Please wait...

<< Back

ฮ่องกง

เจียงหนานแสนงาม หน้า 314

(น. 314) สินค้าที่มีชื่อเสียงคือ สุราเหลืองเซ่าซิง ว่ากันว่าที่นี่สมัยก่อนมีอ่างสำคัญสามอ่างคือ อ่างสุรา อ่างย้อมผ้า และอ่างดองผัก สุราที่นี่ได้รับรางวัลเหรียญทอง การย้อมผ้าหรืออุตสาหกรรมสิ่งทอก็พัฒนาได้เร็ว ปัจจุบันทอด้วยเครื่องจักร อ่างที่สามคือการทำผักดองและเต้าหู้ยี้ ไม่สู้มีชื่อเสียงเหมือนสองอ่างแรก อาชีพของชาวเซ่าซิงยังมีการทำนา เลี้ยงกุ้ง และปลูกผักนอกฤดูกาล เมืองเซ่าซิงมีเนื้อที่ 7,900 ตารางกิโลเมตร ประชากร 4.3 ล้านคน มีสถานที่ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง แห่งหนึ่งที่ข้าพเจ้าไม่มีโอกาสไปคือ เก๋งหลานถิง ตั้งอยู่ในสวนสวยงามที่มีอายุย้อนหลังไปถึงศตวรรษที่ 4 กล่าวกันว่าหวังซีจือ นักเขียนพู่กันมีชื่อ เคยพบปะสังสรรค์กับมิตรสหายที่สวนนี้เมื่อ ค.ศ. 353 แม้ในปัจจุบันยังใช้สถานที่นี้เป็นที่พบปะของนักเขียนพู่กันนานาชาติ เก๋งหลานถิงที่กล่าวถึงนั้นสร้างใหม่เมื่อ ค.ศ. 1548 เป็นเก๋งที่สวย นอกจากนั้นยังมีวังของพระเจ้าโกวเจี้ยน ที่นี่ถือว่าเป็นวัฒนธรรมก้อนหิน เพราะถนนก็ปูด้วยหิน คนที่ไม่ใช่คอเหล้าเซ่าซิงแท้ๆ ชอบเอาบ๊วยเค็มใส่เหล้า ที่ฮ่องกงก็เลยมีการผลิตเอาใจลูกค้าคือ ใส่บ๊วยลงไปสำเร็จรูป เวลาหน้าหนาวนิยมดื่มเหล้าองุ่น หอมอร่อยดี ทำให้สบายไม่รู้สึกหนาว แพทย์โบราณว่าดีสำหรับกระเพาะอาหาร นายกเทศมนตรียังโฆษณาต่อไปว่าเหล้านี้ดีสำหรับนักปราชญ์ กวี หรือนักเขียนตัวอักษร ต่งเจี้ยนหวา หัวหน้าคณะบริหารของฮ่องกงเป็นคนหนิงโปและชอบเหล้าเซ่าซิงเหมือนกัน

เจียงหนานแสนงาม หน้า 341

(น. 341)แห่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง มณฑลยูนนานนี้มีสนามบินมากที่สุด มาตรฐานดีที่สุด การตัดถนนก็เร่งทำให้มากขึ้น พัฒนาโทรคมนาคมไปอำเภอต่างๆ โทรศัพท์ และโทรศัทพ์มือถือ ในด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศนั้นมีความร่วมมือกับไทยมากที่สุด ถึงแม้จะลดน้อยไปบ้างในช่วงวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้นมีการแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งในระดับผู้ใหญ่ในพรรคและในระดับรัฐบาลมณฑล ผู้ว่าราชการฯ หลี่เองไปไทย 3 ครั้ง ไปเยือนตั้งแต่เหนือจดใต้ นักท่องเที่ยวไทยก็มาที่ยูนนานมากที่สุด และคนยูนนานก็ไปเที่ยวเมืองไทยมากเช่นกัน โครงการลงทุนจากต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดคือ โครงการโรงไฟฟ้าที่จิ่งหงที่ไทยเป็นผู้ลงทุน นอกจากนั้นยังมีสำนักงานของธนาคารไทย ฉะนั้นถึงแม้ว่าเกิดวิกฤติการณ์ก็เชื่อว่าความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจยังมั่นคงอยู่ รัฐบาลกลางมอบให้จัดงาน EXPO’99 มีรองนายกรัฐมนตรีหลี่หลานชิงเป็นประธาน ผู้ว่าราชการฯ หลี่เองเป็นรองประธานเตรียมการและผู้จัด มีประเทศต่างๆ และองค์การระหว่างประเทศมาร่วมงานด้วยจำนวนมาก ประเทศที่มาจัดสวนมี 34 แห่ง รวมทั้งประเทศไทย ได้ไปตรวจงานมาแล้ว เห็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยกำลังเร่งมือจัด มี 80 กว่าประเทศที่เข้าร่วมในการแสดงต้นไม้ในร่ม ในจีนเองก็มีมณฑลต่างๆ ภูมิภาคปกครองตนเอง ฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวันก็มาช่วย มีการจัดสวนกลางแจ้ง ปลูกพืชต่างๆ เสียค่าใช้จ่ายในการจัด การรับรอง และอื่นๆ รวมๆ แล้วใช้งบประมาณมาก

เจียงหนานแสนงาม หน้า 357-358

(น. 357) นั่งรถต่อไปที่หมายสุดท้าย ผ่านสวนอังกฤษและสวนออสเตรเลีย ไปที่ศาลาจีน แสดงสิ่งของจากมณฑลต่างๆ ในจีน รวมทั้งฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน ลักษณะคล้ายๆ ของขวัญที่แต่ละมณฑลมอบให้ฮ่องกงตอนที่กลับคืนสู่จีน อย่างที่ข้าพเจ้าเคยเขียนไว้ในหนังสือคืนถิ่นจีนใหญ่ ที่จริงมีอะไรน่าสนใจน่าดูอีกมาก แต่ถึงเวลาที่เราต้องกลับแล้ว ได้ของที่ระลึก งานนี้ดูเหมือนว่าจีนลงทุนมาก เมื่อ พ.ศ. 2533 ข้าพเจ้าเคยได้ไปร่วมงานเกษตรแบบเดียวกันนี้ที่เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ตามที่ข้าพเจ้าได้เขียนหนังสือบันทึกไว้ชื่อ ชมดอกไม้ไกลบ้าน ยังไม่รู้สึกว่าน่าสนใจขนาดนี้ ทั้งที่งานนี้ยังไม่เปิด เท่ากับสร้างเมืองใหม่ไปเลย ในบริเวณนี้มีภัตตาคาร โรงแรม ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ครบถ้วน เข้าใจว่าคงมีคนมาเที่ยวงานเกิน 10 ล้านคน บัตรเข้างาน 100 หยวน ถือว่าค่อนข้างแพง เพราะเขาลงทุนมาก แต่ว่าครู นักเรียน ผู้ที่มาเป็นกลุ่ม จะได้รับการพิจารณาราคาพิเศษ ชาวต่างประเทศคิดว่าจะมีสัก 80 ประเทศ แต่ที่จริงแล้วมีมากกว่านั้น ที่เขาไม่หวังสูงมากนักเพราะในช่วงนี้หลายประเทศประสบวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ มีปัญหาการเมืองและมีการเลือกตั้ง งานนี้กลายเป็นเวทีสัมมนาทางวิชาการที่ผู้เชี่ยวชาญพืชสวนจากทั่วโลกจะมีโอกาสมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน กระทรวงการต่างประเทศจีนช่วยมากเรื่องการติดต่อและการโปรโมตงาน ยังมีปัญหาเรื่องอากาศ เรื่องจัดโรงแรมให้พอ เรื่องหาคนพูดภาษาอังกฤษได้มารับรองแขก

(น. 358) ข้าพเจ้าได้ดูการสัมภาษณ์ท่านทูตเดนมาร์กประจำประเทศจีนเล่าเรื่องสวนเดนมาร์กว่า เขาจัดสวนตามเรื่องของฮันส์คริสเตียน แอนเดอร์สัน มีต้นไม้ ดอกไม้ นกที่กล่าวในเรื่อง พิมพ์หนังสือนิทานแจกคนที่มางานด้วย มีส่วนหนึ่งของสวนจัดเป็นมุมเด็ก ให้เด็กมาต่อเลโก้ซึ่งถือว่าเป็นผลผลิตของเดนมาร์ก เจ้าชายเดนมาร์กและพระชายาจะเสด็จมาในงาน พระชายาเป็นชาวฮ่องกง มีบรรพบุรุษเป็นคนเซี่ยงไฮ้ จึงรู้สึกว่าสองประเทศคือ จีนกับเดนมาร์กมีความใกล้ชิดกัน

มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 28

(น.28) ท่านเล่าว่าได้เป็นประธานปล่อยปลาที่สวนหลวง ร.9 ถามถึงกำหนดการเดินทาง แล้วท่านอธิบายให้ฟังว่าเส้นทางแพรไหมนี้มีสมบัติทางวัฒนธรรมอยู่มาก น่าเสียดายที่ถูกชาวต่างประเทศมาลักไป ทำลายเสียหายเสียมากมาย แสดงให้เห็นโทษของการขาดความรู้ และอำนาจทางการเมือง ที่หลานโจวมีโรงไฟฟ้าใหญ่ มีแม่น้ำหวงเหอซึ่งทำให้ไฟฟ้าและใช้ในการชลประทานได้ เฉพาะที่หลานโจวก็มี 6 แห่ง ถึงแม่น้ำหวงเหอจะหล่อเลี้ยงประเทศจีน แต่ในอดีตก็นำภัยพิบัติมาให้มาก ครั้งสุดท้าย ใน ค.ศ. 1937 ท่านเล่าถึงการส่งจรวดนำดาวเทียมโทรคมนาคมเมื่อคืนนี้ ปรับระบบ 4 วัน และใช้ได้ใน 15 วัน รับประทานอาหาร มีออร์เดิร์ฟ ซุปเต้าหู้ ซุปหูฉลาม สเต๊กเนื้อกับเห็ด กุ้ง ผัก ที่เป็นของพิเศษในอาหารมื้อนี้ได้แก่น้ำมันของกบภูเขาใส่น้ำเชื่อม มาจากมณฑลจี๋หลิน (อยู่ติดกับเกาหลี) เป็นไขมันที่กบสะสมไว้ในร่างกายสำหรับช่วงจำศีล คนเอามารับประทาน เป็นยาจีน ช่วยรักษาไขข้อและกล้ามเนื้อ ขนมมีหนวดมังกรอย่างเมื่อคืน และขนมเค้ก ผลไม้มีแตงโม ส้ม และมะม่วง ระหว่างอาหาร ท่านหลี่เผิงเล่าให้ฟังถึงการประชุมสภาว่า เมื่อเดือนที่แล้วเพิ่งมีการประชุม ใช้เวลา 2 สัปดาห์ ทุก ๆ วัน พวก ส.ส. มาจากมณฑลต่าง ๆ มีจำนวนประมาณ 3,000 คน ยังมีพวกสภาที่ปรึกษาแต่งตั้งมาจากการหารือของพรรคการเมืองอีกประมาณ 2,000 คน รวมเจ้าหน้าที่อีกจำนวหนึ่ง การประชุมจึงเป็นเรื่องใหญ่มาก นอกจากนั้นยังอนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าไปฟัง คณะทูตานุทูต มีผู้แปลเป็นภาษาต่างประเทศและภาษาชนกลุ่มน้อย จะมีกำหนดแน่นอนว่าวันไหนประชุมเรื่องอะไร ปีนี้ผ่านธรรมนูญการปกครองฮ่องกง

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 102

(น.102) ทะเบียน จริง ๆ แล้วบันทึกเอาไว้สำหรับเตือนตัวเองว่าได้ดูอะไรไปแล้วบ้าง สมมุติว่าคราวหน้าเกิดได้กลับมาอีก (ใครจะไปทราบได้) จะได้รู้สภาพว่าแต่ก่อนเป็นอย่างไร วันนี้ข้าพเจ้ารู้สึกว่าหมดแรง อ่อนเพลีย ผู้อำนวยการแนะว่าอยากขึ้นไปชมวิวบนยอดสุสานหัวชู่ปิ้งไหม ข้าพเจ้ารีบบอกว่าไม่มีเวลา กลับโรงแรมพักผ่อน ทุ่มสิบห้านาทีจึงไปที่โรงละคร โรงละครนี้ได้ทราบว่าทางรัฐบาลจีนร่วมทุนกับฮ่องกง คืนนี้เขามีการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์แบบราชวงศ์ถัง พร้อมกับการเลี้ยงอาหารค่ำ เมื่อเราไปถึงเห็นมีฝรั่ง (ทัวร์) ส่วนมากอยู่ในวัยชรานั่งรับประทานอาหารอยู่อย่างเงียบ ๆ มีดนตรีจีนบรรเลงเบา ๆ พอขบวน ไทย-จีน ของเรามาถึงก็บ่อนแตก เสียงจ้อกแจ้กดังลั่นทั้งไทยและจีนส่งภาษากันหลายอย่างไทย ๆ จีน ๆ ปนกัน ข้าพเจ้ากำลังพยายามซ้อมพูดภาษาจีน ครั้นจะพูดจีนหมดก็พูดไม่เป็นต้องพูดไทยปน ได้ความว่าโต๊ะโน้นแถมภาษาอังกฤษด้วยอีกอย่าง เพราะหนูกิ่งของข้าพเจ้ากับเปียนเหมย ผู้รักษาความปลอดภัย (ของข้าพเจ้าเหมือนกัน) ซ้อมภาษาอังกฤษกัน กิ่งแนะนำตัวว่า My name is กิ่ง means a branch of a tree เปียนเหมยก็เลยว่าตัวเองชื่อเหมย (Mei) แปลว่า plum (บ๊วย?) เป็นอันว่าชื่อต้นไม้กิ่งไม้ด้วยกันจึงเป็นเพื่อนกันได้ ชักชวนกันเที่ยวเมืองจีน หนูดอกบ๊วยบอกว่ามาเมื่อไรจะต้อนรับอย่างดี หนูกิ่งเลยบอกว่าถ้ามาก็จะอยู่บ้านเธอนั่นแหละ แล้วชวนกันว่าจะเป็น pen friend กัน บทสนทนานี้ต่อไปว่าอย่างไรไม่ทราบ เพราะที่จริงแล้วข้าพเจ้าไม่ได้ยิน อึ่งมาเล่าให้ฟังอีกต่อ ก่อนข้าพเจ้าจะเล่าถึงบทสนทนาโต๊ะข้าพเจ้า จะขอเล่าเรื่องอาหารและการแสดงเสียก่อน ดูเหมือนว่ารายการนี้จะจัดสำหรับทัวร์โดยเฉพาะ

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 284

(น.284) แม้ว่าข้าพเจ้าจะชอบเรื่องผีแต่ก็ไม่ได้ชอบมัมมี่ คงจะติดนิสัยจากคุณยายของข้าพเจ้า ตอนที่ไปดูพิพิธภัณฑ์บริติชมิวเซียม แผนกอียิปต์ คุณยายถอดแว่นจะได้มองมัมมี่ได้ไม่ชัด เรื่องสุดท้ายที่ดูคือห้องแสดงวัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆ ในซินเกียง แสดงขนบประเพณี เต็นท์ที่พักที่เรียกว่าเยิต มีเผ่าเววูเอ๋อร์ คาซัก หุย แมนจู มองโกล รัสเซีย ตาตาร์ ทาจิค อูซเบก เป็นต้น กลับไปรับประทานอาหารกลางวัน (แบบกันเอง) ที่บ้านพักรับรอง ช่วงบ่ายเราจะเดินทางไปเมืองข่าชือ หรือกาชการ์ แต่จะแวะโรงงานทำเสื้อขนสัตว์เสียก่อน ข้าพเจ้านั่งรถไปกับอาจารย์มู่ มีคุณหลิวเป็นคนช่วยแปล อาจารย์เล่าเรื่องการเข้ามาของศาสนาอิสลาม ไปถึงโรงงานผู้จัดการโรงงานกล่าวต้อนรับ เล่าถึงกิจการว่าบริษัทมีผลิตภัณฑ์ผ้าขนสัตว์ รวมทุนกับบริษัทญี่ปุ่นและฮ่องกง มีโรงงานอยู่ 4 แห่ง มีสาขา 1 แห่ง พนักงานทั้งหมดมี 2,500 คน สาขาที่ฮ่องกงจะเป็นผู้ขาย คนงานประกอบด้วยคนกลุ่มน้อย 12 กลุ่มชน 12% ของคนงานเป็นคนกลุ่มน้อย โรงงานนี้สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1980 ดำเนินกิจการมาเกือบ 10 ปีแล้ว ได้ผลิตสินค้าไปขายในยุโรป เอเชีย อเมริกา รวม 14 ประเทศ มีสหรัฐ ญี่ปุ่น อิตาลี แคนาดา โซเวียต ฮ่องกง เป็นต้น ในประเทศก็ขายในห้างสรรพสินค้า 175 แห่ง ใน 29 มณฑล ขายได้คล่องดีมากจนผลิตไม่ทันความต้องการของตลาด กำไรสุทธิเพิ่มปีละ 53% จะเอากำไรที่ได้มาขยายกิจการต่อ เดินดูกิจการ มีห้องย้อม ใช้เครื่องจักรญี่ปุ่น ใช้เส้นขนสัตว์มาย้อมสี สีทำจากสวิตเซอร์แลนด์และญี่ปุ่น เครื่องเหล่านี้เป็นเครื่องอัตโนมัติ แต่

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 330,333

(น.330) รูป 213 ถึงสนามบินกวางโจว
Quangzhou Airport.

(น.330) เครื่องบินลงที่กวางโจว มีท่านกงสุลไทยประจำกวางโจว ผู้ว่าราชการมณฑลกวางโจว ผู้แทนสมาพันธ์สตรีของกวางโจว ซึ่งข้าพเจ้าเคยได้พบที่เมืองไทยมา 2 ครั้งแล้วมารับ พานั่งรถไปที่ห้องรับรองของสนามบิน มีข้าราชการสถานกงสุล นักเรียนไทยที่มาเรียนภาษาจีนก่อนที่จะเข้ามหาวิทยาลัยประมาณ 50 คนมาต้อนรับ ท่านผู้ว่าราชการมณฑลกวางโจวถามถึงการเดินทางที่ผ่านมา และสอนให้ทดลองเดินทางสายแพรไหมทางทะเลด้วย ถามว่าสนใจไหม (จริง ๆ แล้วดูเหมือนว่าในจีนมีแค่ฮกเกี้ยน หางโจว กวางโจว เท่านั้น แล้วกลายเป็นเส้นทางจำหน่ายอย่างอื่น ไม่ใช่แพรไหม) ผู้แทนสมาพันธ์สตรีเล่าถึงตอนที่เข้าไปพบข้าพเจ้าและได้ดูงานศิลปาชีพด้วย สักพักใหญ่ข้าพเจ้าไปถ่ายภาพและคุยกับข้าราชการสถานกงสุล จนเครื่องบินสายการบินไทยที่มารับพร้อมที่จะเดินทางไปยังฮ่องกง แล้วกลับกรุงเทพฯ ความรู้สึกในตอนนั้นค่อนข้างจะแปลก คือค่อนข้างจะอ้างว้างวังเวง พูดไม่ออก ตลอดเวลาที่อยู่ในประเทศจีนในครั้งนี้เป็นเวลาร่วม 2 –

(น.333) ก็ว่ายาก ให้ข้าพเจ้ากลับมาให้เขาดูแลดีกว่า บอกครูกู้ และคุณหลิวว่าพบกันที่กรุงเทพฯ ชวนคุณจางและเติ้งอิงให้หาโอกาสมาประจำเมืองไทย ฯลฯ ทุกคนทั้งฝ่ายไทย (สถานทูต) และฝ่ายจีนก็จะขึ้นเครื่องบินกลับปักกิ่งเย็นนี้ เครื่องบินสายการบินไทยเริ่มเคลื่อนเพื่อพาเราไปแวะฮ่องกง และกลับสู่บ้านเกิด แยกย้ายกันไปทำหน้าที่ของตน เพื่อสร้างฉากชีวิตที่รุ่งเรืองแจ่มใสต่อไป ข้าพเจ้าคิดขึ้นมาถึงบทกวีของหลี่ไป๋ที่ชื่อว่า “ของขวัญให้วังหลุน” มีความว่า หลี่ไป๋โดยสารเรือกำลังจะเดินทางไป
ทันใดนั้นได้ยินเสียงฝีเท้าและร้องเพลง
น้ำในบ่อดอกท้อลึกถึงพันเชี้ยะ
แต่ก็ไม่เท่าความรู้สึกของวังหลุนเมื่อส่งฉัน
ข้าพเจ้าไม่ทราบจะเป็นหลี่ไป๋หรือวังหลุนดี

ย่ำแดนมังกร
ย่ำแดนมังกร หน้า 6


(น.6) รูป 4 รถยนต์ออกจากสนามบินไขตั๊ก-ฮ่องกง

(น.6) เครื่องบินถึงสนามบิน “ไขตั๊ก” ประมาณ 3 ทุ่มครึ่งตามเวลาประเทศไทย สนามบินนี้อยู่ฝั่ง เกาลูน (แผ่นดินใหญ่) มองลงไปไม่เห็นอะไรนอกจากป้ายโฆษณาสินค้าต่างๆ ซึ่งติดไฟสีๆ มองดูสวยดีเหมือนกัน ขณะที่ถึงฝนตกเล็กน้อย ทุกๆ คนก็หยิบเสื้อฝนออกมาเตรียมเอาไว้ แต่ก็ไม่ต้องใช้เพราะเครื่องบินเราจอดตรง “งวง” พอดี กงสุลใหญ่ คุณกำธร จิตต์คงไทย ขึ้นมารับบนเครื่องบินเมื่อลงจากเครื่องบินลงไปตาม “งวง” มีนายสตีเฟน คอร์ริก องครักษ์ของผู้สำเร็จราชการอังกฤษมาคอยรับและนั่งไปด้วยในรถ นายคอร์ริก อยู่ในฮ่องกงมาสิบปีกว่าแล้ว

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 41,44

(น.41) ศาลาซู่เต๋อ (สร้างธรรมะ) มีรูปหลินเจ๋อสู ทำด้วยไฟเบอร์กลาส สร้าง ค.ศ. 1997 หลังเกาะฮ่องกงกลับคืนสู่จีน มีลายพระหัตถ์จักรพรรดิเต้ากวง มีรูปฮกกับซิ่ว ที่เห็นอยู่เป็นของจำลอง ป้ายลายมือประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน เมื่อ ค.ศ. 1995 แปลเป็นภาษาไทยความว่า หากในวาระแห่งความเป็นความตายของชาติ จะชักเข้าชักออกด้วยเหตุเป็นคุณเป็นโทษแก่ตนเองได้หรือ สื่อความหมายว่า ในวิกฤตการณ์ของชาติ ต้องกล้าทำกล้าตัดสินโดยไม่คิดถึงผลกระทบต่อตนเอง ข้อความในป้ายลายมือของเจียงเจ๋อหมินมาจากวาทะของหลินเจ๋อสูที่เขียนสอนคนในครอบครัว อนุสรณ์สถานนี้ใช้เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งคือ ต่อต้านยาเสพติด มีโปสเตอร์ต่อต้านยาเสพติด (สมัยใหม่) ติดไว้ข้างทางเดิน ตามศาลามีประวัติหลินเจ๋อสู เป็นป้ายอธิบาย มีภาพเขียนและภาพถ่ายประกอบ


(น.41) รูป


(น.44) รูป

(น.44) ตอนมารับตำแหน่งที่มณฑลกวางตุ้งหลินเจ๋อสูเคยเรียกพวก (พ่อค้า) 13 ห้าง (สือซานหัง) ที่ก่วงโจว (เมืองกวางตุ้ง) มาประชุม และบอกว่าวันใดที่ฝิ่นยังไม่หมดสิ้นไป ตัวข้าพเจ้าจะไม่กลับกรุง ขอเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เป็นไปไม่ได้ที่ฝิ่นจะไม่หมดสิ้น (13 ห้าง คือ กลุ่มพ่อค้าจีนที่ร่วมทุนกับพวกฝรั่ง ได้รับสิทธิพิเศษผูกขาดทางการค้า) แต่แรกเมื่อมีรายงานการปราบฝิ่นส่งเข้ากรุง จักรพรรดิเต้ากวงทรงแทงหนังสือว่าเป็นเรื่องน่ายินดี รับทราบแล้ว เอกสารฉบับนี้เป็นสำเนา ตัวจริงอยู่พระราชวังกู้กงในกรุงปักกิ่ง จักรพรรดิเต้ากวงรู้ว่าชนะ จึงปิดประกาศ อันเป็นเหตุผลหนึ่งที่พวกฝรั่งมาทำสงครามฝิ่น ศาลาที่ 3 สถานการณ์สงครามฝิ่น (ค.ศ. 1839-1842) มีแผนที่ตอนที่พวกฝรั่งไปถึงเมืองเทียนสิน จักรพรรดิเต้ากวงกริ้วหลินเจ๋อสู ปลดออกจากตำแหน่ง ให้ฉีซ่านไปเจรจากับอังกฤษ ค.ศ. 1841 ทหารอังกฤษรุกรานเกาะฮ่องกง มีอิฐกำแพง ค.ศ. 1841 โอ่งดินปืน จักรพรรดิไม่เพียงแต่ปลดหลินเจ๋อสูเท่านั้น แต่เนรเทศไปซินเกียง เขาต้องจากครอบครัวที่เมืองซีอาน เดินทางเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1842 ขณะนั้นเขาร่างวาทะที่เจียงเจ๋อหมินเขียนลายมือพู่กันไว้ เดินทาง 4 เดือน ไปถึงเมืองอีหลี มณฑลซินเกียง ตอนนั้นอายุ 58 ปี เขาเป็นที่เคารพของชาวซินเกียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขุนนางชาวแมนจู ชื่อปู้เหยียนไท่