Please wait...

<< Back

ลั่วหยาง

จากหนังสือ

หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 117,126,131-132

(น.117) ในลุ่มแม่น้ำนี้แหล่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ได้แก่ ซีอาน ลั่วหยัง ไคเฟิง อานหยัง (พบจารึกบนกระดองเต่า) ฯลฯ เขาแสดงภาพถ้ำหลงเหมิน เจดีย์สมัยราชวงศ์ซ่ง เป็นต้น เมื่อเขียนลงในแผนที่เปรียบเทียบกับลุ่มแม่น้ำฉังเจียงแล้ว ลุ่มแม่น้ำหวงเหอมีมากกว่า (ยังมีคำอธิบายอะไรอีกแยะ แต่ก็ซ้ำเลยไม่ได้เขียน) มีภาพแสดงทั้งเรื่องน้ำท่วมและน้ำแล้งในแต่ละปี เช่น ใน ค.ศ. 1942 คนอดตายไปมาก ค.ศ. 1933 น้ำท่วมพาโคลนมาท่วมบ้านสูงเกือบถึงหลังคา มีภาพบริเวณต่างๆ ในลุ่มน้ำ แสดงว่าตะกอน (sediment) มาทับถม ทำให้ปากน้ำงอกออกมามาก เขตที่ราบ (alluvial plain) ในจีนเมื่อ 7,000 ปีก่อนไม่มี มีอยู่แห่งหนึ่งดินงอกเร็วถึงปีละ 23 ตารางกิโลเมตร โดยเฉลี่ยใน 100 ปีคงจะตั้งเป็นอำเภอได้ทั้งอำเภอ

(น.117) รูป 82 แผนที่แสดงการจัดการลุ่มแม่น้ำเหลือง

(น.126) ตู้เย็นโบราณ วิธีการใช้คือ ตอนหน้าหนาว ไปตัดน้ำแข็งมาไว้ห้องใต้ดินที่ความร้อนเข้าไม่ถึง เมื่อถึงหน้าร้อนเอาภาชนะสี่เหลี่ยม ในภาชนะนั้นวางแช่เหล้า กวีชวีหยวนแต่งไว้ว่าบดขนมไว้กินพร้อมเหล้าเย็น สมัยราชวงศ์ฮั่น เว่ย (ก๊กของโจโฉ) จิ้น ราชวงศ์เหนือใต้ มีรูปอาคารจำลองทำด้วยเครื่องปั้นดินเผาสำหรับฝังลงไปในสุสาน หวังว่าบุคคลผู้ตายจะมีความเป็นอยู่ในปรโลกเหมือนเมื่อยังมีชีวิตอยู่ นอกจากนั้นยังมีนักดนตรี นักละคร พวกคนแคระ ซูโม่ อาวุธต่างๆ สันนิษฐานว่าสมัยราชวงศ์ฮั่นและถังนำการแสดงซูโม่ไปที่ญี่ปุ่น จนปัจจุบันคนญี่ปุ่นถือว่าซูโม่เป็นกีฬาสำคัญ มีภาพฝาผนังสมัยราชวงศ์ฮั่น ขุดพบใน ค.ศ. 1980 บริเวณมณฑลเหอหนานภาคตะวันออก สุสานนี้สวยมาก (เขาว่ากัน) ขึ้นไปชั้นสอง มีศิลาจารึกราชวงศ์จิ้น เป็นข้อมูลล้ำค่าที่สุด แสดงประวัติการตั้งโรงเรียนหลวง มีรายชื่อครูและนักเรียน นอกจากนั้นมีบันทึกว่าจักรพรรดิเคยเสด็จทอดพระเนตรที่นี่ 3 ครั้ง จารึกลายนก ลายเป็นภาพสุริยุปราคา สมัยราชวงศ์ฮั่น สมัยราชวงศ์ฮั่น มีรูปยุ้งข้าวสำหรับเอาไว้ในสุสาน พิมพ์ของลูกศร สมัยนั้นเริ่มเป็นสมัยเหล็ก มีการถลุงเหล็กหลายแห่ง สมัยราชวงศ์สุยและถัง ในเมืองลั่วหยัง สมัยราชวงศ์สุยเมื่อ 1,500 ปีมาแล้วเน้นความสมดุลมีอาคารที่พระนางบูเช็กเทียนเคยประทับและทรงงานว่าราชการ แต่ภายหลังถูกไฟไหม้ ใน ค.ศ. 1980 พบซากรากฐาน

(น.126) รูป 92 ตุ๊กตานักดนตรี

(น.131) 3. เหอหนานตั้งอยู่ภาคกลางของประทศ มีประชากรมากที่สุดจึงเป็นตลาดใหญ่ของจีน หลังจากที่ชูนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจเปิดกว้างแล้ว เหอหนานเป็นที่ที่ต่างประเทศมาลงทุนกันมาก 4. มณฑลเหอหนานมีประวัติยาวนานกว่า 5,000 ปี เป็นแหล่งกำเนิดชนชาติจีน มีสถานที่และวัตถุโบราณมากมาย ในบรรดาเมืองหลวงโบราณ 7 แห่งของจีน อยู่ในเหอหนานถึง 3 แห่ง คือ ลั่วหยัง ไคเฟิง และอานหยัง นอกจากนั้นมีวัดเซ่าหลิน ถ้ำหลงเหมิน และวัดม้าขาวที่มีชื่อเสียงทั้งโลก 5. อุดมด้วยแร่ธาตุต่างๆ คือ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ มีแร่ทองคำเป็นที่สองของประเทศ เหมืองแร่ธรรมชาติ เช่น ปูนขาว แหล่งปูนซีเมนต์ และแร่อื่นๆ 76 ชนิด 6. เป็นแหล่งใหญ่ของผลิตผลทางการเกษตร ด้วยลุ่มน้ำหวงเหออุดมสมบูรณ์ นอกจากปลูกธัญพืชแล้ว ยังมีฝ้าย น้ำมันพืช และการเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมณฑลเหอหนานมีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีเงื่อนไขทางธรรมชาติที่ดี หลังนโยบายเปิดประเทศแล้ว เศรษฐกิจโดยรวมรุดหน้าไปมาก เป้าหมายที่รัฐบาลมณฑลวางไว้มีคำขวัญว่า “หนึ่งสูงหนึ่งต่ำ” สูงคือต้องเร่งการพัฒนาเศรษฐกิจให้ตัวเลขสูงกว่ามณฑลอื่น ต่ำคืออัตราเพิ่มประชากรต้องต่ำ สิบกว่าปีมานี้ได้บรรลุเป้าหมายระดับหนึ่ง ปีที่แล้ว (ค.ศ. 1999) ตัวเลขรายได้ประชาชาติติดอันดับชาติ แต่ด้วยมีประชากรมากเกินไป เฉลี่ยต่อหัวจึงเป็นอันดับที่ 19 ของประเทศ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจพัฒนาไปค่อนข้างเร็วคือ การเปิดประตูสู่ต่างประเทศ แม้จะเปิดช้ากว่ามณฑลอื่นไปบ้าง แต่ปัจจุบันมีทุนต่างประเทศเข้ามามาก มีบริษัทร่วมทุนกว่า 6,000 บริษัท มณฑลเหอหนาน

(น.132) รูป 98 พ่อครัวแสดงการทำเส้นหมี่เส้นละเอียดๆ ให้ดู

(น.132) ติดต่อกับประเทศไทยมาหลายปีแล้ว มีบริษัทร่วมทุนกับไทย บริษัทนี้ทำหน้าที่พัฒนาส่งเสริมและแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจกับไทย เร็วๆ นี้ลั่วหยังจะร่วมทุนกับไทยผลิตแทรกเตอร์ อย่างไรก็ตามเขาขอให้ฉันแนะนำมณฑลเหอหนานให้คนไทยรู้จักมากขึ้นเพื่อจะได้มาลงทุน ที่จริงจดเอาไว้อีกแยะ แต่สมุดหาย จำได้แต่ว่าเหล้าขาวที่นี่เรียกว่า เหล้าตู้คัง ค่อนข้างแรง พ่อครัวแสดงการ “ลาเมี่ยน” คือ การดึงแป้งเป็นเส้นหมี่ละเอียดๆ ให้ดู กุ๊กเคยมาทำงานเมืองไทยจึงพูดไทยได้ ขึ้นมาที่ห้อง พยายามลองเครื่องออกกำลังกายที่เขาให้ไว้ในห้อง แต่เครื่องเสียเลยวิ่งในห้องเฉยๆ คิดถึง

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 150,154,157,160

(น.150) โรงแรมโซฟิเตล นครเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน วันอังคารที่ 14 มีนาคม 2543 ประพจน์เพื่อนรัก วันนี้ไปลั่วหยัง (ลกเอี๋ยง) เดินทาง 2 ชั่วโมงเหมือนเมื่อวานนี้ ลั่วหยังอยู่ทางตะวันตกของมณฑลเหอหนาน เป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ต่างๆ รวม 9 ราชวงศ์ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันออก มีแหล่งศิลปะโบราณคดีจำนวนมาก ถ้ำหลงเหมินถือว่าเป็นแหล่งหนึ่งใน 3 แห่งที่เป็นคลังเก็บศิลาจารึก วัดม้าขาวเป็นวัดแรกในจีนที่สร้างขึ้นใน ค.ศ. 68 สมัยจักรพรรดิฮั่นหมิงตี้ แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก หลังจากการเผยแพร่พุทธศาสนาเข้ามาในจีนแล้ว (จริงหรือเปล่าประพจน์) เขาถือกันว่าดอกโบตั๋นของลั่วหยังสวยที่สุดในโลก ตั้งแต่ ค.ศ. 1983 นครลั่วหยังจัดงานแฟร์โบตั๋นทุกปี ลั่วหยังมีแร่ธาตุสำคัญหลายอย่าง ส่วนที่เป็นภูเขาก็เป็นแหล่งสัตว์และพืชพรรณนานา และยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่ตั้งขึ้นหลังการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว มีโครงการสำคัญๆ มาตั้งที่นี่ เช่น โรงงานทำรถแทรกเตอร์ และเครื่องจักรต่างๆ โรงงานเหล่านี้สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ โครงการชลประทานที่สำคัญที่สุดคือ โครงการเสี่ยวลั่งตี่ มีเงื่อนไขที่ดีในการลงทุน การคมนาคมสะดวก มีโรงแรมทันสมัย รวมทั้งได้สร้างความสัมพันธ์กับเมืองอื่นหลายเมือง เมื่อไปถึงก็รู้สึกว่าเมืองใหญ่โตสวยงาม

(น.154) รูป 117 จตุโลกบาล

(น.154) พวกที่เริ่มสลักหินที่ถ้ำที่นี่คือ พวกทั่วป๋าเว่ย หรือที่ภาษาไทยเรียกเคลื่อนมาว่าโทปาเว่ย เป็นคนกลุ่มน้อยที่รับนับถือพุทธศาสนา อาจจะก่อนชาวจีนเสียด้วยซ้ำไป เริ่มสลักใน ค.ศ. 495 ในช่วงนี้พวกเว่ยย้ายศูนย์กลางการปกครองของแคว้นเว่ยเหนือจากเมืองต้าถงมาที่ลั่วหยัง เมื่ออยู่ที่ต้าถงได้แกะสลักพระพุทธรูปที่ถ้ำหยุนกั่ง (ที่ฉันจะได้ไปดูทีหลัง) หินปูนที่หลงเหมินแข็งกว่าที่หยุนกั่ง จึงสลักยากกว่า มีถ้ำ 3 กลุ่ม คือ ถ้ำกู่หยัง ปินหยัง และเหลียนฮวา หลังจากสมัยเว่ยก็สลักถ้ำต่อมาเรื่อยๆ ที่สำคัญที่สุดคือ สมัยราชวงศ์ถังตอนสมัยพระนางบูเช็กเทียน ซึ่งเป็นผู้มีศรัทธาแก่กล้าในพุทธศาสนา ผู้ที่อุปถัมภ์การสลักถ้ำคือ จักรพรรดิ พระราชวงศ์ ตระกูลที่ร่ำรวย เพื่อหวังทำบุญ นายพลที่ต้องการชัยชนะในสงคราม เขาว่าทั้งหมดมีของสมัยเว่ยราว 30% เท่านั้น เนื่องจากเราไม่ค่อยจะมีเวลา จึงได้ดูไม่หมด เข้าดูเพียงถ้ำปินหยัง (ที่จริงจะว่าเข้าไปดูเต็มที่ก็ไม่ได้ เพราะว่าเขากั้นไว้ไม่ให้เข้า ถามไกด์ก็บอกว่าไม่เคยเข้าเหมือนกัน) ถ้ำกลางเป็นถ้ำที่สลักในยุคต้นจักรพรรดิเซวียนอู่ทำบุญถวายพระราชบิดาและพระราชมารดา จารึกบอกไว้ว่าใช้กรรมกร 8 แสนกว่าคน สลักตั้งแต่ ค.ศ. 500 ถึง ค.ศ. 523 มี 3 ถ้ำ มีร่องรอยว่าสมัยก่อนคงจะระบายสีด้วย ถ้ำอีกสองข้างสร้างเสร็จสมัยราชวงศ์ถัง

(น.157) รูป 119 สุสานกวนอู

(น.157) จากนั้นไปสุสานกวนอู ตอนนี้กำลังสร้างลานจอดรถ มีที่แสดงงิ้ว ในแต่ละปีที่มีพิธีไหว้กวนอูจะจัดงานในวันขึ้น 13 ค่ำเดือนอ้าย (ทำไมก็ไม่ทราบ) เดือน 5 และเดือน 9 ประตูทางเข้าสร้างในราชวงศ์ชิง ตัวสุสานสร้างในรัชศกว่านลี่ ราชวงศ์หมิง เป็นสุสานฝังหัวกวนอู ส่วนตัวฝังที่ตังหยัง มณฑลหูเป่ย ฉันรู้สึกว่าฝังแบบตัวไปทาง หัวไปทางนี่ไม่ดีเลย แต่ถ้าไม่ถือ คิดเสียว่าตายไปแล้วก็ทิ้งร่างก็ไม่เป็นไร ดูเหมือนว่าโจโฉเป็นผู้ฝังหัวกวนอู เพราะข้าศึกตัดหัวกวนอูส่งให้โจโฉเพื่อเอาความดีความชอบ แต่โจโฉกลับทำพิธีศพให้อย่างสมเกียรติ ทั่วประเทศมีศาลเจ้ากวนอูมากมาย แต่ที่สำคัญมี 3 แห่ง คือ 1. กวนหลิน เมืองลั่วหยัง 2. กวนหลิง อำเภอตังหยัง มณฑลหูเป่ย 3. อำเภออวิ้นเฉิง มณฑลซานซี เป็นบ้านเก่า

(น.160) รูป 122 รองนายกเทศมนตรี นครลั่วหยังให้ภาพดอกโบตั๋นเป็นของขวัญ

(น.160) ไปที่โรงแรมโบตั๋น (Peony) รับประทานอาหารกลางวัน รองนายกเทศมนตรีนครลั่วหยังเป็นเจ้าภาพ โฆษณาเหล้าตู้คังว่าคนที่ทำเหล้าชนิดนี้เป็นคนแรกชื่อ ตู้คัง เป็นคนอำเภอไป๋สุ่ย น้ำแถวนี้ดีมาก คนที่กินแล้วอายุยืนไม่เป็นมะเร็ง เสริมมิตรภาพ และมีความรัก เขาอวดความเก่าแก่ของลั่วหยังว่า ถ้าอยากดูความเปลี่ยนแปลงใน 50 ปี ให้ไปเซินเจิ้น 200 ปีให้ไปเซี่ยงไฮ้ 3,000 ปีให้ไปซีอาน แต่ถ้าจะดูต้นตอวัฒนธรรม ต้องดูลั่วหยัง สิ่งประดิษฐ์จีนสำคัญๆ เขาก็ว่ามาจากลั่วหยัง เช่น เครื่องวัดแผ่นดินไหว เข็มทิศ กระดาษ และดินระเบิด

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 185-186

(น.185) ที่เขียนสมัยนั้นประกอบด้วยหลายส่วน คือ น้ำ หมายถึง เป็นธรรมกับทุกคน อีกสองส่วนหมายถึง ขจัดสิ่งไม่เป็นธรรม ต้องใช้กฎหมายเที่ยงธรรมเหมือนภูเขา ไปโรงแรมตงจิง (สร้าง ค.ศ. 1988) รับประทานอาหารกลางวัน รองนายกเทศมนตรีเป็นเจ้าภาพ ไคเฟิงนอกจากจะเคยชื่อตงจิงแล้ว ยังชื่อเปี้ยนเหลียง เปี้ยนจิง และต้าเหลียง เหล้าขาวที่เลี้ยงเป็นของไคเฟิงเองชื่อ เปี้ยนเหลียงอี้ หรือเปี้ยนเหลียงหวัง ดอกไม้ประจำเมืองไคเฟิงคือ ดอกเบญจมาศซึ่งเป็นดอกไม้ที่บานฤดูใบไม้ร่วง ต่างจากโบตั๋นของลั่วหยังซึ่งบานฤดูใบไม้ผลิ แสดงการดึงเส้นหมี่อีก

(น.185) รูป 145 เครื่องมือประหารชีวิตโบราณที่ใช้สมัยท่านเปาบุ้นจิ้น (จำลอง)

(น.186) รับประทานเสร็จเจ้าภาพบอกว่ามีเวลาเยอะแยะ ฉันว่าถ้าอย่างนั้นพาไปดูอะไรๆ หน่อย เขาบอกว่าไม่มีเวลาสำหรับดูเพิ่มแล้ว ต้องรีบกลับไปเจิ้งโจว เพราะจะต้องขึ้นเครื่องบิน พอไปถึงสนามบินจริงๆ บอกว่าเครื่องบินยังไม่มา ต้องนั่งคุยกันเรื่องต่างๆ ฝ่ายจีนบอกว่าถ้าทราบว่าเครื่องบินจะดีเลย์ก็จะพาไปดูที่อื่นได้ เช่น วัดเต๋าที่ชิวชู่จี (ภาษาแต้จิ๋ว คิวชูกี) เคยอยู่ต้นราชวงศ์หยวน ตอนนี้ไม่ทันแล้ว (ประพจน์ นักพรตคิวชูกีนี้จินหยงเอามาเป็นตัวละครในมังกรหยก เป็นอาจารย์ของเอี้ยคัง มีฉายาว่า เชียงชุนจื้อ หรือ ฉังชุนจื่อ ในภาษาจีนกลาง) เหอหนานเป็นมณฑลใหญ่ เป็นที่กำเนิดของแซ่ต่างๆ 72 แซ่ ถ้ามีเวลาควรไปโบราณสถานที่ไคเฟิงอีก 6-7 แห่ง พูดถึงปากั้ว ที่บ้านของฝูซี คนคิดปากั้ว มีทะเลสาบใหญ่ซึ่งมีเต่ามาก ฝูซีได้แรงบัลดาลใจจากเต่าเหล่านี้ เมื่อ 10 ปีก่อนมีเด็กไปตกปลาได้เต่าขาวมา ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า เต่าตัวนี้อายุ 100 ปี เมื่อศึกษา 2 ปี ก็ปล่อยเต่ากลับลงทะเลสาบ ทางใต้ของสนามบินนี้มีเมืองสวี่ชังที่โจโฉเคยอยู่ กวนอูกับภรรยา

(น.186) รูป 146 เดินดูบริเวณสวนหินหลังศาลเจ้าเปาบุ้นจิ้น

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 244

(น.244) รูป 181 พระพุทธรูปในถ้ำหยุนกั่ง

(น.244) เมืองต้าถงมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,000 ปี ในประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งมีการต่อสู้ครั้งสำคัญของหลิวปังหรือจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ (ภาษาไทยใช้กันว่า ฮั่นโกโจ) ซึ่งตอนนั้นประสบความลำบากมาก ต่อมากลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 สมัยราวราชวงศ์เหนือใต้ ทางอีสานมีชนกลุ่มน้อย เช่น Narkuna พวกนี้เรียนวิชาการและเทคนิคการรบจากพวกจีนนั่นเอง ใน ค.ศ. 386 ได้ตั้งเมืองหลวงที่มองโกลเลียใน คือ เมืองเฮ่อลิงเก้อร์ในปัจจุบัน ต่อมาย้ายเมืองหลวงมาที่เมืองผิงเฉิงในราชวงศ์เป่ยเว่ยได้ใช้ที่นี่ปกครองดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือมา 150 ปี เมืองผิงเฉิงสมัยนั้นก็คือเมืองต้าถงนี่เอง ต้าถงจึงเป็นศูนย์กลางของภาคเหนือด้านการค้า การเมือง การคมนาคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ถ้ำหยุนกั่งสร้างสมัยราชวงศ์เป่ยเว่ย สร้างก่อนหลงเหมินที่ลั่วหยัง (ตุนหวง ค.ศ. 366 มีทั้งภาพสลักและภาพเขียน หยุนกั่ง ค.ศ. 460 หลงเหมิน ค.ศ. 494 สองถ้ำหลังนี้เป็นหินแกะสลัก) วัดถ้ำที่มีหินแกะสลักสวยงามมีมากที่ซินเกียง กานซู่ เสฉวน รวม 500 กว่าแห่ง บริเวณวัดถ้ำหยุนกั่งกว้างมาก ผู้สร้างเจาะเข้าไปในภูเขา ให้วัดหันหน้าทางทิศใต้ ถ้ำที่ขุดเจาะเข้าไปเป็นแนวตะวันตก ตะวันออก มี 53 ถ้ำ มีพระพุทธรูปกว่า 51,000 กว่าองค์ ที่เก่าที่สุดคือ ที่สลักในสมัยราชวงศ์เป่ยเว่ย เป็นแบบอย่างของศิลปะจีนที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะคันธาระของอินเดีย ต่อไปจะให้อิทธิพลต่อศิลปะสมัยราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถัง ถ้ำหยุนกั่งเป็นคลังวิเศษแห่งศิลปกรรม และเป็นหลักฐานของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนกับต่างประเทศด้วย

มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 77,79,83

(น.77) เมืองลั่วหยางเมื่อ ค.ศ. 683 (เมืองลกเอี๋ยงในวรรณคดีเรื่องสามก๊ก) และฝังที่เฉียนหลิงนี้ อู่เจ๋อเทียนมีนิวาสถานเดิมอยู่ที่เหวินสุ่ย (มณฑลส่านซีในปัจจุบัน) เคยเป็นพระสนมที่มีฐานะอยู่ในกลุ่มพระสนมอันดับ 5 ของพระเจ้าถังไท่จง เมื่อพระเจ้าถังไท่จงสวรรคตแล้วตามปกติพวกสนมจะต้องไปบวชชีกันหมด แต่อู่เจ๋อเทียนทำอย่างไรไม่ทราบ สึกออกมาเป็นมเหสีของพระเจ้าถังเกาจงได้ มีอายุมากกว่าถังเกาจง 4 ปี เห็นจะเป็นเพราะฉลาด มีความรู้ เมื่อพระเจ้าถังเกาจงเริ่มประชวรใน ค.ศ. 659 พระเนตรบอด ปวดพระเศียรทุกวัน ราชการงานเมืองอะไรก็ปล่อยให้อู่เจ๋อเทียนทำหมด พอพระเจ้าถังเกาจงสวรรคต พระนางก็ตั้งตัวเองเป็นจักพรรดิ เป็นองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนที่เป็นผู้หญิง เมื่อได้ขึ้นครองราชย์ก็ปฏิรูปภายในประเทศ เปลี่ยนชื่อราชวงศ์เป็นราชวงศ์โจว ภายหลังได้มอบอำนาจให้ลูกชายคือถังจงจง ซึ่งได้เปลี่ยนราชวงศ์กลับไปเป็นราชวงศ์ถังตามเดิม อู่เจ๋อเทียนสวรรคตที่ลั่วหยาง เมื่อ ค.ศ. 705 และถูกนำมาฝังที่เฉียนหลิงเช่นเดียวกับพระเจ้าถังเกาจง (ที่เรียกว่าเฉียน เพราะอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของซีอาน) หมอดูจีนโบราณเรียกทิศนี้ (เวลาผูกดวง) ว่าเฉียน รอบ ๆ สุสานเฉียนหลิงมีสุสานเจ้าชาย เจ้าหญิง และเสนาบดี สุสานเฉียนหลิงสูงประมาณ 1,040 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ในบริเวณส่านซีมีสุสาน 72 แห่ง คุณหันพูดว่าคนกล่าวกันบ่อย ๆ ว่าสุสานใหญ่จะถูกขโมย แต่เฉียนหลิงไม่มีคนขโมย ไม่มีในเอกสาร และไม่มีร่องรอยการถูกขโมยด้วย ฉะนั้นข้างในอาจมีศิลปวัตถุอยู่ เคยมีนักประวัติศาสตร์เสนอให้ขุดสุสานเพื่อหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ขณะนั้นนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลไม่เห็นด้วย เพราะวิชาการเก็บรักษาวัตถุโบราณของจีนยังไม่ก้าวหน้า

(น.79) รูป62. บริเวณสุสานของเจ้าหญิงหย่งไท่

(น.79) กว่ากำหนดไป 45 นาทีเพราะมัวไปหยุดที่ประตูเริ่มต้นเส้นทางค้าแพรไหม ฉะนั้นทางที่ดีไปดูที่สถานที่และอธิบายไปเลยจะดีกว่า ทุกคนก็เห็นด้วย ครูกู้บ่นให้ฟังว่า “ฉันเป็นคนจีนยังฟังไม่รู้เรื่อง” เปียนเหมย (เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย) ก็บอกว่าไม่เข้าใจเช่นเดียวกัน เราไปที่สุสานของเจ้าหญิงหย่งไท่ ระหว่างดูมีใครต่อใครอธิบายกันหลายคน ทั้งพวกพิพิธภัณฑ์เฉียนหลิง และอาจารย์หวางจากพิพิธภัณฑ์ส่านซี เจ้าหญิงหย่งไท่มีพระนามเดิมว่าหลี่เสี่ยนหุ้ย (ค.ศ. 684-701) เป็นหลานของพระเจ้าถังเกาจง พระธิดาพระเจ้าถังจงจง (หลี่เสี่ยน) สิ้นพระชนม์ที่ลั่วหยาง และภายหลังย้ายมาฝังที่นี่

(น.83) รูป66. เครื่องเคลือบเซรามิกที่พบในสุสาน แสดงชีวิตประจำวันในสมัยราชวงศ์ถัง มีรูปคนขี่ม้าเป็นจำนวนมาก แสดงว่าในสมัยนั้นม้าเป็นพาหนะสำคัญ คงมีการติดต่อกับต่างประเทศมาก เพราะมีตุ๊กตาชาวต่างชาติอยู่หลายตัว ออกจากสุสานเข้าในพิพิธภัณฑ์ เขามีภาพแสดงสุสานของจักรพรรดิราชวงศ์ถังที่อยู่ที่ซีอาน 18 แห่ง ในราชวงศ์ถังมีกษัตริย์ 21 พระองค์ สุสานมีอยู่ที่ซีอาน 18 ที่ขาดไปอยู่ที่ซานตงกับลั่วหยาง นักโบราณคดียังไม่ได้ขุดค้นสุสานมากนัก แต่ก็มีคนลักลอบขุด ในสมัยก่อนมีขุนศึกเจิ้นเถาซึ่งเที่ยวไปขุดค้นสุสานต่าง ๆ แต่ไม่ได้ขุดเฉียนหลิง เพราะเมื่อจะขุดเกิดฝนตก ลมพัดแรงขุดไม่ได้ (ไม่ทราบว่าเป็นเรื่องบุญญาบารมีของจักรพรรดิหรือเปล่า) ตามหลักฐานโบราณคดีก็เห็นว่าคงไม่มีการทำลาย ประตูทางเข้าก็ยังอยู่ดี รูปนกกระจอกเทศ เป็นสัตว์มาจากแอฟริกา ผ่านอาหรับ ผ่านเส้นทางแพรไหมลงซีอาน ภาพที่จินตนาการว่าสุสานนี้ก่อนถูกทำลายตามกาลเวลาเป็นอย่างไร ตามหลักฐานเอกสารว่ามีถึง 378 อาคาร สุสานสร้างบนเขายอดสูงสุด

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 121

(น.121) อี้จิงไปลงเรือที่กวางตุ้ง ใน ค.ศ. 671 เดินทางผ่านมะละกาไปอินเดีย เรียนอยู่ทีอินเดียเป็นเวลาถึง 25 ปี แสดงให้เห็นว่าสมัยราชวงศ์ถังน่าจะมีเส้นทางแพรไหมทั้งทางบกและทางทะเล บุคคลสำคัญคนหนึ่งที่เดินทางตามเส้นทางแพรไหมทางบกได้แก่ พระถังซำจั๋ง ส่วนผู้ที่เดินทางเรือที่สำคัญคือ หลวงจีนอี้จิง เมื่อท่านกลับมาถึงประเทศจีนใน ค.ศ. 695 ท่านได้เดินทางไปที่ลั่วหยาง ขณะนั้นพระจักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียนประทับอยู่ลั่วหยาง ไปรับพระอี้จิงด้วยพระองค์เอง พระอี้จิงได้ตามเสด็จกลับมาเมืองฉางอานเพื่อแปลคัมภีร์ในวัดนี้ เมื่อ ค.ศ. 705 จักรพรรดิอู่เจ๋อเทียนสวรรคต จักรพรรดิจงจงได้ขึ้นครองราชย์อีกครั้ง หลวงจีนอี้จิงแปลคัมภีร์ไปได้ 56 ม้วน 230 เล่ม ถึง ค.ศ. 707 จึงได้สร้างเจดีย์ ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี การก่อสร้างเจดีย์ห่านฟ้าเล็กใช้วัสดุคล้ายคลึงกับเจดีย์ห่านฟ้าใหญ่ของพระถังซำจั๋ง แต่รูปแบบต่างกัน และการก่อสร้างเจดีย์ห่านฟ้าเล็กทำอย่างประณีตกว่า เจดีย์ห่านฟ้าเล็กชำรุด เพราะมีแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง 1. สมัยราชวงศ์หมิง ค.ศ. 1487 แผ่นดินไหว ระดับ 6 (ทราบได้อย่างไร) แผ่นดินไหวครั้งนี้ทำให้เกิดรอยร้าวตรงกลาง 2. ค.ศ. 1521 แผ่นดินไหวอีกครั้ง รอยร้าวที่มีอยู่เลยปิดสนิทไปเองโดยธรรมชาติ ทำให้มีการเล่าลือกันในหมู่ประชาชนว่าเทวดามาช่วยปิด 3. ค.ศ. 1556 แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ระดับ 8 ยอดเจดีย์พังลงมา เจดีย์นี้จึงไม่มียอด ไม่ได้บูรณะมา 400 ปีแล้ว น้ำฝนไหลมาตามช่อง ช่องจึงโตขึ้นจนเกือบเหมือนช่องหน้าต่าง สมัยนี้ได้มีการสำรวจดู ปรากฏว่าเจดีย์นี้ไม่มีการเอียงข้าง ยังตรงดี ๆ อยู่ ตามที่นักโบราณคดีสำรวจอิฐ บอกว่า 99% เป็นของสมัยราชวงศ์

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 136

(น.136) กานซูตะวันตกเฉียงเหนือ บันทึกประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น รวมทั้งกิจการทางทหารด้วย บางส่วนเป็นตำรายา ของที่แสดงเอาไว้ว่าเป็นของ สมัยราชวงศ์ฮั่น มีอีกหลายอย่าง เช่น กับดักสัตว์ หญ้าแห้งที่ใช้จุดเป็นสัญญาณเตือนภัย หลังจากสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เป็นสมัยสามก๊ก (ค.ศ. 220 – 265) ได้พบอิฐเขียนสีสมัยราชวงศ์เว่ย (ก๊กของโจโฉ) ตั้งเมืองหลวงอยู่ลั่วหยาง (ค.ศ. 220 – 265) และราชวงศ์จิ้นตะวันตก ค.ศ. 265 – 317 (ซึ่งรวบรวมประเทศไว้ได้ราว 50 ปี) ช่วงนี้พบอิฐเขียนสีจากเจียยู่กวน (ที่แสดงไว้เป็นของทำจำลอง) อิฐพวกนี้แสดงชีวิตประจำวันของคนสมัยนั้น เช่น การล่าสัตว์ ห่อกองฟาง การเลี้ยงสัตว์ ไถนา หาบน้ำ เป็นต้น หลังจากนั้นเป็น สมัยราชวงศ์ใต้และเหนือ (ค.ศ. 317 – 589) คือ สมัยแตกแยกทางการเมือง มีราชวงศ์ต่าง ๆ ทั้งทางภาคเหนือและภาคใต้หลายราชวงศ์ และมีแคว้นต่าง ๆ ของอนารยชน 5 เผ่าอีกถึง 16 แคว้น ประวัติศาสตร์ตอนนี้ยุ่งมาก ข้าพเจ้าจะขอไม่กล่าวในตอนนี้ ขอกล่าวเพียงว่าของต่าง ๆ ที่พิพิธภัณฑ์แสดงไว้เป็นพุทธศิลป์ที่มีในช่วงเวลานี้ เช่นของที่สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์เว่ยภาคเหนือ (ค.ศ. 386 – 534) ราชวงศ์โจวภาคเหนือ (ค.ศ. 557 – 581) เป็นต้น เขาทำแผนที่แสดงที่ตั้งของถ้ำต่าง ๆ ที่มีภาพเขียนหรือภาพสลักในพุทธศาสนา ราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581 – 618) ซึ่งยึดอำนาจจากราชวงศ์โจวภาคเหนือ และราชวงศ์ฉินในภาคใต้ได้ ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 – 907) แสดงหีบใส่พระธาตุซึ่งมี 3 ชั้น พระพุทธรูปสมัยสุยและสมัยถังหน้าตาเหมือนคนจีน (แบบอ้วน ๆ ) ส่วนพระพุทธรูปสมัยราชวงศ์ฮั่นยังหน้าตามีเค้าอินเดีย

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 192

(น.192) ให้ข้าพเจ้าเลือกตรา ก็เลือกได้ตรารูปเต่า เซ็นชื่อใส่กระดาษไว้ เขาเอากระจกส่ง (เพราะการแกะตราต้องกลับซ้ายขวา) ใช้สิ่วเล็ก ๆ แคะ ไม่นานนักก็เสร็จ ตอนบ่ายเราไปสุสานสมัยราชวงศ์เว่ยและจิ้น ซึ่งอยู่ในเขตตำบลซินเฉิงอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง ห่างไป 20 กิโลเมตร สองข้างทางเห็นแต่กรวดทรายเต็มไปหมด ข้ามคลองที่ส่งน้ำจากฉีเหลียน คุณเฉิงชี้ให้ดูต้นไม้ที่ขึ้นในทะเลทราย คือต้นหลิวแดง เป็นต้นไม้ที่สถาบันวิจัยทะเลทรายศึกษาวิจัยว่าเหมาะสมที่จะปลูก จะช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้นได้ ที่อำเภอหมิงมีสวนพฤกษชาติที่รวบรวมพันธุ์ไม้ทะเลทราย ผู้อำนวยการเกา (เจ้าเก่า) มาต้อนรับ อธิบายว่าเป็นสุสานของราชวงศ์เว่ย ถึงตอนนี้ก็เริ่มมีปัญหา เพราะราชวงศ์ที่ใช้ชื่อว่าเว่ยมีหลายราชวงศ์ ได้แก่ 1. ราชวงศ์เว่ย ก๊กของโจโฉ ในสมัยสามก๊ก ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่ลั่วหยาง ค.ศ. 220 – 265 2. ราชวงศ์เว่ยภาคเหนือ หรือโทป้าเว่ย ค.ศ. 386 - 534 3. ราชวงศ์เว่ยตะวันออก ค.ศ. 534 – 550 4. ราชวงศ์เว่ยตะวันตก ค.ศ. 535 – 557 แต่แรกคิดว่าเป็นพวกโจโฉ แต่ผู้อำนวยการเกาบอกว่าไม่ใช่แน่ ๆ เป็นเว่ยสมัยหนานเป่ยเฉา (ราชวงศ์ใต้และราชวงศ์เหนือ สมัยแห่งการแตกแยกทางการเมือง) หมายเลข 2 – 4 ที่ข้าพเจ้าเขียนข้างต้นล้วนเป็นหนานเป่ยเฉาทั้งสิ้น แต่ข้าพเจ้าขอสรุปเอาเองว่าคงจะเป็นหมายเลข 2 เนื่องจากเป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าเสียนเป่ย (มองโกล) ที่ปรับตัวตามวัฒนธรรมจีนมากที่สุด มีอำนาจเป็นปึกแผ่นอยู่นานที่สุด (ภายหลังรับพุทธศาสนา)

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 363

(น.363) ราชวงศ์ที่ปกครองจีน 1. ราชวงศ์เซี่ย ประมาณก่อน ค.ศ. 2205 – 1766 บางหลักฐานระบุว่าประมาณก่อน ค.ศ. 1994 – 1523 2. ราชวงศ์ซาง ประมาณก่อน ค.ศ. 1766 – 1122 บางหลักฐานระบุว่าประมาณก่อน ค.ศ. 1523 – 1027 3. ราชวงศ์โจว ประมาณก่อน ค.ศ. 1122 – 770 บางหลักฐานระบุว่าประมาณก่อน ค.ศ. 1027 – 770 4. ยุคชุนชิว ก่อน ค.ศ. 770 – 476 5. ยุคจ้านกว๋อ ก่อน ค.ศ. 476 – 221 6. ราชวงศ์ฉิน ก่อน ค.ศ. 221 – 206 7. ราชวงศ์ฮั่น ก่อน ค.ศ. 206 – ค.ศ. 220 ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ก่อน ค.ศ. 206 – ค.ศ. 8 หวังหมางยึดอำนาจ (ราชวงศ์ซิน) ค.ศ. 8 – 23 ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ค.ศ. 25 – 220 8. สมัยสามก๊ก ค.ศ. 220 – 265 ราชวงศ์เว่ย (ก๊กของโจโฉ ตั้งเมืองหลวงที่ลั่วหยาง) ค.ศ. 220 – 265 ราชวงศ์สู่หรือสู่อั่น (ก๊กของเล่าปี่ ตั้งเมืองหลวงที่เฉิงตู) ค.ศ. 221 – 263 ราชวงศ์หวู (ก๊กของซุนกวน ตั้งเมืองหลวงที่หนานจิง) ค.ศ. 222 – 280

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 91

(น. 91)รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายการชลประทานเป็นเรื่องอันดับ 1 ในการสร้างสาธารณูปโภค ดีใจที่ได้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยพัฒนาการเกษตร เห็นว่าประเทศเราทั้งสองจะร่วมมือกันได้ในด้านนี้ ถ้าบริษัทจีนประมูลได้ ก็จะทำดีที่สุด ท่านหูเล่าว่าท่านเพิ่งกลับจากมณฑลเหอหนาน ไปตรวจงานการจัดการลุ่มแม่น้ำหวงเหอ ซึ่งเป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่ที่นั่นแต่ละปีช่วงปลายกรกฎาคม – สิงหาคม น้ำในแม่น้ำจะมาก เกิดอุทกภัย ยังเหลือเวลาอีก 3 เดือน ต้องเร่งบูรณะเขื่อน 2 ฟากแม่น้ำต้านน้ำท่วม และต้องทำความสะอาดขุดลอกคลองด้วย การไปเยือนเจียงซูและเจ้อเจียง ข้าพเจ้าจะได้ไปเยือนหนานจิง (นานกิง) และหังโจว ซึ่งรวมอยู่ในเมืองหลวงโบราณ 7 แห่งของจีน ทราบว่าข้าพเจ้าเคยไปปักกิ่งและซีอานแล้ว คราวนี้ได้ไปอีก 2 เมือง เป็น 4 เมือง ยังมีลั่วหยัง ไคเฟิง และอานหยัง อีก 3 เมืองคราวนี้คงไปไม่ได้ แต่ว่าคราวหน้ายินดีต้อนรับ จะได้เห็นนครหลวงครบทั้ง 7 เมือง ข้าพเจ้าว่า มีอีกหลายที่ที่เตรียมไว้ เมื่อวานนี้ได้พบศาสตราจารย์ชาวจีน ท่านนำหนังสือมาให้หลายเล่ม ใช้ข้อมูลดาวเทียมรวบรวมระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ศึกษาน้ำท่วมในจีนเมื่อปีก่อน การใช้ที่ดินการเกษตร ข้าพเจ้าถามว่าจะไปที่ไหนดี ท่านศาสตราจารย์แนะนำมณฑลหนิงเซี่ยและมณฑลชิงไห่ ท่านหูว่า ชิงไห่เป็นต้นแม่น้ำหวงเหอและฉังเจียง มีคนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่หลายกลุ่ม เช่น พวกหุย มองโกล อยู่ที่นั่นไม่

เจียงหนานแสนงาม หน้า 130

(น. 130) รูป 108 เซ็นสมุดเยี่ยม

(น. 130) หยวนเจิ่น (ค.ศ. 779 – ค.ศ. 831) เป็นกวีเอกและขุนนางสมัยราชวงศ์ถัง เป็นชาวเมืองลั่วหยังในมณฑลเหอหนาน เมื่อเยาว์วัย มีฐานะยากจน ไป๋จวีอี้เองก็อยู่ในสถานะเช่นนี้เมื่อตอนเด็ก หยวนเจิ่นมีพรสวรรค์ในบทกลอน เริ่มเขียนบทกวีตั้งแต่เด็กใน ค.ศ. 800 สอบได้จิ้นซื่อ ปีนั้นมีคนสอบได้ 17 คน ไป๋จวีอี้ก็สอบได้เช่นกัน จิ้นซื่อเป็นการสอบแข่งขันเป็นบัณฑิตระดับประเทศ ผู้ที่สอบจิ้นซื่อได้ที่ 1 เรียกว่า จ้วงหยวน (จอหงวน)

เจียงหนานแสนงาม หน้า 259

(น. 259) 6. ถ้วยสุรา ทำด้วยดินเผาจื่อซา สมัยจักรพรรดิคังซี สลักรูปพืชที่เป็นมงคล เช่น มันฮ่อ (เหอเทา walnut) มีความหมายคือ ให้มีอายุยืน กระจับ ให้ความหมายว่า เฉียบไว ลิ้นจี่ หมายความว่า ได้กำไร มีไหวพริบ ถั่วลิสง หมายความว่า มีลูกหลานมากมาย แปะก๊วย เม็ดแตงโม ไม่ได้บอกว่าหมายความว่าอะไร 7. ที่วางพู่กัน เป็นดินเผาจื่อซา สมัยราชวงศ์ชิง เป็นรูปกิ่งไม้ มีจักจั่นเกาะ 8. ภาพวาดสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ รูปกษัตริย์ 5 พระองค์กำลังทรงพระเกษมสำราญอยู่กับเหล่านางสนมกำนัลในฤดูใบไม้ผลิ ภาพเขียนสีได้สวยงามมาก ภาพเครื่องเรือน อาคาร อาหารสมัยนั้น และการแต่งกายของบุคคลในภาพ แสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ของคนในสมัยนั้นว่าเป็นเช่นใด 9. ภาพวาดสมัยราชวงศ์หมิง เป็นภาพเหมือนของนักปราชญ์ต่างๆ ในสมัยราชวงศ์ซ่งมาพบปะกัน แล้วร่วมกันเขียนตัวอักษร ที่ซีหยวน ในเมืองลั่วหยัง นักปราชญ์คนหนึ่งที่เห็นในภาพก็คือ ซูตงปัวหรือซูซื่อนั่นเอง 10. ภาพคนแก่ที่เขียนในสมัยราชวงศ์ชิง เขียนแบบโบราณ การใช้เส้นใหญ่ เล็ก หนัก เบา ทำให้ภาพนี้มีชีวิตชีวา ภาพของจงขุย ซึ่งคนจีนเชื่อว่าเป็นยมบาล มีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่งจักรพรรดิถังเสวียนจง (ค.ศ. 712 – 756) ทรงพระสุบินว่า เห็นผีตัวใหญ่จับผีตัวเล็กกินไปเลย ผีตัวใหญ่ทูลว่า เมื่อเป็นมนุษย์ เคยไปสอบแข่งขันเป็นจอหงวน แต่สอบตก จึงเอาศีรษะชนบันไดหินตายได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เมื่อตายแล้ว จะปราบผีไม่ดี เลยกินผีตัวเล็กที่ไม่ดี จงขุยก็คือผีตัวใหญ่นั่นเอง

เจียงหนานแสนงาม หน้า 302

(น. 302) อีกครั้งหนึ่งอยู่ 70 กว่าปี (ค.ศ. 907 – 979) จึงรวมตัวกันได้ใหม่ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 979 – 1279) ช่วงแตกแยกนี้ ในประวัติศาสตร์จีนเรียกกันว่า สมัยห้าราชวงศ์ (ค.ศ. 970 - 960) สิบแคว้น (ค.ศ. 907 – 979) แคว้นอู๋เย่ว์เป็นแคว้นหนึ่งในสิบแคว้น] ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ซึ่งหนีการรุกรานของพวกกิมก๊กมาอยู่ทางใต้ได้มาตั้งเมืองหลวงที่หังโจว และเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองหลินอาน หังโจวเป็นเมืองที่ทิวทัศน์ธรรมชาติทั้งภูเขาและทะเลสาบงดงามยิ่ง ทะเลสาบที่มีชื่อเสียงเลื่องลือคือ ทะเลสาบซีหู และที่ตำบลเอี๋ยนกวน อำเภอไห่หนิงซึ่งพื้นที่ทางใต้ติดกับอ่าวหังโจวนั้นเป็นที่ชมคลื่นทะเลเฉียนถังอันเลื่องชื่อ มาร์โคโปโลเคยมาเที่ยวหังโจวและชื่นชอบมาก จนกล่าวว่า หังโจวเป็นเมืองสวรรค์ซึ่งสวยงามและภูมิฐานที่สุดของโลก ไป๋จวีอี้ กวีเอกผู้ซึ่งเคยมาเป็นเจ้าเมืองหังโจวอยู่ 2 ปีในช่วง ค.ศ. 822 – 824 ก็ชมชอบเมืองหังโจวมาก จนเคยแต่งบทกวีพรรณนาถึงเองหังโจวโดยขึ้นต้นบาทแรกว่า “คิดถึงเจียงหนาน คิดถึงหังโจวที่สุด” (เจียงหนานอี้ จุ้ยอี้ซื่อหังโจว) หังโจวเป็นเมืองงาม แดนอุดมมาแต่โบราณ เป็นแหล่งผลิตผ้าแพร ผ้าไหม และมีหัตถกรรมการปักผ้า การทำร่มแพรไหม พัดไม้จันทน์หอม กรรไกร รวมทั้งเป็นแหล่งผลิตชาหลงจิ่งที่มีคุณภาพสูง รสชาติดี และชาอื่นอีกหลายชนิด อาหารที่อร่อยก็มีหลายอย่าง นอกจากนั้นยังเป็นเมืองหลวงสำคัญหนึ่งในเจ็ดเมืองของจีน (ปักกิ่ง ซีอาน ไคเฟิง ลั่วหยัง อานหยัง หนานจิง และหังโจว ในประเทศจีน ยังมีเมืองที่เคยเป็นเมืองหลวงของแคว้น

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 5 ภาคผนวก หน้า 3

(น.3) 3. ราชวงศ์โจว ประมาณก่อน ค.ศ. 1122 – 770 บางหลักฐานระบุว่าประมาณก่อน ค.ศ. 1027 – 770
4. ยุคชุนชิว ก่อน ค.ศ. 770 – 476
5. ยุคจ้านกว๋อ ก่อน ค.ศ. 476 – 221
6. ราชวงศ์ฉิน ก่อน ค.ศ. 221 – 206
7. ราชวงศ์ฮั่น ก่อน ค.ศ. 206 – ค.ศ. 220
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ก่อน ค.ศ. 206 – ค.ศ. 8 หวังหมางยึดอำนาจ (ราชวงศ์ซิน) ค.ศ. 8 – 23 ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ค.ศ. 25 – 220 8. สมัยสามก๊ก ค.ศ. 220 – 265 ราชวงศ์เว่ย (ก๊กของโจโฉ ตั้งเมืองหลวงที่ลั่วหยาง) ค.ศ. 220 – 265 ราชวงศ์สู่หรือสู่ฮั่น (ก๊กของเล่าปี่ ตั้งเมืองหลวงที่เฉิงตู) ค.ศ. 221 – 263 ราชวงศ์หวู (ก๊กของซุนกวน ตั้งเมืองหลวงที่หนานจิง) ค.ศ. 222 – 280 9. ราชวงศ์จิ้นตะวันตก ค.ศ. 265 – 317 ราชวงศ์นี้สามารถรวบรวมประเทศจีนหลังสมัยสามก๊กให้เป็นปึกแผ่นอยู่ประมาณ 50 ปีเศษ
10. ราชวงศ์ใต้และราชวงศ์เหนือ (สมัยแห่งการแตกแยกทางการเมือง)

Next >>