Please wait...

<< Back

เฮยหลงเจียง

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง
เกล็ดหิมะในสายหมอก ความนำ หน้า 3

ครั้งที่สามคือครั้งนี้ ตั้งใจไปศึกษาเรื่องภาคตะวันออก
(น.3) เฉียงเหนือของจีนคือ มณฑลเหลียวหนิง จี๋หลิน และเฮยหลงเจียง ซึ่งเป็นดินแดนถิ่นกำเนิดของพวกแมนจู ภาษาจีนเรียกว่าพวกหม่านโจว ต่อมาได้รวมกันตั้งราชวงศ์ชิง เข้าบุกปักกิ่งและใช้เป็นราชธานีต่อมาจนสิ้นราชวงศ์ ดินแดนตะวันออกเฉียงเหนือยังเป็นดินแดนสำคัญในประวัติการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปัจจุบันก็ยังมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมืองของจีนเนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก เป็นแหล่งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ทั้งยังมีทัศนียภาพที่งดงาม สภาพภูมิศาสตร์ที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน หน้า 241,242,243

(น.241)เรื่องประวัติศาสตร์สมัยก่อน ญี่ปุ่นยึดอยู่ฉางชุน ตั้งเป็นเมืองหลวงของแมนจูกัว แต่ว่าขณะนี้คนแมนจูก็กลืนกลายวัฒนธรรมเหมือนคนจีนซึ่งมีคนมากกว่า ไม่มีใครรู้ภาษาแมนจู ในชนบทจะยังมีเหลืออยู่หรือไม่ก็ไม่รู้ อาณาจักรของแมนจูทำให้ประเทศจีนกว้างใหญ่ ยุคที่รุ่งเรืองคือสมัยพระเจ้าคังซี หย่งเจิ้ง เฉียนหลง ซึ่งครองราชย์อยู่นาน ปลายราชวงศ์ชิงอ่อนแอ จักรวรรดินิยมจึงแย่งดินแดนไปได้ รัสเซียยึดแถบเฮยหลงเจียง อูซูหลี่เจียง ส่วนอังกฤษยึดฮ่องกง

(น.242) ลาคณะมณฑลจี๋หลินขึ้นรถไฟ นักข่าวซื้อปิงถังหูลู่มาให้อร่อยดี อาจารย์สารสินบอกว่าอยู่เมืองจีนหลายปียังไม่ได้ชิม เป็นผลไม้แดงชุบน้ำตาลเคี่ยว มีขายมาตั้ง 100 กว่าปีมาแล้ว มีรูปในหนังสือ รถไฟสาย 209 ซึ่งออกจากเสิ่นหยางมาฉางชุน และเดินทางต่อไปเฮยหลงเจียง ตามกำหนดดังนี้ ฉางชุน 14 : 16 เต๋อหุ้ย 15 : 34

(น.243) เถาไล่เจา 16 : 21 เป็นชายแดนระหว่างจี๋หลินกับเฮยหลงเจียง ซานช่าเหอ 16 : 44 ซวงเฉิงพู่ 17 : 26 ฮาร์บิน 18 : 20 ในรถไฟข้าพเจ้านั่งเขียนบันทึกนี้บ้าง คุยกับคนโน้นคนนี้ทั้งฝ่ายจีนฝ่ายไทยบ้าง รถไฟข้ามแม่น้ำซง- ฮัวเจียง แม่น้ำช่วงนี้เป็นน้ำแข็ง แถมหิมะปกคลุมหนา อาจารย์สารสินเล่าว่าในหนังสือฝรั่งโบราณเรียกแม่น้ำว่า Songary ถึงฮาร์บินก็มืดแล้ว มีใครมารับบ้างเห็นไม่ถนัด มีผู้ว่าฯ คนที่ขึ้นนั่งรถมาด้วยเป็นประธานกรรมาธิการการศึกษาของมณฑล เขาบอกว่าปรอทคืนนี้ - 30°C พรุ่งนี้ต้องแต่งตัวหนา ๆ แต่ถ้าทำอะไร ๆ ก็ไม่หนาว จะมีการจัดกีฬาฤดูหนาวเอเชียตะวันออกที่นี่

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 10,14,18,22,39,43,70

(น.10)พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มีสัตว์ต่างๆ ให้ดูมาก ไดโนเสาร์ (จีนเรียกข่งหลง) พันธุ์นี้ชื่อ Manchurosaurus amurensis เรียกว่าไดโนเสาร์ปากเป็ด พบในแม่น้ำเฮยหลงเจียง ในมณฑลเฮยหลงเจียง แรดโบราณอายุราว 10,000 ปี สมัย Quaternary พบปี ค.ศ.1956 ช้างแมมมอธ สมัย Quaternary 21,200 บวก-ลบ 600 ปีมาแล้ว พบในปี ค.ศ. 1973 ชื่อวิทยาศาสตร์ Mammuthis sungari ดูสูงกว่าช้างธรรมดาที่เคยเห็น

(น.14)ต่อไปเป็นสัตว์ในสมัยปัจจุบัน เริ่มแต่สัตว์ไม่มีกระดูสันหลัง สัตว์ทะเล สัตว์ที่มีกระดูสันหลังอ่อน ปลาในแม่น้ำเฮยหลงเจียง ปลาที่ใหญ่ที่สุด (เขาบอกว่าเป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไม่ทราบว่ากับปลาบึกของเราใครจะใหญ่กว่ากัน) คือหวางหยู Huso dauricus เข้าใจว่าเป็นปลา sturgeon เขาว่าโตที่สุดที่พบน้ำหนักพันกิโลกรัม

(น.18) พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมีแพนด้า กระต่ายหิมะ หมีดำเฮยหลงเจียง กวางมูส กวางม้า เสืออีสาน เขาว่าใหญ่ที่สุดในโลก เจ้าหน้าที่บอกว่ายังคงเหลืออยู่ในเฮยหลงเจียง เขาว่ายังเหลืออยู่ 20 ตัวเท่านั้น หมาป่า ตัวหวางหยาง หลิงหนิว (กระทิง) พวกสัตว์เลี้ยงลูกอยู่ที่หน้าท้อง (masupial) เช่น ตุ่นปากเป็ด ไม่ได้เอาตุ่นปากเป็ดมาสตัฟฟ์จริงๆ แต่แปลงจากตัวนาก (สงสารตัวนากตัวนั้นที่ถูกฆ่าตายแล้วยังถูกแปลงเชื้อชาติ)

(น.22) ประธานการศึกษาขึ้นไปนั่งรถ แล้วอธิบายเรื่องปลาต่างๆ ปลาต้าหม่าฮา ปลาหวง ปลาฉุนอยู่ในแม่น้ำเฮยหลงเจียง และในแม่น้ำซงฮัว มีอีก 8 อย่าง

(น.39)ไกด์อธิบายว่าในเฮยหลงเจียงนี้มี 48 ชนเผ่า แต่พิพิธภัณฑ์ที่นี่จัดมาแสดง 8 เผ่า

(น.43)จางจู่เริ่นบอกว่าหน้าที่เขาคือส่งเสริมการศึกษาสำหรับเด็กลูกชนกลุ่มน้อย เริ่มที่เด็กๆ ทุกคนต้องเข้าโรงเรียน 9 ปี ถือว่าพวกคนหนุ่มสาวต้องรู้หนังสือ ตั้งเป้าว่าคนอายุ 15-45 ปี ต้องอ่านหนังสือได้ ที่เฮยหลงเจียงนี้มีคนไม่รู้หนังสืออยู่ประมาณ 70,000 คน คนที่อายุเกิน 20 ปีประกอบอาชีพแล้ว กลางวันก็ทำนาประกอบอาชีพ กลางคืนเรียน สอนทั้งหนังสือและวิชาชีพ ฝึกหัดใช้เครื่องจักรการเกษตร การอุตสาหกรรม แต่ก่อนนี้การทำนาล้าหลัง มาช่วง 4 ปีนี้มีผลผลิตดี ที่ต้องสอนหนังสือด้วย เพราะคนที่ไม่รู้หนังสือจะไม่สามารถอ่านตำรับตำราการใช้เครื่องจักรเครื่องมือ เครื่องจักรช่วยให้ทำงานไถเพาะหว่านและเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น

(น.69)มณฑลเฮยหลงเจียงเป็นมณฑลที่อยู่เหนือที่สุดของจีน มีพรมแดนติดกับต่างประเทศ เนื้อที่ประมาณ 460,000 ตาราง

(น.70)กิโลเมตร ประชากร 36.5 ล้านคน มีรูปร่างคล้ายกับห่านฟ้าบินทะยานขึ้นสู่ฟ้า มีพรมแดน 3,045 กิโลเมตร ติดต่อกับประเทศรัสเซีย มีแม่น้ำเฮยหลงเจียงกั้น มณฑลนี้นับเป็นฐานที่สำคัญที่สุดในด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมของจีน อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ ปิโตรเคมี เครื่องจักร เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ถ่านหิน ป่าไม้ อาหารต่างๆ น้ำมันดิบที่นี่มีประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำมันทั่วประเทศ ถ่านหินมีหนึ่งในสาม มีทองคำ เงิน กราไฟท์ (ซึ่งใช้คำขั้วบวกของแบตเตอรี่) ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ได้แก่ ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ข้าวเจ้า ข้าวฟ่าง ขณะนี้เปิดประเทศติดต่อกับประเทศเครือจักรภพรัฐเอกราช ซึ่งเป็นส่วนของสหภาพโซเวียตเก่า มี 21 ด่าน ได้ทำการค้าประมาณ 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ บางส่วนก็แลกเปลี่ยนกันเป็นสิ่งของ มีการค้าระหว่างมณฑลกับประเทศในยุโรปตะวันออกรวมประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้ทราบว่าข้าพเจ้าสนใจประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีน จึงอยากจะบรรยายเสริมว่าได้พบมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์หลายแหล่ง เช่น ที่อั๋งอั๋งซี เมืองฉีฉีฮาเอ่อร์ เป็นมนุษย์ดึกดำบรรพ์ สำหรับในปัจจุบันนี้มีคนกลุ่มน้อย 48 ชนเผ่า รวม 2 ล้านกว่าคน

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 98,100,102,103,104

(น.98) เข้าชมพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เมืองอ้ายฮุย ซึ่งแสดงความเป็นมาของเมืองนี้ในด้านต่างๆ เรื่องแรกที่ได้ชมกล่าวถึงรอบๆ บริเวณที่เคยเป็นที่บัญชาการของแม่ทัพเฮยหลงเจียงมาแต่ ค.ศ.1683 ในสมัยราชวงศ์ชิงนั้น มีมนุษย์ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่มาแต่ครั้งโบราณ ขุดค้นพบเครื่องมือหิน หัวลูกศร หัวธนู มีบันทึกประวัติศาสตร์ว่า หัวธนูพวกนี้เป็นบรรณาการส่งเข้าเมืองหลวงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว

(น.100) สมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644-1911) รวบรวมดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำเฮยหลงเจียงเข้าด้วยกัน มีแม่ทัพแห่งอ้ายฮุยหรือแม่ทัพแห่งเฮยหลงเจียงมาอยู่ประจำการ ตั้งที่บัญชาการซึ่งขึ้นตรงต่อกองบัญชาการทหารที่จี๋หลิน แม่ทัพมีอำนาจบังคับบัญชาราชการทั้งบู๊ (การทหาร) และบุ๋น (การพลเรือน)

(น.102)เรื่องต่อไปที่ได้ดูเป็นเรื่องการขยายดินแดนของรัสเซียมายังชายแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือของจีนเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ปัญหาชายแดนในบริเวณนี้เป็นเรื่องสำคัญ มีผลต่อทั้งความมั่นคงของประเทศและเศรษฐกิจในบริเวณชายแดน ราชวงศ์ชิงจึงให้ความสำคัญตลอดมา พยายามแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งที่เกิดขึ้น แต่จะแก้ไขได้แค่ไหนขึ้นอยู่กับอำนาจทางการเมืองและประสิทธิภาพทางการปกครองของราชวงศ์ชิงเองด้วย ระหว่าง ค.ศ.1685-1686 ในสมัยพระเจ้าคังซีจีนได้ส่งกองทหารเข้าโจมตีเมือง Albazin เมืองด่านชายแดนของรัสเซียบนฝั่งแม่น้ำเฮยหลงเจียง ปัญหาชายแดนที่ยืดเยื้อนี้ยุติลงด้วย

(น.103)การเจรจาทำสนธิสัญญา Nerchinsk ค.ศ.1689 ผู้แทนฝ่ายรัสเซียที่เข้ามาเจรจาคือ นายพลคาบารอฟ (Khabarovsk) สนธิสัญญา Nerchinsk แม้จะทำให้จีนเสียดินแดนให้รัสเซียบ้างเล็กน้อย คือเมืองโป๋ลี่ของจีนตกเป็นของรัสเซีย กลายเป็นเมืองคาบารอฟ ตามชื่อนายพลที่เป็นผู้แทนเข้ามาเจรจา แต่ก็เป็นสนธิสัญญาที่จีนได้ทำกับรัสเซียอย่างเสมอภาค มีการเจรจาเส้นกั้นเขตแดนทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือให้แน่ชัด ตามสนธิสัญญานี้แม่น้ำเฮยหลงเจียงและเขตสันปันน้ำทั้งหมดเป็นของจีน นอกจากนั้นทั้งสองฝ่ายยังตกลงให้การค้าชายแดนดำเนินไปตามปกติด้วย

(น.104)ปัญหาข้อพิพาทเรื่องชายแดนได้ดำเนินต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ชิงเสื่อมอำนาจลงเรื่อยๆ จึงต้องเสียดินแดนให้แก่รัสเซียไปเป็นจำนวนมาก รวมดินแดนที่เสียไปประมาณ 1 ล้านกว่าตารางกิโลเมตร ปี 1858 เซ็นสัญญาอ้ายฮุย เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม สัญญานี้ฝรั่งเรียกว่า Argun Peace Treaty ตัดพื้นที่จีนไป 600,000 กว่าตารางกิโลเมตร ต่อมาทำสนธิสัญญาปักกิ่งปี ค.ศ.1900 ตัดพื้นที่ไปอีก 400,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่นั้นมาแม่น้ำเฮยหลงเจียงก็กลายเป็นเส้นกำหนดชายแดนระหว่างจีนและรัสเซีย

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 136

(น.136) ระหว่างเดินทาง นั่งรถเฉยๆ พักหนึ่งคนขับรถถามขึ้นว่า ข้าพเจ้าประทับใจอะไรที่นี่บ้างข้าพเจ้าว่าเป็นสถานที่น่าสนใจมาก ข้าพเจ้าเคยได้ยินแต่ชื่อแม่น้ำอามูร์ (ที่เรียกตามภาษารัสเซีย) จีนเรียกเฮยหลงเจียง เคยเห็นแต่ภาพถ่ายดาวเทียม

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 152,162

(น.152)จางจู่เริ่น (จางหุ้ยฟาง) ให้หนังสือพจนานุกรรมประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมสำหรับครู ผู้ที่รวบรวมเป็นประธานคณะกรรมการการศึกษาของจี๋หลิน เหลียวหนิง และเฮยหลงเจียงกับอาจารย์มหาวิทยาลัยอีกคน เป็นเรื่องวัฒนธรรม ตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์จนถึงปัจจุบัน อันเป็นเรื่องที่ครูต้องรู้ ยังมีอีกเล่มเกี่ยวกับความคิดของขงจื้อกับเม่งจื้อ อีก 2 ปีจึงจะพิมพ์เสร็จ หนังสือเช่นนี้ครูทุกคนต้องศึกษา

(น.162) รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการฟื้นฟูพัฒนาปลูกป่า ฉะนั้นในปี ค.ศ.1993 ป่าไม้จึงเพิ่มขึ้นเป็น 13.92% เมื่อเทียบกับประชากร 1,200 ล้าน ตั้งแต่ปี ค.ศ.1978 รัฐบาลอนุมัติโครงการ 7 โครงการ ตัวอย่างคือแนวป้องกันลม 3 เหนือ ประกอบด้วยแนวตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือ มี 13 มณฑล และเขตปกครองตนเอง รวมตั้งแต่ซินเกียงจนถึงเฮยหลงเจียง เรียกกันว่าเป็นกำแพงเมืองจีนสีเขียว

คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 237

มณฑลเฮยหลงเจียง ให้แจกันรูปดอกชงโคบานอีกครั้งในฤดูใบไม้ผลิ

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 26

งาช้าง Mammoth พบที่มณฑลเฮยหลงเจียง ส่วนที่ไซบีเรียในรัสเซียพบช้าง Mammoth ที่มีขนด้วย เรียกว่า Mammuthus Premegentius

เจียงหนานแสนงาม หน้า 42

(น. 42) วันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1931 ญี่ปุ่นเปิดฉากโจมตีเมืองเสิ่นหยัง ภายใน 4 เดือนก็สามารถยึดได้เมืองเสิ่นหยัง (มณฑลเหลียวหนิง) ฉังชุน (มณฑลจี๋หลิน) และฮาร์บิน (มณฑลเฮยหลงเจียง) แล้วยึดเมืองอื่นๆ ต่อเนื่องมา ภาคอีสานของจีนก็อยู่ใต้การยึดครองของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจัดตั้งหม่านโจวกั๋วขึ้น (ประเทศแมนจูเรีย ภาษาไทยถอดเสียงเคลื่อนเป็น แมนจูกัว) พอถึง ค.ศ. 1934 ญี่ปุ่นสถาปนาพระเจ้าผู่อี๋เป็นจักรพรรดิหม่านโจวกั๋ว

ย่ำแดนมังกร
ย่ำแดนมังกร หน้า 225

ก่อนจะกลับได้เห็นนกกระเรียนหัวแดง (ไม่ใช่หัวล้านอย่างนกตะกรุม เป็นแต่ขนที่หัวสีแดง) เป็นสัญลักษณ์ของความมีอายุยืน มาจากมณฑล เฮยหลงเจียง ภาคอีสานของจีน

"ไอรัก" คืออะไร?
"ไอรัก"คืออะไร? หน้า 20

สำหรับเฮยหลงเจียงกับแมนจูเรียที่ข้าพเจ้าอยากไปนั้น ขณะนี้ไม่เหมาะ อากาศหนาวมาก เดือนธันวาคม-มกราคม อากาศเย็น อุณหภูมิประมาณ -40 ˚C ท่านเองยังไม่อยากไป (ควรไป มิถุนายน-กันยายน จะดีมาก)


จัดหมวดหมู่สารสนเทศ

เฮยหลงเจียง

ครั้งที่สามคือครั้งนี้ ตั้งใจไปศึกษาเรื่องภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนคือ มณฑลเหลียวหนิง จี๋หลิน และเฮยหลงเจียง ซึ่งเป็นดินแดนถิ่นกำเนิดของพวกแมนจู ภาษาจีนเรียกว่าพวกหม่านโจว ต่อมาได้รวมกันตั้งราชวงศ์ชิง เข้าบุกปักกิ่งและใช้เป็นราชธานีต่อมาจนสิ้นราชวงศ์ ดินแดนตะวันออกเฉียงเหนือยังเป็นดินแดนสำคัญในประวัติการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปัจจุบันก็ยังมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมืองของจีนเนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก เป็นแหล่งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ทั้งยังมีทัศนียภาพที่งดงาม สภาพภูมิศาสตร์ที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง [1]

ภูมิประเทศและที่ตั้ง

มณฑลเฮยหลงเจียงเป็นมณฑลที่อยู่เหนือที่สุดของจีน มีเนื้อที่ประมาณ 460,000 ตาราง กิโลเมตร ประชากร 36.5 ล้านคน มีรูปร่างคล้ายกับห่านฟ้าบินทะยานขึ้นสู่ฟ้า มีพรมแดน 3,045 กิโลเมตร ติดต่อกับประเทศรัสเซีย มีแม่น้ำเฮยหลงเจียงกั้น มณฑลนี้นับเป็นฐานที่สำคัญที่สุดในด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมของจีน อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ ปิโตรเคมี เครื่องจักร เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ถ่านหิน ป่าไม้ อาหารต่างๆ น้ำมันดิบที่นี่มีประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำมันทั่วประเทศ ถ่านหินมีหนึ่งในสาม มีทองคำ เงิน กราไฟท์ (ซึ่งใช้คำขั้วบวกของแบตเตอรี่) ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ได้แก่ ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ข้าวเจ้า ข้าวฟ่าง ขณะนี้เปิดประเทศติดต่อกับประเทศเครือจักรภพรัฐเอกราช ซึ่งเป็นส่วนของสหภาพโซเวียตเก่า มี 21 ด่าน ได้ทำการค้าประมาณ 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ บางส่วนก็แลกเปลี่ยนกันเป็นสิ่งของ มีการค้าระหว่างมณฑลกับประเทศในยุโรปตะวันออกรวมประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้พบมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์หลายแหล่ง เช่น ที่อั๋งอั๋งซี เมืองฉีฉีฮาเอ่อร์ เป็นมนุษย์ดึกดำบรรพ์ สำหรับในปัจจุบันนี้มีคนกลุ่มน้อย 48 ชนเผ่า รวม 2 ล้านกว่าคน เช่น หม่าน พวกหุย (อิสลาม) เกาหลี ตาเว่อร์ เอ้อหลุนชุน มองโกล [2]

ประวัติศาสตร์/โบราณคดี

ร่องรอยมนุษย์ดึกดำบรรพ์ มีพวกเครื่องมือหิน วัฒนธรรมสวยเถียน ของที่ร่วมสมัยมีกรามสุนัขป่า กรามช้างแมมมอธ ตัวหลิงหยาง (ฝรั่งว่า antelope) สมัยหินใหม่ขุดพบหลายที่ ที่ลุ่มแม่น้ำซงฮัวเจียงและเนิ่นเจียงมีวัฒนธรรมอั๋งอั๋งซี อาวุธทำเป็นรูปใบกุ้ย เครื่องมือไถนา เครื่องปั้นดินเผา เครื่องปั้นเป็นภาชนะ 3 ขา เครื่องปั้นเลียนแบบหนังสัตว์ แท่นบูชาดินเผา อาณาจักรโป๋ไห่ พบที่ปาเป่าหลิว เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองทางตะวันออก มีหีบเหล็กสำหรับใส่กระดูก พบที่อำเภอหนิงอัน สมัยนั้นตรงกับราชวงศ์ถังซึ่งกำลังรุ่งเรือง โอรสของกษัตริย์แห่งอาณาจักรโป๋ไห่ก็ได้ไปศึกษาที่ฉางอาน มีบทกวีบทหนึ่งกล่าวถึงการส่งโอรสอาณาจักรโป๋ไห่กลับประเทศ มีอิทธิพลทางพุทธศาสนาอยู่มาก เช่น ที่อำเภอหนิงอัน พบพระพุทธรูปกาไหล่ทอง การพัฒนาเศรษฐกิจสมัยราชวงศ์เหลียวและจิน ของที่ตั้งแสดงมีหัวเข็มขัด เครื่องปั้น หินฝนหมึก เครื่องถ้วยมีเคลือบทองแดงทำเป็นตราประทับสมัยราชวงศ์จิน (เขียนเป็นภาษาฮั่น) ส่วนประกอบอาคารพบที่เมืองอาเฉิง เครื่องเหล็กเป็นรูปโกลนม้า หัวเข็มขัด แท่งเงินใช้ทับของ ในสมัยจินได้พบสุสาน มีศพชายหญิงอยู่คู่กัน เขาถ่ายรูปติดไว้ให้ดูด้วย ศพตายแห้งเหมือนมัมมี่ เสื้อผ้ายังดีอยู่ อายุราว 800 ปี พบที่อำเภออาเฉิง เครื่องเหล็กราชวงศ์จิน คันฉ่องทองแดง พบที่อำเภออู่ฉาง ของสมัยราชวงศ์หยวน หมิง และชิง พบแถวๆ อำเภออู่ฉางและเมืองฮาร์บิน ที่แสดงไว้สมัยหมิง มีตราคันฉ่องสำริดจารึกคำสิริมงคลต่างๆ เช่น ให้พ่อ-ลูกเป็นอัครเสนาบดี (เป็นเจ้าเป็นนายทั้งพ่อทั้งลูก) ให้สอบได้เป็นจอหงวน พวกเครื่องลายคราม (Blue & White) ลายก็เป็นลายสิริมงคล เช่น มังกรคู่ ปลาคู่ พบที่อำเภออี้หลาน สมัยราชวงศ์ชิง พวกหนู่เจิน พวก 8 ธง มีแผนที่แบ่งเขตการปกครอง ของที่ขุนพลส่งไปจิ้มก้องจักรพรรดิ (คำว่า จิ้มก้อง ที่คนไทยชอบพูดมาจากคำว่า จิ้นก้ง ในภาษาจีน) คือ ตัวเตียว ตัวเตียวชนิดนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า Sable ใบอาญาสิทธิ์ของพระเจ้าหวงไท่จี๋ หมากรุกมองโกล มีตัวหมากรุกเล็กๆ ทาสี เสื้อผ้าหนังมองโกล รองเท้ามองโกล (ตอนที่ข้าพเจ้าไปมองโกเลียเขาให้รองเท้าแบบนี้) เสื้อคนเผ่าเอ้อหลุนชุน เป้หนังสัตว์ปักลาย ถุงมื,อชนิดไม่แยกนิ้ว ที่นี่อธิบายเอ้อหลุนชุนเป็นมองโกลเผ่าหนึ่ง เปลเด็กซึ่งห้อยติดกับม้าได้ ปืนสมัยราชวงศ์ชิง มีชื่อแปลว่า ขุนศึกเก่งกล้า[3] ส่วนในอำเถออ้ายฮุย ขุดค้นพบเครื่องมือหิน หัวลูกศร หัวธนู มีบันทึกประวัติศาสตร์ว่า หัวธนูพวกนี้เป็นบรรณาการส่งเข้าเมืองหลวงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว ส่วนในอำเถออ้ายฮุย ขุดค้นพบเครื่องมือหิน หัวลูกศร หัวธนู มีบันทึกประวัติศาสตร์ว่า หัวธนูพวกนี้เป็นบรรณาการส่งเข้าเมืองหลวงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว [4] สมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644-1911) มีการรวบรวมดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำเฮยหลงเจียงเข้าด้วยกัน มีแม่ทัพแห่งอ้ายฮุยหรือแม่ทัพแห่งเฮยหลงเจียงมาอยู่ประจำการ ตั้งที่บัญชาการซึ่งขึ้นตรงต่อกองบัญชาการทหารที่จี๋หลิน แม่ทัพมีอำนาจบังคับบัญชาราชการทั้งบู๊ (การทหาร) และบุ๋น (การพลเรือน)[5]

ปัญหาด้านดินแดนกับรัสเซีย

การขยายดินแดนของรัสเซียมายังชายแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือของจีนเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ปัญหาชายแดนในบริเวณนี้เป็นเรื่องสำคัญ มีผลต่อทั้งความมั่นคงของประเทศและเศรษฐกิจในบริเวณชายแดน ราชวงศ์ชิงจึงให้ความสำคัญตลอดมา พยายามแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งที่เกิดขึ้น แต่จะแก้ไขได้แค่ไหนขึ้นอยู่กับอำนาจทางการเมืองและประสิทธิภาพทางการปกครองของราชวงศ์ชิงเองด้วย ระหว่าง ค.ศ.1685-1686 ในสมัยพระเจ้าคังซีจีนได้ส่งกองทหารเข้าโจมตีเมือง Albazin เมืองด่านชายแดนของรัสเซียบนฝั่งแม่น้ำเฮยหลงเจียง ปัญหาชายแดนที่ยืดเยื้อนี้ยุติลงด้วย การเจรจาทำสนธิสัญญา Nerchinsk ค.ศ.1689 ผู้แทนฝ่ายรัสเซียที่เข้ามาเจรจาคือ นายพลคาบารอฟ (Khabarovsk) สนธิสัญญา Nerchinsk แม้จะทำให้จีนเสียดินแดนให้รัสเซียบ้างเล็กน้อย คือเมืองโป๋ลี่ของจีนตกเป็นของรัสเซีย กลายเป็นเมืองคาบารอฟ ตามชื่อนายพลที่เป็นผู้แทนเข้ามาเจรจา แต่ก็เป็นสนธิสัญญาที่จีนได้ทำกับรัสเซียอย่างเสมอภาค มีการเจรจาเส้นกั้นเขตแดนทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือให้แน่ชัด ตามสนธิสัญญานี้แม่น้ำเฮยหลงเจียงและเขตสันปันน้ำทั้งหมดเป็นของจีน นอกจากนั้นทั้งสองฝ่ายยังตกลงให้การค้าชายแดนดำเนินไปตามปกติด้วย ใน ค.ศ.1728 สมัยพระเจ้าหย่งเจิ้ง จีนกับรัสเซียได้ลงนามในสนธิสัญญา Kiakhta เพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยตามชายแดนที่นี่ การค้าแบบกองคาราวานในบริเวณนี้และการขุดค้นหาทองที่ภาคใต้ของไซบีเรีย ตามสนธิสัญญานี้ทั้งจีนและรัสเซียตกลงกันว่า แนวเขตแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือไปตามเส้นทางของแม่น้ำ Argun และแม่น้ำ Kiakhta ปัญหาข้อพิพาทเรื่องชายแดนได้ดำเนินต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ชิงเสื่อมอำนาจลงเรื่อยๆ จึงต้องเสียดินแดนให้แก่รัสเซียไปเป็นจำนวนมาก รวมดินแดนที่เสียไปประมาณ 1 ล้านกว่าตารางกิโลเมตร ปี 1858 เซ็นสัญญาอ้ายฮุย เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม สัญญานี้ฝรั่งเรียกว่า Argun Peace Treaty ตัดพื้นที่จีนไป 600,000 กว่าตารางกิโลเมตร ต่อมาทำสนธิสัญญาปักกิ่งปี ค.ศ.1900 ตัดพื้นที่ไปอีก 400,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่นั้นมาแม่น้ำเฮยหลงเจียงก็กลายเป็นเส้นกำหนดชายแดนระหว่างจีนและรัสเซีย รัสเซียมาทุบร้านของชาวบ้านแล้วก็ไป ปี ค.ศ.1900 นี้ทหารรัสเซียรุกเข้ามาในภาคอีสาน 3 มณฑล ตามแผนที่มีแมนจูเรีย จี๋หลิน ต้าเหลียน เทียนสิน เป็นช่วงที่เกิดกบฏนักมวย (Boxer Rebellion) ภาพวาดที่แสดงไว้เห็นการกวาดต้อนผู้คน ช่วงนั้นคนที่เกิดในดินแดนที่ตกเป็นของฝั่งรัสเซียมีอยู่ 64 หมู่บ้านที่ถูกตัดออกไป พวกที่หนีมาจีนบ้านเกิดนั้น บ้านช่องก็ถูกยึดไป เขาไปสัมภาษณ์คนที่เคยอยู่ทางฝั่งรัสเซียที่หนีมา แต่กว่าจะไปสัมภาษณ์พวกนี้ก็อายุมากแล้ว คนหนึ่งไปสัมภาษณ์เมื่อปี ค.ศ.1965 ที่อยู่ใหม่อยู่ที่ชานตุง อายุ 76 ปี ภาพประชาชนช่วยกันต่อต้านรัสเซีย ในปี ค.ศ.1900 นี้มีแม่ทัพเฮยหลงเจียง จะเห็นได้ว่าปัญหาชายแดนระหว่างจีนและรัสเซียเป็นปัญหาที่ดำเนินมานาน 2-3 ศตวรรษ โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้นได้กระทบถึงชีวิตของผู้คนในชายแดน การสูญเสียดินแดนเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ชาวจีนไม่ลืมเลือน และได้บันทึกให้ชนรุ่นหลังได้รับรู้เป็นบทเรียนสืบต่อๆ กันมา[6]

ธรรมชาติ/พืชและสัตว์

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มีสัตว์ต่างๆ ให้ดูมาก ไดโนเสาร์ (จีนเรียกข่งหลง) พันธุ์นี้ชื่อ Manchurosaurus amurensis เรียกว่าไดโนเสาร์ปากเป็ด พบในแม่น้ำเฮยหลงเจียง ในมณฑลเฮยหลงเจียง แรดโบราณอายุราว 10,000 ปี สมัย Quaternary พบปี ค.ศ.1956 ช้างแมมมอธ สมัย Quaternary 21,200 บวก-ลบ 600 ปีมาแล้ว พบในปี ค.ศ. 1973 ชื่อวิทยาศาสตร์ Mammuthis sungari ดูสูงกว่าช้างธรรมดาที่เคยเห็นศีรษะควายป่าอีสานซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว กระดูกศีรษะนี้กลายเป็นหินไปแล้ว แผนกต่อไปเป็นสัตว์ในสมัยปัจจุบัน เริ่มแต่สัตว์ไม่มีกระดูสันหลัง สัตว์ทะเล สัตว์ที่มีกระดูสันหลังอ่อน ปลาในแม่น้ำเฮยหลงเจียง ปลาที่ใหญ่ที่สุด (เขาบอกว่าเป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไม่ทราบว่ากับปลาบึกของเราใครจะใหญ่กว่ากัน) คือหวางหยู Huso dauricus เข้าใจว่าเป็นปลา sturgeon เขาว่าโตที่สุดที่พบน้ำหนักพันกิโลกรัม กบ (Rana plancyle) เป็นกบเขียวคางเหลือง เขาแสดงวงจรชีวิตของกบชนิดนี้เอาไว้ สัตว์เลื้อยคลานมีจระเข้แม่น้ำแยงซีเกียง กระ เต่า ประเภทไหนไม่ทราบ จำพวกนกมีนกอีมูของออสเตรเลีย นกเพนกวิน เป็ดและนกต่างๆ รังนกต่างๆ ระบบนิเวศน์ของนก ทั้งในหน้าร้อนและหน้าหนาว พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมีแพนด้า กระต่ายหิมะ หมีดำเฮยหลงเจียง กวางมูส กวางม้า เสืออีสาน เขาว่าใหญ่ที่สุดในโลก เจ้าหน้าที่บอกว่ายังคงเหลืออยู่ในเฮยหลงเจียง เขาว่ายังเหลืออยู่ 20 ตัวเท่านั้น หมาป่า ตัวหวางหยาง หลิงหนิว (กระทิง) พวกสัตว์เลี้ยงลูกอยู่ที่หน้าท้อง (masupial) เช่น ตุ่นปากเป็ด ไม่ได้เอาตุ่นปากเป็ดมาสตัฟฟ์จริงๆ แต่แปลงจากตัวนาก (สงสารตัวนากตัวนั้นที่ถูกฆ่าตายแล้วยังถูกแปลงเชื้อชาติ) ตัวลิ่น (ตัวกินมดมีเกล็ด) ลิงต่างๆ กระต่ายต่างๆ เสือดาว ปลาพะยูน ช้างน้ำ แมวน้ำ กวางต่างๆ หมูป่า พวกเตียวต่างๆ ที่แพงคือ จื่อเตียว และฉุ่ยเตียว [7]

Next >>