Please wait...

<< Back

ราชวงศ์ฮั่น

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 281-283

(น.281) สังคมศักดินา จำลองภาพจางเชียนไปตะวันตก ภาพตุนหวงอีกห้องเป็นหนังสือไม้ไผ่ในราชวงศ์ฮั่นกล่าวถึงการปกครองตะวันตกมีตราของข้าหลวงใหญ่แต่ละคน มีชื่อและปีที่ดำรงตำแหน่งกำกับ ในสมัยฮั่นตะวันออกมีข้าหลวงที่เป็นคนพื้นเมือง เงินตราสมันฮั่นตะวันออกมีอักษรจีน

(น.282) และอักษรขโรษฐิ กลไกธนูเจอที่ลบนอร์ ตราสำหรับการดูแลที่นา กระเบื้องหลังคา กระเบื้องเชิงชาย หมวกสมัยราชวงศ์ฮั่น ผ้าขนสัตว์ พรม ของที่พบที่เหอเถียนในสมัยราชวงศ์ถัง ของเครื่องใช้ชนกลุ่มน้อยสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก พัดสำหรับพัดเวลาย่างอาหาร ของที่พบที่อีลี่เป็นเครื่องมือไถนา ของที่พบที่ทะเลทรายตากลามากัน มีภาพพิมพ์ทางพุทธศาสนา

(น.283) เครื่องประดับ หวีเสนียด แป้ง กระจก จารึกภาษาขโรษฐิ เครื่องอัดลมสำหรับถลุงเหล็ก จารึกในภูเขา เขียนถึงความเป็นมาในการสร้างถนน ที่ราบทาริมถึงเมืองคูเชอ หยกเหอเถียนพบในมณฑลเหอเป่ย ของจากวัฒนธรรมเกาชาง มีหนังสือเขียนบนติ้วไม้ไผ่จากลบนอร์ บัญชีของที่ไว้ในหลุมศพ ม้าไม้เขียนสีจากสุสานอัสตาน่า

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 363,369

(น.363)
ราชวงศ์ที่ปกครองจีน

1. ราชวงศ์เซี่ย ประมาณก่อน ค.ศ. 2205 – 1766 บางหลักฐานระบุว่าประมาณก่อน ค.ศ. 1994 – 1523
2. ราชวงศ์ซาง ประมาณก่อน ค.ศ. 1766 – 1122 บางหลักฐานระบุว่าประมาณก่อน ค.ศ. 1523 – 1027
3. ราชวงศ์โจว ประมาณก่อน ค.ศ. 1122 – 770 บางหลักฐานระบุว่าประมาณก่อน ค.ศ. 1027 – 770
4. ยุคชุนชิว ก่อน ค.ศ. 770 – 476
5. ยุคจ้านกว๋อ ก่อน ค.ศ. 476 – 221
6. ราชวงศ์ฉิน ก่อน ค.ศ. 221 – 206
7. ราชวงศ์ฮั่น ก่อน ค.ศ. 206 – ค.ศ. 220
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ก่อน ค.ศ. 206 – ค.ศ. 8
หวังหมางยึดอำนาจ (ราชวงศ์ซิน) ค.ศ. 8 – 23
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ค.ศ. 25 – 220

(น.369) รายพระนามพระจักรพรรดิที่กล่าวถึงใน “มุ่งไกลในรอยทราย” และปีที่ครองราชย์
ราชวงศ์ฮั่น ฮั่นอู่ตี้ ก่อน ค.ศ. 140 – 87

ย่ำแดนมังกร
ย่ำแดนมังกร หน้า 211-212

(น.211) พิพิธภัณฑ์มณฑลส่านซี
เครื่องทำนายแผ่นดินไหว เขาทำจำลองเอาไว้ให้ดู ของจริงทำด้วยสำริด อยู่ที่ปักกิ่ง คนคิดชื่อ จางเหิง (ค.ศ. 78-139) อยู่ในสมัยราชวงศ์ ฮั่น เขาทำเป็นรูปมังกรอมลูกแก้ว ถ้าลูกแก้วหล่นจากปากมังกรไปอยู่ในปากกบทางทิศไหน ก็รู้ว่าทางนั้นแผ่นดินไหว ตู้ที่ต่อจากตู้ที่ไว้เครื่องทำนายแผ่นดินไหวมีรูปแพทย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยโบราณ หมอคนนี้รักษาโจโฉ ชื่อว่า หมอหัวถัว คนไทยเรียกันว่า หมอฮัวโต๋ว นอกจากนั้นมี จื่อหนานเจิน เข็มชี้ทิศใต้ เขาทำเป็นรูปคนและมีเกลียวซึ่งจะเคลื่อนที่ได้ ถึงเกลียวจะเคลื่อนที่ไปทางทิศใดคนจะไม่เคลื่อน คือจะชี้ไปทางทิศใต้อยู่ตลอด สิ่งของสุดท้านของอาคารนี้ที่เราดูคือเครื่งระบายน้ำ ในสมัยราชวงศ์ ฮั่น แม่พิมพ์หลอมเงิน โซ่ตรวน

(น.212) อีกอาคารหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ ตามตู้มีพระพุทธรูป ดูเหมือนจะเป็นสมัยฮั่น ซึ่งเป็นระยะต้นๆ ที่จีนรับพุทธศาสนาจากอินเดีย ลักษณะพระพุทธรูปองค์นี้จึงมีเค้าคนอินเดีย หรือพระพุทธรูปอินเดียมากทีเดียว มาถึงสมัย ถัง พระพุทธรูปจะมีเค้าพระพักตร์กระเดียดไปทางจีนมากขึ้น

เย็นสบายชายน้ำ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 101

(น.101) เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วออกมาเขียนรูปที่หน้าเรือ ผ่านอำเภอเฟิ่งเจี๋ย กลับเรือและบีบแตร สักพักเจ้าหน้าที่มาบอกว่าลงจากเรือได้แล้ว มีเจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ของนครว่านเซี่ยนลงมาด้วย ลงเรือเล็ก ฝั่งซ้ายมือเป็นขุยเหมิน มีคนอธิบายว่าแปลว่า ภูเขาที่มีต้นไม้ขึ้น เรือเล็กเข้าแม่น้ำเฉ่าถังเหอไปไป๋ตี้เฉิง อยู่บนยอดเขาสูงกว่า 750 เมตร มีบันได 2 ด้าน ด้านหน้ามี 857 ขั้น ส่วนอีกด้าน (ด้านที่เราขึ้น) มีแค่ 300 กว่าขั้น ที่จริงมีคนรับจ้างแบกเกี้ยวขึ้นไป แต่รู้สึกว่าทุกคนจะหวาดเสียว ไม่กล้าขึ้น กลัวถูกเทกระจาดลงมา อีกอย่างหนึ่งค่าจ้าง 100 หยวนไม่อยากจ่าย คิดว่าถ้ามาตอนแก่ ๆ เห็นจะต้องยอมถ้ายังมีอารมณ์อยากเที่ยว ขึ้นบันไดไป มีรูปสลักตู้ฝู่ เป็นกวีมีชื่อในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 712 – 770) แต่งบทกวีไว้ 400 กว่าบท ไป๋ตี้เฉิงสร้างในปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกเมื่อกงซุนซู่ยึดได้แคว้นสู่ (มณฑลเสฉวน) แล้วได้สร้างเมืองบนภูเขา เมืองนั้นมีไอน้ำสีขาวกระจายออกมาจากบ่อน้ำและไอน้ำนั้นมีลักษณะเหมือนมังกร จึงเรียกว่าไป๋ตี้ (เข้าใจว่า มังกร หมายถึง กษัตริย์ คือ มีประวัติว่าขุนนางกงซุนซู่ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก) ไป๋ตี้เฉิง มีภูเขา 3 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นแม่น้ำ มองลงไปเห็นขุยเหมิน

เย็นสบายชายน้ำ หน้า 164


(น.164) รูป 150 แผนที่ในพิพิธภัณฑ์แสดงสถานที่ตอนโจโฉแตกทัพเรือที่ชื่อปี้

ข้างในเป็นห้องโถงใหญ่ มีเสื้อผ้านักรบโบราณที่ใช้ในหนังเรื่องสามก๊กแขวนไว้ ให้คนเช่าแต่งตัวถ่ายรูป มีแผนที่ 3 รูปใหญ่เต็มผนัง แสดงแคว้นต่าง ๆ ของขุนศึกปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ก่อนสามก๊ก) แผนที่แสดงการลุกฮือของกบฏชาวนาสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และแผนที่แสดงสถานที่ตอนโจโฉแตกทัพเรือที่ชื่อปี้

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 96-98,101,103

(น.96) ไปถึงเมืองโบราณของกษัตริย์หมิ่นเยว่ เข้าไปดูที่พิพิภัณฑ์ก่อน
ผู้นำชมอธิบายว่า หมิ่นเยว่เป็นอาณาจักรแรกของมณฑลฮกเกี้ยน พวกหมิ่นเยว่เป็นกลุ่มคนที่มาอาศัยอยู่นานแล้ว ที่มาตั้งเป็นอาณาจักรได้ในสมัยราชวงศ์ฮั่น เพราะผู้นำของพวกหมิ่นเยว่ช่วยฮั่นเกาจู่รบกับจักรพรรดิราชวงศ์ฉิน จึงได้รับสถาปนาเป็นอ๋อง (อ๋อง เป็นภาษาถิ่นฮกเกี้ยน ภาษาจีนกลางว่า หวัง 王) ครองแคว้นหมิ่น สร้างเมือง สร้างวัง นับอายุได้ 2,200 ปีมาแล้ว


(น.96) รูป


(น.97) รูป

(น.97) อาคารพิพิธภัณฑ์ทำเลียนแบบวังของหมิ่นหวัง (ตามจินตนาการ) แต่ขนาดเล็กกว่า เป็นตึกแบบจีนสองหลัง สูงประมาณเท่าตึก 2 ชั้น น่าจะเป็นอาคารแบบจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น พระราชวังของหมิ่นเยว่อยู่ได้ 92 ปี ถูกจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้บุกโจมตีอพยพผู้คนกวาดต้อนไปมณฑลอานฮุยและเจ้อเจียง




(น.98) รูป

(น.98) ด้านในทำเป็นภาพสลักนูนต่ำแบบสมัยราชวงศ์ฮั่น เล่าเรื่องชีวิตประชาชนเล่นกายกรรม ตีเหล็ก ทำกับข้าว ทำนา การรบ ภาพสีน้ำมันตอนหมิ่นหวังได้รับสถาปนา กลับมาสร้างเมือง กลางห้องแสดงซากสุสานของคนธรรมดา เข้าใจว่าเป็นช่วงที่มาสร้างเมือง ในสุสานไม่มีกระดูก คนอธิบายบอกว่าดินเป็นกรด กระดูกถูกย่อยสลายไปหมด มีแต่เครื่องมือสิ่งของต่างๆ

(น.101) เดินทางไปบริเวณเมืองเก่า ไปถึงทุกคนดีใจมากที่มีห้องน้ำ มองหามานานแล้ว หน้าบริเวณเมืองมีป้ายว่า เมื่อ ค.ศ. 1963 รัฐบาลประกาศเป็นโบราณสถานที่อนุรักษ์ระดับมณฑล และเขียนไว้ว่าเป็นเมืองฮั่น นักโบราณคดีรุ่นแรกไม่ได้คิดว่าเป็นเมืองหมิ่นเยว่หวัง สมัยนั้นจักรพรรดิราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเมื่อแรกสถาปนาราชวงศ์ ได้ปูนบำเหน็จอ๋องหรือหวังหลายองค์ทั้งที่เป็นชาวจีนและที่เป็นชนเผ่าอื่น ภายหลังมีนักโบราณคดีกลุ่มหนึ่งมาตั้งทฤษฎีว่า เมืองนี้เป็นของพวกหมิ่น มีการขุดค้นเจอซากกำแพงสูง 8 เมตร ส่วนที่ต่ำสุด 2 เมตร เดิมจะสูงกี่เมตรก็ไม่ทราบ เป็นกำแพงดิน สมัยราชวงศ์ฉินและฮั่นยังไม่มีกำแพงก่ออิฐ นอกกำแพงตรงส่วนนี้ (คือทางตะวันออกเฉียงเหนือ) มีหอบรรพบุรุษ และหอฟ้าดินทางซ้ายและขวาตามลำดับ ตามธรรมเนียมเมืองหลวง ประตูด้านตะวันออก เดิมมีหอ มีป้อมยาม ยังมีรอยบานประตู แนวที่เห็นเป็นที่ซ่อมใหม่ให้เห็นเป็นรูปร่าง ทางเดินเป็นกรวดก้อนโตๆ ฝังไปตลอด ทำตามแบบของเดิม ของเดิมนั้นเจาะช่องมีกระจกปิดสำหรับใช้ดูเปรียบเทียบ พื้นขณะนี้สูงกว่าของเดิมขึ้นมาเกือบเมตร คลองกลางเมืองขนานไปกับทางเดิน เดี๋ยวนี้เป็นบึงบัว เป็นนา ตื้นเขินหมด

(น.103) จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ปราบพวกสยงหนูก่อน แล้วหันมาปราบพวกหมิ่นเยว่แถบนี้ สมัยก่อนถ้าอ๋ององค์ไหนไม่ทำตามจักรพรรดิสั่ง จักรพรรดิจะปราบแล้วตัดศีรษะเอาไปแขวนไว้ที่ฉางอาน เมืองหลวง เพื่อขู่อ๋ององค์อื่นๆ ตกลงแล้วยังไม่ทราบว่าอาณาจักรหมิ่นเยว่มีอ๋องกี่องค์ แต่ก็ต้องมีอำนาจมากทีเดียว

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 208

(น.208) ศาลเหลี่ยงฝูปอฉือ เป็นศาลรำลึกถึงทหารราชวงศ์ฮั่น 2 คน (สมัยฮั่นตะวันตก) รบกับคนกลุ่มน้อยทางภาคใต้ของจีนชื่อ ลู่ป๋อเต๋อ อีกคนหนึ่งอยู่สมัยฮั่นตะวันออกชื่อ หม่าหยวน ทั้ง 2 คน มาตั้งระบบราชการในไหหลำ ปัจจุบันศาลนี้ใช้เป็นที่เก็บลายมือของนักเขียนพู่กันจีนที่มีชื่อเสียง

หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 64,68

(น.64) แหล่งโบราณคดีติงกง อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านติงกง ตำบลหยวนเฉิง อำเภอโจวผิง มีการประกาศเป็นแหล่งสำคัญทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ระหว่าง ค.ศ. 1985-1993 ได้มีการขุดหลายครั้ง ได้ของโบราณมาถึง 6,000 ชิ้น เป็นของก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่เรียกว่า วัฒนธรรมเป่ยซิน วัฒนธรรมต้าเวิ่นโข่ว วัฒนธรรมหลงซาน วัฒนธรรมเยี่ยสือ ต่อมาถึงของในสมัยราชวงศ์ซัง ราชวงศ์ฮั่น และสมัย 5 ราชวงศ์ ของที่พบมีทั้งภาชนะดินเผา เศษดินเผาที่มีอักษรจารึก มีชิ้นหนึ่งมีอักษร 11 ตัว อ่านออกเพียง 4 ตัว มีภาชนะสำริดที่เรียกว่า ลี่ และ กุย ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยกำลังทำฐานข้อมูลของเครื่องสำริด ยังมีสิ่งของที่ขุดได้จากแหล่งโบราณคดีอื่นๆ อีก แต่ฉันไม่ได้ดู ดูของอื่นในตู้ มีกระดูกสำหรับพยากรณ์ (oracle bones) อานหยังมีมากเพราะเป็นราชธานี มีอาวุธสำริด ที่ฝาห้องมีสำเนาจารึกหน้าสุสานสมัยราชวงศ์ฮั่น เขาอธิบายว่าพูดถึงชีวิตในสวรรค์ มีหนังสือคำตอบข้อสอบสมัยราชวงศ์ชิง คนนี้ได้ที่ 37 ตกลงว่าสอบได้หรือไม่ได้ก็ไม่ทราบ เครื่องถ้วยสมัยราชวงศ์เว่ย ราชวงศ์จิ้น สมัยราชวงศ์ฉี ราชวงศ์สุย ของสมัยหินใหม่แหล่งต้าเวิ่นโข่ว ของสมัยราชวงศ์ฮั่นมีพวกของจำลอง ของใช้ที่สำหรับใส่ในสุสาน เช่น บ่อน้ำ ยุ้งฉาง และครัว คันฉ่อง สำริด เหรียญเงิน

(น.68) เครื่องตกแต่งรถม้า ตัวอักษรเขียนบนไม้ไผ่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (206 ก่อนคริสตกาล-ค.ศ. 8) แผ่นที่ค่อนข้างบอบบางต้องแช่ไว้ในน้ำ เรื่องที่แสดงไว้เป็นเรื่องตำราพิชัยสงครามของซุนปิ้น มีบางตอนขาดหายไป บ่อน้ำจำลองสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25-220)

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 126

(น.126) พิพิธภัณฑ์มณฑลเหอหนาน สมัยราชวงศ์ฮั่น เว่ย (ก๊กของโจโฉ) จิ้น ราชวงศ์เหนือใต้ มีรูปอาคารจำลองทำด้วยเครื่องปั้นดินเผาสำหรับฝังลงไปในสุสาน หวังว่าบุคคลผู้ตายจะมีความเป็นอยู่ในปรโลกเหมือนเมื่อยังมีชีวิตอยู่ นอกจากนั้นยังมีนักดนตรี นักละคร พวกคนแคระ ซูโม่ อาวุธต่างๆ สันนิษฐานว่าสมัยราชวงศ์ฮั่นและถังนำการแสดงซูโม่ไปที่ญี่ปุ่น จนปัจจุบันคนญี่ปุ่นถือว่าซูโม่เป็นกีฬาสำคัญ มีภาพฝาผนังสมัยราชวงศ์ฮั่น ขุดพบใน ค.ศ. 1980 บริเวณมณฑลเหอหนานภาคตะวันออก ขึ้นไปชั้นสอง มีศิลาจารึกราชวงศ์จิ้น เป็นข้อมูลล้ำค่าที่สุด แสดงประวัติการตั้งโรงเรียนหลวง มีรายชื่อครูและนักเรียน นอกจากนั้นมีบันทึกว่าจักรพรรดิเคยเสด็จทอดพระเนตรที่นี่ 3 ครั้ง จารึกลายนก ลายเป็นภาพสุริยุปราคา สมัยราชวงศ์ฮั่น สมัยราชวงศ์ฮั่น มีรูปยุ้งข้าวสำหรับเอาไว้ในสุสาน พิมพ์ของลูกศร สมัยนั้นเริ่มเป็นสมัยเหล็ก มีการถลุงเหล็กหลายแห่ง

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 150

(น.150) วันนี้ไปลั่วหยัง (ลกเอี๋ยง) เดินทาง 2 ชั่วโมงเหมือนเมื่อวานนี้ ลั่วหยังอยู่ทางตะวันตกของมณฑลเหอหนาน เป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ต่างๆ รวม 9 ราชวงศ์ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันออก มีแหล่งศิลปะโบราณคดีจำนวนมาก ถ้ำหลงเหมินถือว่าเป็นแหล่งหนึ่งใน 3 แห่งที่เป็นคลังเก็บศิลาจารึก วัดม้าขาวเป็นวัดแรกในจีนที่สร้างขึ้นใน ค.ศ. 68 สมัยจักรพรรดิฮั่นหมิงตี้ แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก หลังจากการเผยแพร่พุทธศาสนาเข้ามาในจีนแล้ว (จริงหรือเปล่าประพจน์) เขาถือกันว่าดอกโบตั๋นของลั่วหยังสวยที่สุดในโลก ตั้งแต่ ค.ศ. 1983 นครลั่วหยังจัดงานแฟร์โบตั๋นทุกปี ลั่วหยังมีแร่ธาตุสำคัญหลายอย่าง ส่วนที่เป็นภูเขาก็เป็นแหล่งสัตว์และพืชพรรณนานา และยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่ตั้งขึ้นหลังการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว มีโครงการสำคัญๆ มาตั้งที่นี่ เช่น โรงงานทำรถแทรกเตอร์ และเครื่องจักรต่างๆ โรงงานเหล่านี้สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ โครงการชลประทานที่สำคัญที่สุดคือ โครงการเสี่ยวลั่งตี่ มีเงื่อนไขที่ดีในการลงทุน การคมนาคมสะดวก มีโรงแรมทันสมัย รวมทั้งได้สร้างความสัมพันธ์กับเมืองอื่นหลายเมือง

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 216

(น.216) ซือหม่าเชียน (ราชวงศ์ฮั่น) ได้บันทึกเรื่องต่างๆ ไว้ เรื่องก่อนหน้านั้นไม่มีใครบันทึก จึงอาศัยแต่ข้อสันนิษฐานทางโบราณคดี ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ลงความเห็นกันว่า การแบ่งเวลาระหว่างราชวงศ์เซี่ยกับซัง ควรจะเป็นว่าราชวงศ์เซี่ยเริ่ม 2,000 ปีก่อนคริสต์กาล ราชวงศ์ซัง 1,600 ปีก่อนคริสต์กาล อย่างไรก็ตามเรื่องระยะเวลาระหว่างราชวงศ์เซี่ยและราชวงศ์ซังยังไม่มีความชัดเจน แต่สมัยราชวงศ์โจวเริ่มชัด นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีนับพันคนศึกษาแล้วพบว่า ปี 1146 ก่อนคริสต์กาลมีเรื่องของโจวอู่หวังกับอินโจ้วหวัง

"ไอรัก" คืออะไร?
"ไอรัก" คืออะไร? หน้า 15

(น.15) ห้องแสดงวิวัฒนาการของการเขียนหนังสือจีน เทียบอักษรสมัยต่างๆ ตัวหนังสือสลักบนกระดองเต่าและโลหะ ไม้ไผ่ พบในสุสานหม่าหวังตุย สมัยราชวงศ์ฮั่น กระดาษสมัยต่างๆ การพิมพ์หนังสือ สมัยราชวงศ์ซ้อง การทำบล็อกดินเผา