Please wait...

<< Back

กุ้ยโจว

ประเภทคำ

มณฑล
คำอธิบายเพิ่มเติม
จากหนังสือ

คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 100-101

(น.100)แม่น้ำจูเจียงเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุด 1 ใน 7 ของจีน ไหลผ่านมณฑลยูนนาน กุ้ยโจว กวางสี และกวางตุ้ง และยังมีส่วนหนึ่งที่ไหลผ่านประเทศเวียดนามอีกด้วย มีพื้นที่ลุ่มแม่น้ำทั้งหมดประมาณ 453,700 ตารางกิโลเมตร โครงการชลประทานลุ่มน้ำจูเจียงเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงชลประทานของจีน มีหน้าที่
1. เป็นหน่วยบริหารงานเกี่ยวกับน้ำในเขตลุ่มแม่น้ำจูเจียง
2. ปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการชลประทาน
3. เป็นหน่วยงานบุกเบิกและพัฒนาพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำจูเจียง ในแง่การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและป้องกันน้ำท่วม
4. บริหารงานด้านวิศวกรรมโยธาที่เกี่ยวกับการชลประทานในแม่น้ำจูเจียง
(น.101)
5. รับผิดชอบงานก่อสร้างด้านวิศวกรรมโยธาที่เกี่ยวกับการชลประทานในแถบลุ่มแม่น้ำจูเจียง

ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 21

(น.21) บุคคลอีกท่านที่ข้าพเจ้าถามถึงคือ ท่านหลี่หยวน ประธานคณะกรรมการปฏิวัติแห่งคุนหมิง ตอนนั้นข้าพเจ้าก็ถามว่าทำไมที่นี่มีคณะกรรมการเช่นนี้ ท่านยังบอกว่าต้องมีการประชุมสภาอีกครั้ง จึงเปลี่ยนชื่อเป็นนายกเทศมนตรีเหมือนกับที่อื่นๆ ตอนที่ข้าพเจ้ามาเมื่อปี ค.ศ. 1981 ท่านผู้ว่าฯ ยังเป็นอธิบดี ตอนที่เป็นรองอธิบดีอยู่ 3 ปีนั้น ได้พาคณะไปเยือนประเทศไทย ไปเยือนกรมทรัพยากรธรณี แร่ธาตุไทยจีนคล้ายคลึงกัน เพราะมีสภาพภูมิประเทศคล้ายกัน ข้าพเจ้าถามท่านเรื่องถ่านหิน ท่านอธิบายว่าบางส่วนของแม่น้ำแยงซีเกียงไม่มีถ่านหิน ที่ยูนนานหรือกุ้ยโจวมี ได้ส่งไปในที่ที่ไม่มีถ่านหิน ต่อไปจากคุนหมิงไปต้าหลี่นอกจากจะปรับปรุงสนามบิน ปรับปรุงถนนแล้ว ยังจะสร้างทางรถไฟสำหรับขนสินค้าที่สำคัญคือ ถ่านหิน

ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 47

(น.47) ดูนิทรรศการเรื่องน่านเจ้า (หนานเจา) ประเทศนี้อยู่ระหว่างปี ค.ศ 738 – 902 (ต้าหลี่ปี ค.ศ. 937 – 1253) ประชาชนของประเทศทั้งสองเป็นชนชาติส่วนน้อยคือพวกไป๋ มีภาพถ่ายแสดงแผนที่น่านเจ้าสมัยโบราณเป็นรูปงู 2 หัว หัวสองหัวไขว้กัน ด้านหนึ่งมีรูปปลา อีกด้านมีรูปหอยสังข์ เขาว่าพวกไป๋นับถือปลากับหอย มีแผนที่น่านเจ้าในตอนนั้นใหญ่กว่ายูนนานเดี๋ยวนี้ รวมพม่า ส่วนหนึ่งของไทย ส่วนหนึ่งของเสฉวน และกุ้ยโจว แผนที่ฉบับนี้กระทรวงการต่างประเทศของจีนอนุมัติแล้วให้เป็นแผนที่ประวัติศาสตร์ ข้าพเจ้าสงสัยว่าทำไมกระทรวงการต่างประเทศจะต้องเกี่ยวกับเรื่องโบราณ ๆ แบบนี้ เขาอธิบายว่าแผนที่เป็นเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องพิจารณาให้ดีก่อนเผยแพร่ (อาจมีปัญหาชายแดนได้)

ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 222-224,226

(น.222) ชนชาติอุยกูร์ซินเจียง (ซินเกียง) มี 5 จื้อจื้อโจว มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) และมณฑลกุ้ยโจวมีมณฑลละ 3 จื้อจื้อโจว มณฑลกานซูมี 2 จื้อจื้อโจว มณฑลจี๋หลิน มณฑลหูเป่ย และมณฑลหูหนานมีมณฑลละ 1 จื้อจื้อโจว

(น.223) ประเทศจีนมีอำเภอ

(น.224) ปกครองตนเองทั้งหมด 110 อำเภอ มณฑลที่มีมากที่สุดคือมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) มี 28 อำเภอ ภูมิภาคปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี (กวางสี) มี 12 อำเภอ มณฑลกุ้ยโจวมี 11 อำเภอ มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) มี 8 อำเภอ มณฑลกานซู มณฑลชิงไห่ และมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) มีมณฑลละ 7 อำเภอ ภูมิภาคการปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเจียง (ซินเกียง) มี 6 อำเภอ มณฑลหูหนานมี 6 อำเภอ มณฑลเหลียวหนิงมี 5 อำเภอ มณฑลเห่อเป่ย มี 4 อำเภอ มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) มี 3 อำเภอ มณฑลจี๋หลินและมณฑลหูเป่ยมีมณฑลละ 2 อำเภอ มณฑลเจ้อเจียงและมณฑลเฮยหลงเจียงมีมณฑลละ 1 อำเภอ

(น.226) เรื่องเขตการปกครองของจีนในปัจจุบันที่บรรยายในภาคผนวกนี้ได้อธิบายอย่างสังเขปจากระดับมณฑลมาถึงระดับอำเภอเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงระดับตำบลและหมู่บ้าน ซึ่งลดหลั่นแยกย่อยลงมาอีก นอกจากนั้น ยังไม่ได้กล่าวถึงการจัดเขตการปกครองในภูมิภาคปกครองตนเองมองโกเลียใน ซึ่งเรียกชื่อเขตการปกครองในบางระดับแตกต่างกันออกไป เช่น เหมิง ฉี จื้อจื้อฉี เหมิงมีฐานะอยู่ในระดับเดียวกับตี้ชีว์ จื้อจื้อโจว เสิ่งเสียซื่อ และจื้อจื้อชีว์เสียซื่อ ฉีและจื้อจื้อฉีมีฐานะอยู่ในระดับเดียวกับเสี้ยน จื้อจื้อเสี้ยน ตี้ชีว์เสียซื่อ และจื้อจื้อโจวเสียซื่อ รวมทั้งไม่ได้กล่าวถึงเขตพิเศษหรือเท่อชีว์ (Special District) ในมณฑลกุ้ยโจวซึ่งมีอยู่ 3 เท่อชีว์ เขตอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมหรือกงหนงชีว์ (Industrial-Agricultural District) ในมณฑลเสฉวนซึ่งมีอยู่ 1 กงหนงชีว์ เขตป่าไม้หรือหลินชีว์ (Forest District) ในมณฑลหูเป่ยซึ่งมีอยู่ 1 หลินชีว์ และเขตเศรษฐกิจพิเศษหรือจิงจี้เท่อชีว์ ได้แก่ เซินเจิ้น จูไห่ ซานโถว และเซี่ยเหมิน เพราะจะละเอียดจนเกินไป

มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 40

(น.40) ที่นี่แต่ดั้งเดิมเป็นบ้านเกิดของพระเจ้าปูยี พระเจ้าแผ่นดินองค์สุดท้ายของจีน การสร้างอาคารใหม่จึงพยายามทำให้กลมกลืนกับบรรยากาศเดิม เมื่อมาดามซ่งชิงหลิงเสียชีวิตไปแล้ว จึงตั้งเป็นมูลนิธิเมื่อปี 1982 มีกิจกรรม คือ รักษาบ้านที่มาดามเคยพักอยู่ไว้ในสภาพที่ดีอย่างเดิม ทำพิพิธภัณฑ์ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน กิจกรรมเพื่อสังคมก็มีหลายอย่าง เช่น
1. สร้างสวนเยาวชนทางวิทยาศาสตร์ที่ปักกิ่ง กำลังก่อสร้างแต่ยังไม่เสร็จ เพราะมีปัญหาเรื่องการเงิน ตามแผนศูนย์นี้จะมีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ห้องสมุด ห้องฝึกภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ ดนตรี
2. ให้รางวัลเงินทุนสำหรับผู้ที่เขียนวรรณกรรมสำหรับเด็ก ส่งเสริมให้มีการเขียนหนังสือเด็กมากขึ้น
3. ให้รางวัลรายการโทรทัศน์ดีเด่น เรื่องเกี่ยวกับชีวิตนักเรียน
4. สนับสนุนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์
5. ฝึกอบรมครูอนุบาล เน้นการฝึกครูอนุบาลสำหรับโรงงาน
6. รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ร่วมมือทำรายการเด็กในโทรทัศน์
7. ร่วมมือกับองค์การ UNICEF ให้ทุนช่วยเหลือคนในเขตชนกลุ่มน้อยหรือเขตทุรกันดาร
8. สร้างโรงพยาบาลพักฟื้นขึ้นในมณฑลกานซู
9. ในกุ้ยโจว ที่เจิ้งหนิงเป็นถิ่นกันดารยากจน ทำห้องอ่านหนังสือสำหรับเด็ก
10. ในมณฑลหนิงเซียขาดเคลนน้ำ ก็ได้ขุดบ่อบาดาล และสร้างโรงเรียนประถม

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 88

(น. 88) ตอนบ่ายไปพบรองประธานาธิบดีหูจิ่นเทาที่มหาศาลาประชาชน ห้องซินเกียง ท่านผู้นี้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีเมื่อปีที่แล้ว เป็นผู้ที่มีประวัติดีเด่น จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมชลประทาน มหาวิทยาลัยชิงหวา ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในพรรค เช่น ได้เป็นสมาชิกคณะกรรมการพรรคที่มีอายุน้อยที่สุดที่จีนเคยมี ตอนที่เป็นเลขาธิการพรรคมณฑลกุ้ยโจวก็มีอายุน้อยที่สุด เป็นเลขาธิการพรรคที่เป็นพลเรือนคนแรกของภูมิภาคปกครองตนเองทิเบต (5 คนที่เป็นเลขาธิการก่อนหน้าล้วนเป็นทหาร) ตอนเป็นกรรมการโปลิตบุโรก็เป็นกรรมการที่มีอายุน้อยที่สุด

เจียงหนานแสนงาม หน้า 114-115

(น. 114) ห้องแสดงชาติพันธุ์ในจีน ทำเป็นตาราง มีรูปชนชาติต่างๆ 56 เชื้อชาติ พร้อมทั้งแสดงวัฒนธรรม สังคม ของชนชาติเหล่านั้น มีแผนภูมิการกระจายของชนชาติ การอพยพ การแผ่ขยายอารยธรรมของพวกฮั่น พิพิธภัณฑสถานไปเก็บข้าวของของชนเผ่าต่างๆ เมื่อ

(น. 115) ทศวรรษ 1940 ขณะนี้กลายเป็นของล้ำค่า เพราะเดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว มณฑลกุ้ยโจวและมณฑลยูนนานมีชนเผ่าต่างๆ อยู่มาก เรื่องของชนเผ่าสมัยโบราณที่ปัจจุบันไม่มีแล้วก็เก็บรวบรวมข้อมูลไว้

เจียงหนานแสนงาม หน้า 345

(น. 345) บนภูเขามีไผ่ 250 พันธุ์ ปลูกในเนื้อที่ 17,000 ตารางเมตร การปลูกไผ่ทำได้ยากเพราะไผ่แต่ละชนิดขึ้นในระบบนิเวศน์ต่างๆ กัน เอามาปลูกรวมกันแบบนี้ไม่เป็นไปตามสภาพธรรมชาติ ขณะนี้ตายไปเกือบสิบชนิด เสียดายไม่มีเวลาขึ้นไปดู สองข้างทางเดินปลูกไม้ดอกไม้ประดับต่างๆ เช่น ตู้จวน สีสันสวยงาม แต่ส่วนมากยังไม่ออกดอก เพราะเขากะให้ออกตอนเริ่มงานแล้ว มีต้นหัวป่ากั้ว ออกผลเล็กๆ สีแดง มีสรรพคุณแก้กระหายน้ำได้ พบมากในมณฑลยูนนาน กุ้ยโจว และเสฉวน

เย็นสบายชายน้ำ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 6

(น.6) งานนี้ (เรียกย่อๆ ว่า Kunming Fair) เป็นงานแสดงสินค้าท้องถิ่นซึ่งจัดโดยรัฐบาลมณฑลเสฉวน มณฑลยูนนาน มณฑลกุ้ยโจว ภูมิภาคปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสี ภูมิภาคปกครองตนเองทิเบต นครเฉิงตูและนครฉงชิ่ง (ซึ่งเป็นนครอยู่ในมณฑลเสฉวน) กระทรวงการค้าต่างประเทศและความร่วมมือทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกลางให้ความเห็นชอบ การจัดงานมีหลักการคือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้เป็นภาคหนึ่งของจีนที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาเศรษฐกิจ มีพื้นที่ 2,570,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากรถึง 200 ล้านคน มีพรมแดนติดต่อกับเวียดนาม ลาว พม่า และสามารถต่อไปถึงประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูฏาน เนปาล และอินเดีย ฉะนั้นถือได้ว่าเป็นประตูสู่ประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 44-46

(น.44) ศาลาที่ 3 สถานการณ์สงครามฝิ่น (ค.ศ. 1839-1842) มีแผนที่ตอนที่พวกฝรั่งไปถึงเมืองเทียนสิน จักรพรรดิเต้ากวงกริ้วหลินเจ๋อสู ปลดออกจากตำแหน่ง ให้ฉีซ่านไปเจรจากับอังกฤษ ค.ศ. 1841 ทหารอังกฤษรุกรานเกาะฮ่องกง มีอิฐกำแพง ค.ศ. 1841 โอ่งดินปืน จักรพรรดิไม่เพียงแต่ปลดหลินเจ๋อสูเท่านั้น แต่เนรเทศไปซินเกียง เขาต้องจากครอบครัวที่เมืองซีอาน เดินทางเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1842 ขณะนั้นเขาร่างวาทะที่เจียงเจ๋อหมินเขียนลายมือพู่กันไว้ เดินทาง 4 เดือน ไปถึงเมืองอีหลี มณฑลซินเกียง ตอนนั้นอายุ 58 ปี เขาเป็นที่เคารพของชาวซินเกียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขุนนางชาวแมนจู ชื่อปู้เหยียนไท่

(น.45) เมื่อไปอยู่ที่ซินเกียงได้สร้างความเจริญหลายอย่าง เช่น ทำโครงการชลประทานหลายโครงการ บางโครงการบริจาคเงินก่อสร้างด้วย ข้าพเจ้าสงสัยว่าต้องราชภัยถึงแค่นี้ยังมีเงินบริจาคอีกหรือ อาจจะอธิบายได้คือ การลงโทษนั้นเป็นการลงโทษเพื่อเอาใจฝรั่ง ไม่ได้ยึดทรัพย์ สร้างทางประมาณ 20,000 ลี้ (10,000 กิโลเมตร) บุกเบิกที่ดินการเกษตร 37,000 เอเคอร์ (ประมาณ 92,500 ไร่) ทำชลประทานทะเลทราย ดึงน้ำจากใต้ดินมาทำการเกษตร (ที่จริงเป็นเทคโนโลยีคนพื้นเมือง อาจจะไปสนับสนุน) รวมความแล้ว กล่าวได้ว่า คนดี มีความสามารถ เมื่อตกไปอยู่ที่ใด ก็สามารถทำให้ที่นั้นเจริญรุ่งเรือง ทำประโยชน์ต่างๆ ได้ ท่านได้เขียนตุ้ยเหลียนเป็นคติสอนใจลูกหลาน (ตุ้ยเหลียนของจริงหายไปแล้ว เหลือแต่ของทำเทียม) มีใจความว่า อาจารย์และญาติมิตรมาเยี่ยมบ้านหลังน้อย เป็นการให้เกียรติอย่างสูง ลูกหลานอย่าปล่อยให้หนังสือกองสูงท่วมหัวโดยเปล่าประโยชน์ เมื่อพ้นโทษแล้วกลับมาเป็นผู้ว่าราชการมณฑลยูนนานและกุ้ยโจว มีผลงานด้านการพัฒนาหลายอย่าง เช่น ส่งเสริมให้ชาวบ้านถลุงโลหะ เงิน และทองแดง เมื่อเกษียณอายุราชการ มาสร้างบ้านใหม่ที่ฝูโจว (มีแผนที่บ้านใหม่ให้ดูด้วย) ค.ศ. 1850 มีพระราชโองการแต่งตั้งให้เป็นขุนนางพิเศษ ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ไปปราบกบฏชาวนา เมื่อเดินทางไปถึงอำเภอผู่หนิง (โผวเล้ง) เมืองเฉาโจว (แต้จิ๋ว) ก็ล้มป่วย ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน รวมอายุได้ 66 ปี มีภาพแผนที่ประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิง ส่วนที่ระบายสีเอาไว้เป็นมณฑลที่หลินเจ๋อสูเคยไปเป็นผู้ว่าราชการ มี 14 มณฑล


(น.46) รูป

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 250

(น.250) คนที่มาช่วยเตรียมการจัดประชุมมี Grimshaw Paul Troung (จากออสเตรเลีย) ดร. ดิถี ของไทยก็มาร่วมประชุมด้วย ผู้นำมณฑลกวางตุ้งสนใจมาก ทั้งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ผู้ว่าราชการมณฑล สภาวิทยาศาสตร์แห่งจีน (Chinese Academy of Science) เทศบาล กระทรวงชลประทานแห่งชาติ มณฑลต่างๆ ที่สนใจเข้าร่วม มีเจียงซี ฮกเกี้ยน เสฉวน กุ้ยโจว ยูนนาน