<< Back
เหอเป่ย
"ไอรัก" คืออะไร?
"ไอรัก" คืออะไร? หน้า 40
(น.40) รูป 37 อ่างเก็บน้ำเพื่อการชลประทานและการประปา
Yi Qiao, a reservoir for irrigation and water supply.
(น.40) ไปที่เขื่อนมีวิศวกรมาอธิบายแต่ฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง สรุปได้แค่ว่าโครงการชลประทานแม่น้ำส่วนนี้สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำเสียในเมืองเทียนสิน เขาว่ากันว่าแต่ก่อนนี้เมืองเทียนสินไม่มีน้ำดีใช้ น้ำก๊อกเปิดมาก็ใช้ดองผักได้เลย ชงน้ำชาก็ไม่อร่อย ถึงจะผันน้ำหวงเหอมาใช้ก็ยังมีน้ำไม่พอ แม่น้ำล่วน หรือล่วนเหอไหลผ่านทุ่งหญ้าในมองโกเลียในมาสู่มณฑลเหอเป่ย ลงทะเลโปไห่ ยาวประมาณ 888 กิโลเมตร
คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 43
(น.43) ศาลเจ้าหันเหวินมีทั่วประเทศ แต่ว่าที่แต้จิ๋วใหญ่ที่สุดและมีอายุเก่าแก่ที่สุดคือราว 808 ปี
ลักษณะเหมือนศาลเจ้าจีนทั่วๆ ไปแต่มีขนาดใหญ่ ตามขื่อและเสามีคำขวัญเป็นลายมือของบุคคลมีชื่อเสียงทางอักษรศาสตร์ เช่น ลายมือหลิวไห่ซู เขียนว่า เป็นอาจารย์ร้อยชั่วคน ลายมือโจวเผยหยวน เขียนว่าเป็นนักปราชญ์ร้อยชั่ว
กลางศาลตั้งรูปหันหยูนั่งอยู่ ซ้ายขวามีคำประกาศเกียรติคุณในศาลมีแผ่นจารึก 2 แผ่นซึ่งไกด์ว่าเป็นลายมือหันหยู ลานด้านหน้าเห็นทิวทัศน์แม่น้ำหัน มีสะพานข้ามชื่อ สะพานหันเฉียว สะพานนี้สร้างมาตั้งแต่เมื่อไรก็ไม่ทราบ บางคนบอกว่ามีตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง บางคนก็ว่าสมัยจักรพรรดิหงอู่ ต้นราชวงศ์หมิง สมัยนั้นใช้เรือ 18 ลำ ผูกทุ่น 24 ทุ่น น้ำขึ้นน้ำลงเรือก็ลอยตาม สะพานนี้ใช้การได้มาจนถึงปัจจุบันนี้ สะพานแบบนี้เขาว่ามีที่เหอเป่ย ปักกิ่ง ลั่วหยาง และที่เมืองแต้จิ๋ว
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 236
(น. 236) รัฐบาลกลาง มณฑล ภูมิภาคปกครองตนเอง และมหานครต่างๆ มอบของขวัญให้แก่ HKSAR เวลามอบมีตะกร้าใหญ่ๆ มาตั้งบนเวที มีคนแต่งตัวเป็นชนพื้นเมืองจูงเด็กแต่งตัวเป็นชาติต่างๆ เอาดอกไม้ใส่ตะกร้า ขณะที่ประกาศชื่อว่าใครให้ของอะไร ฉายรูปของขวัญให้ดูชัดๆ ในจอ ฉายแผนที่มณฑลและสถานที่ที่ให้ของ และรูปทิวทัศน์ในที่นั้นด้วย มีคำอธิบายดังนี้
รัฐบาลกลาง ให้รูปปั้นทำด้วยสำริดหุ้มทอง เป็นรูปดอกชงโค (Bauhinia) บานตลอดกาล มีคำอธิบายว่าดอกชงโคเป็นสัญลักษณ์ของ HKSAR ตั้งอยู่บนฐานทำด้วยหินแกรนิตสีแดงจากเสฉวน ทำเป็นรูปกลมและรูปเหลี่ยม เป็นสัญลักษณ์ของทั้งประเทศและรูปกำแพงเมืองจีนที่สลักไว้ด้านใน หมายถึง มาตุภูมิที่ยิ่งใหญ่ รูปดอกชงโคเป็นศิลปะแบบจีน หมายถึง อนาคตอันมั่งคั่งของฮ่องกง รูปปั้นดอกชงโคนี้สูง 6 เมตร
มหานครปักกิ่ง ให้แจกันถมปัดแบบจิ่งไท่หลาน แสดงความยินดีทั่วโลก
มหานครเทียนสิน ให้พรมแขวนผนังเป็นรูปกำแพงเมืองจีน
มณฑลเหอเป่ย ให้ขวดแก้วเจียระไนที่เขียนข้างในขวด แสดงความยินดีระดับชาติ
มณฑลซานซี ให้รูปจำลองเจดีย์ที่ตำบลอินเซี่ยงทำด้วยไม้สลัก
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 221-222,233
(น.221) นั่งรถทัวร์ใหญ่ไปถึงเขตเฉิงเต๋อหยุดพักที่โรงแรมจิ้นซานเพื่อพักผ่อนเข้าห้องน้ำ มีไกด์ของเฉิงเต๋อมาขึ้นรถอธิบาย รถขึ้นไปบริเวณกำแพงเมืองจีน ส่วนที่เรียกว่า จินซานหลิ่ง ประมาณ 150 กิโลเมตรจากปักกิ่ง อยู่ในเขตภูเขาของอำเภอหลวนผิง มณฑลเหอเป่ย เป็นที่มั่นทางการทหาร โครงสร้างของสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่สร้างใน ค.ศ. 1570 สมัยราชวงศ์หมิง กำแพงเมืองจีนช่วงนี้ยาว 20 กิโลเมตร อยู่เหนือระดับน้ำทะเลราว 800 เมตร ทำด้วยอิฐ มีหอคอยสำหรับดูม้าศึกเป็นระยะๆ หอคอยแต่ละแห่งมีขนาด รูปร่าง และแบบต่างๆ กัน ช่องกำแพงที่นี่มีลักษณะต่างจากที่ปาต๋าหลิ่ง คือจะยาวกว่า ช่องเหล่านี้แต่ละช่องไม่เหมือนกัน มีลวดลายด้วย ตรงกำแพงมีช่องให้น้ำไหล จะโยนหรือเทก้อนหินใส่ข้าศึกตามช่องนี้ก็ได้ มีป้อมยามสำหรับส่งสัญญาณ กลางวันส่งเป็นควัน กลางคืนเป็นกองไฟ เชื้อเพลิงที่ใช้ในการจุดไฟสัญญาณที่ดีที่สุดคือขี้หมาป่า เพราะจุดแล้วควันขึ้นตรง ไม่ทราบเหตุผลว่าทำไมถึงได้เป็นอย่างนั้น
(น.222) รูป 167 กำแพงเมืองจีนส่วนที่เรียกว่า จินซานหลิ่ง เขตภูเขาอำเภอหลวนผิง มณฑลเหอเป่ย
(น.233) กลับโรงแรม เวลา 17.50 น. ไปโรงแรมหงโหลว นายกเทศมนตรีเลี้ยงอาหารเย็น นายกเทศมนตรีกล่าวว่าที่นี่เป็นเมืองใหญ่หนึ่งใน 11 ของมณฑลเหอเป่ย มีลักษณะพิเศษคือ ได้เปรียบทางภูมิประเทศ มีทรัพยากรธรรมชาติและเป็นเมืองท่องเที่ยว เดินทางไปปักกิ่งเพียง 250 กิโลเมตร เดินทางไปท่าเรือเทียนสินใช้เวลาเท่ากัน ทางเหนือไปมองโกเลียใน ตะวันออกไปมณฑลเหลียวหมิง พื้นที่นี้มีแร่ธาตุสำคัญๆ 100 กว่าชนิด มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น กำแพงเมืองจีน อุทยานราชวงศ์ชิง วัด ใน ค.ศ. 1994 ได้รับรางวัลจากองค์การยูเนสโกว่าเป็นมรดกวัฒนธรรมของโลก
มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 279,280,283
(น.279)ถึงพิพิธภัณฑ์ซึ่งเคยเป็นค่ายทหารในสมัยราชวงศ์ชิง
ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์มาคอยรับ อธิบายว่าการจัดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้แบ่งออกเป็น 4 หัวข้อ คือ
1. ประวัติศาสตร์
2. โบราณวัตถุและมัมมี่
(น.280)
3. ชนกลุ่มน้อย
4. พุทธศาสนาและภาพฝาผนัง
(น.283) หยกเหอเถียนพบในมณฑลเหอเป่ย ของจากวัฒนธรรมเกาชาง มีหนังสือเขียนบนติ้วไม้ไผ่จากลบนอร์ บัญชีของที่ไว้ในหลุมศพ ม้าไม้เขียนสีจากสุสานอัสตาน่า สมัยราชวงศ์ถังมีหนังสือเกี่ยวกับการขึ้นศาล สำมะโนครัวสมัยราชวงศ์ถัง คูปองรับข้าวสารปันป่วน ท่อน้ำ รองเท้า แว่นตาสำหรับป้องกันทรายสมัยก่อน ภาพวาดในผ้าแพร เครื่องจักสาร เครื่องเขินของเปอร์เซีย ขนมต่างๆ สมัยก่อน พู่กัน ดอกไม้ทำด้วยผ้าแพร นี่ก็เป็นของแปลกมาก ข้าพเจ้าเพิ่งทราบว่าสมัยโน้นก็มีการทำดอกไม้ประดิษฐ์ด้วยผ้า ทำได้สวยงามละเอียดมาก
ย่ำแดนมังกร
ย่ำแดนมังกร หน้า 56
(น.56) กำแพงเมืองจีนนี่ยาวถึง 6,700 กม. มีสาขาแยกเป็นช่วงๆ ออกไปหลายสาย แต่สายใหญ่ๆ นั้น ถ้านับจากปักกิ่งไปทางทิศตะวันตกก็ไปถึงมณฑลกานซู ทางตะวันออกไปจดทะเลแถวๆ เหอเป่ย ทีเดียว ขึ้นไปบนป้อมมองไปทางตะวันตก ก็เป็นเขตเหอเป่ย ทางตะวันตกเป็นมณฑลซานซี ส่านซี และจะไปถึงทะเลทรายโกบี รวมความว่าผ่านมณฑล 5 มณฑล และเขตปกครองตนเองถึง 2 เขต มองออกไปห่างกำแพงเมืองจีนที่เรากำลังยืนอยู่มีซากป้อมเล็กๆ ซึ่งเขาบอกว่าแต่ก่อนให้คนไปอยู่ตรงนั้น แล้วส่งข่าวบอกจำนวนศัตรู ด้วยสัญญาณไฟและสัญญาณควัน
ย่ำแดนมังกร หน้า 148
(น.148) เราบินอยู่เหนือภูเขา ซีซาน (เขาตะวันตก) มุ่งทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านเมืองน้อยใหญ่ แม่น้ำสายต่างๆ ผ่าน มณฑลเหอเป่ย ซานซี ข้ามแม่น้ำหวงเหอ เข้าในมณฑลส่านซี ตามเขตลุ่มแม่น้ำนาข้าวสาลีสีเขียวขจี
หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 252
(น.252) ต้าถงตั้งอยู่ทางเหนือของมณฑลซานซี ติดเหอเป่ยและมองโกเลียใน อยู่บนที่ราบสูงดินเหลือง (loess plateau) สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ล้อมรอบด้วยภูเขา ประกอบด้วย 4 เขตในเมือง และ 7 อำเภอ มีเนื้อที่รวม 14,127 ตารางกิโลเมตร ประชากร 2.8 ล้านคน
เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 2 เหลียวหนิง หน้า 25,44
(น.25) ถึงปลายสมัย จ้านกว๋อ มีการปกครองเป็นมณฑลและเมือง สมัยฮั่นขยายอิทธิพลไปเกาหลี จิ๋นซีฮ่องเต้สร้างกำแพงเมืองจีนกั้นพวกเผ่าอนารยชน รวมประเทศ สร้างมาตราชั่งตวงวัดเป็นระบบเดียวกัน ของที่มีในสมัยนั้นมีเครื่องถ่วงน้ำหนักสำหรับชั่ง หัวคันไถซึ่งใหญ่มาก เศษกระเบื้องเชิงชาย วังของจิ๋นซี แถวๆซานไห่กวานใกล้มณฑลเหลียวหนิงแต่อยู่ในเขตเหอเป่ย เป็นสถานที่เกิดเรื่องเล่าซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าเมิ่งเจียงหนู่ซึ่งสามีถูกเกณฑ์มาสร้างกำแพงเมืองจีนแล้วตายไปมาร้องไห้แล้วโดดทะเลกลายเป็นหิน แถบนี้กล่าวกันว่าจิ๋นซีฮ่องเต้เคยเสด็จ พบหมู่บ้านสมัยจ้านกว๋อ พบสุสานสมัยฉิน อายุราว 2,000 ปี มีภาพการล่าสัตว์ เครื่องเซรามิกของพวกเหลียวเหนือ
(น.44)มาวันนี้ได้ความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นราชวงศ์เหลียวมากขึ้น ดูเสร็จแล้วกลับมารับประทานอาหารกลาง วันที่เรือนรับรอง ได้พักผ่อนนิดหน่อย ตอนบ่ายเดินทางไปสุสานตงหลิง
คำว่า “ตงหลิง” แปลว่า “สุสานตะวันออก” มีสุสานที่ใช้ชื่อว่า “ตงหลิง” อยู่ 2 แห่ง แห่งหนึ่งคือสุสาน ตงหลิงที่อำเภอจุนฮว้า ในมณฑลเหอเป่ย อยู่นอกเมืองปักกิ่งไปทางตะวันออก อีกแห่งหนึ่งคือสุสานตงหลิงที่อยู่ใกล้ๆเมืองเสิ่นหยางอันเป็นสุสานที่ข้าพเจ้าจะไปเยี่ยมชม
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน หน้า 240
(น.240) เขาเอ๋อเหมยซาน (ง้อไบ๊) อยู่เสฉวน เป็นที่เทศน์ของพระโพธิสัตว์ผู่เสียน (พระสมันตภัทร)
เขาจิ่วหัวซาน ประดิษฐานพระโพธิสัตว์ตี้จ้าง (พระกษิติครรภ) อยู่เหอเป่ย
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 203
(น.203) ที่หมายที่ 2 คือ อู่กงฉือ เป็นหอบรรพบุรุษผู้มีชื่อเสียง 5 ท่าน เป็นอาคารแรกที่สร้างในเกาะไหหลำ สร้างสมัยจักรพรรดิกวางสู ปีที่ 15 (ค.ศ. 1889) เป็นสถานที่แสดงความเคารพ เสนาบดีผู้มีความรู้สมัยราชวงศ์ถังและซ่งใต้รวม 5 ท่าน ที่ถูกเนรเทศมาอยู่เกาะไหหลำ ที่สร้างอาคารชื่อ จูไฉ่ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นคนที่มีอำนาจมากที่สุดในเกาะไหหลำสมัยนั้น
เสนาบดีผู้ใหญ่ทั้ง 5 คือ
1. หลี่เต๋ออวี้ (ค.ศ. 787-850) เป็นขุนนางจากมณฑลเหอเป่ยสมัยราชวงศ์ถัง เคยเป็นอัครมหาเสนาบดี (ไจ่เซี่ยง-นายกรัฐมนตรี) ถึง 2 ครั้ง ในสมัยนั้นท่านขัดแย้งกับนักการเมือง กลุ่มหนิวเซิงหรู ในด้านการปฏิรูปการปกครองและระบบสอบรับราชการ ท่านหลี่เต๋ออวี้และพวกต้องการเพิ่มอำนาจให้รัฐบาลกลางด้วยการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ให้คุมอิทธิพลท้องถิ่นได้ แต่พวกกลุ่มหนิวเซิงหรูมีนโยบายกระจายอำนาจ ต้องการให้ทหารระดับภูมิภาคปกครองตนเอง ทั้งสองกลุ่มขัดแย้งกัน 40 ปี เมื่อจักรพรรดิองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ จักรพรรดิเชื่อกลุ่มหนิวเซิงหรู หลี่เต๋ออวี้จึงถูกเนรเทศไปเกาะไหหลำ สมัยนั้นเรียกว่า หยาโจว (涯州) และไปตายที่นั่น