Please wait...

<< Back

อันฮุย

จากหนังสือ

เย็นสบายชายน้ำ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 37,41

(น.37) อนุสรณ์สถานหงเหยียนชุน แปลว่า หมู่บ้านผาแดง มีไกด์เข้ามาอธิบายเร็วจนล่ามแปลไม่ทัน ได้ความคร่าว ๆ ว่า มีเศรษฐีคนหนึ่งชื่อ หรัวกว๋อโหม (mó) ซื้อที่ปลูกผลไม้ เช่น สาลี่ แอปเปิ้ล ส้ม ไว้ที่นี่ ต่อมายกให้เป็นที่พักของกองทัพลู่ที่ 8 มีที่พักของก๊กมินตั๋งอยู่อีกด้าน หรัวกว๋อโหม (mó) เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ใน ค.ศ. 1949 เมื่อสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาแห่งชาติ ย้ายบ้านไปอยู่ปักกิ่ง บริจาคบ้านนี้แก่เทศบาล เป็นพิพิธภัณฑ์รำลึกถึงการปฏิวัติ

(น.41) มีรูปของเด็กหญิง เป็นลูกของจอมพลเยี่ยถิง นายพลผู้นี้มีบทบาทในการรบที่เรียกว่า หว่านหนานซื่อเปี้ยน (หว่านเป็นชื่อย่อของมณฑลอันฮุย) ทหารก๊กมินตั๋งโจมตีกองพลพรรคคอมมิวนิสต์ทางภาคใต้ของมณฑลอันฮุยในวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1941 นักรบมีชื่อ 2 ท่านถูกจับติดคุก ภายหลังเสียชีวิต (คือนายพลเยี่ยถิงและนายพลเซียงอิง) ท่านโจวแต่งบทกวีสรรเสริญวีรกรรมนี้ นายพลเยี่ยถิงกับลูกสาวตกเครื่องบินตายตอนไปเหยียนอาน ส่วนอีกท่านตายตอนปฏิวัติวัฒนธรรม

เย็นสบายชายน้ำ หน้า 107

(น.107) ป่าจารึก รวบรวมศิลาจารึกที่เจอในอันฮุย เฟิ่งเจี๋ย ห้องที่เป็นศาลเจ้ามีรูปเคารพเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ขงเบ้ง สร้างในราชวงศ์หมิง

เย็นสบายชายน้ำ หน้า 145

(น.145) ไกด์เดินเข้ามาอธิบายซีหลิงเสียซึ่งเป็นโตรกเขาสุดท้ายอยู่ตรงเขตติดต่อระหว่างมณฑลเสฉวนกับมณฑลอันฮุย เขาบอกว่าบริเวณซีหลิงเสียนี้มีดินถล่มมากที่สุด ตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงต่อเนื่องกันถึง 82 ปี เริ่มแต่ ค.ศ. 1544 เรือผ่านเกือบไม่ได้เพราะอันตรายมาก มีเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งมี 460 หลังคาเรือน ภายใน 10 นาทีพังทลายหมดหมู่บ้าน เหตุที่ดินถล่มเพราะชาวบ้านขุดถ่านหิน ทำให้ดินกลวงรับน้ำหนักไม่ได้ ที่แปลกคือหมู่บ้านพังพินาศทั้งหมู่บ้าน แต่ไม่มีใครเป็นอันตราย เพราะมีซินแสบอกไว้ล่วงหน้า นี่เป็นเรื่องเล่า ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบว่าเชื่อได้กี่เปอร์เซ็นต์

เย็นสบายชายน้ำ หน้า 227-229

(น.227) ไปเมืองหวงซานโดยสายการบินจีนเที่ยวบิน CA 1545 ใช้เวลาบิน 2 ชั่วโมง 20 นาที เวลาประมาณบ่ายโมงครึ่งไปถึงท่าอากาศยานเมืองหวงซาน มีผู้นำท้องถิ่นมารับ พาไปที่โรงแรมชื่อหวงซาน อินเตอร์เนชั่นแนล โรงแรมนี้เพิ่งเปิดใหม่เมื่อปีที่แล้ว ชาวฮ่องกงมาลงทุน ดูสมัยใหม่ดี ผู้จัดการที่มาดูแลเป็นผู้หญิง เขาบอกว่าเป็นคนมณฑลอันฮุยนี่เอง เดิมเป็นครู เพิ่งมาทำงานโรงแรมเมื่อโรงแรมนี้เปิด ดูเป็นคนคล่องแคล่ว อัธยาศัยดี โรงแรมก็สบายเหมือนบ้าน ตอนค่ำท่านเลขาธิการพรรค ชื่อ หลูหรงจิ่ง เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหาร ท่านเลขาธิการพรรคอายุ 63 ปี เคยเป็นนักอุตสาหกรรมเหล็ก ท่านเลขาธิการกล่าวว่า มณฑลอันฮุยอยู่กลางกลุ่มมณฑล

(น.228) ด้านตะวันออก มณฑลนี้มีประชากรราว 60.31 ล้านคน มีพื้นที่ 140,000 ตารางกิโลเมตร แม่น้ำฉางเจียงไหลผ่านมณฑลอันฮุยราว 400 กว่ากิโลเมตร และแม่น้ำหวายเหอก็ไหลผ่านด้วย นอกจากนั้นยังมีแม่น้ำที่เป็นสาขาของแม่น้ำฉางเจียงอีกหลายสาย มณฑลอันฮุยมีเหล็กกล้า ถ่านหิน ทองคำ ทองแดง ดินดีอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นการเกษตรดี ที่ดีอีกอย่างหนึ่งคือ การท่องเที่ยว ที่อันฮุยนี้มีทิวทัศน์ที่สวยงาม มีพื้นที่ภูเขา ที่ราบ และเนินเขา เหนือแม่น้ำหวายเหอเป็นที่ราบ มีภูเขาเทือกใหญ่ ๆ ภูเขาที่สวยงามที่สุดในโลก มีหินแปลก ทะเลเมฆ น้ำพุร้อน มีคำกล่าวว่า ในประเทศจีนมีภูเขา 5 แห่งที่งามที่สุด ไปเที่ยวทั้ง 5 แห่งนี้แล้วไม่ต้องไปที่อื่น แต่ถ้าไปหวงซานแล้วก็ไม่ต้องไปที่ภูเขา 5 แห่ง ภูเขาอีกแห่งที่มีชื่อเสียงคือ ภูเขาจิ่วหัวซาน เป็นภูเขาที่มีความสำคัญทางพุทธศาสนา 1 ใน 4 ของจีน เป็นสถานที่ประทับของพระโพธิสัตว์กษิติครรภ (ตี้จ้าง) ตอนนี้มณฑลอันฮุยมีเศรษฐกิจดี ตั้งแต่ค.ศ. 1992 รายได้หลักมาจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ถ่านหิน เหล็กกล้า เครื่องยนต์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ มีแนวโน้มที่จะพัฒนาทางการค้าระหว่างประเทศ ได้สร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ 23 ประเทศในภูมิภาค ไทยก็มาลงทุน ตอนนี้ยังไม่มีการลงทุนมากนัก ต้องพยายามส่งเสริมในเรื่องนี้ การส่งออกของมณฑลก็ดีขึ้นมากราว 50 ล้านเหรียญสหรัฐ คนอันฮุยเป็นมิตรกับไทย ผู้นำหลายคนได้เคยมาเยือนไทยแล้ว

(น.229) ข้าพเจ้าขอให้ท่านเลขาฯ เล่าเรื่องเหมืองทองแดง เขาเล่าว่าขุดสินแร่ออกมาจากดิน (เป็นหิน) หิน 100 ตัน เมื่อเอามาเผาแล้วเหลือทองแดงไม่ถึงตัน ท่านเลขาธิการมณฑลอันฮุยอธิบายถึงมณฑลอันฮุยและหวงซานว่า ยูเนสโกประกาศว่า หวงซานเป็นสถานที่ควรอนุรักษ์ สี่ฤดูจะดูงามไปต่าง ๆ กัน ศิลปินบางท่านขึ้นไปมากกว่า 10 ครั้ง ภูเขานี้สะอาด ปลอดภัย และเจริญ

เย็นสบายชายน้ำ หน้า 231

(น.231) นั่งรถไปหวงซาน เพิ่งจะสังเกตว่าตลอดทางมีนาข้าวทั้งที่ออกรวงแล้ว (แต่ต้นเตี้ย) และที่เพิ่งปลูก มีสวนผักสลับด้วยดิน ดูดีมาก ละเอียดและร่วน บนภูเขาทำนาขั้นบันได และมีสวนชาด้วย (คนขับรถเป็นไกด์) เขาอธิบายว่าชาดีๆ ต้องอยู่บนภูเขาสูง พืชธรรมชาติเป็นต้นไผ่ ต้นสน และต้นไม้อื่นๆ ที่ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าเป็นต้นอะไร รถผ่านหมู่บ้านสองสามหมู่บ้าน ส่วนมากเป็นสถาปัตยกรรมแบบอันฮุย ภูเขาสวยเหมือนที่ซานเสีย หลี่หงเอี้ยน (ตำรวจ) เขาว่าข้าพเจ้าว่านั่งรถเขียนหนังสือนั้นไม่ดี เพราะจะทำให้ตาเสีย แต่ก็ช่วยไม่ได้ พอดีนึกออกว่าจะเขียนอะไร ก็ต้องรีบเขียนก่อนที่จะลืม

เย็นสบายชายน้ำ หน้า 252

(น.252) แวะที่ถนนเก่าในเขตเมืองหวงซาน ถนนนี้เป็นถนนการค้ามาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง ห้องแถวที่เป็นร้านค้ายังเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมโบราณของมณฑลอันฮุย มีร้านน้ำชา ร้านช่างทอง เราลงเดิน เห็นมีของรับประทาน ใบชา อาหารพื้นเมืองขายเยอะ ของที่ขายมากแถวนี้มีพวกเครื่องเขียน ที่เขาเรียกว่าเพชรสี่อย่างประจำห้องเขียนหนังสือ ได้แก่ กระดาษ แท่งหมึก พู่กัน และแท่นหินฝนหมึก

เย็นสบายชายน้ำ ภาคผนวก หน้า 305-306,308-309

(น.305) แหล่งผลิตพู่กันที่มีชื่อสมัยราชวงศ์ถังและซ่งคือ เมืองซวนเฉิง มณฑลอันฮุย สมัยราชวงศ์หยวนนิยมพู่กันที่ทำจากตำบลซ่านเหลียนสั่ว อำเภออู๋ซิ่ง มณฑลเจ้อเจียง เดิมอำเภอนี้เรียกว่า เมือง

(น.306) หูโจว พู่กันที่ทำที่เมืองนี้จึงเรียกกันว่า หูปี่ นับถือกันว่ามีคุณสมบัติเป็นเลิศครบ 4 ประการคือ หัวพู่กันกลมมน ขนพู่เสมอกัน ด้ามแข็งแรง ปลายแหลมคม พู่กันนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เหมิงซี เป็นอนุสรณ์แด่เหมิงเถียนผู้ประดิษฐ์พู่กันชนิดใช้ขนสัตว์เป็นพู่ การผลิตพู่กันที่เมืองนี้เจริญรุ่งเรืองมาก และทำส่งใช้ในราชสำนักด้วย

(น.308) กระดาษที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ มีกระดาษของต้วนเฉิงซื่อ เมืองจิ่วเจียง เรียกกันว่า หยุนหลานจื่อ มีผู้นิยมใช้มาก นอกจากนี้ที่เสฉวนมีกระดาษที่มีชื่อเสียงหลายอย่าง ที่นิยมมากคือ กระดาษสีแดงที่นางคณิกาเสวียเถาคิดผลิตขึ้นเรียกว่า เสวียเถาเจียน กวีและจิตรกรนิยมใช้เขียนจดหมาย โคลงกลอน วาดภาพ ตู้มู่ ไป๋จู้อี้ หลิวอวี้ก็ชอบใช้กระดาษชนิดนี้ สมัยราชวงศ์ซ่งกระดาษที่นิยมกันคือกระดาษของเฉินซินถัง กระดาษนี้เนื้อขาวละเอียดเป็นมันเงา ราชวงศ์ชิงมีกระดาษที่ทำจากนุ่นและจากต้นไผ่ ปัจจุบันกระดาษที่ถือว่าเป็นรัตนะประจำห้องหนังสือคือ กระดาษซวนจื่อแห่งเมืองซวนเฉิงหรือซวนโจว มณฑลอันฮุย กระดาษนี้มีมาตั้งแต่ราชวงศ์ถัง ความจริงแล้ววัตถุดิบที่ใช้ทำคือเปลือกไม้ซิงถังผี มี

(น.309) อยู่มากทางมณฑลอันฮุยตอนใต้ แต่ที่อำเภอจิงเซี่ยนและอู๋ซีของเมืองนี้มีน้ำพิเศษที่ทำให้กระดาษขาวกว่าที่อื่น น้ำหมึกไม่ซึม ทนทาน ไม่ฉีกขาดง่าย จึงมีชื่ออีกอย่างว่า กระดาษพันปี

คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 236-237

(น.236) รัฐบาลกลาง มณฑล ภูมิภาคปกครองตนเอง และมหานครต่างๆ มอบของขวัญให้แก่ HKSAR เวลามอบมีตะกร้าใหญ่ๆ มาตั้งบนเวที มีคนแต่งตัวเป็นชนพื้นเมืองจูงเด็กแต่งตัวเป็นชาติต่างๆ เอาดอกไม้ใส่ตะกร้า ขณะที่ประกาศชื่อว่าใครให้ของอะไร ฉายรูปของขวัญให้ดูชัดๆ ในจอ ฉายแผนที่มณฑลและสถานที่ที่ให้ของ และรูปทิวทัศน์ในที่นั้นด้วย มีคำอธิบายดังนี้ รัฐบาลกลาง ให้รูปปั้นทำด้วยสำริดหุ้มทอง เป็นรูปดอกชงโค (Bauhinia) บานตลอดกาล มีคำอธิบายว่าดอกชงโคเป็นสัญลักษณ์ของ HKSAR ตั้งอยู่บนฐานทำด้วยหินแกรนิตสีแดงจากเสฉวน ทำเป็นรูปกลมและรูปเหลี่ยม เป็นสัญลักษณ์ของทั้งประเทศและรูปกำแพงเมืองจีนที่สลักไว้ด้านใน หมายถึง มาตุภูมิที่ยิ่งใหญ่ รูปดอกชงโคเป็นศิลปะแบบจีน หมายถึง อนาคตอันมั่งคั่งของฮ่องกง รูปปั้นดอกชงโคนี้สูง 6 เมตร
มหานครปักกิ่ง ให้แจกันถมปัดแบบจิ่งไท่หลาน แสดงความยินดีทั่วโลก
มหานครเทียนสิน ให้พรมแขวนผนังเป็นรูปกำแพงเมืองจีน
มณฑลเหอเป่ย ให้ขวดแก้วเจียระไนที่เขียนข้างในขวด แสดงความยินดีระดับชาติ
มณฑลซานซี ให้รูปจำลองเจดีย์ที่ตำบลอินเซี่ยงทำด้วยไม้สลัก

(น.237) ภูมิภาคปกครองตนเองมองโกเลียใน ให้รูปปั้นม้าวิ่งสู่อนาคต
มณฑลเหลียวหนิง ให้เครื่องรัก วิญญาณของชาติจีน
มณฑลจี๋หลิน ให้หินฝนหมึก รูปสนและชงโคหยั่งรากลึกในดินแดนจีน
มณฑลเฮยหลงเจียง ให้แจกันรูปดอกชงโคบานอีกครั้งในฤดูใบไม้ผลิ
มหานครเซี่ยงไฮ้ ให้หยกสลัก รูปชาวลุ่มน้ำผู่เจียงฉลองการกลับคืนของฮ่องกง
มณฑลเจียงซู ให้ผ้าปักซูโจว รูปการเดินทางกลับ
มณฑลเจ้อเจียง ให้ไม้สลัก รูปการเดินเรือกลับ
มณฑลอันฮุย ให้รูปทำด้วยเหล็ก เป็นรูปอาทิตย์ฉายแสงตลอดกาล

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 40

(น.40) 10 ปีแล้ว มีหนังสือภาษาแมนจู มีรูแมลงกัดจนพรุนคล้ายๆกับแมลงกัดหนังสือบ้านเรา อีกเล่มถูกน้ำต้องแกะมาซ่อมทุกหน้า ถ้าสามารถหากระดาษโบราณได้ก็เอากระดาษโบราณมาซ่อม ถ้าหาไม่ได้ก็พยายามหากระดาษที่มีลักษณะคล้ายของเดิมมากที่สุด กระดาษที่ใช้ซ่อมหนังสือมี 3 ชนิด คือ กระดาษทำด้วยเปลือกไม้จันทน์ กระดาษปอ เป็นชนิดที่ใช้ซ่อมหนังสือตุนหวง เยื่อไม้ไผ่ จากฮกเกี้ยน อันฮุย