Please wait...

<< Back

บูเชกเทียน

จากหนังสือ

ย่ำแดนมังกร
ย่ำแดนมังกร หน้า 151

(น.151) สุสานของ ฉินซีหวั่งตี้ หวาชิงฉือ (สระน้ำ หวาชิง) ซึ่งเป็นบ่อน้ำร้อนที่เราจะได้ไปดู พิพิธภัณฑ์ยุคหินที่ ป้านโพ มณฑล ส่านซี นี้คนทำการเกษตรมีการปลูกข้าวสาลี ข้าวโพด ฝ้าย มณฑลนี้มีสภาพแปลกคือ มีภูเขา ฉินหลิ่ง หรือ เหลียงซัน ตัดมณฑลออกเป็น 2 ตอน ตอนกลางๆ ดินฟ้าอากาศอุดมสมบรณ์ดีที่สุด มีข้าวสาลีและฝ้าย (ตรงเมือง ซีอานเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ) ทางใต้ที่ติดกับมณฑล เสฉวน มีสวนคล้ายภาคใต้ของจีน คือมีข้าวเจ้าและผลไม้ บนภูเขามียาสมุนไพรมาก มีสัตว์ป่ามีค่า เช่น หมีแพนด้า ลิงขนสีทอง ชาวภาคใต้ยังปลูกหม่อน เลี้ยงใหม ปลูกส้มโอ ข้าพเจ้าถามว่าแล้วที่ซีอานนี้มีอะไรอีก คุณซุนหมิงเลยเล่าต่อเรื่องโน้นบ้างเรื่องนี้บ้าง (ตามแต่จะคิดได้) ว่ายังมีหอระฆัง จงโหลว มีแต่ราชวงศ์ ถัง หอปัจจุบันสร้างในศตวรรษที่ 16 บูรณะในศตวรรษที่ 18 ศุง 68 ฟุต สมัยก่อนใช้เป็นสัญญาณเตือนภัย ต่อมาใช้บอกเวลาเปิดประตูเมือง 4 ทิศ มีหอกลอง สมัยราชวงศ์ เหม็ง (ทำด้วยไม้) บอกเวลาประตูปิด มีที่น่าดูอีกแห่งคือ สุสานราชวงศ์ ถัง หรือสุสาน เฉียนหลง เป็นฮวงซุ้ยของจักรพรรดินี อู่เจ๋อเทียน หรือที่คนไทยเรียกว่า บู่เช็กเทียน และฮวงซุ้ยบุคคลอื่นๆ ทางจีนจะเปิดค้นคว้าสุสาน อู่เจ๋อเทียน เร็วๆ นี้ บริเวณฮวงซุ้ยมีศิลาจารึก รูปปั้นหิน มีฮวงซุ้ยใต้ดิน แห่งหนึ่งเปิดแล้ว ทางการจีนได้นำวัตถุที่พบแสดงในพิพิธภัณฑ์แต่เราไม่มีเวลาได้ดู รถแล่นผ่านตึกต่างๆ ซึ่งคุณซุนหมิงอธิบายว่า เป็นตึกใหม่ๆ สร้างขึ้นหลังสมัยปลดแอกทั้งนั้น ผ่านประตู เหอผิงเหมิน หรือ

ย่ำแดนมังกร หน้า 205
(น.205) คอมมูนที่อยู่ใกล้เจดีย์ห่านฟ้า ซึ่งมีนักท่องเที่ยวมาอยู่เสมอ ชาวคอมมูนจะถือเอาเงื่อนไขนี้ให้เป็นประโยชน์โดยมีอาชีพรองในการเป็นช่างถ่ายรูป เปิดร้านน้ำชา ร้านขายไอศกรีม ในคอมมูนหลายๆ แห่ง มีอุตสาหกรรมขนาดเล็กซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของคอมมูน ส่วนโรงงานใหญ่ๆ เป็นของรัฐ พอดีรถเลี้ยวเข้าเขตเจดีย์ห่านฟ้า มองเห็นคนจีนถือกล้องโพลารอยด์ คงเป็นสมาชิกคอมมูนอย่างที่คุณซุนหมิงว่า เจดีย์ห่านฟ้านั้นสมัยราชวงศ์ถังใช้เป็นสถานที่สอนพระไตรปิฎกซึ่งพระถังซำจั๋งนำมาจากอินเดีย เจดีย์นี้อยู่ในเขตวัดซึ่งพระเจ้าถังเกาจง เป็นผู้สร้าง ตอนแรกที่เราเข้าไปก็มีคณะเจ้าหน้าที่ผู้อธิบายมารอรับอยู่ตามเคยและพาพกวเราไปที่ ต้าสยุงเป่าเตี้ยน ซึ่งเป็นอาคาร มีพระพุทธรูป 2 องค์ และพระอรหันต์ 18 องค์ แล้วจึงไปที่เจดีย์ห่านฟ้า หรือ ต้าเอี้ยนถ่า ซึ่งสร้างเป็น 5 ชั้น สมัยจักรพรรดินี อู่เจ๋อเทียน เพิ่มเป็น 10 ชั้น ต่อมาเกิดสงคราม เจดีย์ได้รับความเสียหายสร้างขึ้นใหม่เป็น 7 ชั้น ชั้นล่างมีพระพุทธรูปสำริดอายุ 400ปี มี rubbing รูปพระถังซำจั๋งผู้นำพระไตรปิฎก 600 กว่าเล่มจากอินเดียมาแปลเป็นพระไตรปิฎกจีน 75 เล่ม ที่วัดพระมหากรุณาธิคุณนี้ นอกจากรูปท่าน เสวียนจ้าง (พระถังซำจั๋ง) แล้ว ยังมีรูปลูกศิษย์ก้นกุฏิอีก 2 ท่าน คือ หยวนเช่อ ตามประวัติว่าเป็นหลานของพระเจ้าแผ่นดินเกาหลี และ ขุยจี เป็นชาวจีน นอกจากนั้นก็มีจารึกลายมือของคน

หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 126 - 127

(น.126) ตู้เย็นโบราณ วิธีการใช้คือ ตอนหน้าหนาว ไปตัดน้ำแข็งมาไว้ห้องใต้ดินที่ความร้อนเข้าไม่ถึง เมื่อถึงหน้าร้อนเอาภาชนะสี่เหลี่ยม ในภาชนะนั้นวางแช่เหล้า กวีชวีหยวนแต่งไว้ว่าบดขนมไว้กินพร้อมเหล้าเย็น สมัยราชวงศ์ฮั่น เว่ย (ก๊กของโจโฉ) จิ้น ราชวงศ์เหนือใต้ มีรูปอาคารจำลองทำด้วยเครื่องปั้นดินเผาสำหรับฝังลงไปในสุสาน หวังว่าบุคคลผู้ตายจะมีความเป็นอยู่ในปรโลกเหมือนเมื่อยังมีชีวิตอยู่ นอกจากนั้นยังมีนักดนตรี นักละคร พวกคนแคระ ซูโม่ อาวุธต่างๆ สันนิษฐานว่าสมัยราชวงศ์ฮั่นและถังนำการแสดงซูโม่ไปที่ญี่ปุ่น จนปัจจุบันคนญี่ปุ่นถือว่าซูโม่เป็นกีฬาสำคัญ มีภาพฝาผนังสมัยราชวงศ์ฮั่น ขุดพบใน ค.ศ. 1980 บริเวณมณฑลเหอหนานภาคตะวันออก สุสานนี้สวยมาก (เขาว่ากัน) ขึ้นไปชั้นสอง มีศิลาจารึกราชวงศ์จิ้น เป็นข้อมูลล้ำค่าที่สุด แสดงประวัติการตั้งโรงเรียนหลวง มีรายชื่อครูและนักเรียน นอกจากนั้นมีบันทึกว่าจักรพรรดิเคยเสด็จทอดพระเนตรที่นี่ 3 ครั้ง จารึกลายนก ลายเป็นภาพสุริยุปราคา สมัยราชวงศ์ฮั่น สมัยราชวงศ์ฮั่น มีรูปยุ้งข้าวสำหรับเอาไว้ในสุสาน พิมพ์ของลูกศร สมัยนั้นเริ่มเป็นสมัยเหล็ก มีการถลุงเหล็กหลายแห่ง สมัยราชวงศ์สุยและถัง ในเมืองลั่วหยัง สมัยราชวงศ์สุยเมื่อ 1,500 ปีมาแล้วเน้นความสมดุลมีอาคารที่พระนางบูเช็กเทียนเคยประทับและทรงงานว่าราชการ แต่ภายหลังถูกไฟไหม้ ใน ค.ศ. 1980 พบซากรากฐาน
(น.126) รูป 92 ตุ๊กตานักดนตรี
(น.127) รูป 93 พระพุทธรูปลัทธิตันตระ
(น.127) อีกอย่างหนึ่งคือ ได้พบแผ่นทองจารึกพระนามของบูเช็กเทียน เรื่องมีอยู่ว่าพระนางประชวรหวัดอย่างรุนแรง จึงนึกขึ้นมาได้ว่าคงจะต้องทำสิ่งเลวร้ายอย่างใดอย่างหนึ่ง เคราะห์กรรมจึงบันดาลให้เป็นแบบนี้ จึงคิดล้างบาปโดยการนำแผ่นทองจารึกพระนามและให้ขันทีชื่อหูเชานำไปไว้ที่ภูเขาซงซานใน ค.ศ. 700 ใน ค.ศ. 1980 ชาวนาพบเข้านำมาให้พิพิธภัณฑ์ (เราสองคนเห็นจะบาปหนาจึงคัดจมูกกันทั้งปี แต่คงไม่มีเงินมาทำนามบัตรทอง ต้องทาวิกไปพลางๆ ก่อน) พระพุทธรูปในลัทธิมี่จง (ตันตระ) พระพักตร์งาม อวบอิ่มแบบผู้หญิงสมัยราชวงศ์ถัง มีพักตร์ 11 พระหัตถ์ 6

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 154 - 156

(น.154) พวกที่เริ่มสลักหินที่ถ้ำที่นี่คือ พวกทั่วป๋าเว่ย หรือที่ภาษาไทยเรียกเคลื่อนมาว่าโทปาเว่ย เป็นคนกลุ่มน้อยที่รับนับถือพุทธศาสนา อาจจะก่อนชาวจีนเสียด้วยซ้ำไป เริ่มสลักใน ค.ศ. 495 ในช่วงนี้พวกเว่ยย้ายศูนย์กลางการปกครองของแคว้นเว่ยเหนือจากเมืองต้าถงมาที่ลั่วหยัง เมื่ออยู่ที่ต้าถงได้แกะสลักพระพุทธรูปที่ถ้ำหยุนกั่ง (ที่ฉันจะได้ไปดูทีหลัง) หินปูนที่หลงเหมินแข็งกว่าที่หยุนกั่ง จึงสลักยากกว่า มีถ้ำ 3 กลุ่ม คือ ถ้ำกู่หยัง ปินหยัง และเหลียนฮวา หลังจากสมัยเว่ยก็สลักถ้ำต่อมาเรื่อยๆ ที่สำคัญที่สุดคือ สมัยราชวงศ์ถังตอนสมัยพระนางบูเช็กเทียน ซึ่งเป็นผู้มีศรัทธาแก่กล้าในพุทธศาสนา ผู้ที่อุปถัมภ์การสลักถ้ำคือ จักรพรรดิ พระราชวงศ์ ตระกูลที่ร่ำรวย เพื่อหวังทำบุญ นายพลที่ต้องการชัยชนะในสงคราม เขาว่าทั้งหมดมีของสมัยเว่ยราว 30% เท่านั้น เนื่องจากเราไม่ค่อยจะมีเวลา จึงได้ดูไม่หมด เข้าดูเพียงถ้ำปินหยัง (ที่จริงจะว่าเข้าไปดูเต็มที่ก็ไม่ได้ เพราะว่าเขากั้นไว้ไม่ให้เข้า ถามไกด์ก็บอกว่าไม่เคยเข้าเหมือนกัน) ถ้ำกลางเป็นถ้ำที่สลักในยุคต้นจักรพรรดิเซวียนอู่ทำบุญถวายพระราชบิดาและพระราชมารดา จารึกบอกไว้ว่าใช้กรรมกร 8 แสนกว่าคน สลักตั้งแต่ ค.ศ. 500 ถึง ค.ศ. 523 มี 3 ถ้ำ มีร่องรอยว่าสมัยก่อนคงจะระบายสีด้วย ถ้ำอีกสองข้างสร้างเสร็จสมัยราชวงศ์ถัง
(น.155) รูป 118 ถ่ายภาพที่วัดเฟิ่งเซียน
(น.156) ถ้ำ 140 มีพระพุทธรูป 3 องค์ เสร็จแต่รูปพระศากยมุนี สมัยนั้นแฟชั่นยังชอบผอมๆ มาสมัยราชวงศ์ถังจึงชอบอ้วนๆ บริเวณที่ว่างเปล่าหลังรูปพระทำเป็นรูปนางอัปสรเหาะเหมือนที่ถ้ำตุนหวง ถ้ำที่นี่ถูกทำลายมาก ทั้งที่พังเสียหายตามธรรมชาติและถูกคนทำลาย เริ่มตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อมีการรบบ่อยๆ และภายหลังพวกฝรั่งที่มาเก็บของไปศึกษาหรือเอาไปเก็บไว้ เขาว่ามีของที่นี่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่นิวยอร์ก Metropolitan Museum และที่ Nelson Art Museum ที่แคนซัส (รูปจักรพรรดิและพระมเหสีเสด็จมาบูชาพระพุทธเจ้า) ถ้ำ 159 มีรูปเจดีย์ (ถ่า) ราว 40 องค์ ขึ้นบันไดไปที่พระองค์ใหญ่ อยู่บริเวณที่เรียกว่าวัดเฟิ่งเซียน สร้างราว ค.ศ. 675 ไกด์แนะนำให้ถ่ายรูป มีรูปพระไวโรจนะ พระกาศยปะและพระอานนท์ อยู่สองข้าง พระมัญชุศรี (เหวินซู) ข้างหนึ่ง ส่วนอีกข้างละ 2 เป็นจตุโลกบาล พระพุทธรูปเหล่านี้พระนางบูเช็กเทียนพระราชทานพระอุปถัมภ์ ใช้เงินทองไปมากมาย บางคนว่าหน้าตาพระประธานเหมือนพระนาง ให้ดูแค่นี้เขาบอกว่าหมดเวลาไปได้แล้ว ตอนที่สมเด็จป้าเสด็จ ได้ทอดพระเนตรมากกว่านี้มาก ตอนนี้น้ำในแม่น้ำไม่ค่อยมี ชาวบ้านก็เลยปลูกข้าวสาลีอยู่บนท้องแม่น้ำ

มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 62

(น.62) รูป55. กล่าวตอบท่านรองผู้ว่าราชการมณฑล
(น.62) พูดกันถึงเรื่องเส้นทางแพรไหม ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์บอกว่าท่านรองผู้ว่าราชการเป็นนักประวัติศาสตร์มีชื่อคนหนึ่งของจีน ได้เขียนบทความต่าง ๆ เอาไว้มาก มิน่าเล่าท่านถึงได้อธิบายได้ละเอียดลึกซึ้ง ท่านว่าในประวัติศาสตร์ก่อนและหลังคริสตกาล 1,000 ปี รวม 2,000 ปี เมืองซีอานเป็นนครหลวงกว่าครึ่ง ที่สำคัญ คือ ราชวงศ์โจว ฮั่น และราชวงศ์อื่น ๆ อีกหลายราชวงศ์ รวม 11 ราชวงศ์ ข้าพเจ้าจะได้ไปชมสุสานเม่าหลิง ราชวงศ์ฮั่น มีศิลาจารึกที่มีชื่อเสียง จะได้ดูสุสานเฉียนหลิงของบูเช็กเทียน จักรพรรดินีองค์เดียวที่ครองราชย์อยู่นาน 21 ปี (ค.ศ.684-705)

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 76, 82

(น.76) ตู้เย็น เครื่องคิดเลข ถลุงเหล็ก โรงงานทำอาวุธ เมื่อ 2 วันก่อนที่มีการส่งดาวเทียมนั้น สถานีที่ตรวจเช็คการทำงานของดาวเทียมก็อยู่ที่นี่ ทำหน้าที่ควบคุมให้ดาวเทียมเข้าวงจร (การดูแลส่วนอื่น ๆ บริษัทของสหรัฐเป็นผู้ดูแล) บางชิ้นส่วนของจรวดก็ทำที่ซีอาน สำหรับอุตสาหกรรมเบา มีการผลิตสุราที่ประกวดชนะทั้งประเทศ สุราทำจากข้าวเหนียวดำ มีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ส่านซีเป็นมณฑลที่มีรูปร่างยาวแต่แคบ ฉะนั้นสภาพทางภูมิศาสตร์ คือภูมิประเทศและภูมิอากาศจะต่างกันมาก ทางเหนือเป็นทะเลทราย ดินสีเหลือง และเป็นเนินสูง พืชที่ปลูกจะเป็นข้าวฟ่าง ข้าวโพด เกาเหลียง เป็นข้าวเม็ดใหญ่ ทำเหล้าเกาเหลียงอันขึ้นชื่อ มีแอลกอฮอล์ 60 º ภาคกลางเป็นที่ราบปลูกข้าวสาลีและข้าวโพดได้ดี ส่วนทางใต้เป็นภูเขาสลับกับที่ราบ ปลูกข้าวเจ้า มีข้าวสาลีบ้าง แต่มีจำนวนน้อย ทางเหนือมีทรัพยากรถ่านหินมาก เป็นถ่านหินอย่างดีไม่มีสิ่งเจือปน ระหว่างที่คุณหันเล่า ข้าพเจ้าก็ชมวิวไปพลาง สองข้างทางมีสีสันชวนมอง สีเขียวของต้นข้าวสาลี ดอกน้ำมันสีเหลือง ต้นสาลี่ออกดอกขาว ข้าวออกดอกชมพู ข้างทางมีเตาเผาอิฐมาก ชาวข้านเขาใช้อิฐมาก คุณหันเล่าเรื่องสุสานเฉียงหลิงที่เรากำลังจะไปให้ฟังอย่างย่อ ๆ ว่าเป็นสุสานของพระจักรพรรดิถังเกาจง (หลี่จื้อ) จักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 628 – 683) และจักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียน หรือบูเช็กเทียน (ค.ศ. 624 – 705) สุสานนี้อยู่บนเขาเหลียงซานอยู่ห่างอำเภอเฉียนเซียนไป 6 กิโลเมตร ถังเกาจงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของหลี่ซื่อหมิ่น (ถังไท่จง) จักรพรรดิองค์ที่ 2 ของราชวงศ์ถัง ได้ขึ้นครองราชย์เมื่อ ค.ศ. 649 สวรรคตใน
(น82.) ลายแกะสลักหินเขาก็ทำได้สวยและละเอียดดี เมื่อเข้าไปลึกที่สุดเป็นโลงศพทำด้วยหินจำพวกหินอ่อน สีเขียวแก่ (จนเป็นสีดำ) ฝาถูกขโมยไปแล้ว! ลวดลายเครือเถาบางส่วนเหมือนลายของฝรั่ง ลวดลายบางอย่างอาจารย์หวางอธิบายว่าเป็นลายแบบกรีก ห้องที่ไว้โลงนี้ทำเลียนแบบห้องบรรทมเมื่อยังมีพระชนม์อยู่ เพดานเป็นรูปโค้งเปรียบเสมือนเป็นท้องฟ้า มีพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาว และทางช้างเผือก ห้องข้างในนี้อากาศเย็นมาก ทำให้ข้าพเจ้าคิดถึงเรื่องมังกรหยกตอนที่เอี้ยก้วย กับนางเสี่ยวเล่งนึ้งไปฝึกวิชาอยู่ในกู่มู่ นอนบนแท่นหยกซึ่งเย็นเยือกที่เขาบรรยายไว้ มีผู้อธิบายว่าได้พบกระดูกเจ้าหญิงด้วย และเอาไปวิจัยที่สถาบันค้นคว้าโบราณวัตถุในซีอานถึงสาเหตุการตาย บอกว่าออกลูกตายเพราะเชิงกรานแคบ ข้อนี้ทำให้งงนิดหน่อย เพราะข้าพเจ้าได้อ่านในเอกสารที่เขาแจกมาบอกว่าเจ้าหญิงไปวิจารณ์จักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียนว่ามีแฟนแยะ ย่าก็เลยจับประหาร เมื่อพระราชบิดาได้บัลลังก์ก็ได้เฉลิมพระนามเจ้าหญิงเป็นหย่งไท่และนำพระศพมาฝังที่นี่ เอกสารนี้แจกทั่วไป พิมพ์เป็นครั้งที่สองแล้ว น่าจะเชื่อถือได้มากกว่า อย่างไรก็ตามต้องค้นคว้าต่อไป ข้าพเจ้ายกเรื่องนี้มาพูดเพื่อให้เห็นความลำบากในเรื่องหลักฐานประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นคว้าของคนที่มาเที่ยวเพียงชั่วครู่ชั่วยามอย่างข้าพเจ้า ขาออกจากสุสานก็ชมภาพผนังไปเรื่อย ๆ มีภาพขันที กองเกียรติยศติดอาวุธมีหัว 2 แฉก ซึ่งเป็นเครื่องบอกฐานะ ถ้าเป็นของจักรพรรดิจะมี 8 ด้าม ของเจ้าหญิงมีแค่ 6 สีของเสื้อก็แสดงฐานะของบุคคล สีแดงเข้มเท่ากับรัฐมนตรีในปัจจุบัน สีเขียวเป็นอธิบดี ลวดลายก็เป็นเครื่องแสดงฐานะ เชื้อพระวงศ์จึงใช้ลายมังกร ลายหงส์ได้ ลายมังกรสีเขียวเสื้อสีขาวเป็นสัตว์ที่เป็นสิริมงคล ในสุสานได้พบตุ๊กตาจำลองที่แสดงชีวิตประจำวันทำด้วยดินเผา

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 120,121

(น.120) รูป87. ขึ้นไปถึงยอดเจดีย์ห่านฟ้าเล็ก ไก๊ด์อธิบายว่าวัดที่นี่สร้างขึ้นในค.ศ. 684 เพื่อเป็นที่ทำพิธี 100 วัน พระบรมศพพระจักรพรรดิถังเกาจง ชื่อว่าวัดเซี่ยนฟู่ หมายถึงวัดสำหรับทำพิธีบูชาเพื่อให้ความสุข ตอนนั้นพระจักรพรรดิถังจงจงยังครองราชย์อยู่ครองได้ไม่นานจักรพรรดิอู่เจ๋อเทียนพระมารดาก็ขึ้นครองแทน และให้วัดนี้เป็นวัดหลวง สำหรับเจดีย์ห่านฟ้าเล็กเป็นของหลวงจีนอี้จิงซึ่งไปจาริกแสวงบุญและไปสืบหาพระคัมภีร์ที่อินเดีย ในตอนนั้นพระถังซำจั๋งกลับมาแล้ว หลวงจีน
(น.121) อี้จิงไปลงเรือที่กวางตุ้ง ใน ค.ศ. 671 เดินทางผ่านมะละกาไปอินเดีย เรียนอยู่ทีอินเดียเป็นเวลาถึง 25 ปี แสดงให้เห็นว่าสมัยราชวงศ์ถังน่าจะมีเส้นทางแพรไหมทั้งทางบกและทางทะเล บุคคลสำคัญคนหนึ่งที่เดินทางตามเส้นทางแพรไหมทางบกได้แก่ พระถังซำจั๋ง ส่วนผู้ที่เดินทางเรือที่สำคัญคือ หลวงจีนอี้จิง เมื่อท่านกลับมาถึงประเทศจีนใน ค.ศ. 695 ท่านได้เดินทางไปที่ลั่วหยาง ขณะนั้นพระจักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียนประทับอยู่ลั่วหยาง ไปรับพระอี้จิงด้วยพระองค์เอง พระอี้จิงได้ตามเสด็จกลับมาเมืองฉางอานเพื่อแปลคัมภีร์ในวัดนี้ เมื่อ ค.ศ. 705 จักรพรรดิอู่เจ๋อเทียนสวรรคต จักรพรรดิจงจงได้ขึ้นครองราชย์อีกครั้ง หลวงจีนอี้จิงแปลคัมภีร์ไปได้ 56 ม้วน 230 เล่ม ถึง ค.ศ. 707 จึงได้สร้างเจดีย์ ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี การก่อสร้างเจดีย์ห่านฟ้าเล็กใช้วัสดุคล้ายคลึงกับเจดีย์ห่านฟ้าใหญ่ของพระถังซำจั๋ง แต่รูปแบบต่างกัน และการก่อสร้างเจดีย์ห่านฟ้าเล็กทำอย่างประณีตกว่า เจดีย์ห่านฟ้าเล็กชำรุด เพราะมีแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง 1. สมัยราชวงศ์หมิง ค.ศ. 1487 แผ่นดินไหว ระดับ 6 (ทราบได้อย่างไร) แผ่นดินไหวครั้งนี้ทำให้เกิดรอยร้าวตรงกลาง 2. ค.ศ. 1521 แผ่นดินไหวอีกครั้ง รอยร้าวที่มีอยู่เลยปิดสนิทไปเองโดยธรรมชาติ ทำให้มีการเล่าลือกันในหมู่ประชาชนว่าเทวดามาช่วยปิด 3. ค.ศ. 1556 แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ระดับ 8 ยอดเจดีย์พังลงมา เจดีย์นี้จึงไม่มียอด ไม่ได้บูรณะมา 400 ปีแล้ว น้ำฝนไหลมาตามช่อง ช่องจึงโตขึ้นจนเกือบเหมือนช่องหน้าต่าง สมัยนี้ได้มีการสำรวจดู ปรากฏว่าเจดีย์นี้ไม่มีการเอียงข้าง ยังตรงดี ๆ อยู่ ตามที่นักโบราณคดีสำรวจอิฐ บอกว่า 99% เป็นของสมัยราชวงศ์

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 223

(น.223) 3. ศิลปกรรม ทั้งด้านจิตรกรรมและประติมากรรม (ด้านลวดลาย) 4. การศึกษาเอกสารต่างๆ ทั้งด้านประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ ดาราศาสตร์ การแพทย์ เป็นต้น 5. เรื่องดนตรีและการฟ้อนรำ ดูจากแผนที่แสดงวิวัฒนาการของวัฒนธรรมการแสดงทุกยุคทุกสมัย สถาบันมีพนักงาน 210 คน มีนักวิจัย 100 กว่าคน 26 คนเป็นศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ กิจกรรมยังอยู่ในช่วงพัฒนา จะเล่าให้ฟังตอนที่เข้าดูถ้ำ จากนั้นนั่งรถไปถ้ำ เห็นเจดีย์โบราณมากมาย คุณเฉิงบอกว่าเป็นที่ฝังศพพระสมัยก่อน อาจารย์ต้วนอธิบายว่ามีเวลาน้อย ถ้ำทั้งหมดมีอยู่ 492 ถ้ำ แต่จะให้ดูได้แค่ 8 ถ้ำ (เวลาดูจริงๆ อาจารย์เพิ่มให้เป็น 10 ถ้ำ) เฉพาะที่ท่านคิดว่าข้าพเจ้าจะสนใจ เช่น พระพุทธรูปสมัยอู่เจ๋อเทียน (บูเช็กเทียน) แต่ก็บูรณะกันมาจนไม่เหมือนเดิมไปแล้ว พระพุทธรูปองค์นี้ใหญ่เป็นที่ 4 ของโลก องค์ที่ 1 อยู่ที่เขาลั้วซาน เสฉวน สูง 70 กว่าเมตร องค์ที่ 2 สูง 53 เมตร อยู่อัฟกานิสถาน องค์ที่ 3 อยู่ที่ปามีร์ ปากีสถาน สูง 35 เมตร องค์ที่ 4 คือองค์นี้ สูง 33 เมตร สร้างสมัยราชวงศ์ถัง มีระเบียงสำหรับเดินเข้าไปในถ้ำ สมัยก่อนเป็นไม้แต่ผุพังไปหมดแล้ว ซ่อมแซมใหม่เป็นซีเมนต์ บูรณะประมาณ ค.ศ. 1960 กว่าๆ อดีตนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลให้งบประมาณถึงล้านหยวน เฉลียงที่สร้างขึ้นใหม่จะมีความมั่นคง ทนแผ่นดินไหวระดับที่ 7 ได้ ถ้ำมี 4 ชั้น ก่อนอื่นเราเข้าไปที่ถ้ำ 158 ถ้ำนี้มีทั้งสมัยราชวงศ์ถังตอนกลางและราชวงศ์เซี่ย มีพระนอนองค์ใหญ่ ด้านหลังพระนอนปางปรินิพพานหัน

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 369

(น.369) รายพระนามพระจักรพรรดิที่กล่าวถึงใน “มุ่งไกลในรอยทราย” และปีที่ครองราชย์ ราชวงศ์ฉิน ฉินซื่อหวงตี้ (จิ๋นซีฮ่องเต้) เจ้าผู้ครองแคว้นฉิน ก่อน ค.ศ. 246 - 221 จักรพรรดิองค์แรกของ ราชวงศ์ฉินก่อน ค.ศ. 221 – 210 ราชวงศ์ฮั่น ฮั่นอู่ตี้ ก่อน ค.ศ. 140 – 87 ราชวงศ์ถัง ถังไท่จง ค.ศ. 626 – 649 ถังเกาจง ค.ศ. 649 – ปลาย ค.ศ. 683 ถังจงจง ค.ศ. 684 ครองราชย์ได้เพียงเดือนเศษก็ถูกพระนางอู่เจ๋อเทียน (บูเช็กเทียน) ซึ่งเป็นพระราชมารดาปลดออกจากตำแหน่ง ถังรุ่ยจง ค.ศ. 684 – 690 เป็นจักรพรรดิแต่ในพระนามอำนาจการปกครอง อยู่ที่พระนางอู่เจ๋อเทียน จักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียน ค.ศ. 690 – 705 (ตั้งนามราชวงศ์ว่าโจว) ถังจงจง ค.ศ. 705 – 707 พระมเหสีของจักรพรรดิถังจงจง และพระญาติของพระนาง (ตระกูลเว่ย) ยึดอำนาจการปกครองอยู่ 3 ปี ค.ศ. 707 – 710 ถังรุ่ยจง ค.ศ. 710 – 712 ถังเสวียนจง (หมิงหวง) ค.ศ. 712 – 756

ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 50

(น.50) รูป 50 จำลองพระพุทธรูปจากถ้ำ
(น.50) ของราชวงศ์ถัง กษัตริย์จีนราชวงศ์ถังตั้งเจ้าเมืองที่ปกครองแถบนี้ (มีจารึก) จารึกที่น่าสนใจคือจารึกที่เขียนในรัชสมัยพระนางอู๋เสอเทียน (บูเช็กเทียน) คือคำว่า กว๋อ ที่แปลว่า ประเทศ ใช้ตัวอักษร แทนตัว 國 ซึ่งใช้เช่นนี้จนสิ้นราชวงศ์หมิง ที่ให้ใช้ตัว เพราะอักษร 方 ที่อยู่ด้านในสี่เหลี่ยม หมายถึง ทิศ คือ การคุมอำนาจได้ 4 ทิศ จารึกปี ค.ศ. 766 เล่าประวัติอาณาจักรน่านเจ้าอยู่ที่เต๋อหัวเหนือไท่เหอ 5 กิโลเมตรจากพิพิธภัณฑ์นี้ อีกห้องแสดงศิลปะน่านเจ้าและต้าหลี่ มีรูปโบราณสถาน ในแถบถ้ำบริเวณอำเภอเจี้ยนชวน มีถ้ำที่สำคัญอยู่ 16 แห่ง มีพระพุทธรูป 130 รูป มีรูปพระอินเดียที่เล่าเรื่องกันมาว่าเป็นกวนอิมแปลงกายมา ถือแจกันและก้านต้นหลิว มีพระพุทธรูปพระศากยมุนีและพระสาวก รูปแม่ทัพ รูปวิมลเกียรติ

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 327

(น. 327) การไปชมเมืองเซ่าซิงทำให้ข้าพเจ้านึกถึงบทกวีชื่อ หุยเซียงโอ่วซู หรือ เขียนเขียนไปเมื่อกลับบ้านเกิด ที่ข้าพเจ้าเรียนและแปลไว้ตั้งแต่เมื่อ พ.ศ. 2525 ตอนที่เรียนอาจารย์บอกว่า เป็นบทกวีสมัยราชวงศ์ถัง กวีที่เขียนชื่อ เฮ่อจือจาง (ค.ศ. 659 – 744) เป็นชาวเซ่าซิง และเป็นเพื่อนกับหลี่ไป๋ เฮ่อจือจางมีพรสวรรค์ในการประพันธ์ เขียนบทกวีมาตั้งแต่เยาว์วัย และเขียนต่อเนื่องมาจนมีชื่อเสียง ชอบดื่มเหล้า เป็นหนึ่งในกวี 8 คนที่เป็นเซียนขี้เมาในสมัยราชวงศ์ถัง ในด้านการงานสอบได้เป็นจิ้นซื่อเมื่อ ค.ศ. 695 สมัยจักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียน หรือบูเช็กเทียน (ค.ศ. 684 – 705) จึงได้เข้ารับราชการเป็นขุนนาง ซึ่งดำเนินไปด้วยดี จนได้เป็นขุนนางผู้ใหญ่ ตอนที่ลาออกจากราชการนั้นอายุ 80 กว่าปี จักรพรรดิถังเสวียนจงจัดงานเลี้ยงส่งและเขียนบทกวีให้ด้วย นอกจากจะเป็นกวีที่มีชื่อเสียงแล้ว ยังได้รับยกย่องว่าเขียนตัวอักษรจีนสวย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนแบบหวัด บทกวี หุยเซียงโอ่วซู เขียนพรรณนาว่า
จากบ้านเมื่อเยาว์วัย กลับมายามชรา
ยังคงสำเนียงท้องถิ่น แต่จอนผมบาง
เด็กเด็กพานพบก็ไม่รู้จัก
ถามยิ้มยิ้ม แขกท่านนี้มาจากไหน
คำอ่านภาษาจีน
เส้าเสี่ยวหลีเจียเหล่าต้าหุย
เซียงอินอู๋ไก่ปิ้นเหมาชุย
เอ๋อร์ถงเซียงเจี้ยนปู้เซียงซื่อ
เสี้ยวเวิ่นเค่อฉงเหอชู่ไหล