<< Back
กวนอิม
จากหนังสือ
หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 241
(น.241) รูป 179 วัดแขวน
(น.241) ศาลเจ้าฉุนหยัง (ฉุนหยังกง) เป็นที่บูชาเทพหนึ่งใน 8 เซียน (เต๋า) คือ ลวี่ต้งปิน คนแต้จิ๋วก็ว่าเป็นแต้จิ๋ว เรียกกันว่า หลือถ่งปิง คนซานซีว่าเป็นคนซานซี ในห้องตั้งรูปลวี่ต้งปิน และผู้รับใช้คือเยี่ยนถงและหลิ่วเซียน (เป็นเทพที่กลายร่างมาจากต้นหลิวเพราะสมาธิของเซียน) ตำหนักซานเซิ่ง องค์กลางเป็นกวนอิม สองข้างเป็นพระมัญชุศรีกับสมันตภัทรโพธิสัตว์ มีพระ เช่น อู่ตี้ซือ เจียตี้ เซิงซือ อู่ไถ เอ๋อเหมย มีถ้ำนกกระเรียน ตำหนักซานเจี้ยว จะมีพระพุทธเจ้า ขงจื่อ และเหลาจื่อ
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 78
(น.78) รูป
(น.78) วิหารกลาง (ต้าสยงเป่าเตี้ยน) ด้านในมีพระประธานสามองค์เรียงกัน พระที่เป็นผู้อธิบายบอกว่า เป็นพระศากยมุนี 3 ยุค คือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต แต่พวกเราคิดว่าน่าจะเป็นพระอมิตาภะ พระศากยมุนี และพระเมตไตรยหรือพระทีปังกรมากกว่า หน้าพระศากยมุนีมีพระกัสสปะ พระอานนท์ รอบพระประธานมีพระอรหันต์ 18 องค์ ด้านหลังพระประธานมีพระรูปพระอมิตาภะ ด้านขวาของพระอมิตาภะ คือ พระผู่เสียน (พระสมันตภัทร) ด้านซ้ายคือ พระอวโลกิเตศวร หน้าพระอวโลกิเตศวร (กวนอิม) มีโต๊ะเครื่องบูชาแบบจีน ทำด้วยไม้ของจีนชนิดหนึ่งเรียกว่า ไม้จีซือ (ไก่เส้น) เขาว่าปัจจุบันหาไม้ชนิดนี้ไม่ได้แล้ว โต๊ะบูชานี้จึงเป็นของล้ำค่าสิ่งหนึ่งในของล้ำค่า 3 สิ่งของวัดนี้
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 128
(น.128) วัฒนธรรมโลงแขวนมีมากมายหลายแห่ง ที่มีมากที่สุดคือ แถบแม่น้ำฉังเจียงที่เราเคยไปดูตอนไปล่องเรือแถวซานเสีย (ซานเสีย แปลว่า สามโตรกเขา) ทางใต้ถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยก็มีด้านตะวันออกไปจนถึงญี่ปุ่น ในเมืองจีนที่พบแต่ละมณฑลอยู่ต่างสมัยกัน เช่น ที่เสฉวนพบสมัยจ้านกั๋ว ที่เจียงซีเป็นสมัยชุนชิว หีบในที่ต่างๆ ไม่เหมือนกัน หีบที่กวางสีรูปร่างเหมือนเขาควาย มีรูปหีบที่พบที่เกาะปาละวัน ประเทศฟิลิปปินส์ มีธรรมเนียมที่ฝังศพไว้ในที่ธรรมดา ต่อมายหลังเก็บกระดูกใส่โอ่งเอาไปยอดเขา มีภาพแสดงวิธี (สันนิษฐาน) นำเอาโลงศพไปไว้บนถ้ำ ที่จริงในพิพิธภัณฑ์ยังมีอะไรให้ดูอีก แต่ว่าหมดเวลาแล้ว พิพิธภัณฑ์นี้มีที่ขายของที่ระลึกอยู่ระหว่างบริเวณที่แสดงเรื่องธรรมชาติกับที่แสดงเรื่องโบราณคดี ที่หมายต่อไปอยู่ในบริเวณเดียวกันนี้ มีสตูดิโอของศิลปินชื่อ เกอปี้ เป็นคนที่ชำนาญการแกะสลักของเล็กๆ ชนิดที่มองด้วยตาเปล่าไม่ค่อยจะเห็น ต้องดูด้วยแว่นขยาย เช่น งาชิ้นเล็กนิดเดียวแกะสลักกวีนิพนธ์สมัยราชวงศ์ถังได้ 300 บท รูปเทพีสันติภาพเล็กๆ ตอนที่มีงานฉลองสหรัฐอเมริกาครบ 200 ปี มีผู้เชิญศิลปินเกอปี้ไปสลักรูปหน้าของประธานาธิบดีอเมริกัน 40 คน แกะรากไม้เป็นรูปกวนอิม รูปพระอรหันต์ 500 องค์ เขาเขียนตุ้ยเหลียนเกี่ยวกับประเทศไทยด้วย
(น.128) รูป
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 164,173
(น.164) รูป
(น.164) วัดนี้ก็เหมือนวัดอื่นๆ คือ มีต้าสยงเป่าเตี้ยน (หรือวิหารมหาวีระวิหารกลาง) อยู่ด้านหน้า ที่วิหารนี้มีป้ายเขียนว่า ซางเหลียนฝ่าเจี้ย แปลว่า หม่อนบัวธรรมะ มีเสาหินกว่า 100 ต้น จึงเรียกกันอีกอย่างว่า อาคารเสา 100 ต้น พระแย่งไกด์อธิบายว่า วัดนี้ถือตามนิกายเป่ยฉวน หรืออุตรนิกาย มีพระพุทธรูป 5 องค์ มีพระยูไล อู่จื้อ เป็นนิกายมี่จงหรือตันตระ ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ ตรงหัวเสามีรูปเทวดาเหาะ 24 องค์ เรียกว่า เป็นเฟยเทียน ดูคล้ายๆ กับเทวดาบินที่พบตามเส้นทางสายแพรไหม ที่นี่ในมือถือคัมภีร์ แต่เจ้าอาวาสเพิ่งไปเมืองลังกาก็เลยบอกว่าเหมือนลังกา ข้าพเจ้าจะไปว่าไม่เหมือนก็ไม่ได้เพราะไม่เคยไปลังกา ด้านหลังมีรูปพระอรหันต์ 18 องค์ และมีรูปกวนอิม เสาหินของวิหารนี้ดูเหมือนกับว่าเป็นเสาแบบแขก พระเล่าว่าสมัยราชวงศ์ซ่งในเมืองนี้มีวัดฮินดู ต่อมาวัดฮินดูพังจึงเอาเสามาไว้ที่วัดนี้ ตามเสามีรูปจำหลัก เช่น รูปนรสิงหาวตาร ด้านบนเป็นรูปพระกฤษณะ เสาบางต้นดูเป็นฝีมือจีนไม่เป็นแขก (น.164) รูป
(น.173) เรื่องแปลกอีกเรื่องที่ไกด์อธิบายคือ ช่างมีวิธีทำให้สะพานนี้มั่นคงแข็งแรง คือเลี้ยงหอยนางรมให้เกาะหิน เมื่อเอาชิ้นส่วนหินมาต่อกันจะได้ติดกันสนิทเป็นเนื้อเดียวกันไม่ลื่น เขาว่า เทคนิคแบบนี้ใช้เป็นครั้งแรกในโลก (ไม่ทราบว่าหลังจากนั้นมีคนใช้เทคนิคนี้อีกหรือเปล่า สมัยใหม่ต้องมีคนคอยขูดหอยออกกลัวจะกัดสะพานหรือเสาอาคาร) บางคนอธิบายว่าใช้หอยเป็นวัสดุสร้างรากฐานเพิ่มความแข็งแกร่ง เพราะเป็นน้ำจืดน้ำเค็มมาบรรจบกัน ทำให้น้ำเชี่ยว ที่หมายต่อไปคือ สุเหร่าชิงจิ้ง ข้างทางมีร้านขายตุ๊กตาหินแกะสลัก เป็นรูปมงคลที่พ่อค้าชอบวางไว้หน้าร้าน เช่น รูปสิงโต รูปเจ้าแม่กวนอิม (น.173) รูป
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 232,239,240
(น.232) นั่งรถกอล์ฟไปวัดหนานซาน ทะเลหน้าวัดสวยมาก เห็นเมืองซานย่าอยู่ลิบๆ มีโครงการสร้างเจ้าแม่กวนอิม 3 หน้า หน้าหนึ่งมองทะเล หน้าหนึ่งมองเข้าฝั่ง และอีกหน้ามองไปซานย่า ค่าก่อสร้างราว 100 ล้านหยวน แต่มีคนบริจาค ใครบริจาคเยอะๆ ได้รูปจำลองเป็นของสมนาคุณ เหมือนการบริจาคที่เมืองไทย ใครสนใจการก่อสร้างเขาก็อธิบายด้านวิศวกรรมให้ได้
(น.239) รูป
(น.239) ดูพระกวนอิมทองมี 8 มือ ถือสิ่งของ 6 มือ มีเชือกบ่วงบาศวัชระ กระจก อีกด้านมีดอกบัว คันธนูกับลูกศร และแจกัน มีองค์เล็กให้เช่าด้วย มีของที่ระลึกจำพวกพระ เหรียญพระ จำหน่าย มีการบริจาคที่ค่อนข้างจะแปลกประหลาดคือ ให้คนบริจาคยืนสักเมตรหนึ่งจากกำแพงซึ่งมีรูเป็นช่องๆ และปาเหรียญให้เข้ารู แต่ละรูมีคำพยากรณ์ต่างๆ การปาให้เข้ารูไม่ใช่ของง่าย ผู้ที่พยายามปาให้เข้าแต่ละคนต้องเสียเหรียญไปไม่น้อยกว่าจะเข้ารู หรือได้คำทำนายที่ถูกใจ (น.239) รูป
(น.240) ออกไปที่สวน มีรูปกวนอิมขนาด 1 ใน 10 ของที่จะสร้างใหม่ มีสวนหิน ก่อนจะเดินทางไปที่อื่นไปนั่งพักที่อาคารชมทะเล (เพื่อเข้าห้องน้ำอีกตามเคย) อาคารที่สร้างคล้ายกับเป็นรีสอร์ต ให้คนมาพักผ่อน สูดอากาศบริสุทธิ์ ชมทะเล สวดมนตร์ไหว้พระ นั่งสมาธิตามอัธยาศัย เป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สร้างเป็น theme park แบบดิสนีย์แลนด์ ไม่ต้องอาศัยของเก่า (น.240) รูป
เย็นสบายชายน้ำ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 26,27,32
(น.26) รูป 19 หนูกับแมวจ้องกัน
(น.26) มีภาพปริศนาธรรมเล็กๆ เช่น ภาพหนูกับแมวจ้องกัน หนูอยู่บนต้นไผ่ แมวก็รออยู่โคนต้น ภาพนี้แสดงว่าโลกมีแต่ความทุกข์หรือความเครียด แมวอยากกินหนูก็เป็นทุกข์ หนูก็กลัวแมวเป็นกิจวัตรก็เป็นทุกข์ เรื่องนี้เขาว่ามีคัมภีร์ ไม่แน่ใจว่าคัมภีร์พวกนี้เป็นคัมภีร์โบราณหรือเปล่า (น.26) รูป 20 พระโพธิสัตว์ถือเจดีย์
(น.27) รูปพระโพธิสัตว์ต่างๆ เช่น พระโพธิสัตว์มัญชุศรี พระโพธิสัตว์สมันตภัทร มีเรื่องเกี่ยวกับสุขาวดี หรือพุทธเกษตร พระโพธิสัตว์องค์หนึ่งถือเจดีย์ อาจารย์กัวว่าเจดีย์สูง 1.85 เมตร หนัก 800 กิโลกรัม แต่ข้าพเจ้าสงสัยว่าชั่งได้อย่างไร รูปกวนอิม (พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) ที่นี่มีชื่อเสียงมากเพราะมีกรตั้งพันและมีเนตรอยู่ที่มือ ที่ว่ามีถึง 1,000 กร นั้นที่จริงคำว่าพัน หมายถึง จำนวนมากๆ (จำนวนจริงที่นับเอาไว้ตอนปิดทอง 1,007 กร) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรมีพระกรและพระเนตรจำนวนมากเช่นนี้ เนื่องจากตั้งความปรารถนาที่จะช่วยเหลือฝูงชนผู้ขอความกรุณาทั่วไปในสากลพิภพ รูปพระกรและพระเนตรแผ่ออกไปเป็นรูปกลม มองดูแล้วเหมือนนกยูงรำแพน (อาจารย์กัวว่า) รูปนี้กินเนื้อที่ถึง 88 ตารางเมตร (น.27) รูป 21 พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรพันกร
(น.32) รูป 30 พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
(น.32) เรื่องนิทาน ไม่ทราบมาจากชาดก หรือ อวทาน เช่น เรื่องนกแก้วขโมยข้าวเลี้ยงบิดามารดา มีเรื่องผู้ที่ควักลูกตาตัดเนื้อเลี้ยงพ่อแม่ รูปสลักที่ค่อนข้างประณีตกว่ารูปอื่นๆ เป็นรูปสวรรค์ พระโพธิสัตว์ต่างๆ เช่น พระเมตไตรย์ พระอวโลกิเตศวร (กวนอิม) พระมหาสถามปราปตะ พระกษิติครรภ (ดูแลนิริยภูมิ) รูปนรก ในที่นี้เป็นภาพที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน นรกมี 18 ขุม ก่อนจะลงนรก วิญญาณจะต้องไปฟังการตัดสิน ในนรกมีภาพโทษทัณฑ์ต่างๆ เช่น ลงกระทะทองแดง (แต่ไม่มีขึ้นต้นงิ้ว) รูปหลิวเปิ่นจุนผู้เป็นอาจารย์ของเจ้าจื้อเฟิ่ง ตัดหูควักลูกตาตนเองและได้บรรลุธรรมขั้นสูง
เย็นสบายชายน้ำ หน้า103
(น.103) รูป 91 ด้านหลังเป็นทิวทัศน์ขุยเหมิน มีพิพิธภัณฑ์ (อาคารสีเหลือง) Fossil ช้าง
(น.103) เราเดินขึ้นเขาไป มองเห็นแม่น้ำมีคนอธิบายว่า แม่น้ำตรงนี้แต่ก่อนกลางแม่น้ำมีก้อนหินสวยงาม ค.ศ.1958 รัฐบาลระเบิดเพื่อให้เดินเรือได้ง่ายไม่เป็นอันตราย เดินขึ้นไปอีกหน่อย ถึงถ้ำกวนอิม ชาวบ้านสมัยราชวงศ์หมิง-ราชวงศ์ชิงร่วมกันบริจาคเงินสร้างเอาไว้ มีแผ่นศิลา จารึกรายนามผู้บริจาค จากจุดนี้มองลงไปเห็นแม่น้ำฉางเจียง มองเห็นผาชื่อเจี๋ย หรือ ผาแดง สูง 1,370 เมตร เดินขึ้นไปอีกถึงแผ่นป้ายแสดงระดับน้ำเมื่อสร้างเขื่อนซานเสียเสร็จ มองเห็นวิวขุยเหมิน มีลวดสลิงข้ามหุบเขา มีคนแคนาดาเคยเดินข้ามลวดสลิงนี้ ไกด์อธิบายว่าแถวนี้มีผู้ขุดพบ Fossil ของช้าง มีอายุ 2 ล้านปี จึงทำพิพิธภัณฑ์ Fossil ช้างไว้
เย็นสบายชายน้ำ หน้า126
(น.126) รูป 116 ทิวทัศน์ภูเขาที่เป็นรูปร่างต่างๆ ดูกันเอาเอง
(น.126) โตรกเขาต่อไปนี้เรียกว่า ปาอู้เสีย มีความยาว 15 กิโลเมตร ช่วงนี้มีหินย้อยมากมาย ยอดเขามีรูปร่างต่างๆ ที่ต้องใช้จินตนาการคิดเอาเองตามเคยว่าเป็นอะไร คนจีนเขาคิดเอาไว้เรียบร้อยแล้วว่า เป็นรูปลิงช้อนเงาพระจันทร์ ม้าสวรรค์ผิดกฎสวรรค์หนีมาอยู่ที่ซานเสียนี้ พอเจ้าหน้าที่สวรรค์มาตามก็หนีเข้าถ้ำ แต่ไม่รู้ตัวว่าขาหลังกับหางโผล่ออกมา หินมังกรเข้าถ้ำ ผู้หญิงนอน เต่าออกไข่ เจ้าแม่กวนอิมประทับบนบัลลังก์ดอกบัว
เย็นสบายชายน้ำ หน้า235
(น.235) รูป 209 ร้าน (ตู้) ขายเหรียญ พิชิตยอดเขา รูป ฟิล์มถ่ายรูป
(น.235) ด้านทางสัตววิทยามาศึกษา เราไม่เห็นตัวอะไรมากนอกจากกระรอกวิ่งไปมาตามพุ่มไม้ ขนาดที่มีนักท่องเที่ยวแน่นไปหมด ที่นี่รักษาความสะอาดได้อย่างน่าแปลกใจ มีเจ้าพนักงานคอยเก็บขยะ ขนาดที่ที่ดูค่อนข้างหมิ่นเหม่น่ากลัวยังไปเก็บ คนทิ้งก็ช่างไม่สงสารคนเก็บเลย แต่ถึงอย่างไรก็นับว่าทิ้งน้อยกว่าที่อื่น มีคนขายของอยู่หลายอย่าง ใส่ตู้เข็นแบบตู้ขายก๋วยเตี๋ยว ของที่ขายก็คล้ายๆ กัน เช่น รูป ฟิล์มถ่ายรูป เหรียญรางวัลสำหรับคล้องคอเพื่อฉลองการพิชิตเขา มีรูปต่างๆ รูปเจ้าแม่กวนอิม รูป 12 นักษัตร เป็นต้น มีบริการสลักชื่อ วันที่ และข้อความอื่นๆ ถ้าเราต้องการ แต่ของพวกนี้ราคาไม่เท่ากัน ถ้าอยู่ใกล้โรงแรมก็จะแพงกว่าที่เดินออกไปไกลๆ
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอกหน้า24
(น.24) รูป 24 พระพุทธรูป 3 องค์ คือพระอมิตาภะ พระศากยมุนี และพระไภษัชยคุรุ
(น.24) วัดนี้เรียกกันว่าเป็นวัดหมายเลข 2 เดินต่อไปวัดหมายเลข 3 เป็นสำนักชีชื่อ ซันซานอาน (สำนักชีภูเขา 3 ลูก) ในวิหารมีพระ 3 องค์ คือ พระอมิตาภะ พระศากยมุนี และพระไภษัชยคุรุ (ในพระหัตถ์มีเจดีย์ หมายถึงยา) วัดหมายเลข 4 ชื่อ วัดต้าเปยซื่อ (วัดมหาเมตตา) หรือ เปยย่วน (แหล่งความเมตตา) สิ่งที่เป็นที่สังเกตของวัดนี้คือ ต้นแป๊ะก๊วย 2 ต้น เป็นต้นตัวผู้ต้นตัวเมียคู่กัน ผู้ที่มาจะเขียนความปรารถนาไว้ที่ต้นไม้นี้ ในวิหารมีเจ้าแม่กวนอิม ว่ากันว่าผู้หญิงนับถือกวนอิมมากกว่าผู้ชาย
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอกหน้า66
(น.66) รูป 67 พระพุทธรูปมีพระโพธิสัตว์ 2 ข้าง
(น.66) มีรูปพระโพธิสัตว์ต่างๆ องค์หนึ่งเป็นพระตี้จั้งคือ พระกษีติครรภโพธิสัตว์ ก่อนออกประตูมีรูปเหวยถัว (พระเวทโพธิสัตว์) คือ ผู้ที่ปกปักรักษาพระศาสนา ที่อื่นมักทำเป็นรูปยืน แต่ที่นี่เป็นรูปนั่ง อีกอาคารหนึ่งมีพระพุทธรูปอยู่ตรงกลาง สองข้างเป็นพระโพธิสัตว์ มีรูปพระอมิตาภะ ด้านหลังเป็นรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม (อวโลกิเตศวร) อยู่ในทะเล พระหัตถ์จับนก มีรูปเด็กอยู่กลางทะเล ด้านนอกมีจารึกสมัยราชวงศ์เหลียวซึ่งถือว่าเป็นจารึกที่เก่าแก่มาก
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอกหน้า102,103
(น.102) รูป 108 ฉากในเรื่อง (ในน้ำ)
(น.102) กล่าวถึงปลาหลีฮื้อ เป็นศิษย์ของเจ้าแม่กวนอิม บำเพ็ญตบะมา 3,000 ปี จนมีฤทธิ์ ลาเจ้าแม่กวนอิมเพื่อแสวงหาความรักในโลกมนุษย์ เจ้าแม่กวนอิมเตือนว่าชีวิตในโลกมนุษย์ยากลำบาก ไม่ได้หวานชื่นอะไรเลย แต่เมื่ออยากจะไปก็ไป เมื่อเจอของจริงเข้า ก็จะหนีกลับมาหาเจ้าแม่กวนอิมเอง (มาบำเพ็ญตบะต่อ) เมื่อมาโลกมนุษย์ปลาหลีฮื้อก็มาอยู่ในอ่างหยก ได้ทราบความในใจของจังเจิน จึงแปลงกายเป็นโบตั๋นมาอยู่กินเป็นสามีภรรยากับจังเจิน เมื่อถึงเทศกาลหยวนเซียว มีการประดับตกแต่งโคมไฟ ทั้ง 2 สามีภรรยาก็ไปเที่ยวงานเจอจินฉงกับลูกสาว ไม่มีใครบอกได้ว่าคนไหนเป็นตัวจริงคนไหนเป็นตัวปลอม จินฉงจึงตัดสินใจไปให้เปาบุ้นจิ้นตัดสิน เต่าวิเศษที่เป็นเพื่อนปลาหลีฮื้อ กลัวปลาหลีฮื้อผิดหวังในความรัก จึงแปลงกายเป็นท่านเปา ชวนปูวิเศษกับกุ้งวิเศษแปลงตัวเป็นผู้ช่วย เมื่อไปถึงศาลทุกคนก็งงกันไปหมดว่าใครเป็นตัวจริงตัวปลอม ในที่สุดช่วยกันตัดสิน จับได้ว่าใครเป็นตัวจริงตัวปลอม โบตั๋นตัวจริงไม่ได้รักจังเจิน ใครๆ เห็นใจในความรักของ
(น.103) รูป 109 ปีศาจหมาป่า
(น.103) ปลา จะให้แต่งงานกัน แต่ปีศาจเอ้อหลัง คือ ปีศาจหมาป่ามาขัดขวางว่า เป็นอมนุษย์ไม่ควรแต่งงานกับมนุษย์ กวนอิมมาบอกว่า ถ้าเด็ดเอาเกล็ด 3 เกล็ดออก จะกลายเป็นคน แต่ต้องเจ็บปวดมาก ให้คิดให้ดีว่าจะละความเพียรซึ่งทำมา 3,000 ปี เสียความเป็นอมตะ ปลาหลีฮื้อบอกว่าเป็นอมตะ โดนปราศจากความรักก็ไม่มีประโยชน์ ในที่สุดก็ไปอยู่กับคนรัก happy ending เมื่อจบแล้วกลับหอพัก
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอกหน้า144
(น.144) รูป 163 กวนอิมพันมือ
(น.144) ขึ้นภูเขาไปมีวิหารพระกวนอิมพันมือ อีกวิหารเป็นกวนอิมธรรมดา ในวิหารนี้มีก้อนหินรูปรองเท้า แต่แรกคิดว่าเป็นรอยพระพุทธบาท ที่จริงไม่ใช่ เป็นรอยพระบาทของพระราชธิดาพระเจ้ากุบไลข่าน ซึ่งมาไหว้พระที่นี่ยืนอยู่จนปรากฏเป็นรอยเท้า วิหารปลาหิน มีรูปปลาทำด้วยหินแขวนอยู่ มีเรื่องเล่ากันว่าเดิมเป็นของวัดมังกรเจ้ามังกรถวายจักรพรรดิหยกเอามาไว้ที่วัดนี้เพื่อช่วยรักษาคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย ร่างกายของปลานี้แบ่งเป็น 13 ส่วน ใครเจ็บป่วยตรงไหนก็ไปลูบที่ส่วนนั้นก็จะหาย อีกประการหนึ่งส่วนต่างๆ 13 ส่วนนี้จำนวนเท่ากับมณฑลของจีนสมัยนั้นมี 13 มณฑล (ปัจจุบันมี 23 มณฑล 5 ภูมิภาคปกครองตนเอง เขตปกครองพิเศษ 2 เขต และ 4 มหานครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง)
เมื่อมณฑลไหนประสบภัยก็ไปจับตรงนั้นก็จะดีขึ้น ข้างในวิหารวาดรูป (สมัยใหม่) เล่าประวัติปลาหิน
(น.144) รูป 164 วิหารปลาหิน
มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 24
(น.24) รูป20. เจ้าแม่กวนอิมไขว่ห้าง พระอรหันต์องค์หนึ่ง เป็นพระอรหันต์ปราบมังกร ชี้ไปที่มังกรอยู่ที่เสาวิหารตัวเล็กนิดเดียว เหมือนตุ๊กแก ไม่น่ากลัวเลย (เมื่อเปรียบเทียบขนาดกับพระอรหันต์) เจ้าแม่กวนอิมนั่งไขว่ห้าง เพิ่งสร้างในยุคปัจจุบันนี่เอง แต่เขาว่าทำเลียนแบบราชวงศ์ถัง พระนอน สร้างสมัยราชวงศ์หยวน เมื่อ ค.ศ.1321 ทำด้วยสำริด หนักประมาณ 54 ตัน ยาว 5.3 เมตร สูง 1.6 เมตร พระสาวก 12 องค์ ที่เฝ้าอยู่ทำด้วยดินปั้น เขาเล่าว่าแต่ก่อนมีพระทำด้วยไม้จันทน์
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 168
(น.168) อุบาสกอุบาสิกาอวยพร ระหว่างสวดมีการตีมู่หยูว (ปลาไม้) ล่อโก๊ะ กลอง เป็นจังหวะ สวดจบหนึ่งก็ให้ไปจุดธูป ท่านเจ้าอาวาสก็ลงนั่งกราบแล้วลุกยืน แล้วกราบใหม่ 3 หน สวด 3 จบ เสร็จพิธีท่านพามานั่งสนทนาในห้องรับแขก (ระหว่างนี้พวกลูกคู่ยังสวดต่อไปเรื่อย ๆ) บนโต๊ะมีขนม และผลไม้ให้รับประทาน นายกพุทธสมาคม (กลุ่มศาสนามณฑลกานซู) กล่าวนำว่าการที่ข้าพเจ้าเดินทางตามเส้นทางแพรไหมนี้ก็มีส่วนเกื้อกูลความเข้าใจระหว่างพุทธศาสนิกชนไทย – จีน และขอให้ท่านเจ้าอาวาสเล่าประวัติของวัด ท่านเจ้าอาวาสกล่าวต้อนรับและอวยพร แล้วเล่าว่าการก่อสร้างวัดนี้อยู่ในระหว่างราชวงศ์หมิงและชิง ถ้าจะสอบประวัติก็ยากเพราะวัดถูกทำลายหลายครั้ง ไม่มีตำราเขียนเอาไว้เพิ่งบูรณะเมื่อ ค.ศ. 1988 เปิดให้พุทธศาสนิกชนมาบูชา เคยได้ต้อนรับพุทธศาสนิกชนจากญี่ปุ่น ได้รับพระพุทธรูปเป็นของขวัญจากพุทธศาสนิกชนชาวจีนโพ้นทะเลในพม่า ช่วงเวลานี้กำลังบูรณะห้องโถงใหญ่ ฉะนั้นการรับรองอาจจะดีไม่พอ พุทธศาสนิกชนที่นี่เมื่อทราบว่าข้าพเจ้าจะมาก็สวดมนต์อวยพรให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ จีนกับไทยติดต่อไปมาหาสู่กันมาแต่โบราณ การเดินทางครั้งนี้มีความหมาย เพราะเราเป็นชาวตะวันออกด้วยกันควรจะเกื้อกูลกัน แล้วท่านก็มอบของขวัญให้ข้าพเจ้า เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ที่พระถังซำจั๋งแปล ภาพพิมพ์ความฝันจากถ้ำตุนหวง เจ้าแม่กวนอิม พระลามะก็ให้ผ้าสีเหลืองคล้องคอตามธรรมเนียม วัดนี้มีทั้งพุทธมหายาน ลัทธิลามะ และลัทธิเต๋า รวม ๆ กัน ข้าพเจ้าถามท่านว่าก่อนจะมาอยู่วัดนี้จำพรรษาอยู่วัดไหน ท่านว่าอยู่ที่เหอซี ท่านบวชมาตั้งแต่เด็ก ช่วงการปลดปล่อยไปเรียนคัมภีร์อยู่ที่
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 201
(น.201) ที่ไม่มีกำแพงเมืองจีนจะโรยทรายไว้ ถ้าฉยุงหนูมาจะเห็นรอยเท้า มีแผนที่เส้นทางไปฉนวนเหอซี ข้าพเจ้าจดเอาไว้เพื่อจะใช้เทียบหาเส้นทางแพรไหม ใกล้ตุนหวงสมัยฮั่นมีฉางข้าวใหญ่ที่สุด มีคลังเสบียงอาหาร มีตราสำหรับเบิกข้าวจากโกดัง ภาพแสดงการชลประทานในสมัยฮั่นเช่นเดียวกัน เป็นแผนที่ซึ่งทำจากภาพถ่ายทางอากาศ แสดงเขตที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ เขตที่มีทางน้ำธรรมชาติและคลองชลประทาน เขาอธิบายว่า การรบในสมัยการรบของไทย สุดท้ายเราดูเรื่องสมัยราชวงศ์ถัง คืนนี้รับประทานอาหารแบบกันเอง พอรับประทานเสร็จไปดูร้านขายของในโรงแรม มีแท่งหมึกจีนรูปร่างแปลก ๆ เช่น รูปเจ้าแม่กวนอิม รูปเต่า รูปดาบ ซื้อมีดคูเชอ เสื้อยืดที่ระลึกตุนหวง ข้างหลังเป็นแผนที่เส้นทางแพรไหม ซื้อของเสร็จขึ้นมาเขียนหนังสือต่อที่ห้อง สักประเดี๋ยวอาจารย์สารสินขึ้นมาอ่านข่าวหนังสือพิมพ์ให้ฟัง พักหนึ่งซุปเข้ามาอีกคน ตื่นเต้นว่าแผนที่ในเสื้อยืด รู้สึกจะมีประโยชน์มาก ซื้อเสื้อยืด 15 หยวนคุ้มค่า เลยขอให้อาจารย์ช่วยอ่านและเทียบกับแผนที่ปัจจุบันที่มีอยู่
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 208
(น.208) เหมือนของเก่านั่นแหละ แต่ว่าใช้มอเตอร์ไฟฟ้าแทนมอเตอร์แขนหรือมอเตอร์ขาแบบเก่า คือใช้มือหรือเท้าหมุนรอกเครื่องกลึง เขาแสดงการตัดรูปม้า เจ้าแม่กวนอิม ตั้งแต่ตัดหินจนสำเร็จขั้นสุดท้ายใช้คนเดียวทำ ไม่ได้ส่งทำคนละขั้นตอน ช่างแต่ละคนต้องมาฝึกงานที่โรงงานอย่างน้อย 3 ปี ข้าพเจ้าก็ว่าดี เพราะการทำงานตั้งแต่ต้นจนประสบความสำเร็จ เป็นความพอใจของผู้สร้างงาน ทำให้รู้สึกว่าตนได้เป็นผู้สร้างสรรค์อะไรบางอย่างขึ้น แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าเครื่องมือก็มีไม่กี่ชิ้น คนเป็นนายช่างก็มีอยู่หลายคนจะไม่เสียเวลาแย่งกันหรือ คงเดินกันพลุกพล่าน เขามีช่างออกแบบอยู่คนหนึ่ง ข้าพเจ้าถามถึงทรายเพชรว่ามาจากไหน เขาบอกว่าเป็นทรายทับทิมจากแถว ๆ ยู่วเหมิน แถว ๆ ฉนวนเหอซี ขึ้นไปที่ห้องรับรองอีกครั้งหนึ่ง ทางโรงงานเตรียมกระดาษและพู่กันให้เขียนหนังสือจีนอีก คราวนี้อาจารย์สารสินเขียนแนะนำไว้ว่า เป้ยกวงเจ้าจิ่วฉวน แปลว่าแสงสว่างจากแก้วส่องสว่างเมืองจิ่วฉวน ลาผู้จัดการโรงงานไปยังโรงแรมจิ่วฉวน ซึ่งเป็นโรงแรมค่อนข้างใหญ่ เขาจัดห้องไว้ให้พักผ่อนสักครู่ก่อนลงไปรับประทานอาหารซึ่งนายกเทศมนตรีจะเป็นเจ้าภาพ ในห้องมีกระดาษ พู่กัน หมึกเอาไว้พร้อม ข้าพเจ้าจึงซ้อมเขียนตัวหนังสือกับเขียนภาพไปได้พักหนึ่งก็ถึงเวลาอาหาร เขาจัดเลี้ยงที่ห้องข้างล่าง ตอนอาหารสังเกตว่าชาซานเผ้าของที่นี่ไม่ได้มีแค่ชา น้ำตาลกรวด ลำไยแห้งเท่านั้น เขายังเติมองุ่น โก่วจี้ พุทราเข้าไปอีก แสดงว่ามีอะไรก็ใส่เข้าไปได้เหมือนแกงโฮะ ชานี้คงต้องเรียกว่าชาโฮะ
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 52
(น.52) เข้าไปในวิหารอะไรจำไม่ได้แล้ว ดูเหมือนจะเป็นหอพระไตรปิฎก แต่ก่อนเคยมีพระมาชุมนุมกัน 4,000-5,000 รูป มาจากซินเกียงและมองโกเลียก็มี ฝาผนังเขียนภาพตามเรื่องเล่าทางพุทธศาสนา สีที่เขียนเป็นสีจากแร่ธาตุ ทุกเช้าทุกเย็นพระจะต้องมาทำวัตรเช้าวัตรเย็นที่นี่ ของบูชามีตะเกียงพันดวง รูปพระอาจารย์จงคาปากะไหล่ทอง 1,000 องค์ มีเครื่องบูชาเป็นภาชนะใส่ธัญพืช มีชิงเคอ (ข้าวบาร์เลย์ชนิดหนึ่ง ?) ท้อ สาลี่พันธุ์พิเศษที่ขึ้นในชิงไห่และทิเบต มีรูปพระจงคาปา บัลลังก์ของพระดาไลลามะ และพระปันฉานลามะเวลามาที่วัดนี้ มีธรรมาสน์ของเจ้าอาวาส (น.52) รูป 41 ท้าวธตรฐ ผู้พิทักษ์ทิศตะวันออก หนึ่งในจตุโลกบาล (น.52) รูป 42 เครื่องบูชาประจำวัน น้ำในถ้วย (อาจมี 7, 14, 21 ฯลฯ ใบ) เติมใหม่ทุกเช้าและเทออกทุกเย็น
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 102
(น.102) รูป 90 รูปพระกวนอิม 1,000 มือ 11 หน้า
(น.102) ตั้งแต่ปีนี้ไปอีก 5 ปี จะบูรณะเป็นครั้งที่ 2 ตั้งงบประมาณไว้ 170 ล้านหยวน เมื่อปีที่แล้วรองนายกรัฐมนตรีหลี่หลานชิงแนะนำให้สร้างห้องมหัคฆภัณฑ์รวบรวมเพชรนิลจินดาต่างๆ เอาของจากอาคารต่างๆ มารวมไว้ที่เดียว รัฐบาลท้องถิ่นเริ่มลงมือตั้งกรรมการบูรณะ แต่ค่อยๆ ทำไป เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนการท่องเที่ยว ใช้เวลาประมาณ 10 ปีในการบันทึกทำบัญชีโบราณวัตถุ เขียนลงสมุด 10 ปี ที่ผ่านมาทำการบันทึกของต่างๆ เครื่องเงินทอง อัญมณีไปได้ 70,000 กว่าชิ้น ประมาณ 70-80% เท่านั้น งานนี้เป็นงานละเอียดต้องถ่ายรูป บันทึกลักษณะ วัดขนาด ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลท้องถิ่นและประเทศต่างๆ นั่งพักสักครู่ ซื้อหนังสือแล้วไปดูวิหารกวนอิมผู้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นตำหนักหลังที่สองของกษัตริย์ซงจ้านกานปู้ มีรูปพระกวนอิม ดาไลลามะองค์ที่ 7 พระอาจารย์จงคาปา ไปวิหารที่สูงที่สุดในบริเวณวัง อยู่ที่วังแดง มีรูปกวนอิม 1,000 มือ 11 หน้า มีป้ายเขียน 4 ภาษา ได้แก่ ภาษาจีน แมนจู ทิเบต มองโกล
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 193
(น.193) ตามประวัติว่า ค.ศ. 1414 จัมเชน เชอเจ (Jamchen Chojey) ลูกศิษย์คนหนึ่งของพระอาจารย์จงคาปาไปเฝ้าจักรพรรดิหย่งเล่อ ได้รับพระสูตรและรูปพระอรหันต์ ทำด้วยไม้จันทน์ พระอาจารย์แนะให้ลูกศิษย์ท่านนี้สร้างวัดเพื่อบรรจุสิ่งเหล่านี้ จึงสร้างวัดใน ค.ศ. 1419 เมื่อเข้าไปมีพระลามะมาต้อนรับ พระองค์ที่มาอธิบายพูดภาษาอังกฤษได้ พระท่านเล่าว่าวัดนี้มีวิทยาลัย 3 แห่ง น่าจะหมายถึงว่าสอน 3 สาขาวิชา แต่เราไม่ได้ดู เข้าไปที่วิหารกลาง ภาพเขียนฝาผนังเป็นเรื่องราวตามความเชื่อของนิกายเกลุกปะ มีพระพุทธรูปพระไมเตรยะ พระกัสปะ พระกวนอิม 11 เศียร 8 กร (น.193) รูป 155 ภาพเขียนฝาผนังในวัดเสรา
เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงามหน้า112
(น. 112) รูป 92 เรือโบราณ
(น. 112) มีเครื่องเคลือบเตาเต๋อฮว่า สมัยราชวงศ์หมิง เป็นเครื่องเคลือบสีขาวงาช้างที่มีชื่อเสียงของมณฑลฮกเกี้ยน ที่ทำได้สวยเป็นที่รู้จักคือ รูปเจ้าแม่กวนอิม เครื่องเคลือบสีต่างๆ เครื่องปั้นพบในเรือของเนเธอร์แลนด์ที่จม สีคราม แดง เหลือง เป็นพวกของทำส่งออกที่เรียกว่า Exportware มีเครื่องลายครามจากเรือที่จม มีผู้ซื้อบริจาคให้ พิมพ์ต่างๆ เป็นรูปหน้าตุ๊กตาสมัยราชวงศ์ถัง เรือต่างๆ เรือขุดอายุ 2,000 กว่าปี มีลักษณะคล้ายเรือมาด แต่มีขนาดใหญ่กว่า ได้จากหังโจว ขาดไปเหลือเพียงครึ่งลำ เรือมังกรจำลองทำด้วยไม้ และหุ่นจำลองเรือชนิดต่างๆ นอกจากนั้นมีเครื่องเซรามิกจัดแสดงไว้ด้วย
เจียงหนานแสนงามหน้า162
(น. 162) แผ่นลงรักเป็นหินฝนหมึก พร้อมกล่องประดับมุก ทำแทนของขวัญที่ถวายจักรพรรดิญี่ปุ่น ถาดลายนกเฟิ่ง (phoenix) ทำแทนของที่ให้อดีตประธานาธิบดีกอร์บาชอฟ แจกันประดับมุกสูงราว 2 เมตร เป็นรูปเทพธิดาถวายพระพรวันประสูติเจ้าแม่ตะวันตก เป็นผลงานใหญ่ที่สุดในเรื่องประดับมุก ฉากชุมนุมพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ ประดับด้วยหิน งา เปลือกหอย มีรูปพระศากยมุนี พระศรีอารยเมตไตรย พระมัญชุศรี พระสมันตภัทร เจ้าแม่กวนอิม และยังมีจตุโลกบาลกับพระสาวกด้วย ฉากลงรักแดงรูปพระพุทธเจ้าตอนประสูติ ลงรักทาสี มีมังกร 9 ตัวมาพ่นน้ำสรงถวาย ในภาพเห็นพระพุทธเจ้าทรงพระดำเนิน 7 ก้าว แต่ละก้าวมีดอกบัวรองรับ พระบิดาอยู่ข้างขวา พระมารดาอยู่ข้างซ้าย ภาพฝาผนังฝังหินหยกบนเครื่องรัก ภาพนี้เคยแสดงไว้ในห้องเจียงซูของมหาศาลาประชาชนตอนสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนครบ 10 ปี ผู้ออกแบบคือ เฉินจือฟู่ เป็นศิลปินใหญ่รุ่นแรกของโรงงาน ใช้ปะการัง หยกดำ หยกเขียว ฉากจำลองจากของขวัญถวายจักรพรรดิญี่ปุ่น เป็นรูปนกกระเรียนทำด้วยหยก
Next >>