Please wait...

<< Back

ราชวงศ์ถัง

จากหนังสือ

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 35

(น.35) เอกสารสมัยราชวงศ์ถัง แสดงให้เห็นถึงวิธีการซ่อมเอกสารเก่า จะต้องหากระดาษใหม่ที่มีความบางเท่ากระ ดาษเก่า เมื่อติดเข้าด้วยกันแล้วจะได้เป็นเนื้อเดียวกัน สะดวกต่อการดูแลรักษาต่อไป ถ้าไม่ทำเช่นนี้จะเสียหายได้ง่าย

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 2 เหลียวหนิง หน้า 29-31

(น.29) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งมณฑลเหลียวหนิง
(น.29) ห้องที่ 5 สมัยเว่ย จิ้น จนถึงถัง (คริสต์ศตวรรษที่ 3-8) ของที่ตั้งแสดงมีจานฝนหมึก ภาชนะ เครื่องประดับ คนแถวเหลียวหนิงตะวันตกเรียกว่าพวกเซียนเปย เป็นบรรพบุรุษของพวกหนู่เจิน พวกนี้เป็นเผ่าพันธุ์ใกล้เคียงกับพวกกลุ่มชนที่อยู่



(น.30) รูป 46 หินหลุมศพ

(น.30) แถวๆ ตุนหวง มณฑลกานซู พบหลุมศพน้องกษัตริย์ ของที่พบมีแก้วมาจากทางตะวันตก เข้าใจว่าแถวๆโรม ฉะนั้นถือได้ว่าเส้นทางแถบนี้ต่อมาจากเส้นทางสายแพรไหม มีพระราชลัญจกรทองคำ หมวกทองคำ (มีช่อดอกไม้ทองคำประดับที่ยอดหมวก) มีลักษณะคล้ายๆกับหมวกที่พบในอัฟกานิสถาน อุปกรณ์การขี่ม้า เช่น บังโกลน สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องใช้ของคนในสังคม เลี้ยงสัตว์เร่ร่อนในทุ่งหญ้า


(น.31) รูป 47 หินหลุมศพ

(น.31) สมัยนี้ทางตะวันตกของมณฑลมีถ้ำพระพุทธรูป พุทธศาสนาเข้ามาทางตะวันตกประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 4 ตามเส้นทางแพรไหมสายทุ้งหญ้า โดยที่คนกลุ่มน้อยนำเข้ามา มีศิลาจารึกวางบนหลังเต่า สมัยราชวงศ์เหนือ-ใต้ สิ่งที่แปลกอย่างหนึ่งคือ รองเท้าหนามสำหรับเดินบนหิมะ สมัยสุยและถังมีเครื่องเคลือบ 3 สี พิพิธภัณฑ์แสดงรูปจำลองหลุมศพ พบในเฉาหยางซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเหลียวหนิง หลุมศพสมัยนี้มีตุ๊กตาเช่นเดียวกับสุสานจิ๋นซี แต่ตัวขนาดเล็ก

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน หน้า 81-82

(น.81) พิพิธภัณฑ์มณฑลจี๋หลิน
ตู้ต่อไปเป็นเรื่องราชวงศ์โป๋ไห่ ตอนราชวงศ์ถังของจีนมีอำนาจ มีเข็มขัดทอง (คนตายเป็นเชื้อพระวงศ์) ส่งพระโอรสไปเรียนที่ราชสำนักถัง มีภาพทูตราชวงศ์ถังนำพระราชโองการของกษัตริย์โป๋ไห่ มีการชนแก้วกัน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องดินเผาปากเบี้ยว มีผู้พบสุสานเจ้าหญิงโป๋ไห่ มีภาพวาดและจารึกภาพคน 4 คน อธิบายว่าเป็นองครักษ์ประจำเป็นหญิงแต่งเป็นชาย และมีแท่นบูชาทางพุทธศาสนา

(น.82) ขึ้นไปชั้นบนมีเรื่องราชวงศ์เหลียว มีทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ได้จดภาษาอังกฤษมาบ้าง The Organisational System of Liao บรรพบุรุษเป็นชนเผ่าฉีตาน ต่อมารวมชาติเปลี่ยนชื่อประเทศจากฉีตานเป็นเหลียว สถาปนาการปกครองเป็นกรมการเมืองฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ มีรัฐบาลกลางควบคุม มีรูปถ่ายสถานที่เมืองโบราณ 4 เมือง ตอนนี้ดูเป็นแต่กองดิน พบวัตถุโบราณ เช่น กระเบื้องมุงหลังคา หน้ามังกร เจดีย์ ดินเผาเรียกว่าว่านจินถ่า วังใต้ดิน ภาพวาดกษัตริย์ล่าสัตว์ ทุกคนไว้ผมแกละ 2 ข้าง เหรียญเงิน ชาวฉีตานเคยอยู่ในทุ่งหญ้าขี่ม้ามาก่อน ฉะนั้นสิ่งของเกี่ยวกับการขี่ม้าจึงเป็นของสำคัญ เช่น อานม้าต้องทำให้สุดฝีมือ เครื่องปั้นดินเผาสำหรับใส่น้ำแขวนข้างม้า รูปร่างเลียนแบบของโบราณซึ่งเป็นหนัง เครื่องเซรามิกเคลือบสีขาว โอ่งรูปขาไก่สำหรับใส่น้ำ ภาพวาดสมัยเหลียว ได้อิทธิพลทั้งสมัยถังและซ้อง สุสานหมายเลข 1 พบ ค.ศ. 1971

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 6,70-71

(น.6) อาณาจักรโป๋ไห่ พบที่ปาเป่าหลิว เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองทางตะวันออก มีหีบเหล็กสำหรับใส่กระดูก พบที่อำเภอหนิงอัน สมัยนั้นตรงกับราชวงศ์ถังซึ่งกำลังรุ่งเรือง โอรสของกษัตริย์แห่งอาณาจักรโป๋ไห่ก็ได้ไปศึกษาที่ฉางอาน มีบทกวีบทหนึ่งกล่าวถึงการส่งโอรสอาณาจักรโป๋ไห่กลับประเทศ มีอิทธิพลทางพุทธศาสนาอยู่มาก เช่น ที่อำเภอหนิงอัน พบพระพุทธรูปกาไหล่ทอง

(น.70) ในสมัยราชวงศ์ถัง บริเวณหมู่บ้านตานเจียง อำเภอหนิงอัน เป็นที่ตั้งของประเทศโป๋ไห่ซึ่งเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญมาก ปัจจุบันมีร่องรอยประวัติศาสตร์เหลืออยู่ที่ซ่างจิง มีนิทาน

(น.71) เรื่องโป๋ไห่สืบทอดกันมา มีเรื่องงิ้วที่ส่งไปแสดงที่ฮ่องกงเกี่ยวกับพระราชธิดากษัตริย์โป๋ไห่ซึ่งมีความงามและความสามารถ

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 98-99

(น.98) เข้าชมพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เมืองอ้ายฮุย ซึ่งแสดงความเป็นมาของเมืองนี้ในด้านต่างๆ เรื่องแรกที่ได้ชมกล่าวถึงรอบๆ บริเวณที่เคยเป็นที่บัญชาการของแม่ทัพเฮยหลงเจียงมาแต่ ค.ศ.1683 ในสมัยราชวงศ์ชิงนั้น มีมนุษย์ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่มาแต่ครั้งโบราณ ขุดค้นพบเครื่องมือหิน หัวลูกศร หัวธนู มีบันทึกประวัติศาสตร์ว่า หัวธนูพวกนี้เป็นบรรณาการส่งเข้าเมืองหลวงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว นอกจากนั้นได้กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดการปกครองและการทหารของเมืองอ้ายฮุยตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ยเหนือมาจนถึงสมัยราชวงศ์ชิง
สมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ค.ศ.386-534) มีตำแหน่งแม่ทัพประจำที่เมืองอ้ายฮุย

(น.99) สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618-907) มีกองทัพประจำการที่นี่

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 5 หน้า 12

(น.12) ราชวงศ์ที่ปกครองจีน
12. ราชวงศ์ถัง ค.ศ. 618 – 907

แกะรอยโสม
แกะรอยโสม หน้า 162-163

(น.162) วัดหยุนจู สร้างขึ้นในสมัยช่วงคาบเกี่ยวกันระหว่างตอนปลายราชวงศ์สุย ต้นราชวงศ์ถัง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่าวัดซีหยูว อยู่ที่หมู่บ้านฉุ่ยโถว ตำบลฝังชาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของปักกิ่ง

(น.163) สิ่งสำคัญที่สุดในวัดนี้ก็คือแผ่นศิลาจารึกพระไตรปิฎก เข้าใจว่าแผ่นศิลาจารึกนั้นมิได้มีเฉพาะแต่พระไตรปิฎก จะมีประวัติการสร้างพระไตรปิฎกนี้ด้วย จึงทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ พุทธศาสนา การสลักพระไตรปิฎกนี้ก็ไม่ได้ทำเสร็จภายในคราวเดียวกัน เขาว่าทำในราชวงศ์สุย ถัง เหลียว จิน หยวน หมิง ชิง และน่าภาคภูมิใจว่าเป็นพระไตรปิฎกภาษาจีนที่สมบูรณ์ที่สุด วัดนี้อยู่ระหว่างการบูรณะฟื้นฟู ค่าใช้จ่ายมาจากเงินบริจาคของราษฎร และการอุดหนุนของรัฐบาล เขาว่าที่นี่เป็นถ้ำตุนหวงของปักกิ่งทีเดียว

คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 9

(น.9) เมืองแต้จิ๋วเป็นเมืองเก่าแก่ ตั้งขึ้นเมื่อประมาณศตวรรษที่ 3 เป็นเขตห่างไกลล้าหลัง ต่อมาในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 ตรงกับปลายราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420) ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางการปกครองแห่งหนึ่งในดินแดนตะวันออกเฉียงใต้ และมาเจริญรุ่งเรืองมากในราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) เมืองแต้จิ๋วได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งป็นมณฑลที่มีสภาพทำเลที่ตั้งที่เปิดกว้างต่อการติดต่อกับต่างประเทศ

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 38,40-41,44

(น.38) ศาลเจ้าหันเหวินคง อยู่บนเนินเขา ข้างๆ วิทยาลัยครูหันซาน หันเหวินคง คือ หันหยู (ค.ศ. 768-824) นักประพันธ์และกวีสมัยราชวงศ์ถัง เกิดที่เมืองเมิ่งเซี่ยน มณฑลเหอหนาน เป็นนักประพันธ์ร้อยแก้วคลาสสิกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดหลังจากสมัย

(น.40) เขารับราชการในรัชสมัยของจักรพรรดิถังเซี่ยนจง (ค.ศ. 806-820) จนมีตำแหน่งเป็นเสนาบดีฝ่ายการศึกษา แต่ประสบปัญหาทางการเมืองจึงต้องย้ายออกจากนครฉางอานหรือซีอาน เมืองหลวงสมัยนั้น เมื่อกลับฉางอานได้ร่วมปราบกบฏที่ฮ่วยซี เขาเขียนจารึก (ผิงฮ่วยซี) ใน ค.ศ. 817 เล่าเหตุการณ์ จารึกนี้แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องระหว่างแนวทางด้านวรรณศิลป์ ปรัชญา กับแนวคิดทางการเมืองของเขา เห็นจะเป็นด้วยความภูมิใจในความสำเร็จในการปราบกบฏและความจงรักภักดีต่อจักรพรรดิ ใน ค.ศ. 819 เขาจึงกล้าเขียน หลุนโฝกู่เพี่ยว คือ บันทึกเรื่องพระบรมธาตุ กล่าวตำหนิการที่จักรพรรดิทรงบูชาพระบรมธาตุว่าเป็นอันตรายต่อพระชนม์ชีพ ทั้งยังเตือนจักรพรรดิว่าศาสนาในแผ่นดินถังไม่ได้มีเฉพาะพุทธศาสนา จักรพรรดิควรพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ศาสนาต่างๆ ให้เสมอกัน การเขียนเช่นนี้ถือเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างร้ายแรง ถ้าไม่มีคนช่วย เห็นจะต้องถูกประหารชีวิตแน่ๆ เขาถูกเนรเทศให้ไปเป็นเจ้าเมืองที่แต้จิ๋ว ขณะนั้นแต้จิ๋วเป็นเมืองทุรกันดาร ห่างไกลการคมนาคม ประชาชนยากจน การไปรับราชการอยู่ในที่เช่นนั้น ถือเป็นการลงโทษ เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าสังเกตว่าการส่งคนไปรับราชการอยู่ที่ห่างไกลทุรกันดารควรเป็นคนอย่างไร ข้าพเจ้าได้ยินอยู่เสมอว่า

(น.41) คนที่กระทำความผิดมักจะถูกย้ายไปอยู่ที่ไกลและทุรกันดาร ส่วนคนดีมีความชอบก็อยู่ในพระนคร ถึงงานในพระนครเป็นงานที่มีความรับผิดชอบสูง แต่งานในเขตห่างไกลก็สำคัญไม่น้อย ถ้าคนไม่ดีไปอาจจะไปกดขี่ประชาชนโดยส่วนกลางไม่รับรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยที่เส้นทางการคมนาคมและโทรคมนาคมยังไม่สะดวก เมื่อหันหยูไปถึง ได้ไปพัฒนาบ้านเมือง จนเป็นเรื่องที่คนเล่าขานกันมาจนถึงทุกวันนี้คือ
1. การศึกษา แต่ก่อนประชาชนไม่มีความรู้ ขาดการศึกษา จึงใช้เงินตนเองสร้างสถานศึกษาให้ผู้มีอาวุโสในท้องถิ่นช่วยกันดูแลรับผิดชอบ เนื่องจากเจ้าเมืองเป็นข้าราชการ ย่อมโยกย้ายเปลี่ยนไปตามแต่ทางราชการเห็นสมควร แต่ผู้อาวุโสท้องถิ่นเป็นผู้อยู่ประจำ ตั้งแต่นั้นสภาพของท้องถิ่นก็เปลี่ยนไป กลายเป็นแหล่งนักปราชญ์ สมัยราชวงศ์ถัง มีผู้สอบราชการระดับจิ้นซื่อได้ 3 คน พอถึงราชวงศ์ซ่ง มีถึง 142 คน
2. ปราบจระเข้ในแม่น้ำหัน แม่น้ำสายนี้เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญ ประชาชนต้องใช้เรือสัญจรไปมา จระเข้มักมาคว่ำเรือ ลากคนไปกินจนชาวบ้านเรียกว่า แม่น้ำดุ (ภาษาจีนว่า เอ้อร์) มีเรื่องเล่าว่าเมื่อหันหยูมาถึงเขาเขียนหนังสือทิ้งลงไปในน้ำบอกจระเข้ไม่ให้มารบกวนผู้คน แต่ก็ไม่เป็นผล เลยใช้ธนูอาบยาพิษยิงจระเข้ทีละตัวจนหมด ตั้งแต่นั้นจึงเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า แม่น้ำหัน ตามชื่อของหันหยู และเรียกภูเขาว่าหันซานด้วย

(น.44) ที่หมายที่ 3 วัดไคหยวน ต้องยอมรับว่าตอนนี้ชักจะเหนื่อยแล้ว จดหรือดูอะไรไม่ค่อยจะรู้เรื่อง จากศาลเจ้าหันเหวิน เราข้ามแม่น้ำหัน ผ่านประตูเมืองเก่า เข้าซอยทางประตูเล็กข้างๆ สองข้างทางเป็นห้องแถวขายของสารพัดอย่างมากมายยาวสุดลูกหูลูกตา วัดนี้กล่าวกันว่าสร้างในสมัยราชวงศ์ถังราว ค.ศ. 738 สมัยจักรพรรดิถังสวนจง (หมิงตี้) บางส่วนเป็นศิลปะสมัยราชวงศ์ซ่งและหยวน แต่ก่อนเคยมีเนื้อที่ร้อยกว่าโหม่ว แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 20 โหม่ว ถูกรุกที่บ้าง เอาไปทำอย่างอื่นบ้าง

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 63,73

(น.63) พิพิธภัณฑ์สุสานกษัตริย์หนานเยว่
ตู้แสดงพระราชลัญจกร ซึ่งมีรูปมังกรอยู่ด้านบน กว้าง 3.1 เซนติเมตร ยาว 3 เซนติเมตร หนา 1.8 เซนติเมตร หนัก 148.5 กรัม มีตัวอักษรจารึกว่า เหวินตี้ นับว่าเป็นพระราชลัญจกรที่ใหญ่ที่สุด เดิมไม่ชอบทำใหญ่เพราะต้องพกติดตัวไปไหนๆ สมัยถังและซ้องก็ยังทำเล็กๆ ส่วนสมัยหยวนทำขนาดใหญ่

(น.73) ราชวงศ์ถังการค้าขายทางทะเลสำคัญยิ่งขึ้น และเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยซ้อง จากแผนที่จะเห็นได้ว่าสมัยนั้นทางตะวันตกสุดที่คนจีนเดินทางถึงคือที่ลังกา ส่วนชาวตะวันตกก็มาได้ถึงลังกาเช่นเดียวกัน ตารางแสดงสินค้าออกสินค้าเข้าในสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ่ง

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 141

(น.141) สมัยราชวงศ์ถัง เป็นสมัยที่การค้าทางทะเลรุ่งเรือง ท่าเรือสำคัญคือท่าเรือกวางโจว ในฮ่องกงโบราณสถานสำคัญ ได้แก่ สุสาน Lei Chen Uk Han มีแหล่งเตาเผา เริ่มมีการโยกย้ายถิ่นฐานจากจีนตอนเหนือลงมาบริเวณที่เป็น New Territories

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 75-76

(น. 75) พิพิธภัณฑ์ศิลปะและโบราณคดีอาเธอร์ เอ็ม. แซคเกลอร์ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Arthur M. Sackler Museum of Art and Archaeology at Peking University)
9. ศิลปะสมัยราชวงศ์เหนือใต้ (ค.ศ. 317 – ค.ศ. 589) และราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 – ค.ศ. 907) มีเครื่องปั้นดินเผารูปรถจำลอง กองทหารดินเผา เป็นตุ๊กตาขนาดเล็กของราชวงศ์ฉีเหนือ (Northern Qi ค.ศ. 550 – ค.ศ. 577) พบในสุสานที่เมืองหวังหัง (Wang hang) มณฑลเหอเป่ย รูปปั้นดินเผาของบุคคลต่างๆ ในสมัยราชวงศ์ถัง รูปอูฐ ภาพชาวต่างชาติ รูปม้า รูปทหารขี่ม้า รูปทำด้วยเครื่องเคลือบสามสีสมัยราชวงศ์ถัง เข้าใจว่าเป็นของที่สำหรับใส่กับศพอีกตามเคย ทางมหาวิทยาลัยจะทำวิจัยเรื่องราชวงศ์ถังทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมืองและสังคม

(น. 76)
10. เครื่องเคลือบสมัยราชวงศ์หยวน-หมิง (ค.ศ. 1279 – ค.ศ. 1368 และ ค.ศ. 1368 – ค.ศ. 1644) มีเครื่องเคลือบชนิดต่างๆ สีขาว ขาวลายน้ำเงิน เหลือง สีประสมม่วงออกแดง บางชิ้นมีตราเขียนไว้ที่ชามบอกปีรัชศกที่ทำ มีเครื่องลายครามจากเตาหลวงที่จิ่งเต๋อเจิ้น เตาราษฎร์ทำอ่างลายคราม สิ่งของสมัยจักรพรรดิเจียจิ้งแห่งราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1522 – ค.ศ. 1566) มีเครื่องหยกต่างๆ
11. ของที่พิพิธภัณฑ์ได้มาใหม่ เครื่องปั้นดินเผาจำลองและหม้อเผากำยานสมัยราชวงศ์ฮั่น เครื่องเคลือบสมัยราชวงศ์ถังและสมัยห้าราชวงศ์ (ค.ศ. 907 – ค.ศ. 960) จากหูหนาน มีชาวเกาหลีไปซื้อมาบริจาคให้

เจียงหนานแสนงาม หน้า 111-113,130

(น. 111) พิพิธภัณฑ์นานกิง
เครื่องลายคราม เริ่มมีมาตั้งแต่ราชวงศ์ถัง ที่จริงแล้วได้เศษมาชิ้นเดียว แต่ว่าพบในชั้นดินสมัยถัง ไม่ทราบว่าในวิชาโบราณคดีสันนิษฐานแบบนี้จะพอหรือไม่ นอกนั้นเป็นสมัยราชวงศ์หยวน หมิง ชิง

(น. 112) มีเครื่องเคลือบเตาเต๋อฮว่า สมัยราชวงศ์หมิง เป็นเครื่องเคลือบสีขาวงาช้างที่มีชื่อเสียงของมณฑลฮกเกี้ยน ที่ทำได้สวยเป็นที่รู้จักคือ รูปเจ้าแม่กวนอิม เครื่องเคลือบสีต่างๆ เครื่องปั้นพบในเรือของเนเธอร์แลนด์ที่จม สีคราม แดง เหลือง เป็นพวกของทำส่งออกที่เรียกว่า Exportware มีเครื่องลายครามจากเรือที่จม มีผู้ซื้อบริจาคให้ พิมพ์ต่างๆ เป็นรูปหน้าตุ๊กตาสมัยราชวงศ์ถัง

(น. 113) สมัยราชวงศ์หมิง มีอู่ต่อเรือใหญ่อยู่ที่นานกิง เรือที่ต่อที่นานกิงนี้สามารถออกทะเลใหญ่ได้ เช่น เรือที่เจิ้งเหอ ขันทีผู้ใหญ่ในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ (ค.ศ. 1402 – ค.ศ. 1424) แห่งราชวงศ์หมิงใช้เดินทางสำรวจย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อแสดงแสนยานุภาพของจีน ยังมีสมอเหล็กของเรือยุคนั้นเก็บเอาไว้ มีขนาดใหญ่มาก พาหนะทางบก ได้แก่ รถ มีเครื่องประดับรถ ชิ้นส่วนต่างๆ ของรถทำด้วยสำริด ตั้งแต่ 770 ปีก่อนคริสตกาล มีหุ่นจำลองรถสมัยราชวงศ์ฮั่น และราชวงศ์ถัง รถกลอง รถลาก เกี้ยวเจ้าสาว เครื่องทอผ้าชนิดต่างๆ เรื่องของผ้า แสดงตุ๊กตาแต่งกายสมัยต่างๆ แสดงให้ดูว่ากิโมโนของญี่ปุ่นก็ดัดแปลงมาจากเสื้อผ้าสมัยราชวงศ์ถัง

(น. 130) หยวนเจิ่น (ค.ศ. 779 – ค.ศ. 831) เป็นกวีเอกและขุนนางสมัยราชวงศ์ถัง เป็นชาวเมืองลั่วหยังในมณฑลเหอหนาน เมื่อเยาว์วัย มีฐานะยากจน ไป๋จวีอี้เองก็อยู่ในสถานะเช่นนี้เมื่อตอนเด็ก หยวนเจิ่นมีพรสวรรค์ในบทกลอน เริ่มเขียนบทกวีตั้งแต่เด็กใน ค.ศ. 800 สอบได้จิ้นซื่อ ปีนั้นมีคนสอบได้ 17 คน ไป๋จวีอี้ก็สอบได้เช่นกัน จิ้นซื่อเป็นการสอบแข่งขันเป็นบัณฑิตระดับประเทศ ผู้ที่สอบจิ้นซื่อได้ที่ 1 เรียกว่า จ้วงหยวน (จอหงวน)

เจียงหนานแสนงาม หน้า 166

(น. 166) หยังโจวเป็นนครอยู่ภาคกลางของเจียงซู มีเนื้อที่ 6,600 ตารางกิโลเมตร ประชาชน 4,500,000 คน ตั้งอยู่บริเวณที่คลองใหญ่จากปักกิ่งมาบรรจบกับแม่น้ำแยงซี มีประวัติเก่าแก่มากว่า 2,480 ปี ในสมัยราชวงศ์ถัง หยังโจวเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 รองจากฉังอาน เมืองนี้ยังคงรักษาลักษณะดั้งเดิมเอาไว้ได้ เน้นนโยบายอนุรักษ์ด้านผังเมืองและสิ่งแวดล้อม มีโบราณสถานมากมาย

เจียงหนานแสนงาม หน้า 174,176-177,181,195,198,201,210,219

(น. 174) “วิหาร” หลังใหญ่เป็นที่เก็บโบราณวัตถุที่พบในเมืองหยังโจว เมืองนี้มีประวัติมายาวนานมาก มี 3 ช่วงที่เจริญรุ่งเรืองยิ่งคือสมัยราชวงศ์ฮั่น ถัง และชิง จึงเป็นเมืองหนึ่งใน 24 เมืองที่รัฐบาลประกาศเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์

(น. 176) ราชวงศ์ถัง มีเครื่องปั้นดินเผา รูปหุ่นคนแบบต่างๆ เป็นคนต่างชาติก็มี สมัยนั้นหยังโจวใหญ่เป็นที่ 2 รองจากฉังอานหรือซีอาน ความเจริญของหยังโจวในสมัยนั้นเห็นได้จากสิ่งต่างๆ ดังนี้
การเกษตร มีเครื่องมือไถนา และมีร่องรอยของการทำชลประทาน
ศิลปหัตถกรรม มีเครื่องประดับ เช่น ตุ้มหู หวีเงินชุบทอง คันฉ่องลายต่างๆ

(น. 177) การวางผังเมือง เป็นเมืองใหญ่ที่จัดส่วนต่างๆ ของเมืองไว้อย่างเป็นระเบียบ ของอื่นๆ ที่จัดแสดงไว้มีเครื่องเคลือบสามสีแบบราชวงศ์ถัง ในสมัยนั้นหยังโจวเป็นเมืองค้าขายที่สำคัญ เป็นศูนย์ขนถ่ายสินค้า จึงมีสิ่งของต่างๆ เหลือให้เห็นมาก มีของต่างชาติ เช่น ของจากเปอร์เซีย รูปเจดีย์ เป็นของจำลองทำในสมัยใหม่ แต่รูปปั้นพระโพธิสัตว์และรูปอื่นๆ ที่ประดับอยู่เป็นของเดิมสมัยราชวงศ์ถัง มีเรื่องพระเจี้ยนเจิน (ค.ศ. 688 – 763) นั่งเรือไปญี่ปุ่น

(น. 181) อาคารนี้ยังมีสิ่งของอื่นๆ จัดแสดงไว้ ตั้งแต่เครื่องสำริดสมัยต่างๆ เช่น กลองมโหระทึกมีอักษรจารึก เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ เช่น ตุ๊กตาอูฐ ม้าสมัยราชวงศ์ถัง เครื่องเคลือบ 5 สี สมัยราชวงศ์หมิง เครื่องประดับเงิน ไม้แกะสลัก สมัยราชวงศ์ชิง มีการสลักรากไผ่อย่างละเอียดประณีต แกะงาเป็นรูปตั๊กแตนในผักกาด แกะรูปปู นอกจากนั้นยังมีเครื่องหยก หินแกะสลัก และเครื่องเขิน

(น. 195) หลังไป 1,500 กว่าปี จักรพรรดิเซี่ยวอู่ตี้ แห่งราชวงศ์หลิวซ่งในสมัยราชวงศ์เหนือใต้เป็นผู้สร้างในรัชศกต้าหมิง อันเป็นรัชศกที่ใช้ในช่วง ค.ศ. 457 – 464 หรือกลางศตวรรษที่ 5 จึงเรียกชื่อวัดตามปีรัชศก คำว่า ต้าหมิง แปลว่า สว่างเจิดจ้า ในสมัยราชวงศ์ถังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดซีหลิง แปลว่า ที่สถิตแห่งจิตวิญญาณ ราชวงศ์ซ่งกลับมาใช้ชื่อเดิมว่า วัดต้าหมิง ในสมัยราชวงศ์ชิง จักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จประพาสเมืองหยังโจว เห็นคำว่า ต้าหมิง ทรงไม่พอพระทัย เพราะทรงเกรงว่าจะทำให้ผู้คนคิดถึงราชวงศ์หมิง จึงให้เปลี่ยนชื่อเป็น ฝ่าจิ้งซื่อ หรือ วัดฝ่าจิ้ง คำว่า ฝ่าจิ้ง แปลว่า พระธรรมพิสุทธิ์ ใน ค.ศ. 1980 ได้เปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อดั้งเดิมคือ วัดต้าหมิง เพราะในเดือน 4 ปีนั้นได้อัญเชิญรูปปั้นพระเจี้ยนเจิน (ค.ศ. 688 – 763) จากประเทศญี่ปุ่น กลับมาตั้งบูชาที่วัดนี้ พระเจี้ยนเจินเป็นพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงของวัดต้าหมิง ใน ค.ศ. 753 สมัยราชวงศ์ถังได้เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาที่เมืองนาราในประเทศญี่ปุ่น ได้ตั้งนิกายวินัยขึ้นที่นั่น และอยู่ที่ญี่ปุ่นจนถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 763 ท่านเคยฟันฝ่าอุปสรรคเดินทางไปญี่ปุ่นหลายครั้งแต่ไปไม่ถึง จนในครั้งที่ 6 จึงประสบผลสำเร็จ ที่วัดต้าหมิงมีหออนุสรณ์พระเจี้ยนเจินที่สร้างตามลักษณะสถาปัตยกรรมราชวงศ์ถัง สร้างแล้วเสร็จใน ค.ศ. 1973

(น. 198)มณฑลเจ้อเจียง รวมความยาว 1,794 กิโลเมตร เป็นคลองขุดที่เก่าแก่ และยาวที่สุดในโลก เชื่อมต่อแม่น้ำใหญ่ 5 สายคือ ไห่เหอ หวงเหอ (ฮวงโห) หวยเหอ ฉังเจียง และเฉียนถังเจียง ปัจจุบันนี้คลองต้าอวิ้นเหอเดินเรือได้ตลอดปีเฉพาะช่วงจากมณฑลเจียงซูถึงมณฑลเจ้อเจียง ช่วงอื่นๆ เดินเรือได้บางฤดูกาล และบางช่วงก็ตื้นเขินจากการที่แม่น้ำฮวงโหเปลี่ยนเส้นทาง สภาพทำเลที่ตั้งเช่นนี้ทำให้หยังโจวเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางเรือและเป็นเมืองพาณิชย์มาแต่โบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยราชวงศ์ถัง ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงเป็นศูนย์กลางการค้าการขนส่งข้าวและเกลือทะเล เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในด้านงานเครื่องเขิน ดอกไม้ประดิษฐ์ด้วยผ้าไหม การเจียระไนหยก และการจัดสวนทำเขามอ สามารถประดิษฐ์เขามอให้มีลักษณะ 4 ฤดูต่างกันออกไป ปัจจุบันหยังโจวเป็นเมืองสำคัญของมณฑลเจียงซูทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

(น. 201) ขึ้นไปบนหอสูงเรียกว่า หอฝูหรง (บางคนแปลว่า หอดอกบัว แต่มีผู้บอกว่า ไม่ใช่ดอกบัว ฝูหรงเป็นดอกไม้ไม่มีกลีบ ฟูๆ คล้ายกระถิน แต่เป็นสีชมพู ในพจนานุกรมเขียนว่า cotton rose hibiscus) หอนี้ดั้งเดิมสร้างสมัยราชวงศ์ถัง ตกแต่งด้วยภาพเมืองเจิ้นเจียง เห็นวัดจินซานด้วย มีบทกวีของหวังซังหลิงเขียนไว้ เดิมเป็นหอระฆังของวัด ปัจจุบันนี้เป็นที่รับแขก ชวนแขกดื่มน้ำชา เจ้าหน้าที่ของเมืองชวนดื่มน้ำชา เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์เล่าว่าชานี้เป็นชาใหม่ เก็บเมื่อวันเช็งเม้งคือเมื่อสามวันก่อนนี้เอง ชาที่นี่ประกวดชนะเสมอ ชาในฤดูชุนเทียนคือชาในช่วงนี้ดีที่สุด เพราะเก็บหลังฤดูหนาว ใบชาจะสะสมธาตุอาหารที่มีประโยชน์และหอมมากกว่าชาที่เก็บในหน้าร้อนซึ่งจะมีรสขม ข้าพเจ้ารู้สึกชอบชานี้ถึงจะอ่อนกว่าชาที่เรานิยมดื่มในเมืองไทย แต่หอมและชุ่มคอดี

(น. 210) เมืองเจิ้นเจียงนี้มีกวีโบราณ (ราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ่ง) มาชุมนุมกันอยู่มาก เขียนโคลงกลอนและบทความมากมาย เช่น หวังเหวย หวังอานสือ หลี่ไป๋ ไป๋จวีอี้ ซูซื่อ (ซูตงปัว) เขียนบทกวีชมเมืองนี้

Next >>