Please wait...

<< Back

เจียงซี

จากหนังสือ

หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า203

(น.203) มีที่เก็บแผนที่โบราณสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้เขียนคือ หวงซัง ลักษณะเป็นสำเนาแผนที่กว้าง 184 เซนติเมตร ยาว 98 เซนติเมตร พื้นที่ฝั่งทะเลแถวๆ ฮ่องกง หู่เหมิน ก่วงโจว อีกแผ่นหนึ่งเป็นสำเนาแผนที่แถวๆ มณฑลเจียงซี เขียนสมัยราชวงศ์หมิง ลักษณะแผนที่เหล่านี้คล้ายๆ แผนที่ไทยที่หมู (สันทนีย์) กำลังเขียนวิทยานิพนธ์ แต่เขาบอกชื่อคนเขียนได้ ของเราบอกไม่ได้ แม้แต่ว่าเป็นของที่หน่วยงานไหนทำ และทำเมื่อไร

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนจีนถิ่นโพ้นทะเล หน้า56-57,67

(น.56) ลงไปชั้นล่างเป็นภาพโบราณตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่งถึงราชวงศ์ชิง ภาพของจินหนง (ค.ศ. 1687-1764) สมัยราชวงศ์ชิง เป็นคนหยังโจว อยู่ในกลุ่มจิตรกรแปลกประหลาดทั้ง 8 แห่งหยังโจว ภาพของจินหนงหายาก ส่วนมากจะเป็นฝีมือลูกศิษย์ แต่ภาพนี้ของจินหนงจริงๆ
เจิ้งไหน่กวง (ค.ศ. 1912-?) ชาวฝูเจี้ยน
สีว์เป่ยหง เขียนภาพม้า
หวงเซิ่น (ค.ศ. 1687-1770) ภาพคนแก่กำลังปลดปลาออกจากเบ็ด
จิตรกร 4 คน ร่วมกันเขียนภาพเขาหวงซาน


(น.57) รูป

(น.57) หลี่เขอหร่าน เขียนรูปเขาจิ่งกังซานในมณฑลเจียงซี

(น.67) มณฑลฝูเจี้ยน (หรือฮกเกี้ยน) มีชื่อย่อว่า หมิ่น ได้ชื่อจากแม่น้ำหมิ่น (หมิ่นเจียง) ส่วนชื่อฮกเกี้ยนก็เรียกกันมานานกว่า 1,300 ปีแล้ว มณฑลนี้เปิดสู่โลกภายนอกมานาน มาร์โคโปโลบันทึกไว้ว่า ท่าเรือแห่งหนึ่งที่ฮกเกี้ยนมีพ่อค้ามาจากทั่วโลก ฮกเกี้ยนเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางแพรไหมทางทะเล เมืองฝูโจวและเมืองเซี่ยเหมินเป็นเมืองท่าที่อนุญาตให้ชาวต่างชาติมาค้าขายได้ เป็น 2 แห่งในจำนวน 5 แห่งแรก มีจังหวัด 9 จังหวัด 85 อำเภอ เนื้อที่ 120,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ติดกับมณฑลกวางตุ้ง เจ้อเจียง และเจียงซี ทางใต้ใกล้กับเกาะไต้หวัน มีพื้นที่ทางทะเล 130,000 ตารางกิโลเมตร มีแนวชายฝั่งยาวกว่า 3,300 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับ 2 ในบรรดามณฑลต่างๆ ของจีน

เยือนจีนถิ่นโพ้นทะเล หน้า93-94

(น.93) แล่นรถไปตามอู่อี๋ซานไปหยุดที่พิพิธภัณฑ์ในพื้นที่ (site museum) เป็นเตาเผาเซรามิก ชื่อ อวี้หลินถิง สมัยราชวงศ์ซ่ง ในกำหนดการใช้คำว่าโรงงาน พวกเราฝ่ายที่เป็นนักซื้อถึงกับเตรียมเงินจะซื้อเครื่องปั้นดินเผากัน แต่ไม่มีของขาย

(น.94) เครื่องเคลือบดินเผาจากเตานี้เป็นที่นิยมทั่วไปในจีนและญี่ปุ่น รวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เตาตรงนี้ขุดค้นพบใน ค.ศ. 1998 จึงจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เรามาดูนี้มีคำอธิบายต่างๆ ทั้งภาษาจีนและอังกฤษ ถ่ายรูปเมื่อขุดพบเตา และอธิบายขั้นตอนการผลิต การขุดแต่ง ขุดค้นบริเวณเตา สิ่งที่พบ ชามต่างๆ เครื่องเคลือบดินเผาที่ญี่ปุ่นชอบใช้ในพิธีชงชา เขาถ่ายรูปและอธิบายสภาพภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมบริเวณนี้ มีบ่อน้ำพุซันเตี๋ย มีรูปสะพานโบราณสำหรับขนส่งของไปทางมณฑลเจียงซี มณฑลเจ้อเจียง สมัยราชวงศ์ซ่ง เขาพบบ่อน้ำที่ใช้ทำเครื่องถ้วย เมืองตรงนั้นพบซ้อนกันหลายชั้น

เยือนจีนถิ่นโพ้นทะเล หน้า128,130

(น.128) วัฒนธรรมโลงแขวนมีมากมายหลายแห่ง ที่มีมากที่สุดคือ แถบแม่น้ำฉังเจียงที่เราเคยไปดูตอนไปล่องเรือแถวซานเสีย (ซานเสีย แปลว่า สามโตรกเขา) ทางใต้ถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยก็มีด้านตะวันออกไปจนถึงญี่ปุ่น ในเมืองจีนที่พบแต่ละมณฑลอยู่ต่างสมัยกัน เช่น ที่เสฉวนพบสมัยจ้านกั๋ว ที่เจียงซีเป็นสมัยชุนชิว หีบในที่ต่างๆ ไม่เหมือนกัน หีบที่กวางสีรูปร่างเหมือนเขาควาย

(น.130) ไปดูพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานของจูซี นักปรัชญาสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ เกิดที่เจียงซี เป็นปรมาจารย์ของลัทธิหลี่เสวียเจียคือ Neo Confucianism หรือขงจื่อใหม่ รวมแนวคิดลัทธิขงจื่อ พุทธ และเต๋าเข้าด้วยกัน

เยือนจีนถิ่นโพ้นทะเล หน้า203-204

(น.203) อู่กงฉือ เป็นหอบรรพบุรุษผู้มีชื่อเสียง 5 ท่าน เป็นอาคารแรกที่สร้างในเกาะไหหลำ สร้างสมัยจักรพรรดิกวางสู ปีที่ 15 (ค.ศ. 1889) เป็นสถานที่แสดงความเคารพ เสนาบดีผู้มีความรู้สมัยราชวงศ์ถังและซ่งใต้รวม 5 ท่าน ที่ถูกเนรเทศมาอยู่เกาะไหหลำ ที่สร้างอาคารชื่อ จูไฉ่ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นคนที่มีอำนาจมากที่สุดในเกาะไหหลำสมัยนั้น เสนาบดีผู้ใหญ่ทั้ง 5 คือ
1. หลี่เต๋ออวี้ (ค.ศ. 787-850) เป็นขุนนางจากมณฑลเหอเป่ยสมัยราชวงศ์ถัง เคยเป็นอัครมหาเสนาบดี (ไจ่เซี่ยง-นายกรัฐมนตรี) ถึง 2 ครั้ง ในสมัยนั้นท่านขัดแย้งกับนักการเมือง กลุ่มหนิวเซิงหรู ในด้านการปฏิรูปการปกครองและระบบสอบรับราชการ ท่านหลี่เต๋ออวี้และพวกต้องการเพิ่มอำนาจให้รัฐบาลกลางด้วยการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ให้คุมอิทธิพลท้องถิ่นได้ แต่พวกกลุ่มหนิวเซิงหรูมีนโยบายกระจายอำนาจ ต้องการให้ทหารระดับภูมิภาคปกครองตนเอง ทั้งสองกลุ่มขัดแย้งกัน 40 ปี เมื่อจักรพรรดิองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ จักรพรรดิเชื่อกลุ่มหนิวเซิงหรู หลี่เต๋ออวี้จึงถูกเนรเทศไปเกาะไหหลำ สมัยนั้นเรียกว่า หยาโจว (涯州) และไปตายที่นั่น
2. หลี่กัง (ค.ศ. 1083-1140) เป็นคนมณฑลฮกเกี้ยน รับราชการในสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่แรกจักรพรรดิตั้งเป็นขุนนางระดับสูงถึงอัครมหาเสนาบดี ตอนที่มีแผนจะรบกับพวกจิน (กิมก๊ก) แต่ต่อมาจักรพรรดิคิดจะยอมแพ้ก็เลยเนรเทศหลี่กังมาที่เกาะไหหลำ เมื่อเนรเทศได้ 3 วัน จักรพรรดิก็ยกโทษให้ (ค.ศ. 1129)
3. เจ้าติ่ง (ค.ศ. 1085-1147) เป็นคนมณฑลซานซี สอบเป็นขุนนางได้ ได้รับแต่งตั้งเป็นอัครมหาเสนาบดี เป็นฝ่ายที่สนับสนุนเย่วเฟย (งักฮุย) ให้รบกับพวกกิมก๊ก ถูกเนรเทศไปอยู่ที่เมืองแต้จิ๋วใน ค.ศ. 1138 หลังจากนั้นถูกเนรเทศไปเกาะไหหลำใน ค.ศ. 1144 เพราะฉินฮุ่ย เสนาบดีผู้ใหญ่ที่ฝักใฝ่พวกกิมก๊ก (คนไทยรู้จักในนามฉินกุ้ย) ไม่ชอบ เสียชีวิตใน ค.ศ. 1147 เพราะอดอาหารประท้วง
(น.204)

4. หลี่กวง (ค.ศ. 1078-1159) เป็นคนอำเภอซ่างอวี๋ มณฑลเจ้อเจียง เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ถูกเนรเทศใน ค.ศ. 1141 เพราะฉินฮุ่ยแค้นที่ไปวิจารณ์ซึ่งๆ หน้าตอนเข้าเฝ้าพระจักรพรรดิ เมื่อมาที่เกาะไหหลำ ได้สร้างโรงเรียนเผยแพร่วัฒนธรรมจีน
5. หูฉวน (ค.ศ. 1102-1180) เป็นพวกที่เสนอให้ต่อสู้กับพวกจิน เขียนหนังสือว่าถ้าตัดหัวฉินฮุ่ยแล้วประเทศจึงจะมีเสถียรภาพ เป็นเหตุให้ถูกเนรเทศ แต่แรกถูกเนรเทศไปมณฑลเจียงซีแล้วต่อไปที่เกาะไหหลำใน ค.ศ. 1148 อยู่ที่ซานย่า ได้สร้างโรงเรียนเผยแพร่วัฒนธรรมจีนภาคกลาง

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า17

(น.17) งานโครงการเขื่อนซานเสียก็ต้องดูแล ตัวเขื่อนใหญ่จะอยู่ที่เมืองอี๋ชางในมณฑลหูเป่ย แต่ปิดเขื่อนแล้วส่วนที่เป็นอ่างเก็บน้ำจะอยู่ในฉงชิ่งเป็นส่วนใหญ่ (500 ตารางกิโลเมตร จาก 650 ตารางกิโลเมตร) ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติตามนโยบายเปิดสู่ตะวันตกของประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน ให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของแม่น้ำแยงซีตอนบน มีหน้าที่ดูแลการอพยพผู้คน คาดว่าเมื่อเขื่อนแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2009 จะต้องย้ายคนถึง 1,030,000 คน ขณะนี้น้ำยังไม่ขึ้น ได้ไปตระเตรียมสถานที่ย้ายคนเป็นอย่างดี แต่ยังไม่ได้ย้ายทั้งหมด นอกจากจะย้ายไปอยู่ตามเมืองต่างๆ ที่กะเอาไว้เดิมแล้ว ยังต้องกระจายไปตามมณฑลต่างๆ ด้วย เช่น ซานตง อานฮุย เจียงซู มหานครเซี่ยงไฮ้ (ซั่งไห่) เจ้อเจียง ฮกเกี้ยน (ฝูเจี้ยน) กวางตุ้ง (ก่วงตง) เจียงซี หูหนาน หูเป่ย เสฉวน (ซื่อชวน)

คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า52

(น.52) เมืองนี้ค้าขายกับต่างประเทศมาก มูลค่าส่งออกมากกว่านำเข้า สินค้าสำคัญ ได้แก่ อาหารแปรรูป (ขายปลาไหลได้มาก) เครื่องเย็บปักเสื้อและผ้า มีชื่อแห่งหนึ่งใน 4 แห่งคือ ปักกิ่ง ซูโจว เสฉวน และที่นี่ เครื่องปั้นดินเผาแต้จิ๋ว มีศิลปะดี เขาบอกว่าของขวัญที่เติ้งเสี่ยวผิงให้กิมอิลซุง อดีตผู้นำเกาหลีเหนือก็ทำที่แต้จิ๋ว แหล่งเครื่องปั้นที่มีชื่อเสียงอื่นๆ เช่น ชานตุง เจียงซู เจียงซี (กังไส) กวางตุ้งที่โฝซาน เซรามิกที่ใช้ในเครื่องอิเล็คโทรนิคส่งขายญี่ปุ่น

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า143

(น.143) เศรษฐกิจอุตสาหกรรมรุ่นแรก เสื้อผ้าของคนเผ่าต่างๆ พวกแคะส่วนมากมาจากฝูเจี้ยน เจียงซี ราวคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นพวกที่ทำงานมากขยันขันแข็ง เสื้อเป็นสีน้ำเงินแก่ ตั้นเจีย หรือพวกชาวเรือ (เขาว่าสืบเชื้อสายจากพวก เยว่)

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 101

(น.101) แผนที่แสดงเมืองอ้ายฮุย เมืองอ้ายฮุยนี้มี 2 เมือง เมืองเก่าเวลานี้อยู่ในรัสเซีย จีนเรียกแถบนี้ว่าเจียงตง คือ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเฮยหลงเจียง รัสเซียเรียกเมืองนี้ว่า บลาโกเวชเชนสก์ (Blagoveshchensk) เมืองทางฝั่งจีนเป็นเมืองสร้างใหม่ อยู่ในแถบเจียงซี คือฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ การพิพาทเรื่องปัญหาชายแดนเริ่มแต่ช่วงครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 และการกำหนดเส้นกั้นเขตแดน ทำให้เมืองอ้ายฮุยมีทั้งทางฝั่งรัสเซียและฝั่งจีน คำว่าอ้ายฮุย ภาษาตาเว่อร์แปลว่าน่ากลัว ส่วนภาษาแมนจูเรียกเมืองนี้ว่า “ซาฮาเลียนอูลาฮัวทง” ดังได้กล่าวแล้ว