราชวงศ์เหนือ
แคว้นทั้ง 16 ของอนารยชน 5 เผ่า ค.ศ. 304 – 439
แคว้น เชื้อชาติ มณฑล ระยะเวลา (ค.ศ.)
ราชวงศ์จ้าวภาคต้น ฉยุงหนู  ซานซี  304 – 329
ราชวงศ์เฉิงฮั่น ตี  เสฉวน  304 – 347
ราชวงศ์จ้าวภาคปลาย เจี๋ย  เหอเป่ย  319 – 351
ราชวงศ์เหลียงภาคต้น ฮั่น (จีน)  กานซู  314 – 376
ราชวงศ์เหยียนภาคต้น เซียนเปย  เหอเป่ย  349 – 370
ราชวงศ์ฉินภาคต้น ตี  ส่านซี  351 – 394
ราชวงศ์เหยียนภาคหลัง เซียนเปย  เหอเป่ย  384 – 409
ราชวงศ์ฉินภาคหลัง เชียง  ส่านซี  384 – 417
ราชวงศ์ฉินตะวันตก เซียนเปย  กานซู  385 – 431
ราชวงศ์เหลียงภาคหลัง ตี  กานซู  386 – 403
ราชวงศ์เหลียงใต้ เซียนเปย  กานซู  397 – 414
ราชวงศ์เหลียงเหนือ ฉยุงหนู  กานซู  401 – 439
ราชวงศ์เหยียนใต้ เซียนเปย  ชานตง  400 – 410
ราชวงศ์เหลียงตะวันตก ฮั่น (จีน)  กานซู  400 – 421
ราชวงศ์เซี่ย ฉยุงหนู  ส่านซี  407 – 431
ราชวงศ์เหยียนเหนือ ฮั่น (จีน) เหลียวหนิง  409 – 439

(น.9) ในบรรดาแคว้นต่าง ๆ 16 แคว้นนี้ สันนิษฐานว่ามีอยู่ 3 แคว้นที่ชาวจีนเป็นผู้ก่อตั้ง ได้แก่
ราชวงศ์เหลียงภาคต้น ค.ศ. 314 – 376
ราชวงศ์เหลียงตะวันตก ค.ศ. 400 – 421
ราชวงศ์เหยียนเหนือ ค.ศ. 409 – 439

(น.10) อนารยชนทั้ง 5 เผ่า
1. ฉยุงหนู - เตอร์ก
2. เจี๋ย - เตอร์ก
3. เซียนเปย - มองโกล
4. ตี - ทิเบต
5. เชียง - ทิเบต

ราชวงศ์เว่ยเหนือหรือโทปาเวีย ค.ศ. 386 – 534
ราชวงศ์เว่ยตะวันออก ค.ศ. 534 – 550
ราชวงศ์ฉีเหนือ ค.ศ. 550 – 577
ราชวงศ์เว่ยตะวันตก ค.ศ. 535 – 557
ราชวงศ์โจวเหนือ ค.ศ. 557 – 581

(น.12) ในช่วงนี้ดินแดนทางภาคเหนือของจีนตกอยู่ใต้การยึดครองของพวกอนารยชน ซึ่งได้ก่อตั้งแคว้นและราชวงศ์ต่าง ๆ ขึ้นอนารยชนพวกนี้ได้รับวัฒนธรรมจีน และได้แต่งงานผสมผสานกับพวกคนจีน และมีส่วนช่วยสร้างสรรค์พุทธศิลป์บนเส้นทางแพรไหม

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 12

(น. 12) สมัยสามก๊กบ้านเกิดของท่านเคยเป็นเมืองหลวงของง่อก๊ก (หรืออู๋กั๋วของซุนกวน) มีอยู่คราวหนึ่ง ง่อก๊กพยายามรวมกับจ๊กก๊ก (หรือสู่กั๋วของเล่าปี่) เพื่อไปตีวุ่ยก๊ก (หรือเว่ยกั๋วของโจโฉ) โดยจะให้เจ้าหญิงง่อก๊กแต่งงานกับพระเจ้าเล่าปี่แห่งจ๊กก๊ก แต่การรวมก๊กก็ไม่สำเร็จ การแต่งงานแบบนี้ถือว่าเป็นการสมรสทางการเมือง งิ้วชอบแสดงเรื่องนี้ อีกตอนหนึ่งที่งิ้วชอบแสดงคือเรื่องจับโอรสเล่าปี่ แต่หนีไปได้ (เห็นจะเป็นตอนจูล่งมาช่วย) อีกวัดหนึ่งเป็นสถานที่ที่มีกวีมาเขียนกลอน เช่น ซูซื่อหรือซูตงปัว (ค.ศ. 1037? – ค.ศ. 1101) กวีเอกสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960 – ค.ศ. 1279) นอกจากนั้นในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ (ค.ศ. 317 – ค.ศ. 589) ซึ่งเป็นช่วงแห่งการแตกแยกทางการเมืองเป็นราชวงศ์ทางเหนือและทางใต้ รวมทั้งมีราชวงศ์ปกครองสืบต่อกันทางเหนือ – ใต้หลายราชวงศ์นั้น ราชวงศ์เหลียง (ค.ศ. 502 – ค.ศ. 557) ซึ่งอยู่ทางใต้ ก็มีเจ้านายองค์หนึ่งไม่สนใจการเมือง ชอบแต่การแต่งบทกวี ได้มาแต่งไว้ ข้าพเจ้าจะได้ไปดูพิพิธภัณฑ์ซึ่งเล่าประวัติของเมืองหลายยุคหลายสมัย

เจียงหนานแสนงาม หน้า 75

(น. 75)
9. ศิลปะสมัยราชวงศ์เหนือใต้ (ค.ศ. 317 – ค.ศ. 589) และราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 – ค.ศ. 907) มีเครื่องปั้นดินเผารูปรถจำลอง กองทหารดินเผา เป็นตุ๊กตาขนาดเล็กของราชวงศ์ฉีเหนือ (Northern Qi ค.ศ. 550 – ค.ศ. 577) พบในสุสานที่เมืองหวังหัง (Wang hang) มณฑลเหอเป่ย รูปปั้นดินเผาของบุคคลต่างๆ ในสมัยราชวงศ์ถัง รูปอูฐ ภาพชาวต่างชาติ รูปม้า รูปทหารขี่ม้า รูปทำด้วยเครื่องเคลือบสามสีสมัยราชวงศ์ถัง เข้าใจว่าเป็นของที่สำหรับใส่กับศพอีกตามเคย

เจียงหนานแสนงาม หน้า 174-175,195

(น. 174) สมัยราชวงศ์ฮั่น หยังโจวมีฐานะเป็นแคว้นชื่อว่า ก่วงหลิง ขุดพบสิ่งของในสุสานของหลิวลี่หวัง อยู่บนเขาเกาฉวน ของที่พบมีกระเบื้อง เครื่องใช้ในสุสาน ตราลัญจกรรูปเต่า เครื่องประดับทองคำและอาวุธ สมัยนั้นมีการขุดบ่อน้ำ มีการใช้วงท่อคล้ายๆ กับที่เราใช้กรุบ่อน้ำสมัยนี้ นอกจากนั้นมีเครื่องสำริด เครื่องเขินสีแดง (เวลาจัดแสดงต้องแช่น้ำเพื่อกันเสีย) เครื่องปั้นดินเผาสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ทำเป็นรูปเล้าหมู เสื้อสำหรับสวมให้ศพราวๆ สมัยกลางราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ทำด้วยกระจกเคลือบ (ไม่ได้ทำด้วยหยก) กระจกพวกนี้ผู้บรรยายว่านำเข้าจากโรม บางส่วนทำเองในประเทศจีนสีเหมือนหยก ทำลวดลายมังกร เครื่องไม้ต่างๆ ก็ต้องแช่น้ำกันเสียเช่นเดียวกับเครื่องเขิน
สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ. 265 – 317) มีคัมภีร์ทางพุทธศาสนา (อวตังสกสูตร)
สมัยหกราชวงศ์ มีเครื่องปั้นดินเผาโบราณ ที่เรียกว่า หกราชวงศ์ นั้น หมายถึง ราชวงศ์ทางใต้ห้าราชวงศ์ (จิ้นตะวันออก หลิวซ่ง ฉีใต้ เหลียง และเฉิน) ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ซึ่งอยู่ในช่วง ค.ศ. 317 – 589 ทั้ง 5 ราชวงศ์นี้ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่หนานจิงหรือนานกิง เมื่อรวมกับราชวงศ์อู๋ (ค.ศ. 222 – 280) ของซุนกวน

(น. 175)ในสมัยสามก๊ก ซึ่งตั้งเมืองหลวงที่นานกิงเหมือนกัน จึงเป็นหกราชวงศ์ บางครั้งจึงเรียกราชวงศ์ทางภาคใต้ว่า หกราชวงศ์

(น. 195) หลังไป 1,500 กว่าปี จักรพรรดิเซี่ยวอู่ตี้ แห่งราชวงศ์หลิวซ่งในสมัยราชวงศ์เหนือใต้เป็นผู้สร้างในรัชศกต้าหมิง อันเป็นรัชศกที่ใช้ในช่วง ค.ศ. 457 – 464 หรือกลางศตวรรษที่ 5 จึงเรียกชื่อวัดตามปีรัชศก คำว่า ต้าหมิง แปลว่า สว่างเจิดจ้า

ต้นน้ำ ภูผาและป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผาและป่าทราย หน้า 83

(น.83) ของที่มีค่าที่สุดในพิพิธภัณฑ์คือ หัวเข็มขัดทอง เป็นฝีมือชนกลุ่มน้อยทางภาคเหนือ มีรูปหมาป่ากำลังจะกินวัว ตราประทับต่างๆ หม้อเงินสมัยราชวงศ์ฮั่นมาจากเปอร์เซีย เหรียญเงินเหรียญทองจากต่างประเทศ มีที่มาจากโรมสมัยราชวงศ์เหนือใต้ อีกห้องทำหมู่บ้านจำลองของชนชาติในชิงไห่ สร้างเป็นบ้านวางสิ่งของที่เผ่าต่างๆ ใช้ เอาสาวแต่งตัวเป็นเผ่าต่างๆ ยืนอยู่หน้าบ้าน ข้างฝามีรูปประกอบด้วย

มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 192

(น.192) ตอนบ่ายเราไปสุสานสมัยราชวงศ์เว่ยและจิ้น ซึ่งอยู่ในเขตตำบลซินเฉิงอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง ห่างไป 20 กิโลเมตร สองข้างทางเห็นแต่กรวดทรายเต็มไปหมด ข้ามคลองที่ส่งน้ำจากฉีเหลียน คุณเฉิงชี้ให้ดูต้นไม้ที่ขึ้นในทะเลทราย คือต้นหลิวแดง เป็นต้นไม้ที่สถาบันวิจัยทะเลทรายศึกษาวิจัยว่าเหมาะสมที่จะปลูก จะช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้นได้ ที่อำเภอหมิงมีสวนพฤกษชาติที่รวบรวมพันธุ์ไม้ทะเลทราย ผู้อำนวยการเกา (เจ้าเก่า) มาต้อนรับ อธิบายว่าเป็นสุสานของราชวงศ์เว่ย ถึงตอนนี้ก็เริ่มมีปัญหา เพราะราชวงศ์ที่ใช้ชื่อว่าเว่ยมีหลายราชวงศ์ ได้แก่
1.ราชวงศ์เว่ย ก๊กของโจโฉ ในสมัยสามก๊ก ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่ลั่วหยาง ค.ศ. 220 – 265
2.ราชวงศ์เว่ยภาคเหนือ หรือโทป้าเว่ย ค.ศ. 386 - 534
3.ราชวงศ์เว่ยตะวันออก ค.ศ. 534 – 550
4.ราชวงศ์เว่ยตะวันตก ค.ศ. 535 – 557
แต่แรกคิดว่าเป็นพวกโจโฉ แต่ผู้อำนวยการเกาบอกว่าไม่ใช่แน่ ๆ เป็นเว่ยสมัยหนานเป่ยเฉา (ราชวงศ์ใต้และราชวงศ์เหนือ สมัยแห่งการแตกแยกทางการเมือง) หมายเลข 2 – 4 ที่ข้าพเจ้าเขียนข้างต้นล้วนเป็นหนานเป่ยเฉาทั้งสิ้น แต่ข้าพเจ้าขอสรุปเอาเองว่าคงจะเป็นหมายเลข 2 เนื่องจากเป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าเสียนเป่ย (มองโกล) ที่ปรับตัวตามวัฒนธรรมจีนมากที่สุด มีอำนาจเป็นปึกแผ่นอยู่นานที่สุด (ภายหลังรับพุทธศาสนา)

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 364-366

(น.364) 9. ราชวงศ์จิ้นตะวันตก ค.ศ. 265 – 317 ราชวงศ์นี้สามารถรวบรวมประเทศจีนหลังสมัยสามก๊กให้เป็นปึกแผ่นอยู่ประมาณ 50 ปีเศษ
10. ราชวงศ์ใต้และราชวงศ์เหนือ (สมัยแห่งการแตกแยกทางการเมือง)
ราชวงศ์ใต้
ราชวงศ์จิ้นตะวันออก ค.ศ. 317 – 420 ราชวงศ์นี้สืบสันตติวงศ์มาจากราชวงศ์จิ้นตะวันตก ใน ค.ศ. 317 อพยพหนีการรุกรานของพวกอนารยชน 5 ชนเผ่ามาอยู่ทางใต้ และมาตั้งเมืองหลวงที่หนานจิง
ราชวงศ์หลิวซ่ง ค.ศ. 420 – 479
ราชวงศ์ฉีใต้ ค.ศ. 479 – 502
ราชวงศ์เหลียง ค.ศ. 502 – 557
ราชวงศ์เฉิน ค.ศ. 557 – 589
ราชวงศ์ต่าง ๆ ทางภาคใต้ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่หนานจิง เมื่อรวมกับราชวงศ์หวูของซุนกวน ซึ่งเคยตั้งเมืองหลวงอยู่ที่หนานจิงเหมือนกัน จะมีจำนวนทั้งหมด 6 ราชวงศ์ จึงเรียกราชวงศ์ทางใต้รวมกันว่า ราชวงศ์เหนือใต้ หรือหกราชวงศ์ ได้แก่ ราชวงศ์หวู จิ้นตะวันออก หลิวซ่ง ฉีใต้ เหลียง และเฉิน

(น.365)
ราชวงศ์เหนือ
แคว้นทั้ง 16 ของอนายชน 5 เผ่า ค.ศ. 304 – 439
แคว้น เชื้อชาติ มณฑล ระยะเวลา (ค.ศ.)
ราชวงศ์จ้าวภาคต้น ฉยุงหนู  ซานซี  304 – 329
ราชวงศ์เฉิงฮั่น ตี  เสฉวน  304 – 347
ราชวงศ์จ้าวภาคปลาย เจี๋ย  เหอเป่ย  319 – 351
ราชวงศ์เหลียงภาคต้น ฮั่น (จีน)  กานซู  314 – 376
ราชวงศ์เหยียนภาคต้น เซียนเปย  เหอเป่ย  349 – 370
ราชวงศ์ฉินภาคต้น ตี  ส่านซี  351 – 394
ราชวงศ์เหยียนภาคหลัง เซียนเปย  เหอเป่ย  384 – 409
ราชวงศ์ฉินภาคหลัง เชียง  ส่านซี  384 – 417
ราชวงศ์ฉินตะวันตก เซียนเปย  กานซู  385 – 431
ราชวงศ์เหลียงภาคหลัง ตี  กานซู  386 – 403
ราชวงศ์เหลียงใต้ เซียนเปย  กานซู  397 – 414
ราชวงศ์เหลียงเหนือ ฉยุงหนู  กานซู  401 – 439
ราชวงศ์เหยียนใต้ เซียนเปย  ชานตง  400 – 410
ราชวงศ์เหลียงตะวันตก ฮั่น (จีน)  กานซู  400 – 421
ราชวงศ์เซี่ย ฉยุงหนู  ส่านซี  407 – 431
ราชวงศ์เหยียนเหนือ ฮั่น (จีน) เหลียวหนิง  409 – 439
ในบรรดาแคว้นต่าง ๆ 16 แคว้นนี้ สันนิษฐานว่ามีอยู่ 3 แคว้นที่ชาวจีนเป็นผู้ก่อตั้ง ได้แก่

(น.366)
ราชวงศ์เหลียงภาคต้น ค.ศ. 314 – 376
ราชวงศ์เหลียงตะวันตก ค.ศ. 400 – 421
ราชวงศ์เหยียนเหนือ ค.ศ. 409 – 439

อนารยชนทั้ง 5 เผ่า
1. ฉยุงหนู - เตอร์ก
2. เจี๋ย - เตอร์ก
3. เซียนเปย - มองโกล
4. ตี - ทิเบต
5. เชียง - ทิเบต

ราชวงศ์เว่ยเหนือหรือโทปาเวีย ค.ศ. 386 – 534
ราชวงศ์เว่ยตะวันออก ค.ศ. 534 – 550
ราชวงศ์ฉีเหนือ ค.ศ. 550 – 577
ราชวงศ์เว่ยตะวันตก ค.ศ. 535 – 557
ราชวงศ์โจวเหนือ ค.ศ. 557 – 581
ในช่วงนี้ดินแดนทางภาคเหนือของจีนตกอยู่ใต้การยึดครองของพวกอนายชน ซึ่งได้ก่อตั้งแคว้นและราชวงศ์ต่าง ๆ ขึ้นอนารยชนพวกนี้ได้รับวัฒนธรรมจีน และได้แต่งงานผสมผสานกับพวกคนจีน และมีส่วนช่วยสร้างสรรค์พุทธศิลป์บนเส้นทางแพรไหม

หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 47

(น.47) ว่านฮวาเป็นสถานที่ที่ผู้นำพรรคและผู้นำประเทศ เช่น เจียงเจ๋อหมิน หลี่เผิง จูหรงจี ฯลฯ เคยมาตรวจราชการ และเป็นบ้านเดิมของมู่หลานซึ่งเข้ารับราชการทหารแทนบิดาของเธอ เป็นเรื่องสมัยราชวงศ์ฮั่น ปรากฏหลักฐานในกลอนสมัยหนานเป่ยเฉา (ราชวงศ์เหนือใต้)

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 126

(น.126) สมัยราชวงศ์ฮั่น เว่ย (ก๊กของโจโฉ) จิ้น ราชวงศ์เหนือใต้ มีรูปอาคารจำลองทำด้วยเครื่องปั้นดินเผาสำหรับฝังลงไปในสุสาน หวังว่าบุคคลผู้ตายจะมีความเป็นอยู่ในปรโลกเหมือนเมื่อยังมีชีวิตอยู่ นอกจากนั้นยังมีนักดนตรี นักละคร พวกคนแคระ ซูโม่ อาวุธต่างๆ สันนิษฐานว่าสมัยราชวงศ์ฮั่นและถังนำการแสดงซูโม่ไปที่ญี่ปุ่น จนปัจจุบันคนญี่ปุ่นถือว่าซูโม่เป็นกีฬาสำคัญ

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 168

(น.168) มีหอคัมภีร์ (หอไตร) กุฏิเจ้าอาวาส มีหอยืนกลางหิมะ (ลี่เสวี่ย Li Xue Pavilion) เรื่องมีอยู่ว่าวัดนี้สร้างใน ค.ศ. 495 สมัยราชวงศ์เหนือใต้ มีพระอินเดียมาแพร่ศาสนา ก่อนหน้านี้พุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในจีนอยู่ก่อนแล้ว จักรพรรดิเลื่อมใสพุทธศาสนา จึงทรงบัญชาให้หาภูเขาทั่วประเทศเพื่อสร้างวัดและนิมนต์ให้พระอินเดียมาจำพรรษา ที่บริเวณนี้พระเซ่าซือตั้งวัดกลางป่า จึงเรียกว่าเซ่าหลิน เนื่องจากมีพุทธศาสนามหายานตั้งอยู่แล้ว พระที่มาใหม่เป็นพระในพุทธศาสนาหินยานจึงไม่พอใจที่จะอยู่ที่นี่ จนถึง ค.ศ. 527 จึงมีพระโพธิธรรมหรือที่จีนเรียกว่า พระต๋าหมอ (ตั๊กม้อ) มาวัดนี้

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 244

(น.244) เมืองต้าถงมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,000 ปี ในประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งมีการต่อสู้ครั้งสำคัญของหลิวปังหรือจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ (ภาษาไทยใช้กันว่า ฮั่นโกโจ) ซึ่งตอนนั้นประสบความลำบากมาก ต่อมากลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 สมัยราวราชวงศ์เหนือใต้ ทางอีสานมีชนกลุ่มน้อย เช่น Narkuna พวกนี้เรียนวิชาการและเทคนิคการรบจากพวกจีนนั่นเอง ใน ค.ศ. 386 ได้ตั้งเมืองหลวงที่มองโกลเลียใน คือ เมืองเฮ่อลิงเก้อร์ในปัจจุบัน ต่อมาย้ายเมืองหลวงมาที่เมืองผิงเฉิงในราชวงศ์เป่ยเว่ยได้ใช้ที่นี่ปกครองดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือมา 150 ปี