Please wait...

<< Back

มองโกเลียใน

จากหนังสือ

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 2 เหลียวหนิง หน้า 32

(น.32) รูป
(น.32) ห้องที่ 6 สมัยเหลียว วัฒนธรรมพวกฉีตาน (ค.ศ. 926-1125) คนส่วนนี้กลุ่มหนึ่งไปอยู่ทางตะวันตกแถบมณฑลซินเกียง เรียกว่าเหลียวตะวันตก การศึกษาประวัติศาสตร์ช่วงนี้ค่อนข้างยากเพราะชื่อเมืองก็เรียกต่างๆกันไป ผิดจากที่ใช้กันก่อนสมัยราชวงศ์เหลียว เช่น เมืองปักกิ่งเรียกกันว่าซ่างจิง ส่วนเมืองหลินหวงฝู่ (ปัจจุบันอยู่มองโกเลียใน) กลับเรียกว่าเมืองเป่ยจิง ส่วนเมืองต้าถงเรียกซีจิง เมืองเหลียวหยางเรียกตงจิง เป็นเมืองหลวงในขณะนั้น มองโกเลียในมีอูฐสองตะโหงกอยู่

แกะรอยโสม
แกะรอยโสม หน้า 93

(น.93) สำคัญของจีน แถบนี้มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างรุนแรง ในการทำโครงการนี้เขาหวังผลหลายๆ อย่าง ที่เห็นชัดได้แก่
1. การทำเหมืองแร่มากเกินไป ทำให้เกิดของเสีย เกิดมลภาวะในน้ำ ก็จะถือโอกาสหามาตรการแก้เรื่องนี้
2. การแก้ปัญหาเขตด้อยพัฒนา
3. การควบคุมแม่น้ำหวงเหอในเขตมณฑลชานซี ส่านซี และมองโกเลียใน มีผลในการวางแผนการใช้ที่ดิน การศึกษาเรื่องคนที่มาตั้งถิ่นฐานใหม่ในส่วนที่เคยเป็นทะเลทราย ไม่มีผู้คน จัดบริเวณที่ควรตั้งบ้านเรือน ที่ควรปลูกป่า
ในหัวข้อนี้ได้แสดงผลในคอมพิวเตอร์ให้ดูด้วย เขาพัฒนา Software ขึ้นมาใช้เอง บางส่วนก็ใช้การแปลภาพด้วยสายตา บางส่วนก็ใช้คอมพิวเตอร์ทำ ทั้ง Unsupervised Classification และ Supervised Classification การจำแนกข้อมูลใช้เครื่อง Microcomputer ซึ่งปัจจุบันมีประสิทธิภาพดี มีขนาดเล็กพอที่จะนำไปในการสำรวจภาคสนามได้ ต่อข้อมูลเข้าระบบใหญ่ได้ ต่อออก plotter ได้

คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 237

(น.237) ภูมิภาคปกครองตนเองมองโกเลียใน ให้รูปปั้นม้าวิ่งสู่อนาคต
มณฑลเหลียวหนิง ให้เครื่องรัก วิญญาณของชาติจีน
มณฑลจี๋หลิน ให้หินฝนหมึก รูปสนและชงโคหยั่งรากลึกในดินแดนจีน
มณฑลเฮยหลงเจียง ให้แจกันรูปดอกชงโคบานอีกครั้งในฤดูใบไม้ผลิ
มหานครเซี่ยงไฮ้ ให้หยกสลัก รูปชาวลุ่มน้ำผู่เจียงฉลองการกลับคืนของฮ่องกง
มณฑลเจียงซู ให้ผ้าปักซูโจว รูปการเดินทางกลับ
มณฑลเจ้อเจียง ให้ไม้สลัก รูปการเดินเรือกลับ
มณฑลอันฮุย ให้รูปทำด้วยเหล็ก เป็นรูปอาทิตย์ฉายแสงตลอดกาล
มณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) ให้ฉากเครื่องรัก เป็นเรื่องความรู้สึกเป็นพี่น้องที่ชาวฝูเจี้ยนมีต่อชาวฮ่องกง
มณฑลเจียงซี ให้เครื่องกระเบื้อง เป็นรูปดอกชงโคกลับคืนสู่ดอกโบตั๋น (เป็นสำนวนหมายถึงลูกกลับคืนมาหาแม่)
มณฑลซานตุง ให้ฉากทำด้วยไม้แดง สลักเป็นเรื่องภูเขาไท่ซานต้อนรับการกลับคืนมาของฮ่องกง
มณฑลเหอหนาน ให้แจกันกระเบื้อง เป็นรูปช้างเหอหนานมอบสมบัติ
มณฑลหูเป่ย ให้รูปสำริดหุ้มทอง รูปนกกระเรียนสีเหลืองกลับคืน

มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 33

(น.33) รูป27. เตาเผากำยานทำด้วยสำริด เตาเช่นนี้มีในปักกิ่งเพียง 2 ใบคือใบนี้กับที่พระราชวังหลวง
รูป28. ศิลาจารึก 4 ภาษา (มองโกล, ทิเบต, จีน, แมนจู) กล่าวถึงความเคารพของพระเจ้าเฉียนหลงต่อศาสนาลามะ
รูป29. เขาพระสุเมรุทำด้วยสำริด
ปล่อยแล้ว ขณะนี้ก็มีพระชาวมองโกลอยู่วัดนี้ได้รับความคุ้มครองจากโจวเอินไหล ตอนปฏิวัติวัฒนธรรมนักศึกษาจะมาทำลายวัด ท่านโจวได้ให้ท่านหันเหนียนหลงมาคุยกับนักศึกษาไม่ให้เข้าทำลาย จึงรักษาไว้ได้ ขณะนี้มีพระลามะอยู่ 30 องค์ เราเดินดูภายในวัด ที่วัดมีเตาเผากำยานทำด้วยสำริด ในปักกิ่งมีเพียง 2 ใบ คือที่วัดนี้กับที่พระราชวังหลวง ศิลาจารึกมี 4 ภาษา ทิศตะวันออกเป็นภาษามองโกเลีย ตะวันตกเป็นภาษาทิเบต ทิศเหนือภาษาจีน ทิศใต้เป็นภาษาแมนจู ว่ากันว่าภาษาจีนเป็นลายพระหัตถ์ของพระเจ้าเฉียนหลงเอง ภาษามองโกเลียกับภาษาแมนจูดูตัวอักษรคล้าย ๆ กัน เนื้อหาของจารึกทุกด้านเหมือนกัน กล่าวถึงพระเจ้าเฉียนหลงเคารพศาสนาลามะ (ลามะจีวรเหลือง) เพื่อความสามัคคีกับมองโกเลีย

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 88

(น.88) ภาพฝาผนังต่าง ๆ ที่คัดลอกมาจากสุสานเป็นเรื่องการรับทูต มีเจ้าหน้าที่กรมพิธี และทูตจากโรมัน เกาหลี ชนกลุ่มน้อย ในสมัยราชวงศ์ถังมีหลักฐานว่าจีนมีความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ 300 กว่าประเทศ สุสานจำลองจากสุสานเจ้าหญิงหย่งไท่ (ทำด้วยไม้อัดปะกระดาษ) ภาพตีคลี เกมนี้เป็นเกมจากอิหร่าน แต่เป็นที่นิยมมากในสมัยราชวงศ์ถัง สถานที่ราชการหรือตามหมู่บ้านมักจะมีสนามตีคลี ในประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่าครั้งหนึ่งมีทีมตีคลีจากทิเบตมาแข่งขันกับทีมชาติของราชวงศ์ถัง ปรากฏว่าทีมชาติแพ้ จักรพรรดิองค์ที่ 7 (ถังเสวียนจง-หมิงหวง) ซึ่งยังไม่ขึ้นครองราชย์จึงจัดนักกีฬาไปแข่งอีกครั้งและเอาชนะทิเบตได้ สมัยราชวงศ์ถังพวกเจ้านาย ขุนนางตีคลีกันเป็นส่วนมาก นับว่าเป็นกีฬาใหม่ที่มาตามเส้นทางค้าแพรไหม ปัจจุบันเข้าใจว่ายังมีเหลืออยู่แต่ที่มองโกเลีย ออกจากพิพิธภัณฑ์ไปดูสุสานเฉียนหลิง ทางขึ้นสุสานมีหินสลักเป็นรูปสัตว์เฝ้าอยู่ 2 ด้าน เรานั่งรถขึ้นไปตรงบันไดทางขึ้นซึ่งมี 500 กว่าขั้น ข้าพเจ้ายังนึกว่าถ้าเรามีเวลาควรจะเดิน เพราะว่ามาที่นี่เรารับประทานอาหารกันมากมาย ไม่ได้มีเวลาวิ่งเลย ถนนอยู่ทางทิศใต้ สองข้างมีเขาข้างละลูก มีประตู เสาชัย 2 ด้าน เสาแบบนี้จะมีเฉพาะที่วังกับที่สุสาน ที่อื่นไม่มี อาจารย์หวางแนะนำให้ไปถ่ายรูปกับม้าบิน ลายที่ปีกเป็นลายจากประเทศกรีซ เรานั่งรถต่อไปใกล้สุสาน มีรูปนกกระจอกเทศซึ่งเป็นสัตว์มาจากแอฟริกา รูปขุนนาง ที่สุสานมีป้ายบอกไว้ ป้ายนี้สร้างสมัยพระเจ้าเฉียนหลง อาจารย์หวางอธิบายว่าสุสานนี้คงจะมี 3 ห้อง เพราะเป็นของจักรพรรดิ

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 133

(น.133) เครื่องเคลือบในยุคแรกมีในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (1122 – 770 ปีก่อนคริสตกาล) ที่แสดงไว้เป็นหม้อสำหรับเก็บน้ำมัน ภาชนะสำริดซึ่งเป็นของที่ใช้ในพิธี ไม่ได้เป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน บางทีมีชื่อคนทำสลักไว้ บางทีก็เป็นชื่อของเจ้าของ ที่สำคัญคือภาชนะที่มี 3 ขา ของสมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 220) มีศิลปะชิ้นเอกที่เป็นสัญลักษณ์ของมณฑลกานซู คือม้าเหยียบนกนางแอ่น พบที่อู่เว่ย เป็นเครื่องแสดงว่าวิ่งได้เร็วมาก ม้าเป็นสิ่งที่แสดงความมีพลัง เป็นเจ้าแห่งความเร็ว สมัยก่อนมีพวกพ่อค้ามาจากประเทศทางตะวันตกมาที่จงหยวน จะต้องคิดเตรียมการว่าพาหนะใดจะใช้ขนของได้มากที่สุด (เห็นจะเป็นอูฐ) และพาหนะใดจะนำคนไปได้ไกลที่สุดคือจะต้องเร็วที่สุด ก็คือ ม้านี่เอง ในสมัยราชวงศ์ฮั่นมีผู้รุกรานมาจากทิศตะวันตก จากที่ราบสูงมองโกเลียบ่อยครั้ง จีนต้องหาทางแก้ไขโดยการหาพาหนะที่รวดเร็ว คล่องตัว เหมาะสำหรับใช้ในการรบ ก็คือม้าอีกนั่นแหละ จึงต้องไปติดต่อขอม้าจากพวกคนกลุ่มน้อยจากเมืองเฟอร์กานา (ปัจจุบันอยู่ในอูซเบกิสถาน สหภาพโซเวียต) ได้ม้า “เหงื่อเลือด” มา เมื่อเขียนถึงตรงนี้ข้าพเจ้าขอย้อนมาพูดเรื่องม้าอีกสักครั้ง (ต่อไปอาจจะพูดอีกหลายครั้งเมื่อมีข้อมูลเปลี่ยนแปลงคือไปคุยกับใครมาอีก) ข้าพเจ้าอ่านหนังสือกี่เล่ม ๆ ก็ไม่ค่อยตรงกัน ตามความเข้าใจว่าม้าที่ฮั่นอู่ตี้ได้มา เป็นม้าจากเฟอร์กานา เป็นม้าที่มีพลัง และความรวดเร็วเรียกว่า ม้าเหงื่อเลือด

ย่ำแดนมังกร
ย่ำแดนมังกร หน้า 225

(น.225) ข้าพเจ้าถามผู้ดูแลสวนสัตว์ว่า สวนสัตว์นี้มีช้างหรือไม่ เขาบอกว่าที่ซีอานนี้ไม่มีช้าง มีแต่ที่ปักกิ่ง แล้วข้าพเจ้าถามถึงสมเสร็จ 2 ตัว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ฯพณฯ เติ้งเสี่ยวผิง ครั้งที่มาเยือนไทยเมื่อ 2-3 ปีก่อน เขาบอกว่าขณะนี้อยู่สบายดีที่ปักกิ่ง ก่อนจะกลับได้เห็นนกกระเรียนหัวแดง (ไม่ใช่หัวล้านอย่างนกตะกรุม เป็นแต่ขนที่หัวสีแดง) เป็นสัญลักษณ์ของความมีอายุยืน มาจากมณฑล เฮยหลงเจียง ภาคอีสานของจีน ในรถขากลับ คุณซุนหมิงบอกว่ามณฑลส่านซียังมีการแสดงละครลิงที่เมือง เสียนหยาง ข้าพเจ้าถามว่าในมณฑลส่านซีมีอูฐไหม คุณซุนหมิงว่ามีอยู่ที่ มองโกเลียใน เหนือมณฑลส่านซี เขาใช้เป็นสัตว์พาหนะ อูฐที่นี่มีแต่อูฐสองตะโหงก อูฐตะโหงกเดียวไม่มี เห็นอูฐแล้วนึกขึ้นมาได้อย่างหนึ่งว่า อูฐภาษาจีนนั้นว่า ลั่วทัว หรือ เลาะเทาะ ในภาษาจีนแต้จิ๋ว มีพระราชลัญจกร มหาโลโต สำหรับปิดพระราชสาส์นไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนสมัยราชวงศ์ เช็ง โดยได้ทราบว่าทำเป็นรูปอูฐหมอบ คำว่า โลโต จึงแปลว่าอูฐ ตอนนี้มีรถเทียมม้า 5 ตัวสวนทางมา รถผ่านโรงแรม คุณซุนหมิงบ่นว่าโรงแรมมี 500 เตียงเท่านั้น อยากจะรับนักท่องเที่ยวมากๆ ก็ไม่ได้ รวมทั้งหมดดูเหมือนจะมี 700 หว่าเตียงเท่านั้น ที่หวาชิงฉือมี 30 กว่าเตียง ที่นี่มีที่น้อย คนมามาก

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 4

(น.4) รูป
(น.4) มาดามแนะนำว่ามาคราวหน้าให้มามองโกเลียในและเจียงซี อีกครั้งหนึ่งให้ไปหูหนาน-กุ้ยโจว ก็จะเป็นอันว่ามาเมืองจีนครบหมดทุกมณฑล มองโกเลียในอากาศดีประมาณเดือนสิงหาคม กันยายน ตุลาคมจะเริ่มหนาว มองโกเลียในมีสถานที่ที่ควรเยี่ยมชมหลายแห่ง เช่น ทะเลสาบฮูหลุน อยู่ที่ฮูหลุนเป้ยเอ่อร์เหมิง ที่เจียงซีน่าจะไปภูเขาจิ่งกัง เมื่อเดือนพฤษภาคม มาดามไปเมืองเหยียนอานเห็นรูปข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไปตอนที่อากาศยังหนาว (มีนาคม 2543) จึงไม่ค่อยมีชาวต่างประเทศไป เดือนพฤษภาคมมาดามว่ามีชาวต่างประเทศมาก

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 200

(น.200) รูป

(น.200) สัตว์ใหญ่ เช่น ตะกวด เสือดาว แพนด้าชนิดเล็ก (lesser panda) แร้ง กระรอกบิน หมาป่าที่มาจากมองโกเลียใน กวาง springbock นกต่างๆ เช่น นกไก่ฟ้า (pheasent) ชนิดขนยาวๆ ที่ใช้ปักหมวกขุนนางจีนสมัยโบราณ (นกหว้า?) นก warship bird นกชนิดนี้ดุมากถึงกับแย่งอาหารในปากนกตัวอื่นๆ มีส่วนที่สะสมนกไก่ฟ้าจากทั่วโลก นกกระสา เรื่องเกี่ยวกับระบบนิเวศทั้งเรื่องภูมิอากาศ คน สัตว์ และดิน ระบบนิเวศของพื้นที่ต่างๆ เช่น ทะเลลึก ทะเลตื้น แถบที่มีปะการัง ป่าชายเลน แสดงปัญหาที่ป่าชายเลนถูกทำลายด้วยการทำนากุ้ง

หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 111,116,118

(น.111) ไม่ทัน จดมาตามภาษาอังกฤษที่เขาแปล ถ้าจะจดเป็นภาษาจีน เห็นจะแย่กว่านี้ เขาบอกว่าจะบรรยายเรื่องโครงสร้างการบริหาร จะฉายวีดีโอ 13 นาที และจะพาไปชมพิพิธภัณฑ์ ฉันจะกล่าวอย่างย่นยอก็แล้วกัน กล่าวยาวไม่ไหว คณะกรรมาธิการนี้เป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงชลประทานแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มีอำนาจหน้าที่เกินกว่าภูมิภาค ครอบคลุมหลายมณฑล ในลุ่มแม่น้ำหวงเหอ ภูมิภาคปกครองตนเองซินเจียง รวมทั้งแม่น้ำบนผืนแผ่นดินใหญ่ของมองโกเลียใน มีหน้าที่หลักคือ
1. จัดทำนโยบายและกฎระเบียบการใช้น้ำ รวมทั้งตรวจสอบดูแลเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับน้ำ ให้มีการกระทำตามกฎหมายเหล่านั้น
2. เขียนแผนการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ทั้งแผนระยะกลางและระยะสั้น รวมทั้งจัดทำโครงการหลักของการพัฒนาชลประทานลุ่มน้ำ
3. บริหารทรัพยากรแหล่งน้ำอย่างเป็นเอกภาพ จัดให้มีการควบคุมดูแล ทดสอบ และประเมินจากการสำรวจภาคสนามเกี่ยวกับทรัพยากรแหล่งน้ำของลุ่มแม่น้ำ
4. จัดการแม่น้ำลำคลอง ห้วยหนอง ทะเลสาบ หาดทรายชายทะเลน้ำตื้น รวมทั้งบริหารแม่น้ำสายสำคัญตามหน้าที่ที่รัฐบาลมอบหมาย
5. จัดการประสานงานการควบคุมป้องกันน้ำท่วม และแก้ปัญหาภัยแล้งในเขตลุ่มแม่น้ำ
6. แก้ไขปัญหาความขัดแย้งเรื่องน้ำระหว่างมณฑลต่างๆ
7. ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ดิน แก้ปัญหาดินที่อุดมสมบูรณ์ถูกน้ำพัดไป และเป็นที่ปรึกษาแก่ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ในการรักษาผิวดิน

(น.116) รูป 81 โมเดลเขื่อน

(น.116) ธรรมชาติของมนุษย์ต้องการที่ดินอุดมสมบูรณ์สำหรับเพาะปลูก และชอบท้าทายธรรมชาติ สองฝั่งแม่น้ำหวงเหอจึงเป็นที่ทำมาหากินของมนุษย์มาตั้งแต่โบราณ รวมทั้งเป็นแหล่งก่อเกิดอารยธรรมจีนด้วย แม่น้ำหวงเหอเป็นแม่น้ำยาวอันดับสองของจีน มีต้นน้ำจากเทือกเขาที่ราบสูงทิเบต-ชิงไห่ ในเขตกลางมณฑลชิงไห่ สูงเหนือระดับน้ำทะเล 4,500 เมตร ไหลผ่านมณฑลชิงไห่ เสฉวน กานซู่ หนิงเซี่ย มองโกเลียใน ส่านซี ซานซี เหอหนาน และซานตง ออกสู่ทะเลโป๋ไห่ที่รอยต่ออำเภอเขิ่นลี่กับอำเภอลี่จิน มีรูปถ่ายตั้งแต่ต้นน้ำที่ชิงไห่ รวมทั้งแสดงว่าแม่น้ำมีการกั้นเขื่อนที่ไหนบ้าง มีแผนที่เริ่มตั้งแต่ชิงไห่เช่นเดียวกัน ผ่านมณฑลต่างๆ แล้วไปลงทะเลโป๋ไห่ มีสาขาของแม่น้ำหลายสาขา ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ ส่วนกลางของลุ่มน้ำ เนื้อที่ทั้งหมด 752,443 ตารางกิโลเมตร ความยาว 5,464 กิโลเมตร แสดงปัญหาตะกอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคกลางและปัญหาน้ำน้อย

(น.118) มีภาพผู้นำมาตรวจงานชลประทาน เช่น ท่านประธานเหมา หลิวเซ่าฉี จูเต๋อ และโจวเอินไหล เรื่องการควบคุมน้ำท่วม ต้องควบคุมน้ำแข็งคือ ธารน้ำแข็งในหนิงเซี่ยและมองโกเลียใน ซึ่งอาจจะทำให้น้ำท่วมในฤดูร้อน เขาใช้วิธีทำฝาย ส่วนวิธีการที่ไม่ใช่ทางวิศวกรรมนั้นก็คือ การบริหาร การติดต่อกับคนเพื่อสร้างความเข้าใจ และการใช้ระบบ microwave ส่งข่าว สมัยก่อน (เขื่อนซานเหมินเสีย ค.ศ. 1957-1966) ไม่ได้คิดเรื่องเขื่อนที่แก้ปัญหาตะกอน ยังสร้างไม่ทันเสร็จดี มีตะกอนมาถมเสียครึ่งหนึ่งแล้ว ในระยะหลังมีเทคโนโลยีดีขึ้น จึงใช้วิธีทำอุโมงค์ให้ตะกอนไหลออกไป และมีการแก้ไขการกัดเซาะด้วย เรื่องการใช้น้ำก็ต้องระมัดระวัง เพราะมีเขตแห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้งอยู่เป็นบริเวณกว้าง การส่งน้ำต้องใช้ท่อส่งน้ำไป การพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำ สร้างโรงไฟฟ้าในมณฑลส่านซี เมืองหลานโจวในมณฑลกานซู่ และที่หลงหยังเสียเป็นที่ใหญ่ที่สุด

(น.118) รูป 83 โมเดลแสดงการควบคุมน้ำ

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 252

(น.252) ดูแค่นี้ก็เป็นอันว่าหมดเวลา อาจารย์หลี่ให้หนังสือหยุนกั่งเล่มโตสองเล่มจบ กลับโรงแรม เป็นอันว่า e-mail ใช้ไม่ได้ รับประทานอาหาร พวกผู้นำต้าถงเขามารับประทานด้วย แต่ว่าไม่ต้องมีพบปะกันก่อนอาหาร เขาใช้วิธีแจก Sheet เกี่ยวกับต้าถง ก็ดีเหมือนกัน ต้าถงตั้งอยู่ทางเหนือของมณฑลซานซี ติดเหอเป่ยและมองโกเลียใน อยู่บนที่ราบสูงดินเหลือง (loess plateau) สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ล้อมรอบด้วยภูเขา ประกอบด้วย 4 เขตในเมือง และ 7 อำเภอ มีเนื้อที่รวม 14,127 ตารางกิโลเมตร ประชากร 2.8 ล้านคน ต้าถงดำเนินนโยบาย เปิดสู่ภายนอก รัฐบาลประกาศเป็นเมืองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมตั้งแต่ ค.ศ. 386-494 เป็นนครหลวงของราชวงศ์เป่ยเว่ย เป็นเมืองหลวงที่ 2 ของราชวงศ์เหลียวและจินระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11-12 รวมทั้งเป็นที่ตั้งจังหวัดในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงด้วย

(น.252) รูป 189 ภาพเนื่องด้วยพุทธศาสนาในถ้ำ

"ไอรัก" คืออะไร?
"ไอรัก" คืออะไร? หน้า 40

(น.40) รูป 37 อ่างเก็บน้ำเพื่อการชลประทานและการประปา

(น.40) ไปที่เขื่อนมีวิศวกรมาอธิบายแต่ฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง สรุปได้แค่ว่าโครงการชลประทานแม่น้ำส่วนนี้สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำเสียในเมืองเทียนสิน เขาว่ากันว่าแต่ก่อนนี้เมืองเทียนสินไม่มีน้ำดีใช้ น้ำก๊อกเปิดมาก็ใช้ดองผักได้เลย ชงน้ำชาก็ไม่อร่อย ถึงจะผันน้ำหวงเหอมาใช้ก็ยังมีน้ำไม่พอ แม่น้ำล่วน หรือล่วนเหอไหลผ่านทุ่งหญ้าในมองโกเลียในมาสู่มณฑลเหอเป่ย ลงทะเลโปไห่ ยาวประมาณ 888 กิโลเมตร


จัดหมวดหมู่สารสนเทศ

มองโกเลียใน

สภาพอากาศ

มองโกเลียในอากาศดีประมาณเดือนสิงหาคม กันยายน ตุลาคมจะเริ่มหนาว มองโกเลียในมีสถานที่ที่ควรเยี่ยมชมหลายแห่ง เช่น ทะเลสาบฮูหลุน อยู่ที่ฮูหลุนเป้ยเอ่อร์เหมิง ที่เจียงซีน่าจะไปภูเขาจิ่งกัง [1]

สภาพแวดล้อม

คณะกรรมาธิการควบคุมแม่น้ำเหลือง (Yellow River Conservancy Commission) หน่วยงานหนึ่งของกระทรวงชลประทานแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มีอำนาจครอบคลุมหลายมณฑล ในแม่น้ำบนผืนแผ่นดินใหญ่ของมองโกเลียใน ลุ่มแม่น้ำหวงเหอ ภูมิภาคปกครองตนเองซินเจียง [2] เรื่องการควบคุมน้ำท่วม ต้องควบคุมน้ำแข็งคือ ธารน้ำแข็งในหนิงเซี่ยและมองโกเลียใน ซึ่งอาจจะทำให้น้ำท่วมในฤดูร้อน เขาใช้วิธีทำฝาย ส่วนวิธีการที่ไม่ใช่ทางวิศวกรรมนั้นก็คือ การบริหาร การติดต่อกับคนเพื่อสร้างความเข้าใจ และการใช้ระบบ microwave ส่งข่าว สมัยก่อน (เขื่อนซานเหมินเสีย ค.ศ. 1957-1966) ไม่ได้คิดเรื่องเขื่อนที่แก้ปัญหาตะกอน ยังสร้างไม่ทันเสร็จดี มีตะกอนมาถมเสียครึ่งหนึ่งแล้ว ในระยะหลังมีเทคโนโลยีดีขึ้น จึงใช้วิธีทำอุโมงค์ให้ตะกอนไหลออกไป และมีการแก้ไขการกัดเซาะด้วย [3] แม่น้ำล่วน หรือล่วนเหอไหลผ่านทุ่งหญ้าในมองโกเลียในมาสู่มณฑลเหอเป่ย ลงทะเลโปไห่ ยาวประมาณ 888 กิโลเมตร[4]

การคมนาคม

มองโกเลียใน เหนือมณฑลส่านซี เขาใช้อูฐเป็นสัตว์พาหนะ อูฐที่นี่มีแต่อูฐสองตะโหงก อูฐตะโหงกเดียวไม่มี [5]


อ้างอิง

1. เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 4
2. หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 110,111
3. หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 118
4. "ไอรัก" คืออะไร? หน้า 40
5. ย่ำแดนมังกร หน้า 225