Please wait...

<< Back

คุนหมิง

(น.167)
2. โครงการเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพในยูนนานและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขาปฏิบัติการในเขตที่มีการทำไร่เลื่อนลอย ข้อนี้ถือเป็นความบกพร่องของข้าพเจ้าที่ไม่ได้ถามถึงวิธีดำเนินโครงการให้เข้าใจ
3. โครงการฟื้นฟูที่ดินที่เสื่อมโทรมในระบบนิเวศภูเขา มีการปลูกป่าที่ถูกตัดจนโล้นกับลูกใหม่ เป็นโครงการร่วมมือกันระหว่างสถาบันนิเวศวิทยาคุนหมิง สถาบันชีววิทยาเฉิงตู เทศบาลเป่าซา เขาปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ไม้ผล ทับทิมหรือพืชไม้โตเร็ว และพืชตระกูลถั่ว (Nitrogen fixing legume species) 15 ชนิด
4. โครงการแนะนำการจัดการพื้นที่สูงยูนนาน เป็นโครงการสาธิต เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชน ตำบลหมิงจื้อหยาน มีการปลูกพืชชนิดต่างๆ รวมทั้งพืชอาหารสัตว์โปรตีนสูง ที่จริงโครงการเหล่านี้มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เพียงแต่อยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงานต่างๆ กัน มีลักษณะคล้ายคลึงกับโครงการต่างๆ ที่เราทำกันในประเทศไทยหลายโครงการ แผนกพฤกษเคมี (Phytochemistry) เป็นแผนกที่วิจัยการใช้พืช เพื่อมาสกัดตัวยาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น เป็นเครื่องหอมอาหารและยา รวมทั้งบุหรี่และเหล้าเหมาไถ ขณะนี้ผลิตยากันยุงชนิดใหม่ นอกจากป้องกันยุงและแมลงวันแล้ว ยังช่วยบรรเทาพิษอักเสบที่เกิดจากยุงและแมลงกัดต่อยไปได้บ้าง พวกเราเลยชื้อยากันยุงนี้เตรียมไว้ว่าจะทดลองกับแมลงและทากที่เขาสอยดาว ต้องดูก่อนว่าได้ผลไหม

(น.184) นอกจากนั้นยังมีการผสมกันระหว่างของต่างๆ กลายเป็นความหมายใหม่ เช่น พ่อแม่ไม่ให้แต่งงาน อีกสามวันจะหนีตาม ที่เราแอบอยู่ด้วยกันนี้ปิดความลับไม่อยู่แล้ว จดหมายทิเบตทำด้วยไม้ไผ่มีเครื่องหมายใช้ธนูยิงบอกกันเวลาคับขัน นอกจากนั้นมีหนังสือต่างๆ อีกหลายเล่ม เครื่องดนตรีมีเครื่องเป่า ขลุ่ยต่างๆ ฉาบ กลองยาว กลองมโหระทึก เผลอดูเพลินไปหน่อย เลยเวลาไปแล้วต้องรีบกลับ มาดามเฉินบอกว่าแถวนี้เป็นเขตการศึกษา นอกจากสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่รับนักเรียนชั้นมัธยมปลาย สอบเข้าตามปกติแล้ว ยังมีที่รับคนที่ทำงานอยู่แล้วมาเรียน พวกครูที่สอนนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร สอนนักเรียนมัธยมปลายที่สอบได้คะแนนไม่พอที่จะเข้ามหาวิทยาลัยให้เรียนซ้ำ กลับมานัดวิศวกรมาเล่าเรื่องไฟฟ้าพลังน้ำ ในแม่น้ำล้านช้าง (แม่น้ำโขง) ไปโรงแรมคิงเวิลด์ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานกงสุล พบกับคนไทยคือข้าราชการจากสถานทูตปักกิ่ง ข้าราชการและครอบครัวสถานกงสุลที่คุนหมิง คนไทยในเขตการดูแลของสถานกงสุล (ยูนนาน เสฉวน หูหนาน แต่หูหนานไม่มีคนไทย) มีพวกนักเรียน 7 คนที่เรียนอยู่ที่สถาบันชนชาติมณฑลยูนนาน เจ้าหน้าที่ของธนาคาร และบริษัทต่างๆ ที่มาลงทุนในยูนนานและเสฉวน จากนั้นรับประทานอาหารค่ำ ขอให้เขาลองสั่งสุนัขมา คราวนี้เป็นสุนัขน้ำแดง (คราวก่อนเป็นพะโล้) ได้คุยกันเรื่องโอกาสการลงทุนในจีน

ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 199,203


(น.199) รูป 214 ห้องคุณยาย

(น.199) สำหรับผู้ชายก็ต้องอยู่อีกทางและถือแม่ ยาย และน้าเป็นใหญ่ ผู้ชายที่มาอยู่กับผู้หญิง เวลาทำงานก็ต้องกลับไปทำงานให้แม่ตนเอง ลูกๆ บางคนไม่รู้จักพ่อเสียด้วยซ้ำไป เขาบอกว่าวิถีชีวิตแบบนี้ทำให้ครอบครัวสงบสุขและเป็นอิสระ ในหมู่ชาวโม่ซัวไม่ปรากฏว่ามีเรื่องวิวาทบาดทะเลาะ กรณีแม่ผัวลูกสะใภ้ในละครน้ำเน่าก็ไม่มี ผัวเมียตีกันซ้อมกันก็ไม่มี มีแต่ความเป็นมิตรไมตรีอันดี แต่ก็ไม่มีพันธะผูกพันจนเกินไป เข้าไปดูห้องที่อยู่ ห้องคุณยายมีเตียงอยู่ติดกับห้องครัว (ไม่น่าจะสบาย) รับแขกก็รับกันตรงนั้น มีเนื้อรมควัน หมูรมควันวางไว้ เป็นการถนอมอาหารเพื่อประกอบเลี้ยงได้ทุกเมื่อ เขาเอาหมูทั้งตัวมาแล่ควักไส้พุงออก ใส่เกลือและยี่หร่า เก็บไว้ได้ 20 ปี ยิ่งเก็บเอาไว้นานยิ่งอร่อย ถ้าอยู่บนเขาแบบประเพณีดั้งเดิมเก็บไว้ได้นาน แต่ลงมาอยู่แถวๆ คุนหมิงไม่นานก็เน่า มีแท่นบูชาบรรพบุรุษเซ่นด้วยหัวหมู ส่วนที่เป็นห้องรับแขกตรงกลางเป็นกองไฟ ไฟนี้ต้องจุดให้คุอยู่ตลอด เพราะ

(น.203)ปากถ้ำ เมื่อศัตรูมาคิดว่าไม่มีคนอยู่ คนในถ้ำจึงรอดตัวเพราะแมงมุมจึงนับถือ เรื่องนี้คล้ายกับเรื่องของฝรั่งเรื่องหนึ่งที่เคยได้ยินคือแมงมุมช่วยชีวิต มณฑลยูนนานมีชนเผ่ามาก แต่ละเผ่าก็มีนิทานของตนเอง นิทานบางเรื่องอธิบายประวัติของชื่อทางภูมิศาสตร์ (ชื่อหมู่บ้าน ชื่อภูเขา แม่น้ำ เป็นต้น) มีคนรวบรวมเรื่องพื้นบ้านเรียกว่าชื่อท้องถิ่นในยูนนาน สำหรับนิทานกวนอิมทะเลสาบเอ๋อร์ไห่ซึ่งข้าพเจ้าฟังไม่รู้เรื่องในวันนั้น มาดามเฉินมาเล่าใหม่ว่ามีมังกรดุร้ายอาละวาดทำให้เกิดน้ำท่วม กวนอิมแปลงเป็นคนแก่ เอาตราทองคำโยนลงไปในทะเลสาบทับหัวมังกรเอาไว้แถบนั้นจึงสงบ ใกล้หมู่บ้านชนชาตินี้มีสถานที่ฝึกนักกีฬาของจีน อากาศแถวนี้ดีนักกีฬาที่มาเก็บตัวได้สูดอากาศบริสุทธิ์ นักกีฬามีทั้งนักฟุตบอล ว่ายน้ำ กรีฑา วิ่งทางไกล จักรยาน กลับโรงแรม รองผู้ว่าฯ เป็นเจ้าภาพ มีรองนายกเทศมนตรี (เป็นผู้หญิง) มาร่วมรับประทานด้วย นายกเทศมนตรีและผู้ว่าราชการไปประชุมที่ปักกิ่ง อาหารมื้อนี้มีเยอะแยะตามเคย อร่อยๆ ทั้งนั้น ตั้ง 10 อย่างที่สำคัญที่สุดคือบะหมี่ข้ามสะพาน ตอนก่อนมาท่านผู้หญิงนวลผ่องแนะนำว่ามาถึงเมืองคุนหมิงแล้วต้องกินก๋วยเตี๋ยวข้ามสะพาน ตำนานเล่าประกอบอาหารนี้มาจากภาคใต้ของยูนนาน มีอำเภอ 2 อำเภอคืออำเภอเหมิงซื่อและอำเภอเจี้ยนสุ่ย ซึ่งเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นเจ้าของเรื่องเถียงกันจนถึงระดับมณฑล มณฑลตัดสินว่าเกิดทั้ง 2 อำเภอ

ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 227,238,242

(น.227) อนึ่งมีข้อน่าพึงพิจารณาว่า การแปลคำศัพท์เกี่ยวกับเขตการปกครองของประเทศต่างๆ นั้นไม่ควรยึดขนาดของพื้นที่เป็นหลักในการพิจารณาเทียบคำแปล หากแต่ควรยึดระดับและความสำคัญของเขตการปกครองนั้นในระเบียบการปกครองของประเทศนั้นๆ เพราะพื้นที่ของแต่ละประเทศมีความกว้างใหญ่ไม่เท่ากัน เขตการปกครองที่เทียบเคียงความสำคัญอยู่ในระดับเดียวกันจึงมีพื้นที่ต่างกัน แต่ในแง่ความสำคัญแล้วอยู่ในระดับเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น เสี้ยนหรืออำเภอของจีนนั้นอาจมีทั้งเสี้ยนที่มีพื้นที่มากกว่าจังหวัดของไทย หรือที่มีพื้นที่ใกล้เคียงกับจังหวัดของไทยก็มี แต่เมื่อพิจารณาระดับความสำคัญเทียบเคียงกันในการจัดระเบียบเขตการปกครองทั้งของจีนและไทยแล้ว ก็เทียบได้เท่ากับระดับอำเภอ นอกจากนั้นต้องคำนึงถึงบริบททางเวลารวมทั้งควรหาคำแปลที่สื่อความหมายได้ใกล้เคียงและสอดคล้องกับความคุ้นเคยความรับรู้ของภาษาที่ใช้สื่อสารกันในประเทศนั้นๆ ด้วย อีกประการหนึ่ง มีข้อน่าสังเกตว่า การจัดระเบียบเขตการปกครองของจีนนั้นมีทั้งจื๋อเสียซื่อหรือมหานคร เสิ่งเสียซื่อและจื้อจื้อชีว์เสียซื่อหรือนคร รวมทั้งตี้ชีว์เสียซื่อและจื้อจื้อโจวเสียซื่อหรือเมือง ซึ่งมีฐานะและระดับที่ต่างกันในระเบียบการปกครอง แต่คนจีนก็มักเรียกเขตการปกครองทั้ง 3 ระดับนี้เพียงสั้นๆ ว่า “ซื่อ” เท่านั้นมิได้เรียกโดยจำแนกออกมาอย่างเด่นชัด เช่น มหานครปักกิ่งซึ่งเป็นจื๋อเสียซื่อ คนจีนไม่ได้เรียกว่า “เป่ยจิงจื๋อเสียซื่อ” แต่เรียกว่า “เป่ยจิงซื่อ” นครคุนหมิงซึ่งเป็นเสิ่งเสียซื่อ เรียกกันว่า “คุนหมิงซื่อ” และเมืองเชียงรุ่งซึ่งเป็นจื้อจื้อโจวเสียซื่อ เรียกกันว่า “จิ่งหงซื่อ” หรือในบางครั้งก็เรียกแต่ชื่อมหานครหรือนครหรือเมืองเท่านั้น ไม่มีคำว่า “ซื่อ” อยู่ด้วย การที่คนจีนเรียกเขตการปกครองที่มีฐานะและระดับต่างกันอย่างสั้นๆ รวมกันว่า “ซื่อ” จึงอาจก่อให้เกิดความสับสนแก่ผู้ที่ไม่ทราบเรื่องการจัด

(น.238) ดอก Rhododendrons และ Azaleas ของวงศ์กุหลาบพันปี (Ericaceae) นอกจากนี้มีสวนสมุนไพร สวนรวมพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับของมณฑลยูนนาน เส้นทางคุนหมิง-ฉู่ฉยง-ต้าหลี่
- ถนนสองข้างทางส่วนใหญ่มีต้นยูคาลิปตัสหลายชนิด (Eucalyptus spp.) ปลูกเรียงแถวถี่ 1-2 แถว โคนต้นทาสีขาวทุกต้นเป็นที่สังเกตได้ง่ายแก่ผู้ขับขี่ยวดยานตอนกลางคืน ไม้โตเร็วชนิดอื่นที่ปลูกแทรก เช่น Silky oak (Grevillea robusta) Alnus nepaulensis ไม้จำพวก conifers บางชนิด ทางการอนุญาตให้ชาวบ้านละแวกใกล้เคียงรานกิ่งไปทำเชื้อเพลิงได้ แต่ไม่ให้โค่นต้น ต้นไม้ริมทางหลวงจึงมีทรงชะลูด
- บริเวณภูเขาหัวโล้นจากการแผ้วถางป่ามานานหลายศตวรรษปกคลุมด้วยสนสามใบ ยูนนาน Pinus yunnanensis ซึ่งคล้ายคลึงกับสนสามใบ Pinus kesiya ของไทย ลำต้นของสนส่วนใหญ่แคระแกร็นเนื่องจากผิวหน้าดินถูกกัดชะ ป่าสนเหล่านี้ปลูกโดยอาศัยแรงงานบางพื้นที่ที่ห่างไกลอาศัยการโปรยเมล็ดจากเครื่องบิน (aerial seeding) สนสามใบยูนนานขึ้นยึดพื้นที่เสื่อมโทรมได้ดีมาก สามารถแพร่พันธุ์ต่อไปได้ตามธรรมชาติ ตามหุบเขาและร่องน้ำที่ชุ่มชื้นจะพบต้นไม้ใบกว้างจำพวก oaks & chestnuts หรือไม้ก่อ (Fagaceae) camellias หรือชา (Theaceae) อบเชย (Lauraceae) ฯลฯ ขึ้นแทรกทั่วไปคล้ายป่าก่อสนเขา (lower montane osk-pine forest) ทางภาคเหนือของไทย
- พื้นที่ภูเขาใกล้หมู่บ้านมักจะปกคลุมด้วยป่ายูคาลิปตัส ซึ่งปลูกไว้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้มและให้ความอบอุ่น และนำใบมาสกัดเป็นน้ำมันยูคาลิปตัส

(น.242) ภาคผนวก ค ดาราศาสตร์ ณ หอดูดาวยูนนาน หอดูดาวยูนนาน (Yunnan Observatory) เป็นหอดูดาวขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในบรรดาหอดูดาวขนาดใหญ่หลายแห่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน หอดูดาวแห่งนี้ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2515 ภายใต้การดูแลของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Science) ในช่วงแรกมีชื่อเรียกว่า “สถานีคุนหมิง (Kunming Station)” ซึ่งเป็นสาขาแห่งหนึ่งของหอดูดาวเพอร์เพิลมาวน์เทน (Purple Mountain Observatory) นครนานกิง หอดูดาวยูนนาน ตั้งอยู่บนยอดเขาฟินิกซ์ (Phoenix Hill) ชานเมืองด้านตะวันออกของนครคุนหมิง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 เมตร ณ ความสูงระดับนี้สภาพอากาศจะเอื้ออำนวยให้มีทัศนวิสัยดีเยี่ยม เหมาะแก่การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ แม้ว่าหอดูดาวยูนนานจะเป็นหอดูดาวที่ค่อนข้างใหม่เมื่อเทียบกับหอดูดาวอื่นๆ ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เช่น หอดูดาวปักกิ่ง หอดูดาวเพอร์เพิลมาวน์เทิน เป็นต้น แต่ก็ถือว่าเป็นหอดูดาวที่มีความสำคัญที่ใช้เป็นฐานในการสังเกตการณ์และการวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ของประเทศจีนทางตอนใต้ และด้วยเครื่องมือทันสมัย ตลอดจนสภาพอากาศที่แจ่มใสเกือบตลอดปี นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวหลายแห่งทั่วโลกได้เดินทางมาที่หอดูดาวแห่งนี้ เพื่อร่วมมือในการสังเกตการณ์และวิจัยทางด้านดาราศาสตร์

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 2,4


(น.2) รูป 1 ถึงสนามบินคุนหมิง
Upon arrival at Kunming Airport.

(น.2) วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม 2544
ขึ้นเครื่องการบินไทยไปลงสนามบินคุนหมิง ฝ่ายสถานทูตไทยและสถานกงสุลมารับ ฝ่ายจีน มีทั้งพวกมาจากปักกิ่งและพวกยูนนาน รองผู้อำนวยการวิเทศสัมพันธ์ของมณฑลยูนนาน นั่งไปด้วยถึงโรงแรมคุนหมิง พักผ่อนแล้วโทรศัพท์ถึงซุป (ศุภรัตน์) ที่กรุงเทพฯ และหงเอี้ยนที่ปักกิ่ง

(น.4) บ่ายสามโมงเดินไปที่สถานกงสุลไทย ซึ่งเช่าที่ของโรงแรมคุนหมิง เพิ่งจัดเสร็จใหม่ๆ ด้านพาณิชย์ก็อยู่ด้วยกันที่นี่ รองผู้อำนวยการวิเทศสัมพันธ์ชมว่าทั้งกงสุลและรองกงสุลพูดภาษาจีนได้ดี ทำให้ติดต่อง่าย ดีทุกด้าน แล้วไปที่พิพิธภัณฑ์นครคุนหมิง สร้างเมื่อไรก็ไม่ทราบต้องกลับไปดูหนังสือนำเที่ยวอาจจะมีบอกไว้ แต่เรายังไม่เคยดู เมื่อมาคราวที่แล้วได้ไปแต่พิพิธภัณฑ์ชนเผ่า ที่ไปเพราะปีเตอร์บอกว่ามีเสา Dharani Pillar น่าสนใจ เสานี้สูง 6.6 เมตร มีบทความของ Louis Finot ที่ลงใน Bulletin EFEO อธิบายไว้ ดูรูปร่างคล้ายๆ เจดีย์จีน มี 9 ชั้น มีรูปจตุโลกบาล พระโพธิสัตว์ มีจารึกจีน และจารึกภาษาสันสกฤต ประพจน์ว่าเป็นคาถา ข้างบนเป็นหยดน้ำ ผู้อธิบายย้ำว่าไม่มีอิทธิพลนิกายทิเบต เป็นพุทธศาสนาแบบจีน แต่ดูๆ ก็เหมือนกับมีอิทธิพล เป็นสมบัติของเจ้าแห่งแคว้นต้าลี่ สร้างราวสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 937-1253) ดูเหมือนว่าเสาหินตั้งอยู่ตรงนี้นานแล้ว นครคุนหมิงสร้างพิพิธภัณฑ์คลุมทับเพื่อรักษาเสานี้ ในพิพิธภัณฑ์ยังมีแผนกต่างๆ อีก ที่เราไปดูเป็นแผนกเครื่องสำริด มีของแปลกๆ สมัยจ้านกว๋อที่ไม่เคยเห็นที่อื่น ดูเหมือนว่าจะเป็นลักษณะพิเศษของท้องที่นี้ เช่น ปลอกดาบมีลวดลายคล้ายๆ กับศิลปะ Précolumbien ทางอเมริกากลางและอเมริกาใต้ หีบใส่เงินเบี้ยมีฝาเป็นรูปควาย คนขี่ม้า เป็นของที่ได้มาจากสุสาน เครื่องอาวุธต่างๆ เครื่องมือเครื่องใช้ เช่น กระสวยทอผ้า เคียวเกี่ยวข้าว ระฆัง ตะเกียงนกยูง 3 ขา และอื่นๆ


(น.4) รูป 3 เสาธารณีที่มีชื่อเสียงของคุนหมิง
Dharani Pilar of Kunming.

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า17


(น. 17) รูป 4 เค้กจีน
Blowing birthday cake after dinner.

(น. 17) ท่านรองนายกรัฐมนตรีพูดถึงเรื่องการแก้ไขมลภาวะในน้ำที่ทะเลสาบเตียนฉือในนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน และการแก้ไขสภาพอากาศเป็นพิษโดยใช้รถไฟฟ้า รถยนต์ก็ให้ใช้น้ำมันไร้สารตะกั่ว แก้ไขระบบท่อไอเสีย พูดกันถึงเรื่องการจัดกีฬาโอลิมปิกว่าจะพยายามจัดใน ค.ศ. 2008 หวังว่าไทยจะสนับสนุน เมื่อเลี้ยงเสร็จกลับมาที่อาคาร 10 ข้าพเจ้าวิ่งอยู่ในห้องประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วจึงลงมือเขียนหนังสือ อ่าน China Daily มีเรื่องการเตรียมกฎหมาย Basic Law ที่จะใช้ในมาเก๊าให้ทันในวันที่ 20 ธันวาคมปีนี้ นอกจากนั้นมีเรื่องความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา มีการ

เจียงหนานแสนงาม หน้า 333,334,338,340

(น. 333) วันอังคารที่ 13 เมษายน 2542
รองผู้ว่าฯ เย่ว์ไปส่งที่สนามบิน บอกว่าจะพยายามพัฒนาเศรษฐกิจให้ดีขึ้น โดยให้มีการลงทุนทางอุตสาหกรรมและการส่งออกมากขึ้น การดึงดูดการลงทุนจากภายนอกต้องสร้างสภาพความเป็นอยู่ที่ดี เช่น การมีโรงเรียนนานาชาติ ซึ่งที่นี่มีตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยม นอกจากนั้นยังบอกข้าพเจ้าว่าตอนเครื่องบินขึ้นอย่าลืมดูบ้านชาวนา ขึ้นเครื่องบินสายการบินเจ้อเจียงไปนครคุนหมิง มองลงมาเห็นบ้านชาวนาที่เป็นแบบเดียวกันมากมาย เครื่องบินลงที่คุนหมิงเวลา 11 นาฬิกาพอดี กงสุล (คุณกมล อรจันทร์) และข้าราชการสถานกงสุลมารับ ไปที่โรงแรมโกลเด้นดราก้อนที่เคยมาพัก แต่เขาตกแต่งใหม่จนจำไม่ได้ ใหญ่โตมโหฬาร คณะสถานกงสุลและคณะที่ร่วมเดินทางกันมารดน้ำสงกรานต์ข้าพเจ้า แล้วรับประทานอาหารกลางวัน หลังอาหารไปพิพิธภัณฑ์ชนกลุ่มน้อย มีคุณเผิงเริ่นตง ผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ของมณฑลยูนนานนั่งรถไปด้วย คุณเผิงเรียนภาษาไทยรุ่นเดียวกับอธิบดีจางจิ่วหวนและกงสุลหลิวหย่งซิง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้แสดงเรื่องราวของชนกลุ่มน้อยในมณฑลยูนนาน ซึ่งมีอยู่ 25 ชนเผ่า เช่น ลีซอ เย้า แม้ว (อยู่ไม่ไกลจาก


(น. 334) รูป 223 พิพิธภัณฑ์ชนกลุ่มน้อยยูนนาน
The Nationality Museum, Yunnan Institute of the Nationalities.

(น. 334) คุนหมิง) น่าซี (ส่วนใหญ่อยู่ที่เมืองลี่เจียง) พวกฮาหนีหรืออีก้อ (ที่เหมิงไห่ และสิบสองปันนา) พวกว้าและปู้หลัง (สิบสองปันนา) พวกทิเบต (จงเตี้ยน) จ้วง (หงเหอโจว) เป็นต้น ในตู้มีหุ่นแสดงเครื่องแต่งกายของชนเผ่าต่างๆ เช่น เสื้อผ้าที่ทำจากหญ้าของพวกอี๋ (อยู่ที่ฉู่สง) เสื้อผ้าเปลือกไม้ของพวกฮาหนี เสื้อผ้าฟางของพวกจ้วง เสื้อผ้าหนังสัตว์ของพวกน่าซีและพวกหุย เสื้อผ้าป่านของพวกอี๋ เสื้อผ้าทำด้วยหัวเฉ่า (fireweed) ของพวกไต่ หรือไทย

(น. 338) มีเรื่องภาษาใบไม้ ซึ่งจะแสดงอารมณ์ต่างๆ เช่น พริก แปลว่า เกลียด เม็ดพริก แปลว่า เกลียดมาก ถ่าน แปลว่า ข่าวฉุกเฉินหรือหมู่บ้านถูกเผา ข้าพเจ้าเขียนรายละเอียดเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ [[ใต้เมฆที่เมฆใต้]] หนังสือรูปภาพพวกผูหมี่ จารึกของพวกไต่ ไปที่ร้านหนังสือ ซื้อหนังสือเกี่ยวกับชนเผ่าต่างๆ ไปนั่งสนทนากัน มีคุณเผิง คุณเก๋อซาง (เป็นคนทิเบต) อธิการบดีสถาบันชนกลุ่มน้อย และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยชนกลุ่มน้อย ข้าพเจ้าถามถึงเรื่องการบริการการศึกษาและการรักษาพยาบาลของพวกชนกลุ่มน้อยในยูนนานในเขตทุรกันดาร คุณเผิงอธิบายว่ามีหมอดูแล ส่วนการศึกษาก็เป็นไปตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการจีน ชนกลุ่มน้อยเรียนในโรงเรียนระดับประถมและมัธยม รัฐบาลช่วยออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางครึ่งหนึ่ง ต้องเรียนภาษาของตนและภาษาจีน ขณะนี้ที่สถาบันชนกลุ่มน้อยมีการสอนภาษาไทยด้วย อาจารย์เจ้าเจียเหวิน อธิการบดีสถาบันชนกลุ่มน้อยกล่าวว่าเขาต้อนรับข้าพเจ้าสามครั้งแล้ว และเล่างานของสถาบันว่าพยายามอนุรักษ์วัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆ ไว้ บุตรหลานของชนกลุ่มน้อยได้เรียนประถมมัธยมและระดับสูงกว่านั้น แต่ยังเข้ามหาวิทยาลัยน้อย ที่สถาบันมีการสอนระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี สอนเรื่องประวัติศาสตร์ชนกลุ่มน้อยและอีกหลายสาขาวิชา พยายามสร้างความสัมพันธ์กับประเทศที่มีชนกลุ่มน้อยเหมือนกัน เช่น ประเทศไทยและประเทศอื่นๆ มีการเปิดสอนวิชาเกี่ยวกับเอเชียตะวันออก สถานกงสุลไทยในคุนหมิงได้มีส่วนช่วย


(น. 340) รูป 227 งานเลี้ยงอำลา
Farewell dinner.



Next >>