Please wait...

<< Back

ลาซา

จากหนังสือ

หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 245

(น.245) หลังการปลดปล่อย รัฐบาลกลางให้ความสำคัญที่นี่และจัดงบประมาณซ่อมแซม อนุรักษ์ จัดองค์กรค้นคว้าวิจัย ใน ค.ศ. 1973 ได้ซ่อมครั้งใหญ่และท่านโจวเอินไหลพาผู้ใหญ่ของรัฐบาลต่างประเทศมา ใน ค.ศ. 1990-1996 ซ่อมอีกครั้งและอนุรักษ์ไม่ให้น้ำท่วม รอบๆ ถ้ำหยุนกั่ง มีแร่ธาตุหลายชนิด เช่น ถ่านหิน ผลิตได้ปีละกว่า 10 ล้านตัน ไม่ไกลจากหยุนกั่งมีทางหลวงสาย 109 เดินทางไปถึงเมืองลาซาได้ รัฐบาลคิดจะพัฒนาเส้นทางนี้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวโดยเฉพาะ เนื่องจากภัยธรรมชาติ ลมแรง พายุพัด หินทรายที่สลักพระพุทธรูปที่หยุนกั่งจึงเสียหายมาก นับเป็นภาระหนักยิ่งสำหรับผู้ดูแลรักษาแหล่งโบราณสถานแห่งนี้เย็นสบายชายน้ำ

เย็นสบายชายน้ำ หน้า 94,97
(น.94) ข้างในห้องมีผังทำเป็นรูปยาว ๆ รอบห้องแสดงแนวจุดน้ำ ปัจจุบันและจุดที่น้ำจะขึ้นถึง ในผัง (model) นั้นท่านนายกเทศมนตรีชี้อำเภอจงเซี่ยน บอกว่าที่นี่อาหารอร่อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเต้าหู้ น้ำจะท่วมเป็นบางส่วน หวังว่าจะไม่ท่วมโรงงานเต้าหู้ ข้าพเจ้าทักว่าที่สือเป่าไจ้ตามที่แสดงในผังนั้นแนวน้ำท่วมต่ำเกินไป เมืองว่านเซี่ยนจะท่วม 60 กว่าเปอร์เซ็นต์ กลางห้องเป็นโต๊ะทราย แสดงสภาพปัจจุบันและใน ค.ศ. 2010 ที่จะมีเมืองใหม่ มีสาขาของแม่น้ำฉางเจียง ชื่อ แม่น้ำจู้ซีไหลผ่าน แบ่งเป็นเขตหลงเป่า เทียนเฉิง และอู่เฉียว ในเขตอพยพจะเปิดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ตัวเมืองเก่าหลงเป่า ถนนสาย 318 เป็นทางหลวงระดับชาติเชื่อมเซี่ยงไฮ้กับนครลาซา (ในทิเบต) มีสะพานข้ามแม่น้ำ อีกด้านเป็นแนวทางรถไฟผ่านต๋าเซี่ยนไปเฉิงตู จะสร้างสนามบินอู่เฉียวปีหน้า ใช้เวลา 2 ปี ที่ทำการเทศบาลจะไม่ย้ายเพราะน้ำไม่ท่วม


(น.94) รูป 84 รอบ ๆ ห้องแสดงระดับน้ำ


(น.97) รูป 87 เสาสะพาน

(น.97) นั่งรถไปดูสะพานที่กำลังสร้าง ในรถนายกเทศมนตรีเล่าว่า เมืองนี้ในฤดูร้อน อุณหภูมิสูงสุด 40 องศาเซลเซียส หนาวที่สุด 5 องศาเซลเซียส จึงได้เปรียบในด้านการเพาะปลูก สามารถเก็บเกี่ยวได้ปีละ 3 ครั้ง ด้านอุตสาหกรรมมีอุตสาหกรรมเคมี อาหาร ทอผ้า เครื่องกล ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเบา ปัจจุบันมีวัสดุก่อสร้าง ปูนซีเมนต์ ดินเผา พลาสติก เครื่องตกแต่งภายใน มหาวิทยาลัยว่านเซี่ยนเพิ่มการพัฒนาอบรมในด้านต่าง ๆ สำหรับการเปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดโครงการซานเสีย สะพานขนส่งทางบกนี้เป็นส่วนของถนน 318 ที่จะเชื่อมนครต่าง ๆ คือ ลาซา เฉิงตู ฉงชิ่ง ว่านเซี่ยน อู่ฮั่น หนานจิง (นานกิง) เซี่ยงไฮ้ เป็นโครงการสำคัญของกระทรวงคมนาคม สะพานนี้ยาว 856 เมตร กว้าง 24 เมตร สูง 250 เมตร การสร้างใช้คอนกรีตเหล็กกล้า ข้ามแม่น้ำโดยใช้โครงสร้างโค้งเดี่ยว ยาว 420 เมตร โครงสร้างลักษณะนี้ในประเทศจีนที่นี่ใหญ่ที่สุด เท่าที่ท่านนายกเทศมนตรีทราบ ยูโกสลาเวียก็มีโครงสร้างแบบนี้ แต่ยาวเพียง 390 เมตร เขตสะพานนี้ต่อไปจะเป็นเมืองใหม่ เริ่มย้ายโรงงานเกลือมาทางนี้แล้ว กำลังสร้างโรงงานดินเผา ศูนย์พาณิชย์ และธนาคารประชาชน

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 268,269

(น.268) ข้าพเจ้าเตรียมจะไปทิเบต ถามว่าที่ทิเบตมีข้อมูลเกี่ยวกับโภชนาการบ้างหรือไม่ ดร.เก้อบอกว่ามีข้อมูล ค.ศ.1992 เฉพาะแต่ในเมือง บุคลากรสำหรับสำรวจไม่มี การส่งคนไปช่วยก็ยาก เพราะว่าการเดินทางไม่สะดวก จะมีการประชุมใหญ่ด้านโภชนาการอีกครั้งในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ.2002 เดินทางไปทิเบต ถ้าไปชิงไห่ ไปซีหนิง (เมืองหลวงของมณฑล) สูงประมาณ 3,500 เมตร ไปลาซาจะต้องนั่งรถไป จากเฉิงตูมีทางไป (ตอนนี้ชักงงต้องหาข้อมูลว่าจริงๆ ไปได้ไหม) แถบๆ ลาซาก็มีศูนย์วิจัยต่างๆ เช่น เรื่องการสะสมของธารน้ำแข็ง ความร้อนจากพื้นดิน

(น.269) รูป 271 รองอธิการเฉินเอาหนังสือเกี่ยวกับ Biotechnology ที่แต่งสำหรับโรงเรียนมัธยมมาให้ (น.269) ที่ลาซามีการศึกษาด้านรังสี (Radiation Measurement) รังสีจากดวงอาทิตย์มีปัญหาต่อผิวหนังต้องป้องกัน เขาสังเกตกันว่าดอกไม้ที่นั่นใหญ่กว่าที่อื่น กลางวันอุ่น กลางคืนหนาว ทางตะวันออกของทิเบตมีเครือข่าย GPS มาก มีปัญหาด้านแผ่นดินไหวมากกว่าที่อื่น ก็เลยต้องศึกษาอย่างดี

มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 127

(น.127) สนามบินห่างตัวเมือง 70 กิโลเมตร รถแล่นประมาณชั่วโมง อาจจะมากกว่านั่งเครื่องบินจากซีอานมาเสียอีก เมืองนี้มีภูเขาอยู่สองข้าง ตรงกลางมีแม่น้ำหวงเหอ จึงต้องใช้ที่ที่ค่อนข้างจะราบเป็นสนามบิน เลยอยู่ไกลหน่อย นับว่าเป็นสนามบินที่ไกลเมืองเป็นที่สองของจีน (ที่หนึ่งคือลาซาในทิเบต) เคยได้รับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น คราวนั้นเปียนเหมยก็มาอารักขา

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 57

(น.57) จุดสุดท้ายก่อนจะเดินทางออกจากวัด คือ อาคารปั้นเนย ศิลปะการปั้นเนยถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางศิลปะอย่างหนึ่งของวัดนี้ มีชื่อเสียงทั้งในประเทศจีนและในต่างประเทศ อาคารนี้สร้างใน ค.ศ. 1988 และต้องติดแอร์เพื่อรักษารูปทรงของเนยเอาไว้ พระในวัดนี้เป็นผู้ปั้นเนย และปั้นใหม่ทุกปี จะปั้นเป็นรูปอะไรนั้นพระที่เป็นผู้นำชมบอกว่าเจ้าอาวาสเป็นผู้กำหนด เมื่อปั้นเสร็จจะเอาไปแสดงกลางแจ้งให้คนดูวันหนึ่ง แล้วเอาไปเก็บในอาคารแทนรูปเก่าของปีก่อน ตามประวัติเล่ากันมาว่า พระอาจารย์จงคาปาสร้างวัดนี้แล้วไปทิเบต เพื่อไปชุมนุมสาวก 100,000 รูป ที่วัดต้าเจ้าในเมืองลาซา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ นอนหลับได้บังเกิดนิมิตฝันว่า ในท่ามกลางฤดูหนาว ดอกไม้กลับบานสะพรั่ง พระโพธิสัตว์เสด็จมา เมื่อตื่นขึ้นเล่าฝันให้สาวกทั้งหลาย มีผู้คิดขึ้นมาว่าจะต้องใช้เนยปั้นรูปความฝันของพระอาจารย์เอาไว้ จึงเป็นธรรมเนียมมากระทั่งทุกวันนี้

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 86,87,88


(น.86) รูป 80 คณะต้อนรับชาวทิเบตที่สนามบินก้งก่า ลาซา
With Tibetan welcoming party at the Gonggar Airport, Lhasa.

(น.86) ไปสนามบินเพื่อเดินทางต่อไปทิเบต ตอนนั่งรถไปสนามบินสวนกับขบวนรถของรัฐมนตรีต่างประเทศถังเจียสวน มาถึงที่ลาซาประมาณบ่ายโมงครึ่ง มีคณะต้อนรับคือ รองประธานสภาทิเบตเป็นผู้หญิง เคยพบกันที่เมืองไทย พิธีต้อนรับเหมือนที่ชิงไห่คือ ให้ดีดเกลือไปข้างหลัง 3 ที และดีดเหล้าไปข้างหลังอีก 3 ที ไม่ต้องดื่ม

(น.87) ถ่ายรูปหมู่กับคณะผู้นำทิเบตที่มารับ เข้าห้องน้ำและนั่งรถไปนครลาซา คำว่า ลาซา แปลว่า เมืองเทพ สนามบินลาซานี้ชื่อ สนามบินก้งก่า อยู่ห่างจากเมืองประมาณ 90 กิโลเมตร (ไม่ทราบว่าจริงหรือเปล่า เพราะเอกสารของสถานทูตบอกว่า 100 กิโลเมตร ในเครื่องบินบอกว่า 80 และคนขับรถบอกว่า 90) ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมงครึ่ง รถแล่นเลียบแม่น้ำหย่าลู่จ้างปู้ ภาษาทิเบตว่า แม่น้ำยาร์ลุงซังโป (Yarlung Zangbo) ต้นน้ำอยู่ในทิเบต แล้วไหลไปลงอินเดีย เป็นแม่น้ำพรหมบุตร ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน ส่วนที่ไม่มีเมฆเป็นสีฟ้าแจ๋ว คนขับรถบอกว่าที่นี่ไม่ค่อยจะมีอุตสาหกรรมเลยไม่มีมลภาวะ ที่ลาซานี้สบาย หน้าหนาวไม่หนาวมาก หน้าร้อนไม่ร้อนเกินไป หิมะไม่ตกแต่ฝนตก รถแล่นเลียบแม่น้ำสายนี้ อีกด้านเป็นภูเขา ภูเขาที่นี่ไม่มีต้นไม้มีแต่หิน ดูแล้วหน้าหนาวน่าจะมีหิมะ เพราะกัดเซาะหินทรายไหลลงจากภูเขาเป็นทาง คนขับรถบอกว่าคนแก่มาที่นี่ไม่เป็นอะไร แต่คนหนุ่มสาวอาจจะไม่สบาย คนหนึ่งมาจากปักกิ่งอายุ 96 ยังไม่เห็นเป็นอะไร

(น.88) รถแล่นข้ามแม่น้ำ 2 ข้างทางเป็นไร่นา แปลงผักก็ดูอุดมสมบูรณ์ดี เป็นช่วงเก็บเกี่ยว แล่นตามแม่น้ำลาซาเข้าเมืองลาซา ฝนตกลงมาหน่อยหนึ่ง ข้ามแม่น้ำอีกครั้งก็เข้าเมือง ไปถึงโรงแรมมีคนเต้นแบบสิงโตแต่เป็นตัวจามรี ไม่ได้ดูมาก ขึ้นบนห้อง รองประธานสภากับอธิบดีวิเทศสัมพันธ์ของทิเบตมาพูดถึงโปรแกรม แล้วให้พักผ่อน ส่ง email ได้ ท่านทูตก็ดูสบายดีไม่มีใครเป็นอะไร ท่านรองประธานสภาเดินมาเล่าถึงรายการ แต่บอกว่าวันนี้ห้ามทำอะไรทั้งนั้นพรุ่งนี้จะได้สบาย ในห้องนอนมี oxygen ให้เราทดลองสูดรู้สึกจั๊กจี้ ชักหิวก็เลยกินหมูเส้นกับมาม่าหมูสับ ลองโทรศัพท์ถึงซุปที่กรุงเทพฯ ก็โทรฯ ได้ สัญญาณชัดเจนดี ที่จริงเขาห้ามอาบน้ำสระผม ทดลองดูก็ไม่เห็นเป็นอะไร เขามีอุปกรณ์ออกกำลังกาย แต่ยังไม่กล้าลอง


(น.88) รูป 81 ระบำทิเบต “ระบำจามรีกับนายพราน” ต้อนรับหน้าโรงแรมที่พัก
Yaks and hunters dance in front of the hotel.