<< Back
กานซู
จากหนังสือ
เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 96-97
(น.96) ศาสตราจารย์เฉินได้สรุปงานของสถาบันว่า
(น.97)
1. เฝ้าระวังภัยธรรมชาติ (Natural Disaster Monitoring) เช่น ความแห้งแล้ง ดินถูกชะกัดกร่อน (Soil Erosion) ป่าไม้ถูกตัด (Deforestation)
2. พยากรณ์ผลผลิตพืช (Forecasting of Crop Production) พืชที่ศึกษามีข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวเจ้า ฝ้าย ขณะนี้สถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมของจีนมีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นระบบเศรษฐกิจ การตลาด มีการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้น จำเป็นต้องทราบผลแน่นอนขึ้น ต้องประมาณผลผลิตด้วยการใช้ Remote Sensing และ GIS
3. การวางผังเมือง (Urban Planning) เกิดจากการที่ปัจจุบันคนเข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่ และชนบทเองก็กลายเป็นเมือง (Urbanization)
4. การศึกษาบริเวณฝั่งทะเล ซึ่งเศรษฐกิจเติบโตรวดเร็วมาก ต้องศึกษาด้านระบบเทคโนโลยี รวมทั้งเรื่องภัยธรรมชาติ เช่น ไต้ฝุ่น พายุ
5. การเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อม ในเขตแห้งแล้ง (arid) และกึ่งแห้งแล้ง (semi-arid) ทางตะวันตก การเกิดพายุทรายในมณฑลกานซู
ข้าพเจ้าเล่าว่าจะไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ท่านก็บอกว่าที่ฉางชุนมี Remote Sensing Experimental Station อยู่ใต้ China Academy of Sciences เช่นเดียวกัน
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 2 เหลียวหนิง หน้า 29-30
(น.29) ห้องที่ 5 สมัยเว่ย จิ้น จนถึงถัง (คริสต์ศตวรรษที่ 3-8) ของที่ตั้งแสดงมีจานฝนหมึก ภาชนะ เครื่องประดับ คนแถวเหลียวหนิงตะวันตกเรียกว่าพวกเซียนเปย เป็นบรรพบุรุษของพวกหนู่เจิน พวกนี้เป็นเผ่าพันธุ์ใกล้เคียงกับพวกกลุ่มชนที่อยู่
(น.30) รูป 46 หินหลุมศพ
(น.30) แถวๆ ตุนหวง มณฑลกานซู พบหลุมศพน้องกษัตริย์ ของที่พบมีแก้วมาจากทางตะวันตก เข้าใจว่าแถวๆโรม ฉะนั้นถือได้ว่าเส้นทางแถบนี้ต่อมาจากเส้นทางสายแพรไหม มีพระราชลัญจกรทองคำ หมวกทองคำ (มีช่อดอกไม้ทองคำประดับที่ยอดหมวก) มีลักษณะคล้ายๆกับหมวกที่พบในอัฟกานิสถาน อุปกรณ์การขี่ม้า เช่น บังโกลน สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องใช้ของคนในสังคม เลี้ยงสัตว์เร่ร่อนในทุ่งหญ้า
มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 40
(น.40) ที่นี่แต่ดั้งเดิมเป็นบ้านเกิดของพระเจ้าปูยี พระเจ้าแผ่นดินองค์สุดท้ายของจีน การสร้างอาคารใหม่จึงพยายามทำให้กลมกลืนกับบรรยากาศเดิม เมื่อมาดามซ่งชิงหลิงเสียชีวิตไปแล้ว จึงตั้งเป็นมูลนิธิเมื่อปี 1982 มีกิจกรรม คือ รักษาบ้านที่มาดามเคยพักอยู่ไว้ในสภาพที่ดีอย่างเดิม ทำพิพิธภัณฑ์ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน กิจกรรมเพื่อสังคมก็มีหลายอย่าง เช่น
1. สร้างสวนเยาวชนทางวิทยาศาสตร์ที่ปักกิ่ง กำลังก่อสร้างแต่ยังไม่เสร็จ เพราะมีปัญหาเรื่องการเงิน ตามแผนศูนย์นี้จะมีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ห้องสมุด ห้องฝึกภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ ดนตรี
2. ให้รางวัลเงินทุนสำหรับผู้ที่เขียนวรรณกรรมสำหรับเด็ก ส่งเสริมให้มีการเขียนหนังสือเด็กมากขึ้น
3. ให้รางวัลรายการโทรทัศน์ดีเด่น เรื่องเกี่ยวกับชีวิตนักเรียน
4. สนับสนุนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์
5. ฝึกอบรมครูอนุบาล เน้นการฝึกครูอนุบาลสำหรับโรงงาน
6. รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ร่วมมือทำรายการเด็กในโทรทัศน์
7. ร่วมมือกับองค์การ UNICEF ให้ทุนช่วยเหลือคนในเขตชนกลุ่มน้อยหรือเขตทุรกันดาร
8. สร้างโรงพยาบาลพักฟื้นขึ้นในมณฑลกานซู
9. ในกุ้ยโจว ที่เจิ้งหนิงเป็นถิ่นกันดารยากจน ทำห้องอ่านหนังสือสำหรับเด็ก
10 ในมณฑลหนิงเซียขาดเคลนน้ำ ก็ได้ขุดบ่อบาดาล และสร้างโรงเรียนประถม
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 73,85,96
(น.73) ที่พิพิธภัณฑ์ส่านซีจะจัดนิทรรศการที่ผู้อำนวยการ (อาจารย์หวาง) พูดเมื่อคืนนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการสำรวจของสหประชาชาติ ตอนทีมสำรวจดำเนินการจะมีการถ่ายทอดดาวเทียมไปต่างประเทศด้วย เส้นทางสำคัญในการสำรวจครั้งนี้คือเมืองอีซาน สุสานเม่าหลิง เฉียนหลิง วัดฝ่าเหมินซื่อ เมืองเป่าจี (ออกจากซีอานไปประมาน 200 กิโลเมตร) อยู่บริเวณซีอาน 5-6 วัน แล้วไปเมืองต่าง ๆ ในมณฑลกานซู ได้แก่เมืองเทียนสุ่ย หลานโจว อู่เว่ย จิ่วฉวน เดินทางตามแม่น้ำเว่ย ที่เมืองตุนหวงมีการจัดสัมมนาทางวิชาการ ส่วนที่มณฑลซินเกียงไปเมืองทู่หลู่ฟัน เมืองเกาชาง คูเชอ ข่าชือ หลังจากจัดโครงการนี้แล้วจะดำเนินงานต่อไปอีก 16 ปี โดยแยกเป็นหัวข้อวิชาการต่างๆ การสำรวจได้รับความสนับสนุนจากหลายประเทศในโลก ประธานยูเนสโกมาร่วมประชุมด้วย
(น.85) รอบ ๆ มีสุสานบริวาร เป็นของเจ้าหญิง 4 เจ้าชาย 2 เจ้าเมือง 3 เสนาบดี 8
ของที่ได้จากสุสาน ที่เอามาจัดแสดงมีของจำลองเล็ก ๆ เป็นดินเผาเคลือบ 3 สี (น้ำตาล เขียว ขาว) มีที่ตั้งอาวุธ บ่อน้ำโบราณ ครก กระเดื่องตำข้าว หม้อเล็ก ๆ โต๊ะ ตุ๊กตาดินเผาทาสี คนขี่ม้าเป่าขลุ่ย ขี่ม้าล่าสัตว์ ยิงธนู มีเสือดาวนั่งอยู่หลังม้า อีกตัวมีหมานั่งหลังม้า ม้าตัวใหญ่ ทองคำประดับม้า (ม้าทำด้วยไม้ผุไปแล้ว) สัตว์พิทักษ์สุสาน (คล้าย ๆ กิเลน) ที่นี่ม้าเป็นเรื่องสำคัญมาก เมื่อคืนนี้รองผู้ว่าราชการพูดถึงม้าหลายชนิด ข้าพเจ้าฟังแล้วงง ข้าพเจ้าขอให้อาจารย์สารสินช่วยสืบว่าตกลงมีชนิดไหนบ้าง ได้ความว่ามี 4 ชนิด ดังนี้
1. ม้าต้าหวัน ต้าหวันหรือเฟอร์กานา (Ferghana) เป็นชื่อแคว้นของชนเผ่าหนึ่ง มีการติดต่อกับจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ปัจจุบันอยู่ในเขตอูซเบกิสลานในรัสเซีย รูปปั้นของม้าต้าหวันมีอยู่ที่สุสานเม่าหลิง
2. ม้าจากรูปปั้นม้าเยียบนกบิน คือม้าอูซุนจากแถบลุ่มแม่น้ำอีลี่ มณฑลซินเกียง
3. ม้าของฉินซื่อหวงตี้ คือม้าเหอชูวจากมณฑลกานซู
4. ม้าบิน (มีปีก) เดิมตั้งอยู่หน้าสุสานเจ้าหลิง เป็นมาเปอร์เซียหรืออิหร่าน
(น.96) เข้าไปดูในร้านขายของที่ระลึกครู่หนึ่ง ข้าพเจ้าซื้อ Rubbing จารึกบทกวีโบราณมา 2 แผ่น แล้วเดินทางย้อนกลับทางเก่าเพื่อไปเม่าหลิง ซึ่งเป็นสุสานในสมัยราชวงศ์ฮั่น คุณหันเล่าเรื่องสุสานเม่าหลิงให้ฟังว่ามีลักษณะคล้าย ๆ กับพีระมิดของอียิปต์ สูงถึง 40 เมตร สุสานนี้ถูกขโมยหลายครั้ง ทางราชการจึงยังไม่ได้ขุดค้น ใกล้ ๆ สุสานของจักรพรรดิมีสุสานของหัวชู่ปิ้ง ซึ่งเป็นนายพลหนุ่มสู้รบกับพวกชนกลุ่มน้อยฉยุงหนู (ที่ฝรั่งเรียกว่า Hun) ในมณฑลกานซู ได้ชัยชนะหลายครั้ง เป็นผลให้สามารถดำเนินการค้าในเส้นทางค้าแพรไหมได้สะดวก อิทธิพลของราชวงศ์ฮั่นจึงแผ่ขยายไปได้ถึงมณฑลซินเกียง หัวชู่ปิ้งเป็นเจ้าของวาทะที่ว่า ถ้ายังปราบฉยุงหนูไม่ได้จะคิดถึงบ้านเรือนได้อย่างไร หัวชู่ปิ้งเป็นคนกล่าวอย่างนี้เป็นคนแรก นายพลยุคหลัง ๆ ก็ชอบนำคำพูดนี้มากล่าวเลียนแบบ หัวชู่ปิ้ง (ป่วยตายเอง) เมื่ออายุเพียง 24 ปี จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้เสียพระทัยมากจึงทรงสร้างสุสานมโหฬารให้เขา บนยอดสุสานทำรูปภูเขาฉีเหลียนซึ่งเป็นสถานที่ที่หัวชู่ปิ้งรบได้ชัยชนะหลายครั้ง เอาหินมาแกะสลัก โดยเลือกเอาหินที่มีรูปร่างต่าง ๆ มาตัด และแกะให้เป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ให้มีชีวิตชีวา ก้อนหินแกะสลักที่มีชื่อเสียงที่สุดคือรูปม้าเหยียบฉยุงหนู แล้วคุณหันก็เล่าเรื่องทู่หลู่ฟัน เรื่องซินเกียงอะไรอีกเยอะแยะ จนไปถึงสุสานเม่าหลิงเห็นคนกำลังปีนอยู่หลายคน แต่เราไม่ได้ไปที่สุสาน เลยไปที่พิพิธภัณฑ์ ผู้อำนวยการมาต้อนรับพาไปนั่งอธิบายที่ในห้องรับแขกตามเคย คราวนี้ไม่ค่อยมี
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 111,114
(น.111)ไปถึงพิพิธภัณฑ์ตุ๊กตาทหารของฉินซื่อหวงตี้
(น.114) พื้นของบริเวณที่ปูด้วยอิฐ เดิมเป็นอุโมงค์มีหลังคาคลุม มีเสา (ยังเห็นหลุมเสา) แต่ถูกไฟไหม้พังลงมา การเรียงตุ๊กตาหลุม 1 นี้ เป็นแบบการจัดกองทัพที่จะออกรบ ด้านหน้า 3 แถว แถวละ 68 คน รวม 204 คน มีนายทหารควบคุม 2 คน ทั้งหมดนี้เป็นกองหน้า มีทหาร 38 ขบวน รวมแล้ว 6,000 กว่าคน เป็นกองทหารใหญ่มาก แสดงความองอาจผ่าเผย ม้าของทหารเหล่านี้เป็นม้าเหอชูวอยู่ที่กานซู หัวธนูก็พบมาก มีสามหมื่นกว่าชิ้น
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 129-136,138-143
(น.129) พฤหัสบดีที่ 12 เมษายน 2533
เช้านี้อากาศข้องนอกหนาวมาก น้ำที่ขังอยู่บนหลังคา กลายเป็นน้ำแข็งเหมือนอยู่ในตู้เย็น แดดออกยังไม่ยอมละลาย ที่นี่เขาไม่ถามว่าจะรับประทานอาหารเช้าแบบจีนหรือแบบฝรั่งแต่จัดมาเลย รู้สึกว่าจะปนทั้ง 2 อย่างคือ มีไข่ดาว ขนมปังทาเนยทาแยม ข้าวต้มใส่ถั่วเขียว มีเครื่องข้าวต้ม หม่านโถว
เกือบ ๆ จะเก้าโมงเช้าเลขาธิการมณฑล ซึ่งคุณหลิวอธิบายให้ฟังว่าคล้าย ๆ กับปลัด เป็นผู้นั่งรถพาไป เขาเล่าว่าพิพิธภัณฑ์มณฑลที่เราจะไปนี้สร้าง ค.ศ. 1956 อยู่ในเนื้อที่ 18,000 ตารางเมตร พิพิธภัณฑ์ที่นี่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1. ประวัติศาสตร์
2. ทรัพยากรธรรมชาติ
3. งานการสร้างสรรค์สังคมนิยมกานซู
หลานโจวนครหลวงของมณฑลกานซูมีพลเมืองราวสองล้านสี่แสนคน (ตอนปลดแอกใหม่ ๆ มีแค่สองแสน) ที่อยู่ในตัวเมืองมีล้านสองแสน นอกนั้นอาศัยอยู่ชานเมือง แต่ก่อนนี้มีชื่อเรียกว่าจินเฉิง (เมืองทอง) อุตสาห
(น.130) รูป 91. รูปสำริด “ม้าบิน” อันมีชื่อเสียง
The famous "flying horse", bronze.
(น.130) กรรมของเมืองนี้มีหลายอย่าง เช่น ปิโตรเคมี เครื่องถักทอ อิเล็กทรอนิกส์ มีน้ำมันที่เมืองยู่วเหมินและฉางชิง แต่ว่าไม่พอป้อนโรงกลั่น ต้องลำเลียงมาจากซินเกียงทางรถไฟ เริ่มมีการวางท่อจากซินเกียงมากานซู โรงกลั่นห่างจากหลานโจวไปประมาณ 20 กิโลเมตร
เมืองหลานโจววางตัวไปตามแม่น้ำหวงเหอ ยาวประมาณ 40 กิโลเมตร อยู่ระหว่างเขาหัวโล้นสีน้ำตาล
(น.131) วัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์พบที่ต้าตี้วันในตอนกลางของมณฑลเป็นสมัยหินเก่า อายุประมาณ 10,000 ปี มีเครื่องมือหิน ในบริเวณเดียว
(น.132) กันยังได้พบหม้อเขียนสีดำและแดง ตามแบบวัฒนธรรมยางเชา (ยางเชาจริง ๆ พบที่เหอหนาน) อายุประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสตกาล แหล่งหม้อเขียนสี (เป็นวัฒนธรรมหินใหม่) ในกานซูมีหลายประเภท ได้แก่
1. หม่าเจี้ยเหยา อยู่ในอำเภอหลินเตา ตอนใต้ของกานซูมีลายเขียนภายในและภายนอกหม้อ เป็นลายรูปโลกและจักรวาล เครื่องมือหินใหม่ กระดูกสัตว์ ที่สำคัญคือมีดทำด้วยกระดูก แต่เจาะเป็นช่องใส่ใบมีดหินขัดอย่างบาง เข็มทำด้วยกระดูกสัตว์ (อายุประมาณ 5,000 – 4,000 ปีก่อนคริสตกาล)
2. ป้านชาน อายุประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ลายเขียนจะเป็นรูปฟันปลา
ยังมีอีกหลายแบบแต่ดูไม่ทัน
เขาได้จำลองหลุมฝังศพที่อู่เว่ยมาให้ดู เข้าใจว่าเป็นวัฒนธรรมฉีเจีย (4,000 -3,000 ปีก่อนคริสตกาล) มีโครงกระดูก 3 โครง เป็นชายโครงหนึ่ง หญิงสองโครง มีเครื่องถ้วยชามและลูกปัดอยู่ด้วย วัฒนธรรมนี้อาจารย์หลี่ฮั้วอธิบายว่าเป็นช่วงเวลาที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม คือกลายเป็นวัฒนธรรมที่ผู้ชายมีความสำคัญ เมื่อครั้งที่ย่ำแดนมังกรคราวที่แล้วข้าพเจ้าได้ไปดูวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ที่ป้านโพ ซีอาน เขาอธิบายว่าเป็นวัฒนธรรมที่ผู้หญิงมีความสำคัญ เป็นสังคมแบบดั้งเดิม ไม่มีเวลาถามรายละเอียด (อีกแล้ว)
เดินไปอีกห้องผ่านร้านค้าของพิพิธภัณฑ์ (ซึ่งป้าจันอุตส่าห์ซื้อของได้) วัฒนธรรมต่อจากนี้เรียกว่ายุคโลหะหรือสังคมทาส เริ่มต้นตั้งแต่ก่อนสมัยราชวงศ์โจว มีของที่ใช้ในพิธีบูชาบรรพบุรุษ ได้ขุดพบหอยเบี้ยที่ใช้แทนเงินอย่างที่เมืองไทยก็มี (อายุ 3,500 ปี ก็น่าจะยังเป็นสมัยหินใหม่?)
(น.133) เครื่องเคลือบในยุคแรกมีในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (1122 – 770 ปีก่อนคริสตกาล) ที่แสดงไว้เป็นหม้อสำหรับเก็บน้ำมัน ภาชนะสำริดซึ่งเป็นของที่ใช้ในพิธี ไม่ได้เป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน บางทีมีชื่อคนทำสลักไว้ บางทีก็เป็นชื่อของเจ้าของ ที่สำคัญคือภาชนะที่มี 3 ขา
ของสมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 220)1 มีศิลปะชิ้นเอกที่เป็นสัญลักษณ์ของมณฑลกานซู คือม้าเหยียบนกนางแอ่น พบที่อู่เว่ย เป็นเครื่องแสดงว่าวิ่งได้เร็วมาก ม้าเป็นสิ่งที่แสดงความมีพลัง เป็นเจ้าแห่งความเร็ว สมัยก่อนมีพวกพ่อค้ามาจากประเทศทางตะวันตกมาที่จงหยวน จะต้องคิดเตรียมการว่าพาหนะใดจะใช้ขนของได้มากที่สุด (เห็นจะเป็นอูฐ) และพาหนะใดจะนำคนไปได้ไกลที่สุดคือจะต้องเร็วที่สุด ก็คือ ม้านี่เอง ในสมัยราชวงศ์ฮั่นมีผู้รุกรานมาจากทิศตะวันตก จากที่ราบสูงมองโกเลียบ่อยครั้ง จีนต้องหาทางแก้ไขโดยการหาพาหนะที่รวดเร็ว คล่องตัว เหมาะสำหรับใช้ในการรบ ก็คือม้าอีกนั่นแหละ จึงต้องไปติดต่อขอม้าจากพวกคนกลุ่มน้อยจากเมืองเฟอร์กานา (ปัจจุบันอยู่ในอูซเบกิสถาน สหภาพโซเวียต) ได้ม้า “เหงื่อเลือด” มา
เมื่อเขียนถึงตรงนี้ข้าพเจ้าขอย้อนมาพูดเรื่องม้าอีกสักครั้ง (ต่อไปอาจจะพูดอีกหลายครั้งเมื่อมีข้อมูลเปลี่ยนแปลงคือไปคุยกับใครมาอีก) ข้าพเจ้าอ่านหนังสือกี่เล่ม ๆ ก็ไม่ค่อยตรงกัน ตามความเข้าใจว่าม้าที่ฮั่นอู่ตี้ได้มา เป็นม้าจากเฟอร์กานา เป็นม้าที่มีพลัง และความรวดเร็วเรียกว่า ม้าเหงื่อเลือด
1 กล่าวโดยละเอียดราชวงศ์ฮั่นแบ่งเป็นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (206 ปีก่อนคริสต์กาล - ค.ศ. 8) หวังหมางยึดอำนาจ ตั้งราชวงศ์ซิน ค.ศ. 8 - 23 ต่อด้วยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25 -220)
(น.134) รูป 93. พิพิธภัณฑ์นี้มีศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ จากหลายสมัย จัดเรียงตามลำดับเวลา
Art objects in the museum are chronologically arranged.
(น.134) (ฮั่นเสว) ในเรื่องมังกรหยกว่าเป็นม้าที่ก๊วยเจ๋งใช้นั่นแหละ แต่มีนักวิชาการภายหลังตีความว่าที่ม้ามีเหงื่อเป็นเลือดไม่ได้เป็นพันธุ์พิเศษ แต่เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากแบคทีเรีย ตัวอย่างของม้าชนิดนี้คือม้าที่ขุดพบที่อู่เว่ยที่เรากำลังดูอยู่
ม้าชนิดที่ 2 คือม้าอูซุน มาจากทุ่งหญ้าแถบลุ่มแม่น้ำอีลี่ คือ ม้าที่เหยียบฉยุงหนู
ม้าชนิดที่ 3 ม้าเหอชูว ของจิ๋นซีฮ่องเต้ เดิมมาจากทุ่งหญ้าในกานซู ชิงไห่ และเสฉวน
(น.135) คุยไปคุยมาถึงได้ทราบว่าม้าสวรรค์ที่เรากำลังจ้องอยู่เป็นของปลอม ของจริงนั้นคนอธิบายคนหนึ่งบอกว่า ของจริงอยู่ในห้องเก็บของเอามาโชว์ไม่ได้ ส่วนอีกคนบอกว่า ของจริงเอาไปแสดงต่างประเทศ เท่าที่ทราบเขาเอาไปแสดงต่างประเทศบ่อย ๆ จริง ๆ ก็นับว่าแปลก เพราะทั่วไปเขาจะเก็บเอาของจริงไว้ที่บ้านและเอาของปลอมไปแสดงกัน ข้าพเจ้าเคยได้เห็นของจริงโดยบังเอิญที่ Royal Academy ที่ลอนดอน หลังจากไปราชการงานพระบรมศพพระเจ้ากุสตาฟ อดอล์ฟ แห่งสวีเดน ก่อนกลับแวะค้างลอนดอนคืนหนึ่ง ได้ทราบจากเจ้าหญิงอเล็กซานดร้าว่ามีนิทรรศการศิลปะจีน ข้าพเจ้าอยากดู แต่คิดว่าคงไม่มีโอกาสเพราะต้องกลับแล้ว ท่านอุตส่าห์จัดให้เข้าได้ก่อนเปิดงาน ขณะนั้นถือว่าได้ดูของแปลกเพราะ พ.ศ. 2516 จีนและไทยยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการเมือง ของอื่นนอกจากม้าที่ข้าพเจ้าเห็นมีรูปตุ๊กตาแกะสลักไม้ เหรียญเงินพบที่เมืองซีอาน เมืองซีอานนี้ (เราไม่ได้ไป) เป็นเมืองสำคัญของเส้นทางค้าแพรไหมเมืองหนึ่งก่อนถึงตุนหวง เคยเป็นทางแยกของเส้นทางค้าแพรไหมสายที่จะขึ้นไปฮามี ทู่หลู่ฟัน (ใต้เทียนซาน) กับสายคุนลุ้นที่จะไปเหอเถียน แล้วไปบรรจบที่ข่าชือหรือกาชการ์
มีผ้าไหมพิมพ์ลวดลาย เครื่องมือทำนา
ของที่พบในสุสานที่อู่เว่ยมีเครื่องดินเผาเคลือบเป็นรูปบ้าน ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่ามีประโยชน์มาก ทำให้เราทราบว่าบ้านคนจีนสมัยฮั่นมีลักษณะอย่างไร รูปฉางข้าว สัตว์เลี้ยงต่าง ๆ
สิ่งที่ทำให้พิพิธภัณฑ์นี้มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งคือตัวหนังสือที่เขียนบนติ้วไม้ผูกเข้าด้วยกัน มีเป็นจำนวนมาก เขาอธิบายว่าการผูกติ้วไม้เข้าด้วยกันเป็นต้นกำเนิดของคำว่าเช่อ ซึ่งแปลว่าเล่ม หนังสือไม้เหล่านี้พบมากใน
(น.136) กานซูตะวันตกเฉียงเหนือ บันทึกประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น รวมทั้งกิจการทางทหารด้วย บางส่วนเป็นตำรายา
(น.138) ราชวงศ์จิน (เผ่า Jurchen เป็นบรรพบุรุษของพวกแมนจู ค.ศ. 1115 – 1234) คนที่ดูมังกรหยก (อีกแล้ว) ควรจะรู้จักพวกนี้ ที่เราเรียกว่าพวกกิมก๊ก แต่งชุดแดง ๆ ที่เป็นคนตีราชวงศ์ซ่ง ได้ครองดินแดนภาคเหนือทั้งหมด ใน ค.ศ. 1126 แต่ตอนหลังก็ถูกพวกราชวงศ์หยวน (มองโกล) โจมตียึดดินแดนไป
สมัยราชวงศ์หยวน (หงวน) ตั้งอาณาจักรใน ค.ศ. 1206 ตั้งนามราชวงศ์ว่าหยวนในค.ศ. 1271 พิพิธภัณฑ์ตั้งเครื่องถ้วยที่พบในกานซู เคลือบสีแดง เครื่องเคลือบทำเป็นบ้านไม้ในสมัยราชวงศ์หยวน แสดงสถาปัตยกรรมสมัยนั้น ที่ประตูมีคนรับใช้ยืนอยู่ เจ้าของบ้านเป็นหญิงชรานั่งอยู่ที่หน้าต่าง
สมัยราชวงศ์หมิง (เหม็ง) ค.ศ. 1368 – 1644 มีเสื้อเกราะเหล็กที่หน้าอกมีรอยทะลุ เป็นอันว่าเจ้าของถูกยิงตายแน่ ๆ ปืนใหญ่ ดาบ แผ่นกระดาษซึ่งครูกู้อธิบายว่าเป็นหนังสือเดินทางสมัยก่อน
สมัยราชวงศ์ชิง (เช็ง) ค.ศ. 1644 (ปีที่เข้าปักกิ่งทางด่านซ่านไห่กวน) – 1911 แสดงแผนที่เมืองหลานโจวเมื่อ 200 ปีมาแล้ว สมัยนั้นเรียกชื่อว่าเมืองจินเฉิง
มีศิลาจารึกที่กำแพงเมือง และแสดงภาพวาดของศิลปินท้องถิ่นในสมัยราชวงศ์ชิง
ข้าพเจ้าถามว่าปัจจุบันมีการขุดค้นทางโบราณคดีบ้างไหม เขาตอบว่ารัฐบาลไม่สนับสนุน เพราะเทคนิคการรักษาของยังไม่ดีพอ
จากแผนกโบราณคดี เราดูต่อที่แผนกศิลปะพื้นบ้าน คนอธิบายเขาเอาบทความภาษาจีนยาวเหยียดส่งมาให้ข้าพเจ้า อวดว่านิทรรศการนี้เคย
(น.139) รูป 96. ส่วนที่ 2 ของพิพิธภัณฑ์ แสดงศิลปะพื้นบ้านของชนเผ่าต่าง ๆ ในกานซู
Second section of the museum: exhibition of folk arts of various minority groups of Gansu.
(น.139)ร่วมงานศิลปหัตถกรรมแห่งชาติ ตราของงานเป็นลายกระต่าย 3 ตัวที่มีในตุนหวง เขาเทียบกับศิลปะโบราณ หัตถกรรม ประเพณีนิยม และทำขึ้นใหม่ เช่น การตัดกระดาษ การปักลาย เครื่องปั้นดินเผา เทียบกับศิลปะที่เมืองเทียนสุ่ย ที่เมืองต้าตี้วัน
ส่วนที่ 2 เป็นประเพณีของชาวบ้าน มีกระดาษตัด สำหรับปิดตามประตูสำหรับงานตรุษจีน ตะเกียง พวกของต่าง ๆ สำหรับแขวนทำด้วย
Next >>