Please wait...

<< Back

ฮ่องกง

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 294,296,297,299,302,303,305


(น.294) รูป 233 ไปมหาวิทยาลัยฮ่องกง

(น.294) วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2540
ตื่นขึ้นมานึกว่าเช้าแล้วรีบใหญ่ ที่จริงยังไม่สว่าง เลยนั่งอ่านหนังสือ Newsweek ที่อยู่ในห้อง เปิดทีวี มีประกาศว่า วันนี้โรงเรียนทุกโรงในฮ่องกงปิด ทีวีมีเรื่องโน้นเรื่องนี้หลายอย่างรวมทั้งวิเคราะห์เรื่องค่าเงินบาทลอยตัว 09.00 น. ออกไปมหาวิทยาลัยฮ่องกงเพื่อเปิดโครงการไทยศึกษา วันนี้แทนที่จะไปตามทางที่เคยไป ก็ต้องอ้อมเพราะว่าทางตรงมีต้นไม้ล้มขวางทาง

(น.295) ที่มหาวิทยาลัย ผู้ต้อนรับมี Prof. C.Y. Chung รองอธิการบดี (Vice Chancellor) Prof. Wong Siu-Lun ผู้อำนวยการศูนย์เอเชียศึกษา Dr. Michael Martin รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยฮ่องกง มหาวิทยาลัยฮ่องกงก่อตั้งใน ค.ศ. 1811 เป็นสถาบันการศึกษาที่ดีเด่นในเอเชีย ดร. ซุนยัดเซ็น และMrs. Anson Chan, Chief Secretary ของรัฐบาลฮ่องกงในปัจจุบันก็เป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยนี้ ศูนย์เอเชียศึกษา ตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1967 เพื่อเป็นศูนย์รวมวิชาการทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับจีน ฮ่องกง เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เป็นโครงการหนึ่งของศูนย์เอเชียศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ติดตาม และวิเคราะห์พัฒนาการของภูมิภาคนี้ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา การอพยพย้ายถิ่น และการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ขณะนี้แบ่งเป็นโครงการย่อยคือ China-ASEAN Project ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโลกจีน (จีน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน) กับประเทศในกลุ่มอาเซียน กับโครงการศึกษาประเทศในภูมิภาคเป็นรายประเทศ เริ่มจากไทยศึกษาและเวียดนามศึกษา โดยคิดจะเริ่มจากเปิดสอนภาษาไทยและภาษาเวียดนาม แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยและผู้สนใจทั่วไป ทางไทยคิดจะสนับสนุนในด้านการทำห้องสมุดภาษาไทย และจัดหาครูสอนภาษาไทยให้


(น.296) รูป 234 ห้องปฏิบัติการทางภาษา
(น.296) ขึ้นไปที่ห้องปฏิบัติการทางภาษา อยู่ชั้นที่ 6 ตึก เค เค เหลียง แผนกภาษานี้เขาว่ามีคนเรียนประมาณ 1,200 คน เรียนภาษาต่างๆ หลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน อิตาเลียน จีน สวีดิช ญี่ปุ่น เป็นต้น วางแผนจะเปิดภาษาไทยเดือนกันยายน ตอนนี้มีครูที่สอนภาษาไทยได้คนหนึ่ง ในห้องปฏิบัติการ มีเทป คอมพิวเตอร์ เล่นมัลติมีเดีย ผลิตโปรแกรมที่สอนทั้งไวยากรณ์ (เขาว่ายังทำไม่ได้ดีเพราะนักศึกษายังประเมินว่าน่าเบื่อ) ความเข้าใจภาษา และศัพท์ เครื่องถ่ายวิดีโอ ทำเหมือนกับเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้นักศึกษาดูตัวเอง

(น.297) ขณะนี้มีคนนิยมเรียนภาษาจีนเพิ่มมากขึ้น เดินไปที่อาคารใหญ่ ข้างหน้าติดตราของมหาวิทยาลัย มีคำขวัญภาษาละตินเขียนว่า Sapientia et Virtus แปลเป็นไทยว่าความรู้คู่คุณธรรม แวะส่งโพสการ์ดใส่ตู้ไปรษณีย์หน้าตึก เข้าในห้องประชุม มีคนเยอะแยะที่คุ้นเคยหรือคุ้นหน้าก็หลายคน ข้าพเจ้าก็ตรงเข้าไปจะทักทาย รองอธิการบดีบอกว่าประเดี๋ยวก่อน ขอเขากล่าว ทำพิธีอะไรสักเล็กน้อย แล้วเขาก็กล่าวถึงช่วงเวลาที่ฮ่องกงกลับคืนเป็นของจีน ทางมหาวิทยาลัยจึงทำโครงการศึกษาเรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในระยะต้นนี้จะจัดหลักสูตรภาษาไทย หาครูจากเมืองไทยมา ปีการศึกษา 1997-1998 จะรับนักศึกษาได้ประมาณ 40 คน ทางรัฐบาลไทยช่วยในปีแรกคือ


(น.297) รูป 235 สื่อการสอนต่างๆ

(น.299) ช่วยด้านทุนจัดหาหนังสือ และช่วยหาครู (โครงการ 3 ปี) นอกจากภาษาไทยแล้ว จะสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมและด้านสังคมวิทยาด้วย ทั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความหมายมาก เพราะว่าการที่ฮ่องกงกลับเป็นส่วนหนึ่งของจีนนั้น เพื่อนบ้านและมิตรประเทศของจีนมีบทบาทต่อฮ่องกงมากขึ้น การศึกษาเช่นนี้จะช่วยเป็นสะพานเชื่อมความเข้าใจกันระหว่างประเทศในเอเชีย ส่วน ดร. มาร์ติน กล่าวเสริมว่าที่ต้องเปิดสอนภาษาไทยก่อนมีอีกเหตุผลหนึ่งคือ ในโครงการสถาบันภาษาของเขายังไม่มีการสอนภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลย ในประเทศจีนก็มีไม่กี่มหาวิทยาลัยที่สอนภาษาไทย คือมีที่ปักกิ่ง กวางโจว และยูนนานเท่านั้น กล่าวเสร็จแล้วเขาให้ข้าพเจ้าตัดริบบิ้น บริจาคหนังสือ ต่อไปคิดว่าจะบริจาคเพิ่มขึ้น


(น.299) รูป 238 ตัดริบบิ้นบริจาคหนังสือ

(น.302) ข้าพเจ้าต้องรีบเดินทางไปสนามบิน ในรถไอริสยังบ่นเรื่องการต้อนรับ ข้าพเจ้าก็บอกอีกว่าไม่เป็นไร ครั้งนี้เป็นครั้งที่ข้าพเจ้าได้ความรู้และพอใจมากที่สุด ส่วนเรื่องสับสนก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ข้าพเจ้าเข้าใจ เพราะว่าเคยมีหน้าที่จัดการมาหลายเรื่องในการรับแขกเมือง ไอริสว่าเขาจะย้ายไปอยู่หน่วยควบคุมจลาจลแล้ว แต่ขอให้ข้าพเจ้ามาที่ฮ่องกงอีกและรับรองว่าจะได้รับการต้อนรับที่ดีถึงแม้คนที่ดูแลจะเป็นคนอื่น ที่สนามบินมี Miss Louise Tam Hay-Wan มาส่ง เขาเอาของที่ระลึกมาให้ เป็นแสตมป์ฮ่องกงอย่างใหม่และแนะนำเจ้าหน้าที่คนหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการกลับคืนจีนของฮ่องกง ข้าพเจ้าถามว่าตอนนี้เรื่องการคืนสู่จีน หรือ handover นี้ก็สำเร็จเรียบร้อยไปแล้วเขาจะทำอะไร ตอบว่ากำลังรองาน อีกคนหนึ่งเป็นองครักษ์ของหัวหน้าคณะผู้บริหารเขตบริหารพิเศษฮ่องกง เขาบอกว่าไม่ได้เป็นหน้าที่ใหม่ เพราะว่าแต่ก่อนเขาก็เป็นองครักษ์ของผู้ว่าราชการ ถึงเวลาขึ้นเครื่อง TG 631 เป็นอันว่าการเยือนจีนครั้งนี้และการสังเกตการณ์การส่งคืนฮ่องกงได้ความมาเท่าที่เล่านี้


(น.303) รูป 240 ลาฮ่องกง

(น.305) ส่งท้าย
เรื่องฮ่องกงโดยเฉพาะช่วงกลับคืนเป็นของจีนนี้ มีคนเขียนไว้มาก ผู้สนใจติดตามได้จากสื่อต่างๆ ทั้งหนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร และสิ่งตีพิมพ์อื่นๆ มีข่าวและบทความวิเคราะห์ทางวิทยุ โทรทัศน์ วิดีโอเทป จนกระทั่งสื่ออินเตอร์เนต หรือเพจเจอร์ ข้าพเจ้ายังใคร่จะบันทึกเอาไว้ เพราะแต่ละบุคคลมีประสบการณ์ ฐานะ ความเป็นอยู่ ดำเนินชีวิตต่างๆ กัน ย่อมมีความคิดเห็นต่างกันไป หวังว่าความคิดเห็นหรือมุมมองของข้าพเจ้าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาอื่นๆ บ้าง

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 18

(น. 18) รูป 5 งานเลี้ยงวันเกิดที่รองนายกรัฐมนตรีหลี่หลานชิงและภริยาจัดให้

(น. 18)ร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการรักษาโรคมะเร็ง การส่งออกหมูและวิทยาศาสตร์ระดับสูงอื่นๆ ยังเตรียมการร่วมมือ ด้านการป้องกันภัยธรรมชาติ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข และการประหยัดพลังงาน เป็นต้น หลังจากงานฉลองฮ่องกงคืนสู่จีนแล้ว ข้าพเจ้าไม่ได้เดินทางมาประเทศจีนอีกเลย ครั้งนี้ถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้พบเพื่อนชาวจีน และไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆที่ไม่เคยไป

เจียงหนานแสนงาม หน้า 63

(น. 63) 9. American Geographical Society O.M. Miller Cartographer Medal June, 18 1998 เป็นบทความปาฐกถาที่ศาสตราจารย์เฉินกล่าวปาฐกถาตอนไปรับรางวัล ท่านไปสหรัฐอเมริกา 5 สัปดาห์ ไปอยู่ที่วิสคอนซิน ศาสตราจารย์เฉินเล่าว่า เดี๋ยวนี้ที่จีนสนใจเรื่อง Digital Earth ในสหรัฐอเมริกา รองประธานาธิบดี อัล กอร์ ก็สนใจเรื่องนี้มาก จีนจะจัดการประชุมเรื่อง Infrastructure of the Digital Transformation, Earth Science system ใช้ GIS, GPS จีนจะต้องสร้างระบบของตนเอง เพราะมีอะไรหลายอย่างที่ไม่เหมือนกับสหรัฐอเมริกา จะจัดประชุมนานาชาติที่ฮ่องกงราวกลางเดือนพฤศจิกายน หลังจากจัด Asian Remote Sensing Conference ต่อจากนั้นจะจัดประชุมที่ปักกิ่ง เพื่อจะได้ระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ และจะได้วางแผนการศึกษาด้านนี้ต่อไป นอกจากนั้นคุยกันเรื่องการเดินทางของข้าพเจ้าครั้งนี้ และคิดกันว่าคราวหน้าจะไปไหนดี ศาสตราจารย์เฉินบ่นเรื่องสะพานใหม่ที่นานกิงว่าทำให้การคมนาคมทางบกสะดวกขึ้น แต่เตี้ยไปทำให้เรือผ่านได้ยาก ทั้งที่แต่ก่อนเคยขึ้นไปได้ถึงฉงชิ่ง กำลังทำแผนที่แม่น้ำฉังเจียงตลอดสาย คงจะตีพิมพ์ได้ก่อนสิ้นปีนี้ รับประทานอาหารเย็นที่เรือนรับรอง แล้วไปดื่มน้ำชาที่ร้านน้ำชาเหล่าเซ่อ ร้านนี้เป็นอาคารที่ดูข้างนอกก็เป็นตึกสมัยใหม่ธรรมดา อยู่ที่ถนนเฉียนเหมินซี ชื่อร้านน้ำชานี้ใช้ชื่อนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงคือ ท่านเหล่าเซ่อ ชั้นล่างเป็นร้านอาหาร แต่ชั้นบนเป็นร้านน้ำชา ผู้จัดการมารับพาไปที่โต๊ะตรงกลางอยู่หน้าเวที มี

เจียงหนานแสนงาม หน้า 137

(น. 137)ข้าวไทย ข้าวผัดหยังโจวที่มีชื่อใช้ข้าวไทยผัดก็จะยิ่งอร่อย ปีที่แล้วการค้าระหว่างไทยกับเจียงซูมีมูลค่าห้าร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เจียงซูนำเข้าสี่ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เช่น พลาสติก ยางพารา สิ่งทอ วัตถุดิบ ส่งออกราวร้อยล้าน มีนักลงทุนไทยมาลงทุนมากกว่า 200 แห่ง ยอดการลงทุน 340 กว่าล้านหยวน มีแนวโน้มว่าจะมีมากขึ้น การลงทุนเหล่านี้ดำเนินไปแล้ว เสร็จแล้วไปรับประทานอาหาร มีเหล้าขาวของมณฑลเรียกว่า จินซื่อหยวน หรือบุญในชาตินี้ ว่ากินแล้วไม่ปวดหัว ผู้ว่าราชการอธิบายนโยบายคือ จะต้องขยายอุปสงค์ในประเทศให้ตลาดกว้างขวาง ลงทุนสาธารณูปโภค การคมนาคม โทรคมนาคม การศึกษา สถานะของมณฑลใช้ดรรชนีหลายตัววัด เช่น รายได้ต่อหัว การศึกษา การคมนาคมและโทรคมนาคม คุณภาพชีวิตประชาชน ปัจจุบันมีอำเภอที่มีรายได้ต่ำกว่ากำหนดไม่ถึง 10 อำเภอ ที่เป็นปัญหาส่วนใหญ่อยู่ทางเหนือ ทางมณฑลได้ขอให้มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาช่วยดูแล ถ้าจะให้โรงงานเจริญขึ้นในทุกอำเภอทันตาเห็นก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ถ้าให้ทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ ปลูกผักทำได้ อาจจะนำมาขายภาคใต้ หรือเป็นวัตถุดิบในการทำอุตสาหกรรมการเกษตร การเกษตรต้องการแรงงานมาก ต้องช่วยให้ประชาชนมีปากท้องอิ่มก่อน แล้วจึงร่ำรวยเจริญขึ้น การลงทุนจากต่างประเทศที่มากที่สุดคือ อเมริกาและยุโรปตะวันตก มีการลงทุนจากไต้หวันและฮ่องกง รวมทั้งมีการติดต่อกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย สุดท้ายพูดกันถึงขนมของเจียงซู ผู้ว่าราชการบอกว่า ถ้าจะศึกษาเกี่ยวกับขนมเจียงซูต้องไปที่

เจียงหนานแสนงาม หน้า 143,150,171

(น. 143)อาจารย์ที่มีชื่อเสียงระดับชาติ และมีห้องทดลองระดับชาติอีก 10 ห้องด้วย ห้องทดลองเหล่านี้มีประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยพื้นฐานที่นี่ก้าวหน้ามาก มีชื่อเสียงติดอันดับของประเทศต่อเนื่องกันถึง 6 ปีแล้ว มีการพิมพ์วิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัยเผยแพร่ทั้งในและนอกประเทศ จึงมีบทบาทด้านการอุดมศึกษาระหว่างประเทศด้วย อนึ่ง รายงานและวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยนั้นใช้อ้างอิงในวงวิชาการททั้งในและนอกประเทศจนติดอันดับหนึ่งต่อกัน 4 ปี มหาวิทยาลัยมีหน่วยงานพิเศษ เช่น Hopkins-Nanjing Center เป็นการร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ของสหรัฐอเมริกา ตั้งมา 13 ปีแล้ว รับนักศึกษาปีละ 100 คน ผลิตบัณฑิตแล้วกว่า 1,000 คน ออกไปทำงานตำแหน่งสำคัญๆ ทั้งในสหรัฐอเมริกา จีน ไต้หวัน และฮ่องกง อดีตอธิการบดีได้เริ่มโครงการทำหนังสือประวัตินักคิดจีน หนังสือชุดนี้ถ้าทำเสร็จจะมี 200 เล่ม แต่ละเล่มจะแนะนำนักคิดแต่ละคน เริ่มตั้งแต่ขงจื๊อไปจนถึงซุนยัดเซ็น ดำเนินการไปแล้วได้ครึ่งหนึ่งคือประมาณ 100 เล่ม เดือนพฤษภาคมจะแถลงข่าวเรื่องนี้ที่ฮ่องกง มหาวิทยาลัยมีบทบาทสำคัญทางด้านการวิจัย จึงเป็นที่น่าสนใจของวงการศึกษาต่างประเทศ มีการติดต่อกับหน่วยงานในมหาวิทยาลัยต่างประเทศทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ไต้หวัน และฮ่องกง ยังมีวิทยาเขตใหม่อยู่ทางเหนือของแม่น้ำแยงซี มีนักศึกษา 5,000 คน

(น. 150) ตอนที่ไปเมืองจีนครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1981 นั้น ข้าพเจ้าได้เรียนภาษาจีนมาบ้างแล้ว ขณะนั้นฝ่ายจีนและฝ่ายไทยมีการเยือนในระดับสูงหลายครั้ง ฝ่ายๆไทยมีนายกรัฐมนตรีคึกฤทธิ์ (ค.ศ. 1975) นายกรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ (ค.ศ. 1978) ประธานรัฐสภาหะริน (ค.ศ. 1979) และนายกรัฐมนตรีเปรม (ค.ศ. 1980) ฝ่ายจีนมีท่านเติ้งเสี่ยวผิง (ค.ศ. 1978) มาดามเติ้งอิ่งเชา (ค.ศ. 1980) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหวังหวา (ค.ศ. 1980) นายกรัฐมนตรีเจ้าจื่อหยัง (มกราคม ค.ศ. 1981) หลังจาก ค.ศ. 1981 ข้าพเจ้ายังคงเรียนภาษาจีนกับครูที่สถานทูตจีนจัดให้ แต่ไม่ได้มีโอกาสเยือนจีนอีกเลยจนเก้าปีภายหลัง ได้เดินทางไปตามเส้นทางแพรไหมใน ค.ศ. 1990 หลังจากนั้นได้เยือนจีนสม่ำเสมอทุกปี ได้ไปหลายแห่ง เช่น ทางภาคอีสาน เดินทางล่องเรือตามแม่น้ำฉังเจียง เพื่อเยี่ยมชมโตรกเขาซานเสีย ไปเมืองต่างๆ ในมณฑลยูนนาน ไปมณฑลกวางตุ้งระหว่างการไปชมฮ่องกงคืนสู่จีน การเยือนจีนทุกครั้งช่วยให้ข้าพเจ้ามีความรู้มากและลึกขึ้นเกี่ยวกับประเทศจีน และเป็นแรงกระตุ้นให้ค้นคว้าเรียนรู้ต่อไป เพราะจีนเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ทั้งทางกายภาพและวัฒนธรรม ข้าพเจ้าต้องการเพิ่มพูนความรู้และสนทนากับนักวิชาการจีน ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าเยือนจีน กลับบ้านแล้วจะเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง และข้าพเจ้ายังได้แปลนวนิยายจีน ได้แก่ เรื่องผีเสื้อ (หูเตี๋ย) ของหวังเหมิง เกี่ยวกับชีวิตของนักปฏิวัติคนหนึ่งหลังการปลดแอกจนถึงช่วงสี่ทันสมัย เน้นให้เห็นชีวิตในช่วงการปฏิวัติ

(น. 171) 6. ผู้หญิงร้องเพลงเดี่ยวชื่อเพลง ฟังเสียงฝน เขาว่าเป็นเพลงพื้นเมืองของหยังโจว คำร้องมาจากบทกวีสมัยราชวงศ์ซ่ง ฟัง เสียงเหมือนเพลงในหนังจีน ซุป (ศุภรัตน์) อธิบายว่าเพลงในภาพยนตร์และเพลงจีนยอดนิยมหลายเพลงนำแนวทำนองจากแถบมณฑลเจียงซูและเจ้อเจียง ถือว่าแถวนี้เป็นแหล่งอารยธรรมจีนโบราณ คนแถวฮกเกี้ยน ไต้หวันก็ดี คนกวางตุ้งหรือฮ่องกงก็ดี มีความชื่นชมในวัฒนธรรมนี้ จึงศึกษาเลียนแบบ
7. เชิดหุ่น ฉางเอ๋อสะบัดชายเสื้อ คนเชิดหุ่นคนนี้มีชื่อเสียง เคยไปแสดงที่สหรัฐอเมริกามาแล้ว หน้าตาฉางเอ๋อก็เขียนได้สวยมาก ที่เขาชมกันว่าหน้าตาสวยเหมือนหน้าหุ่น คงเป็นหุ่นพวกนี้
8. ระบำเผ่าทิเบต แต่ท่าทางเหมือนเต้นบัลเล่ต์ ชื่อระบำว่า Jolmo Lungma คำนี้ภาษาจีนใช้ว่า จูมู่หลังหม่าเฟิง เป็นชื่อที่ใช้เรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ในเทือกเขาหิมาลัย

(น. 171) รูป 132 หลังอาหารมีการแสดง

เจียงหนานแสนงาม หน้า 237

(น. 237) ในบริเวณนี้มีโรงเรียนนานาชาติขนาด 18 ห้องเรียน มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และห้องคอมพิวเตอร์ มีการสอนดนตรีและเต้นรำ สอนตั้งแต่ชั้นก่อนประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา มีนักเรียนทั้งที่เป็นชาวจีนและชาวต่างประเทศ สอนเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี ปีหน้าจะสร้างสระว่ายน้ำ สรุปลงท้ายว่า ซูโจวเป็นแหล่งวัฒนธรรมแคว้นอู๋ในสมัยชุนชิว รุ่งเรืองในสมัยราชวงศ์ชิง มีชื่อเสียงด้านวัฒนธรรม ยูเนสโกประกาศเป็นมรดกโลก ผู้ที่สนใจเพิ่มเติมค้นรายละเอียดได้ที่ http://www.cs-sip.com แวะไปเข้าห้องน้ำที่โรงแรมข้างๆ เป็นห้องที่ทันสมัยมาก จากนั้นไปที่โรงงาน semiconductor ของบริษัทซัมซุง ซึ่งเป็นบริษัทแรกที่ตั้งโรงงานเสร็จ เริ่มทำงานเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1994 ขณะนี้มีคนงาน 900 คนผลิต chip เดือนละ 50 ล้านชิ้น นำวัตถุดิบเข้ามาผลิต ตรวจสอบ แล้วส่งออกขายสิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี และที่อื่นๆ ขณะนี้กำลังหาตลาดในยุโรปและอเมริกา การทำงานแบ่งเป็น 3 กะ ตลอด 24 ชั่วโมง 6 วัน จากนั้นไป Suzhou Industrial Park Institute of Vocational Technology เป็นโครงการร่วมมือเพื่อฝึกช่างฝีมือตามแบบของ Singapore Nanyang Polytechnic สร้างอยู่ในเนื้อที่ 4.8 เฮกตาร์ เมื่อเสร็จสมบูรณ์จะรับนักเรียนได้ 1,200 คน ปัจจุบันมีนักเรียน 72 คน เป็นนักเรียนรุ่นแรก ปีหน้ารับได้เป็นสองเท่า ขณะนี้รับนักเรียนจากวิทยาลัยเทคนิคของรัฐบาลที่

เจียงหนานแสนงาม หน้า 295,299

(น. 295) รูป 209 คั่วชา

(น. 295) ไปถึงที่หมู่บ้านเหมยเจียอูที่ผลิตใบชาหลงจิ่ง เขาปลูกต้นชาตามเนินเขา เนื่องจากฝนตก เลยดูพอเป็นสังเขป สาวเก็บชาเขาจะรู้จักเลือกยอดชาที่กำลังพอดี กิโลกรัมหนึ่งประมาณ 80,000 ยอด วันหนึ่งเก็บได้ครึ่งกิโล ชาที่เก็บในฤดูใบไม้ผลิ คือในช่วงนี้เป็นชาดีที่สุด เมื่อเก็บมาแล้วต้องมาคั่วในกระทะ ใช้มือคนคั่ว เวลานี้ใช้กระทะไฟฟ้า มีปุ่มสำหรับหมุนตั้งอุณหภูมิ เริ่มต้นอุณหภูมิประมาณ 40 องคศาเซลเซียส ต้องคั่วอยู่ประมาณ 20 ชั่วโมง ตอนที่นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลมาชมจึงกล่าวว่าเป็นศิลปหัตถกรรม คนที่มาทำงานด้านชานี้ต้องฝึกอยู่กับอาจารย์ 5 ปี เข้าไปในห้อง ผู้จัดการเป็นอาจารย์โรงเรียนใบชา อธิบายเกี่ยวกับเรื่องชา ให้คนมาสาธิตการชงชา และชวนดื่มชาด้วยน้ำที่ใช้ชงชามาจากธารน้ำหู่เผาเฉวียนของเมืองหังโจว ถือว่าเป็นน้ำที่ดี เมื่อชงแล้วชารสไม่เปลี่ยน เวลาจะชงชาต้องปูผ้า สาวที่มาสาธิตการชงชามานั่งคุกเข่าชง ทำท่าเหมือนรำละคร มีคนเล่นเจิงคลอเป็นเพลง ก่อนอื่นจุดธูปปักไว้ เพื่อทำใจให้สงบ มีสมาธิ หลังจากนั้นจะเอาน้ำที่จะชงชาและใบชาที่จะชงมาให้แขกดูและดม แล้วตักใบชาออกมาจากถ้ำชาดีบุก ใส่ถ้วยแล้วเทน้ำประมาณสามในสิบของแก้ว ถ้าเป็นน้ำเดือดจะทำให้ชาเสียรส ต้องใช้น้ำอุณหภูมิประมาณ 85 องศา แล้วให้แขกดมกลิ่นอีก สักพักจึงเทน้ำจนเต็มถ้วย ลีลาการเทน้ำลงถ้วยเรียกว่า หงส์ผงกหัวสามครั้ง การเทน้ำให้เทประมาณ 3 ใน 4 ของแก้ว สำหรับชาเขียวหลงจิ่งนี้เมื่อเทน้ำร้อนลงไปแล้วไม่ควรปิดฝา ถ้าปิดฝาแล้วจะอบเกินไป ส่วนดีจะเสียไป ท่านหลู่ซวิ่นกล่าวว่า คนที่รู้จักดื่มชา มีใบชาดีถือว่าเป็นความสุขยิ่ง จักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จมาหลายครั้ง แต่แรกทรงรู้สึกว่าชาที่นี่จืด ไม่มีรสมีชาติ ภายหลังจึงทรงทราบว่ามีรสหอมหวานออกมาจากปาก นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลมาที่นี่ 5 ครั้ง นอกจากดื่มหมดแล้ว ยังรับประทานใบชาเข้าไปอีก กล่าวว่า ใบชามีค่าสูง หาไม่ง่าย และอีกประการหนึ่ง รับประทานใบชาทำให้ได้ประโยชน์ทางโภชนาการครบถ้วนทั้งหมด คนท้องถิ่นหังโจวไม่เรียกว่า ดื่มน้ำชา จะเรียกว่า กินน้ำชา นักธุรกิจชาวฮ่องกงคนหนึ่งให้พ่อครัวประจำตัวทำกุ้งผัดชาหลงจิ่ง ผู้หญิงที่คลอดลูกใหม่ๆ ต้องการอาหารบำรุง แม่ผัวจะตุ๋นไก่ให้ลูกสะใภ้ จะมีกลิ่นคาว คนที่เพิ่งออกลูกจะรับประทานไม่ลง แม่ผัวเอาใบชาใส่ถุงผ้าใส่ในตัวไก่ที่จะตุ๋น จะหมดกลิ่นคาว มีแต่หอมใบชา

(น. 299)ท่านเติ้งเสี่ยวผิง ก็ได้พัฒนาไปมากทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม เศรษฐกิจก้าวหน้าเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศจีน มีโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 1,000 โรง ส่วนมากเป็นอุตสาหกรรมขนาดเบา ปีที่แล้วมีคนเข้ามาลงทุน 10,800 ล้านเหรียญ มีนักธุรกิจไทยมาลงทุนด้วย เขาให้ของที่ระลึกเป็นแจกันทำเลียนแบบเครื่องเคลือบจากเตาเผาหลวงสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ เทคนิคการทำเครื่องเคลือบแบบนี้สูญหายไปนานแล้ว แต่มีการศึกษาค้นคว้าทำขึ้นมาใหม่ เข้าไปรับประทานอาหาร วันนี้เหล้าที่เลี้ยงเป็นเหล้าจากเซ่าซิง คนทั่วไปชอบใส่บ๊วยเค็มในเหล้า แต่คนที่รู้จักดื่มจริงๆ ไม่นิยมใส่ ท่านผู้ว่าฯ ไม่เคยไปเมืองไทย แต่ว่ามีคนในมณฑลไปกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนตรุษจีน ปีที่แล้วประมาณสองหมื่นคน ส่วนคนที่มามณฑลนี้มากที่สุดเป็นคนญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และไต้หวันตามลำดับ อาหารที่เลี้ยงมีของพิเศษคือ ซูตงปัวโร่ว หรือ เนื้อซูตงปัว เล่ากันว่าสมัยที่เป็นเจ้าเมืองหังโจว ซูตงปัวได้เอาเนื้อหมูตุ๋นซีอิ๊วด้วยหม้อดินเลี้ยงชาวบ้านที่ถูกเกณฑ์มาขุดลอกซีหู ชาวบ้านชอบใจเลยได้ชื่อว่า ซูตงปัวโร่ว ต่อมากลายเป็นอาหารจานโปรดของชาวเมืองหังโจว เป็นอาหารมีชื่อของที่นี่ พูดถึงการอนุรักษ์ทะเลสาบซีหูโดยการไม่อนุญาตให้ใช้เรือน้ำมันในการท่องเที่ยวในทะเลสาบ แนะนำให้ใช้เรือแบตเตอรี่

Next >>