Please wait...

<< Back

ไหหลำ

คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 17


(น.17) รูป 9 ทิวทัศน์หมู่บ้านพระเจ้าตาก

(น.17) เขาเล่าว่าคนที่เชื่อกันว่าสืบเชื้อสายจากพระญาติพระเจ้าตากก็ยังอยู่ แต่เข้าไปทำงานในเมืองเฉิงไห่หมดแล้ว นอกจากแซ่แต้แล้วตระกูลที่มีมากคือแซ่ตั๊ง หรือที่ไทยเรียกว่า แซ่ตั้ง (หรือตัน ภาษาไหหลำว่า ด่าน ภาษากลางว่า เฉิน)

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 68,72,86

(น.68) พิพิธภัณฑ์กวางโจว ตึกพิพิธภัณฑ์นี้เป็นตึกโบราณชื่อว่า เจิ้งไห่โหลว แปลตามศัพท์ว่า ตึกหันสู่ทะเล มีความหมายว่า ตึกชมทะเล อยู่บนเนินเขาเยว่ซิ่ว เป็นอาคาร 5 ชั้นแบบจีน สูง 28 เมตร สร้างเมื่อ ค.ศ. 1380 สมัยราชวงศ์หมิง ผู้สร้างคือนายพลจูเลี่ยงลู่ ซึ่งมาปกครองดินแดนกวางตุ้ง

(น.72) ขึ้นไปดูที่ชั้น 2 แสดงประวัติศาสตร์สมัยฮั่นถึงสมัยหยวน ตั้งแต่สมัยฮั่น กวางโจวเป็นเมืองท่าที่ส่งเรือออกไปติดต่อเกาะไหหลำ เกาะพาราเซลส์ (จีนเรียกซีชา) และทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(น.86) อาคารชั้นใน มีที่บูชา มีรูปปั้น อาคารข้างๆ แสดงศิลปหัถกรรมหลายอย่าง แสดงการปักไหม ผ้าลูกไม้ทำมากสมัยราชวงศ์ชิง มักจะทำประสมกับการปักผ้า ผ้าชาวเขาเผ่าต่างๆ ในไหหลำ มีพวกม้ง พวกเย้า

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 236,238

(น.236) กลาง มณฑล ภูมิภาคปกครองตนเอง และมหานครต่างๆ มอบของขวัญให้แก่ HKSAR เวลามอบมีตะกร้าใหญ่ๆ มาตั้งบนเวที มีคนแต่งตัวเป็นชนพื้นเมืองจูงเด็กแต่งตัวเป็นชาติต่างๆ เอาดอกไม้ใส่ตะกร้า ขณะที่ประกาศชื่อว่าใครให้ของอะไร ฉายรูปของขวัญให้ดูชัดๆ ในจอ ฉายแผนที่มณฑลและสถานที่ที่ให้ของ และรูปทิวทัศน์ในที่นั้นด้วย มีคำอธิบายดังนี้
รัฐบาลกลาง ให้รูปปั้นทำด้วยสำริดหุ้มทอง เป็นรูปดอกชงโค (Bauhinia) บานตลอดกาล มีคำอธิบายว่าดอกชงโคเป็นสัญลักษณ์ของ HKSAR ตั้งอยู่บนฐานทำด้วยหินแกรนิตสีแดงจากเสฉวน ทำเป็นรูปกลมและรูปเหลี่ยม เป็นสัญลักษณ์ของทั้งประเทศและรูปกำแพงเมืองจีนที่สลักไว้ด้านใน หมายถึง มาตุภูมิที่ยิ่งใหญ่ รูปดอกชงโคเป็นศิลปะแบบจีน หมายถึง อนาคตอันมั่งคั่งของฮ่องกง รูปปั้นดอกชงโคนี้สูง 6 เมตร
มหานครปักกิ่ง ให้แจกันถมปัดแบบจิ่งไท่หลาน แสดงความยินดีทั่วโลก
มหานครเทียนสิน ให้พรมแขวนผนังเป็นรูปกำแพงเมืองจีน
มณฑลเหอเป่ย ให้ขวดแก้วเจียระไนที่เขียนข้างในขวด แสดงความยินดีระดับชาติ
มณฑลซานซี ให้รูปจำลองเจดีย์ที่ตำบลอินเซี่ยงทำด้วยไม้สลัก

(น.238) มณฑลหูหนาน ให้ฉากปัก รูปฤดูใบไม้ผลิที่ทะเลสาบตงถิง
มณฑลกวางตุ้ง ให้หยกสลัก รูปการเดินเรือที่ราบรื่น
ภูทิภาคการปกครองตนเองกว่างซี จ้วง ให้ไม้สลัก รูปสะพานแห่งความสามัคคี
มณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ให้หอยสลัก รูปทั้งโลกร่วมกันเบิกบาน

แกะรอยโสม
แกะรอยโสม หน้า 95-96

(น.95) การใช้ GIS ช่วยในการพยากรณ์การเกิดน้ำท่วม สร้างโมเดลซึ่งสามารถ plot อดีตและคาดอนาคตได้เช่นโครงการศึกษาทะเลสาบตงถิงซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีขนาดเล็กลง ศึกษาแม่น้ำหวงเหอในมณฑลซานตง เพื่อให้ทราบว่าส่วนไหนเป็นที่อันตราย และเพื่อให้ย้ายประชาชนไปที่ปลอดภัยได้ทัน โครงการทำแผนที่ ความสามารถที่จะพัฒนา (Potential map) ที่เกาะไหหลำ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่น

(น.96) โครงการศึกษาติดตามเรื่องหิมะ ซึ่งมีความสำคัญมากในด้านแหล่งน้ำของดินแดนทะเลทราย ในเรื่องนี้นอกจากจะใช้ภาพดาวเทียม สัญญาณภาพจาก Airborne Sensors ต่างๆ แล้ว ยังใช้เครื่องมือวัดการสะท้อนคลื่นภาคพื้นดิน ดูความลึกของหิมะ ระยะเวลาที่หิมะตก (หิมะเก่า หิมะใหม่)
การศึกษาการเคลื่อนที่ของแม่น้ำหวงเหอซึ่งย้ายที่รวดเร็วมาก เห็นได้ชัดจากภาพ ใน ค.ศ. 1975, 1976, 1981, 1986
การสำรวจแร่ การใช้ดาวเทียมศึกษาผลผลิตข้าวโพดฤดูหนาวในเกาะไหหลำ

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 18,20

(น.18) การอนุรักษ์พืชพรรณธรรมชาติเขตร้อน ซึ่งสามารถร่วมงานกับไทยได้นั้นมีอยู่ 2 แห่ง คือ ที่สิบสองปันนา และที่เกาะไหหลำ อยากให้มีการขยายงานเพิ่ม และแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญกับไทย ในจีนเริ่มทดลองปลูกยางพารา โดยเอาพันธุ์จากไทยและพม่า ส่วนมากซื้อจากไทย (ว่าท่านรัฐมนตรีกู้เป็นผู้ซื้อ) หลายแสนตัน น้ำมันปาล์มซื้อจากมาเลเซีย ท่านรัฐมนตรีกู้ (เคยเป็นผู้แทนอยู่มณฑลเจียงซู) เล่าว่าปีที่แล้วไปเมืองไทย ทำความตกลงซื้อยางพารา และได้ไปสวนยางพาราทางด้านตะวันออกได้ไป EASTERN SEABOARD ด้วย

(น.20) อ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษมีข่าวน่าสนใจอื่นๆอีก เช่น เรื่องธนาคารโลกให้เงินกู้จีนสำหรับการอนุ- รักษ์ป่าไม้ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อใช้ในโครงการปลูกป่า ขยายป่าสงวนแห่งชาติ การปลูกป่าเศรษฐกิจ (เพื่อใช้ไม้) เขตโครงการอยู่ทางทิศใต้ และตะวันออกของจีน (กวางตุ้ง กวางสี ไหหลำ ยูนนาน หูหนาน หูเป่ย เจ้อเจียง และชานตุง) มีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เชื่อมศูนย์ป่าไม้ทั้งประเทศ ทำให้เจ้าหน้าที่ประสานงานกันแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น มีระบบติดตามควบคุมผลไม่ให้การปลูกป่าก่อให้เกิดการพังทลายของดิน โครงการเงินกู้ของธนาคาร โลกนี้นอกจากมีเป้าหมายในการปลูกป่าแล้ว ยังมุ่งให้มีแนวคิดใหม่และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในงานป่าไม้ การสร้างแนวป่ากันชน (Shelter-belts) และปรับปรุงการดำเนินการของอุทยานแห่งชาติ

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 37

(น.37) แผนที่เก่าแก่ที่สุด เขียนขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1137 เป็นสำเนา (Rubbing) จากแผ่นหิน มีชื่อเมือง เช่น แต้จิ๋ว ไหหลำ เวียดนาม ค่อนข้างจะตรงกับแผนที่สมัยปัจจุบัน

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 109

(น.109) สหประชาชาติ (เข้าใจว่าหมายถึง UNDP) ได้ดำเนินการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษใน subregion ที่กำลังพัฒนาให้ตัวแทนนักวิชาการจาก 14 ประเทศรวมทั้งอาจารย์ไทยมาสัมมนาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา เมื่อเมืองเฮยเหอสามารถร่วมมือกับเมืองบลาโกเวชเชนสก์แล้ว การติดต่อจะเป็นไปตามธรรมเนียมระหว่างประเทศมากขึ้น มีการยืดหยุ่นและมีการให้สิทธิพิเศษต่อกันได้ง่ายขึ้น สำหรับด้านฮาร์ดแวร์ มีสายการบินติดต่อกับเมืองอื่น แม้เครื่องบินที่มีอยู่ยังเล็กก็ติดต่อกันได้ รถไฟภายในมีหลายสายขนส่งทางน้ำตามแม่น้ำและทะเลก็ติดต่อได้ ทางหลวงก็มีหลายสายกำลังวางแผนสร้างสนามบินขนาดกลาง โทรศัพท์ปัจจุบันนี้หมุนพูดระหว่างประเทศได้ มีโทรเลข Fax สรุปแล้วการเปิดประเทศรอบด้านคล้ายๆ กับคันธนู เซินเจิ้น ไหหลำ ติดฝั่งทะเลเป็นสายธนู เซี่ยงไฮ้เป็นคันธนู (ไม่รู้ว่าทำไม) พูดอีกอย่างหนึ่งเปรียบกับแม่เหล็ก เซินเจิ้น ไหหลำเป็นขั้วใต้ เซี่ยงไฮ้เป็นขั้วกลาง เฮยเหอเป็นขั้วเหนือ ด้านใต้ใกล้ชิดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านนี้ใกล้เอเชียตะวันออก