<< Back
ซินเจียง
จากหนังสือ
หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรมหน้า111,114
(น.111) คณะกรรมาธิการนี้เป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงชลประทานแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มีอำนาจหน้าที่เกินกว่าภูมิภาค ครอบคลุมหลายมณฑล ในลุ่มแม่น้ำหวงเหอ ภูมิภาคปกครองตนเองซินเจียง รวมทั้งแม่น้ำบนผืนแผ่นดินใหญ่ของมองโกเลียใน
(น.114) ความสำคัญของแม่น้ำหวงเหอว่าเป็นแหล่งชีวิต ตั้งแต่ ค.ศ. 1952 ท่านประธานเหมากำชับเรื่องการจัดการลุ่มน้ำหวงเหอนี้มาก ต้นน้ำหวงเหอตั้งแต่ที่ราบสูงดินเหลืองที่ทิเบต ชิงไห่ ซินเจียง กานซู่ หนิงเซี่ย เหอหนาน และซานตง ไปลงที่ทะเลโป๋ไห่ ในประวัติศาสตร์มีน้ำท่วม เกิดปัญหามาก ประธานเหมาไปดู ค.ศ. 1952 ใน ค.ศ. 1999 ประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมินได้มาดูเรื่องการผลิตไฟฟ้า
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเลหน้า191
(น.191) ลำดับต่อไปแสดงเรื่องราวของศาสนามานีเคียน ศาสดาชื่อ มานิ (ค.ศ. 216-276) ชาวเปอร์เซีย เป็นผู้ตั้งศาสนานี้ ที่ผสานแนวคิดความเชื่อทั้งจากศาสนาคริสต์ และลัทธิโซโรอาสเตอร์ ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 3 ศาสนามานีเคียนมีผู้นับถือและสานุศิษย์อยู่มาก เผยแพร่เข้ามาในเอเชียและรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 หมดอำนาจในดินแดนตะวันตก และแอฟริกาเหนือ ส่วนทางตะวันออกเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 และรวมความเชื่อศาสนาอื่นเข้ามาด้วย มีอิทธิพลต่อศาสนาคริสต์นิกายนอกรีตทั้งหลาย ปัจจุบันยังมีศาสนานี้อยู่ในเอเชียกลาง
ศาสนามานีเคียนเชื่อว่าความสว่างจะชำระขจัดสิ่งที่ไม่ดีทั้งปวง จักรวาลนี้ควบคุมโดยอำนาจ 2 อย่างที่ขัดกันคือ ความดี-ความชั่ว ในตอนนี้อยู่รวมกัน แต่ในอนาคตจะแยกออกจากกัน ความดีจะไปสู่โลกแห่งความดี ความชั่วก็จะแยกไปอยู่ในโลกแห่งความชั่ว
ศาสนามานีเคียนแพร่เข้ามาในจีนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 6-7 จากเปอร์เซียเข้ามาทางเมืองซีอานในสมัยราชวงศ์ถัง เรียกกันว่า หมอหนีเจี้ยว แต่ถูกต่อต้านว่าเป็นพวกมาร เนื่องจากศาสนามานีเคียนนับถือแสงสว่าง พวกที่นับถือศาสนานี้ในจีนจึงเรียกนิกายของพวกตนว่า หมิงเจี้ยว (ภาษาแต้จิ๋วว่า เม้งก่า) ใน ค.ศ. 845 ถูกปราบจึงหนีไปอยู่ทางตะวันตกแถวซินเจียง มีบางตำรากล่าวว่าในราวคริสต์ศตวรรษที่ 14-15 พวกหมิงเจี้ยวเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธนิกายสัทธรรมปุณฑริก (ไป่เหลียนเจี้ยว หรือนิกายดอกบัวขาว) นิกายนี้มีอิทธิพลต่อสมาคมลับในภาคเหนือของจีน ซึ่งสมาคมที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า “สมาคมดอกบัวขาว” มีอิทธิพลในหมู่ชาวนา และเป็นองค์กรนำในการก่อกบฏชาวนาในภาคเหนือสมัยราชวงศ์ชิง
เย็นสบายชายน้ำ
เย็นสบายชายน้ำหน้า200
(น.200) จากมหาวิทยาลัยตรงไปจงหนานไห่ซึ่งเป็นบ้านพักทางการของผู้นำจีน เพื่อไปพบประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน ช่วงนี้รถติดค่อนข้างมาก ข้าพเจ้าก็เลยได้ใช้เวลาในรถศึกษาภาษาจีน โดยการอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาจีน มีมาดามจางกับเสี่ยวอู๋แนะนำ เรื่องที่อ่าน เช่น การพัฒนาภูมิภาคปกครองตนเองซินเจียง สมัยสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนใหม่ๆ ที่มีผลมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอกหน้า60,62
(น.60) คุณหวังเหมิงเอารูปที่ถ่ายสมัยก่อนมาให้ดู อธิบายว่าไปไหนมาบ้าง รูปสมัยที่อยู่ซินเจียงถ่ายรูปกับชาวเหวยอู๋เอ่อร์ (หรืออุยกูร์) เป็นพวกเชื้อสายเตอร์ก คุณหวังเหมิงพูดภาษาอุยกูร์ได้ก็เลยพูดกับคนตุรกีรู้เรื่อง
(น.62) นอกจากนั้นมีลายมือพู่กันภาษาอาหรับหรือภาษาอุยกูร์ ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ เขียนคำจากคัมภีร์อัลกุรอาน ปฏิทินมีรูปทิวทัศน์ ผู้คนจากมณฑลทางตะวันตก เช่น ซินเจียง ทิเบต ยูนนาน กวางสี (ตามนโยบายเปิดกว้างสู่ตะวันตก) นอกจากนั้นมีลายมือพู่กันจีน มีคำว่า อู๋เลี่ยง เป็นคำทางพุทธศาสนาแปลว่า ประมาณมิได้ (อมิตะ) มีตุ้ยเหลียนหรือคำขวัญคู่ติดอยู่ที่ข้างประตู รูปผลไม้ทางซินเจียง ในห้องรับแขกยังมีตู้ใส่ของขวัญหลากหลายที่ได้เป็นของขวัญจากการเดินทางไปประเทศต่างๆ
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอกหน้า198,199
(น.198) ถามท่านว่าภาษาถูหั่วหลัวที่ท่านเรียนเป็นภาษาอะไร ท่านบอกว่าภาษาโทคาริก ซึ่งเป็นภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน อยู่ในซินเจียง มีสองกลุ่ม เรียกกันว่ากลุ่ม A และกลุ่ม B หนังสือที่เขียนเกี่ยวกับภาษานี้เป็นหนังสือที่สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกอร์ทิงเกนเป็นผู้พิมพ์ ข้าพเจ้ารู้สึกว่ามหาวิทยาลัยเกอร์ทิงเกนนี้พิมพ์หนังสือดีๆ เห็นท่าจะต้องลองไป ข้าพเจ้าคิดจะไปเรียนภาษาเยอรมันที่ประเทศเยอรมันสักครั้งหนึ่ง ทางสถาบันเกอเธ่ที่ประเทศไทยแนะนำให้ไปเรียนที่เกอร์ทิงเกน มีคนชวนไปที่อื่นซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าน่าสนใจเหมือนกัน คิดอีกทีไปเกอร์ทิงเกนดีกว่า จะได้มีโอกาสไปเรียนภาษาสันสกฤตบ้าง
(น.199) ท่านมีห้องหนังสือหลายห้อง มีหนังสือโบราณ หนังสือทางพุทธศาสนาก็เยอะแยะ มีพระไตรปิฎก ตอนนี้กำลังค้นคว้าพุทธศาสนานิกายวัชรยาน (แบบทิเบต) ในเมืองคู่เชอ (เมืองนี้ชาวต่างชาติมักเรียกเคลื่อนเป็นเมืองกุฉา-Kucha) ทางตะวันตกของภูมิภาคปกครองตนเองซินเจียง
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอกหน้า212
(น.212) ประมาณทุ่มหนึ่งเดินไปโรงละครปักกิ่ง มีศาสตราจารย์เจ้าฉุนเชิง รองนายกสภามหาวิทยาลัยปักกิ่งมารับ วันนี้มีการแสดงการร้องเพลงจากภาคตะวันตกของจีน ส่วนมากเป็นเพลงซินเจียง เสริมด้วยเพลงชิงไห่ เป็นเพลงที่หวังลั่วปิน (ค.ศ.1913-1996) นักแต่งเพลงมีชื่อเสียง เป็นผู้คัดเพลงมาปรับปรุง ซุปบอกว่าอ่านข้อมูลจากอินเตอร์เนต ได้ความว่า หวังลั่วปินอยู่ในวงดุริยางค์ทหารของฝ่ายคอมมิวนิสต์ (กองทัพปาลู่จวิน) ไปปฏิบัติงานทางภาคตะวันตกแถบมณฑลกานซู่ ซินเจียง ชิงไห่ จึงมีความรู้และประทับใจเพลงพื้นบ้านของภาคตะวันตก เป็นนักดนตรีที่เก่ง ประพันธ์เพลงไว้ 100 กว่าเพลง ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในเพลงพื้นบ้านชิงไห่และซินเจียง เพลงของเขาเป็นที่นิยมของชาวจีนโพ้นทะเลในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก พวกชาวจีนในแผ่นดินใหญ่ก็ชอบเหมือนกัน
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอกหน้า273
(น.273) ภาคผนวก
เฉินตวนเซิง และถานฉือ ไจ้เซิงหยวน
เฉินตวนเซิงเป็นชาวหังโจว เกิดในตระกูลขุนนาง ปู่เป็นบรรณาธิการใหญ่ในการจัดทำหนังสือ ประมวลประวัติศาสตร์ชุด อุ๋นเซี่ยนทงเข่า ซึ่งเป็นฉบับที่ต่อจากหนังสือประวัติศาสตร์ที่หม่าตวนหลินได้เขียนไว้ เฉินตวนเซิงมีความสามารถทางการประพันธ์ เมื่ออายุราวๆ 18-20 ปีได้แต่งถานฉือ (บทขับ) ชื่อ ไจ้เซิงหยวน แต่ประพันธ์ถึงตอนที่ 16 ก็ทิ้งค้างไว้ จากนั้นแต่งงานกับฟั่นเอี๋ยน ต่อมาสามีต้องคดีทุจริตการสอบไล่ ถูกลงโทษเนรเทศไปอยู่ซินเจียง หลังจากทิ้งถานฉือที่แต่งค้างไว้ 10 กว่าปีได้ประพันธ์ต่ออีก 1 ตอนเป็นตอนที่ 17 แล้วชะงักไปอีก ทั้ง ๆ ที่ยังประพันธ์ไม่จบ ต่อมากวีหญิงชื่อ เหลียงเต๋อเสิง ได้ประพันธ์ต่ออีก 3 ตอน รวมเป็น 20 ตอน แล้วมีกวีหญิงอีกคนหนึ่งชื่อ โหวจือซิว เขียนดัดแปลงให้เป็นนวนิยาย 80 บท
ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า218,220,221,222,223,224
(น.218) ใน ค.ศ. 1954 รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ออกกฎหมายให้จื้อจื้อชีว์แต่ละแห่งจัดตั้งองค์กรบริหารปกครองตนเองภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ มีสิทธิตรากฎหมายที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและประเพณีของจื้อจื้อชีว์นั้นๆ ในขณะเดียวกันก็สามารถเสนอให้งดการปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐบาลกลางบางมาตราที่ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีของชนกลุ่มน้อยในจื้อจื้อชีว์ รวมทั้งมีสิทธิใช้ภาษาพูดภาษาเขียนของชนกลุ่มน้อยในจื้อจื้อชีว์นั้นๆ ด้วย ส่วนข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของจื้อจื้อชีว์จะเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอยู่มากที่สุดในจื้อจื้อชีว์นั้นๆ ประเทศจีนมีจื้อจื้อชีว์หรือภูมิภาคปกครองตนเองอยู่ 5 จื้อจื้อชีว์ คือ ภูมิภาคการปกครองตนเองมองโกเลียใน ภูมิภาคปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี (กวางสี) ภูมิภาคปกครองตนเองซีจ้าง (ทิเบต) ภูมิภาคปกครองตนเองชนชาติหุยหนิงเซี่ย และภูมิภาคปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเจียง (ซินเกียง) แม้ว่าภูมิภาคปกครองตนเองเหล่านี้จะมีอิสระในระดับหนึ่ง แต่ก็ต้องขึ้นต่อรัฐบาลกลางของจีน
(น.220) ::2.5 จื้อจื้อโจว (自治州) ในตี้ชีว์หรือจังหวัดที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จนเป็นชนส่วนใหญ่ของตี้ชีว์นั้นๆ รัฐบาลจีนก็จะให้ตี้ชีว์นั้นๆ เป็นจื้อจื้อโจว มีระเบียบการปกครองที่แตกต่างจากตี้ชีว์ แต่มีฐานะที่อยู่ในระดับเดียวกัน จื้อจื้อโจวจะมีรัฐบาลประจำจังหวัดของตนเอง มีสิทธิออกกฎหมายขึ้นใช้ภายในจื้อจื้อโจวและบริหารงานต่างๆ โดยมีอิสระในระดับหนึ่ง แต่ก็ต้องขึ้นกับรัฐบาลมณฑลหรือภูมิภาคปกครองตนเองที่รับผิดชอบดูแลจื้อจื้อโจวนั้นๆ ส่วนข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของจื้อจื้อโจวจะเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอยู่มากที่สุดในจื้อจื้อโจวนั้นๆ
ดังนั้นในปัจจุบันคำว่า “โจว” ในการจัดระเบียบการปกครองของจีนใช้กับเขตการปกครองระดับจังหวัดที่มีการปกครองตนเองใน
(น.221)ระดับหนึ่ง ส่วนจังหวัดทั่วๆ ไปจะใช้ว่าตี้ชีว์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคำว่า “โจว” เป็นศัพท์เก่าแก่ด้านการปกครองที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์จีนมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 220) ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบันจึงมีชื่อเขตการปกครองในระดับต่างๆ ของจีนเป็นจำนวนมากที่มีคำว่าโจวติดอยู่ด้วย โดยที่มิได้มีฐานะเป็นจื้อจื้อโจวแต่อย่างไร ทั้งนี้เพราะคำว่าโจวในเขตการปกครองเหล่านั้นได้ใช้กันมาเป็นเวลานานแล้ว ดังตัวอย่างประกอบข้างล่างนี้
นครที่ขึ้นต่อมณฑล (เสิ่งเสียซื่อ) ที่มีคำว่า “โจว” อยู่ด้วย เช่น หลานโจวในมณฑลกานซู เจิ้งโจวในมณฑลเหอหนาน หังโจวในมณฑลเจ้อเจียง และกว่างโจวในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง)
จังหวัด (ตี้ชีว์) ที่มีคำว่า “โจว” อยู่ด้วย เช่น ฮุยโจวในมณฑลอานฮุย หยางโจวในมณฑลเจียงซู และไถโจวในมณฑลเจ้อเจียง
เมืองที่ขึ้นต่อจังหวัด (ตี้ชีว์เสียซื่อ) เช่น สุยโจวในมณฑลหูเป่ย จังโจวในมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) และเฉาโจวหรือที่คนไทยเรียกว่าเมืองแต้จิ๋วในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง)
ดังนั้น คำว่า “จื้อจื้อโจว” ที่ภาษาอังกฤษใช้ว่า “Autonomous Prefecture” จึงน่าจะแปลเป็นภาษาไทยว่า “จังหวัดปกครองตนเอง” มีผู้แปลคำนี้ว่า “แคว้นปกครองตนเอง” ซึ่งดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกับความรับรู้ของคนไทยเท่าใดนัก เพราะคำว่าแคว้นในภาษาไทยสื่อความหมายถึงเขตการปกครองที่มีอิสระและปลอดจากอำนาจรัฐส่วนกลางในระดับสูง ขณะที่จื้อจื้อโจวของจีนมีอำนาจปกครองตนเองในระดับหนึ่งปัจจุบัน (ตามสถิติ พ.ศ. 2532) ประเทศจีนมีจื้อจื้อโจวอยู่ 30 จื้อจื้อโจวมณฑลที่มีมากที่สุดคือมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) มี 8 จื้อจื้อโจว รองลงมาคือมณฑลชิงไห่มี 6 จื้อจื้อโจว ภูมิภาคการปกครองตนเอง
(น.222) ชนชาติอุยกูร์ซินเจียง (ซินเกียง) มี 5 จื้อจื้อโจว มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) และมณฑลกุ้ยโจวมีมณฑลละ 3 จื้อจื้อโจว มณฑลกานซูมี 2 จื้อจื้อโจว มณฑลจี๋หลิน มณฑลหูเป่ย และมณฑลหูหนานมีมณฑลละ 1 จื้อจื้อโจว
(น.223) จังหวัดหรือตี้ชีว์และจังหวัดปกครองตนเองหรือจื้อจื้อโจวนั้นต่างก็มีอำเภอปกครองตนเองได้ ขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ เช่น จังหวัดปกครองตนเองชนชาติไต่ (ไท) แห่งซีซวงปั่นน่า (สิบสองปันนา) ก็มีอำเภอปกครองตนเองของชนกลุ่มน้อยอื่นที่อยู่ในจังหวัด จังหวัดการปกครองตนเองชนชาติไป๋แห่งต้าหลี่ก็มีอำเภอปกครองตนเองเช่นกัน ส่วนจังหวัดปกครองตนเองที่มีชนกลุ่มน้อยส่วนใหญ่เป็นพวกเดียวกันก็จะไม่มีอำเภอปกครองตนเอง ปัจจุบัน (ตามสถิติ พ.ศ. 2532) ประเทศจีนมีอำเภอ
(น.224) ปกครองตนเองทั้งหมด 110 อำเภอ มณฑลที่มีมากที่สุดคือมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) มี 28 อำเภอ ภูมิภาคปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี (กวางสี) มี 12 อำเภอ มณฑลกุ้ยโจวมี 11 อำเภอ มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) มี 8 อำเภอ มณฑลกานซู มณฑลชิงไห่ และมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) มีมณฑลละ 7 อำเภอ ภูมิภาคการปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเจียง (ซินเกียง) มี 6 อำเภอ มณฑลหูหนานมี 6 อำเภอ มณฑลเหลียวหนิงมี 5 อำเภอ มณฑลเห่อเป่ย มี 4 อำเภอ มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) มี 3 อำเภอ มณฑลจี๋หลินและมณฑลหูเป่ยมีมณฑลละ 2 อำเภอ มณฑลเจ้อเจียงและมณฑลเฮยหลงเจียงมีมณฑลละ 1 อำเภอ
การที่มณฑลหยุนหนานมีจังหวัดและอำเภอปกครองตนเองอยู่มากนั้นเพราะเป็นมณฑลที่มีชนกลุ่มน้อยชนชาติต่างๆ อยู่มากที่สุดในประเทศจีนถึง 20 กว่าชนชาติ
เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงามหน้า258
(น. 258) สถานที่ที่เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองซูโจวในปัจจุบันจึงมีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์จีนในศตวรรษที่ 19 ที่นี่เขาไม่ได้ให้ดูข้าวของต่างๆ ที่จัดแสดงไว้เพราะมีเวลาจำกัด แต่เอาของชิ้นเอกออกมาให้ชมเลย
1. คัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตร สมัยราชวงศ์ถัง เขียนตัวทอง มี 7 ม้วน พบในเจดีย์เมื่อ ค.ศ. 1976
2. คัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร สมัยราชวงศ์ซ่ง
3. เครื่องถ้วยลายดอกบัว พบที่เนินเสือ เป็นสีเขียวไข่กา จากเตาเผาเย่ว์ ของมณฑลเจ้อเจียง สมัยราชวงศ์เหนือใต้ ใช้อุณหภูมิ
1,000 กว่าองศาในการเผา และจะต้องเผาในสูญญากาศจึงจะออกมาเป็นสีเขียว ถ้าอากาศเข้าจะกลายเป็นสีน้ำตาล กลายเป็นของไม่มีค่า
4. หยกสมัยราชวงศ์ชิง รัชกาลจักรพรรดิเฉียนหลง มาจากเมืองเหอเถียนหรือเมืองโคทาน ในภูมิภาคปกครองตนเองซินเจียง สลักเป็นตัวหนังสือว่า กั๋วไท่หมินอาน แปลว่า ชาติร่มเย็น ประชาเป็นสุข และ ไท่ผิงอู๋เซี่ยง แปลว่า ไม่มีเหตุ ประเทศสงบ หยกสีอย่างนี้หายาก
5. เครื่องปั้นดินเผาสีม่วงแดงรูปพระ เป็นของเมืองซูโจว สมัยราชวงศ์หมิง
คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่หน้า236,239
(น.236) รัฐบาลกลาง มณฑล ภูมิภาคปกครองตนเอง และมหานครต่างๆ มอบของขวัญให้แก่ HKSAR เวลามอบมีตะกร้าใหญ่ๆ มาตั้งบนเวที มีคนแต่งตัวเป็นชนพื้นเมืองจูงเด็กแต่งตัวเป็นชาติต่างๆ เอาดอกไม้ใส่ตะกร้า ขณะที่ประกาศชื่อว่าใครให้ของอะไร ฉายรูปของขวัญให้ดูชัดๆ ในจอ ฉายแผนที่มณฑลและสถานที่ที่ให้ของ และรูปทิวทัศน์ในที่นั้นด้วย
มีคำอธิบายดังนี้
รัฐบาลกลาง ให้รูปปั้นทำด้วยสำริดหุ้มทอง
·เป็นรูปดอกชงโค (Bauhinia) บานตลอดกาล มีคำอธิบายว่าดอกชงโคเป็นสัญลักษณ์ของ HKSAR ตั้งอยู่บนฐานทำด้วยหินแกรนิตสีแดงจากเสฉวน ทำเป็นรูปกลมและรูปเหลี่ยม เป็นสัญลักษณ์ของทั้งประเทศและรูปกำแพงเมืองจีนที่สลักไว้ด้านใน หมายถึง มาตุภูมิที่ยิ่งใหญ่ รูปดอกชงโคเป็นศิลปะแบบจีน หมายถึง อนาคตอันมั่งคั่งของฮ่องกง รูปปั้นดอกชงโคนี้สูง 6 เมตร
มหานครปักกิ่ง ให้แจกันถมปัดแบบจิ่งไท่หลาน แสดงความยินดีทั่วโลก
มหานครเทียนสิน ให้พรมแขวนผนังเป็นรูปกำแพงเมืองจีน
มณฑลเหอเป่ย ให้ขวดแก้วเจียระไนที่เขียนข้างในขวด แสดงความยินดีระดับชาติ
มณฑลซานซี ให้รูปจำลองเจดีย์ที่ตำบลอินเซี่ยงทำด้วยไม้สลัก
(น.239) ภูมิภาคปกครองตนเองซินเจียง อุยกูร์ ให้พรมแขวนผนังขนสัตว์ รูปแสดงความยินดีในการที่ฮ่องกงกลับคืนมา