Please wait...

<< Back

จักรพรรดิหย่งเล่อ

จากหนังสือ

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 41

(น.41) ขึ้นมาแล้วเดินทางต่อไปเกาเมี่ยว อยู่ในเมืองจงเว่ย วัดนี้สร้างในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ ราชวงศ์หมิง มีอีกชื่อว่า วัดเป่าอัน (รักษาสันติ) ที่เรียกว่าเกาเมี่ยว (แปลว่า วัดสูง) อาจเป็นเพราะสร้างอยู่บนป้อมเก่า ทำให้สูงกว่าวัดธรรมดา วัดนี้พังเสียหายและซ่อมสร้างขึ้นใหม่หลายครั้ง เช่น หลังแผ่นดินไหวสมัยจักรพรรดิคังซี ราชวงศ์ชิง ต่อมาใน ค.ศ. 1942 ไฟไหม้ต้องบูรณะใหม่อีก เดิมเป็นศาสนสถานของ 3 ศาสนา คือ พุทธ ขงจื้อ และเต๋า แต่ว่าปัจจุบันมีแต่ศาสนาพุทธ เรามีเวลาไม่มากเลยเดินดูคร่าวๆ เท่านั้น วิหารหน้าสุดเมื่อเข้าไปถึงเป็นวิหารจตุโลกบาล มีพระไมเตรยะอยู่ตรงกลาง ขึ้นบันไดไป บันไดชันมาก ผ่านเข้าประตูหัวจ้าง เข้าไปถึงวิหาร 3 ชั้น ชั้นล่างมีรูปพระศากยมุนีกับพระสาวก 2 องค์คือ พระอานนท์กับพระมหากัสสปะ รูปพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ขี่ช้างและพระมัญชุศรีขี่สิงห์ นอกจากนั้นยังมีพระอรหันต์ 18 องค์ พระกษิติครรภ ชั้นที่ 2 เป็นไม้แกะสลัก มีรูปพระอมิตาภะ พระอวโลกิเตศวร พระมหาสถามปราปตะ ชั้นบนสุดมีรูปพระพุทธเจ้าประจำทิศทั้ง 5 คือ พระไวโรจนะ ทิศกลาง พระอมิตายุส (พระอมิตาภะ) อยู่ทิศตะวันตก พระอโมฆสิทธิทิศเหนือ พระอักโษภยะยู่ทิศตะวันออก และพระรัตนสัมภวะอยู่ทิศใต้

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 101

(น.101) เหวัชระและศักติ เขาแพะใหญ่มาก อธิบายว่าแพะตัวนี้เขาใหญ่ยาวมาก ทำให้เกะกะก้มลงกินหญ้าไม่ได้ จึงอดตาย ข้าพเจ้าว่าคนน่าไปช่วยป้อนอาหารให้มัน เขาบอกว่ามีแพะหลายตัวป้อนไม่ทัน ภาพทังกาต่างๆ มีรูปพระพุทธรูปทรงเครื่อง เป็นต้น รองเท้าขององครักษ์ดาไลลามะ มีมัณฑละประดับด้วยไข่มุก 200,000 เม็ด และหินโมรา ทำสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้เอง ในตู้มีคัมภีร์ใบลาน เขียนภาษาสันสกฤต มาจากอินเดีย กุญแจดอกโต (มาก) เกราะสมัยถู่โป๋ เครื่องแต่งกายทำด้วยงาช้าง ในตู้มีพระไตรปิฎก มหาปรัชญาปารมิตาสูตร สมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ เป็นฉบับแรกที่เขียนเป็นภาษาทิเบต เขียนด้วยทองคำ เขาเชิญไปนั่งพักในห้องรับแขก ในห้องนั้นมีลายมือประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมินที่เขียนใน ค.ศ. 1990 มีคนอธิบายว่า วังโปตาลานี้ ได้รับยกย่องเป็นมรดกโลกใน ค.ศ. 1994 ที่จริงก่อนหน้านั้นรัฐบาลกลางยกย่องเป็นแหล่งโบราณสถานระดับชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1960 และช่วยในการบูรณะมาตลอด ระหว่าง ค.ศ. 1989-1994 ใช้เงินซ่อมแซมไป 53 ล้านหยวน

ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 178

(น.178) นอกจากนั้นในห้องสมุดยังเก็บสำเนาจารึก (Rubbing) จากศิลาจารึกสมัยต่างๆ หนังสือหย่งเล่อต้าเตี่ยนฉบับที่สถาบันฯ มีอยู่ ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1959 (มี 200 กว่าเล่ม) มีตราสีแดงประทับไว้ว่าเป็นหนังสือหายาก หย่งเล่อต้าเตี่ยนเป็นสารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดของจีน ต้นฉบับมีอยู่ 3,519 ม้วน

มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 30

(น.30) เมษายน ประกาศใช้นโยบายนี้ในวันที่ 6 เมษายน ที่ประชุมคือที่มหาศาลาประชาชน ท่านนายกว่าถ้าสนใจก็ไปดูได้ เขามีห้องของแต่ละมณฑล ซึ่งจะนำของจากมณฑลนั้น ๆ มาตกแต่ง พูดถึงชนกลุ่มน้อยที่มีมากที่สุดคือพวกจ้วง รองลงมาได้แก่พวกเววูเอ๋อร์ซึ่งมีมากในซินเกียง ที่เป็นมณฑลปกครองตนเอง มีคนเววูเอ๋อร์ถึง 6 ล้านคน ชาวฮั่น 5 ล้านคน คาซัก (เป็นพวกเชื้อสายรัสเซีย) ประมาณ 1ล้านคน พวกแมนจูเคยมาปกครองจีนอยู่นาน โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ปักกิ่งนี้ย้อนไปพูดถึงราชวงศ์หมิง ซึ่งแต่แรกตั้งเมืองหลวงอยู่ที่นานกิง หย่งเล่อ เคยมาปกครองปักกิ่ง เมื่อได้ราชสมบัติจึงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองนี้ หย่งเล่อได้ทำประโยชน์แก่จีนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำพจนานุกรมหย่งเล่อต้าเตี่ยน ประวัติศาสตร์จีนมีความแน่นอน เพราะแต่ละราชวงศ์จะมีพนักงานจดบันทึกเหตุการณ์ไว้ พนักงานเหล่านี้มักจะเป็นผู้มีใจเป็นธรรม คือจดตามความเป็นจริง กษัตริย์ทำไม่ดีก็จดไว้ ขณะนี้เรียบเรียงไว้เป็น 24 เล่ม ยังไม่รวมประวัติราชวงศ์ชิง และกล่าวถึงการแบ่งหน่วยราชการกระทรวงของจีน เมื่อรับประทานอาหารเสร็จพักผ่อนระยะหนึ่ง บ่ายสองโมงออกไปวัดลามะหย่งเหอกง พระที่มารับเป็นคนมองโกล อธิบายว่าที่นี่สร้างขึ้นในค.ศ.1694 ซึ่งเป็นปีที่ 33 ในรัชกาลพระเจ้าคังซี เคยเป็นตำหนักของพระราชโอรสองค์ที่ 4 (องค์ชาย 4 ในภาพยนตร์ทีวีเรื่องศึกสายเลือด) ต่อมาองค์ชาย 4 ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าหย่งเจิ้งอยู่ 13 ปีก็สวรรคต (ค.ศ. 1723-1736)

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 370

(น.370) ราชวงศ์หมิง หงอู่ ค.ศ. 1368 – 1398
หย่งเล่อ ค.ศ. 1403 – 1424
เจิ้งเต๋อ ค.ศ. 1506 – 1522
ว่านลี่ ค.ศ. 1573 – 1620

ย่ำแดนมังกร
ย่ำแดนมังกร หน้า 28

(น.28) หลังจากนั้นเราไปที่ เทียนถาน หรือหอฟ้า อันเป็นที่ซึ่งจักรพรรดิตั้งแต่ราชวงศ์เหม็ง (หรือ หมิง) มากระทำพิธีพืชมงคลแบบจีนเพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่รัฐ เมื่อไปถึงลมแรงมากจนต้องควักแว่นตาขึ้นมาใส่ปะทะผงต่างๆ ที่จะเข้าตาเอาไว้ก่อนอาคารแรกที่ไปเป็นอาคารกลมๆ ชื่อว่า ซิ่นเเหนียนเตี้ยน ผู้ดูแลบอกว่าสร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1420 ในรัชกาลพระจักรพรรดิหย่งเล่อ (ใช้เวลาสร้าง 14 ปี) หลังคา 3 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องสีน้ำเงินสวยงามมาก สีน้ำเงินเป็นสีที่บ่งบอกความหมายถึงสวรรค์ เป็นสถานที่พำนักของเทพเจ้าหรือเรียกว่า เทียน (ถ้าเป็นพระราชวังหลังคาจะมุงด้วยกระเบื้องสีเหลืองซึ่งเป็นสีของกษัตริย์) อาคารนี้ถูกเผาในปี 1889 และได้บูรณะใหม่ให้เสร็จสิ้นใน ค.ศ. 1971 ภายในช่างใช้วิธีก่อสร้างอย่างไรก็ไม่ทราบ ทำให้มองเพดานสูงลิบ มีเสาสูงๆเป็นไม้ทั้งต้น เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณเมตรกว่า สูงเกือบ 20 เมตร ไม้ที่ใช้ทำเสานี้เห็นเขาบอกว่าภาษาจีนเรียกว่าไม้ หนานมู่ ไม่ทราบว่าภาษาไทยจะว่าอะไร ข้าพเจ้าเข้าใจว่าคงจะมีในเมืองไทยเพราะเป็นไม้ที่ได้จากป่าแถวๆ มณฑล ยูนนาน และ เสฉวน ซึ่งอากาศ

ย่ำแดนมังกร หน้า 63

(น.63) รถแล่นเข้าเขตที่มีสุสาน เราจะมองเห็นได้ตามเขตภูเขา มีเก๋งจีนเป็นเครื่องหมายว่าตรงนี้มีฮวงซุ้ย ทางเข้าฮวงซุ้ย ติ้งหลิง สองข้างทางเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น สิงโตแบบ “ไลอ้อน” (ไม่ใช่สิงโตเมืองจีนแบบอับเฉาเรือที่มาตั้งอยู่ตามที่ต่างๆ ในเมืองไทย) มีเสือ อูฐ 2 ตะโหงก ช้างนั่ง ช้างยืน ม้า ตอนที่เข้าใกล้สุสานทำเป็นรูปคนข้าราชการฝ่ายบู๊ ฝ่ายบุ๋น ทั้งตงฉิน กังฉิน พร้อมมูล รถผ่าน ฉางหลิง ซึ่งเป็นสุสานที่ใหญ่ที่สุดแต่ยังไม่ได้ขุดขึ้นมา เมื่อถึงหน้าประตูมีผู้ดูแลสุสานมารับ พาเข้าไปในห้อง “บรรยายสรุป” ซึ่งเเต็มไปด้วยขนมกับผลไม้ “มหาดเล็กหญิง” ซึ่งเป็นคนเสิร์ฟน้ำประจำทั้งที่บ้านพักและหิ้วตามไปที่ต่างๆ ก็หันมายิ้มหลิ่วตากับข้าพเจ้าทีหนึ่งก่อน แล้วหันไปสาละวนอยู่กับการจัดน้ำหวานให้พวกเรา ไกด์อธิบายว่าบริเวณที่นี้เป็นสุสานของจักรพรรดิ 13 องค์ใน 16 องค์ ของราชวงศ์เหม็ง สร้างระหว่าง ค.ศ. 1365 – 1641 รวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 277 ปี สุสานของจักรพรรดิองค์แรกคือ พระเจ้า หงอู่ อยู่ที่ นานกิง จักรพรรดิองค์ที่สองคือพระเจ้า เจี้ยนเหวิน เกิดความวุ่นวายในแผ่นดินเรื่องแย่งชิงบัลลังก์ พอเป็นจักรพรรดิได้ 4 ปีก็ฆ่าตัวตาย ของจักรพรรดิองค์ที่ 7 ไปอยูที่ เซียงซาน ส่วนสุสานจักรพรรดิ หย่งเล่อ (Yunglo) องค์ที่ส่งขันทีชื่อ เจิ้งเหอ (Cheng-Ho) มาแถวๆ Southeast Asia และมหาสมุทรอินเดียนั้นยังมิได้เปิดศึกษา

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 175,181


(น.175) คำว่า ชิงจิ้ง ที่เป็นชื่อสุเหร่านั้น หมายถึง การถือศีล ภาษาอาหรับเรียกสุเหร่านี้ว่า Ashab Mosque ตั้งตามชื่อเพื่อนพระมะหะหมัด สมัยราชวงศ์หมิง จักรพรรดิหย่งเล่อประกาศพระบรมราชโองการในรัชศกหย่งเล่อปีที่ 5 ตรงกับ ค.ศ. 1407 จารึกในหลักศิลามีความตอนหนึ่งว่าให้รักษาศาสนาอิสลามในจีน ไม่ว่าข้าราชการ ชาวบ้าน ทหาร ในพื้นที่ที่มีสุเหร่า ห้ามรังแกชาวอิสลาม ถ้ารังแกจะลงโทษ
(น.181) บริเวณสุสานมีแผ่นศิลาจารึกโบราณที่สำคัญอยู่ 5 แผ่น สมัยราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิง เป็นภาษาอาหรับ แผ่นแรก ค.ศ. 1322 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบูรณะศาสนสถาน อีกแผ่นหนึ่ง ค.ศ. 1417 ปีที่ 15 ของจักรพรรดิหย่งเล่อ นายพลเจิ้งเหอได้มาคารวะสุสานนี้และได้ไปที่ต่างๆ หลายแห่ง มีการกล่าวถึงเมืองล่าถง เมืองถง เมืองหลี่เฉิง ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของเมืองเฉวียนโจว คนอาหรับชื่อถังซง กล่าวถึงศิษย์พระมะหะหมัดที่พูดว่า “เราจะไปหาความรู้ จะไม่กลัวทางไกล” (ไปประเทศจีน) คริสต์ศตวรรษที่ 17 สมัยราชวงศ์ชิง มีจารึกกล่าวถึงข้าราชการชั้นสูงที่นับถือศาสนาอิสลามต้องมาคารวะที่นี่

หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 205

(น.205) มีตู้เก็บเอกสาร ลายมือของบุคคลสำคัญ เมื่อเสียชีวิตแล้วครอบครัวหรือคนใกล้ชิดให้ห้องสมุด หนังสือชุดหย่งเล่อต้าเตี่ยน ซึ่งจัดทำขึ้นในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ แห่งราชวงศ์หมิง รวบรวมเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1408 เป็นประมวลหนังสือที่แยกหมวดหมู่ตามเนื้อเรื่อง

"ไอรัก" คืออะไร?
"ไอรัก" คืออะไร? หน้า 13,25

(น.13) มีเจ้าหน้าที่ 2,500 คน การก่อสร้างออกแบบให้ทนทานแผ่นดินไหวได้ระดับ 8 ห้องสมุดนี้เป็นที่รวบรวมหนังสือมากที่สุด เพราะว่าหนังสือทุกเล่มที่พิมพ์ในประเทศต้องส่งให้ห้องสมุด 3 เล่ม หนังสือต่างประเทศก็มีมาก เพราะเขามีสัญญาแลกเปลี่ยนหนังสือกับต่างประเทศประมาณ 100 ประเทศ มีหนังสือโบราณหายากประมาณ 260,000 เล่ม เช่น ต้นฉบับเอกสารจากถ้ำตุนหวง จารึกบนกระดองเต่าและกระดูกสัตว์สมัยราชวงศ์ชาง (1,100 ก่อนคริสตกาล) คัมภีร์พุทธศาสนาจากอำเภอเจ้าเฉิง ปทานุกรมหย่งเล่อต้าเตี่ยน และชื่อขู่ฉวนฉู่ (วรรณกรรม 4 ประเภทที่รวบรวมขึ้นในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง) มีเอกสารที่เย็บแบบโบราณถึง 2 ล้านเล่ม
(น.25) พิพิธภัณฑ์มักจัดนิทรรศการพิเศษ มีงานวิจัยหลายอย่างที่พิมพ์เผยแพร่ ส่วนที่เราดูคือกำเนิดเมืองเทียนสิน ช่วงที่พระจักรพรรดิหย่งเล่อ ราชวงศ์หมิงเสด็จผ่านมา เห็นเมืองเทียนสินงดงาม จึงตั้งชื่อ “Tianjin” ซึ่งหมายถึงเมืองท่าของจักรพรรดิ ส่วนที่เกี่ยวกับบทบาทชาวต่างประเทศ มีภาพท่าเรือต้ากูโช่ว เริ่มมีปัญหาที่ชาวต่างประเทศนำฝิ่นมาขาย มาที่เทียนสินด้วย จนถึงตอนที่เมืองเทียนสินถูกกองกำลังต่างชาติ 8 ชาติยึดครอง หลังสงคราม



จัดหมวดหมู่สารสนเทศ

จักรพรรดิหย่งเล่อ

หย่งเล่อ ค.ศ. 1403 – 1424[1]

ราชวงศ์หมิง ซึ่งแต่แรกตั้งเมืองหลวงอยู่ที่นานกิง หย่งเล่อ เคยมาปกครองปักกิ่ง เมื่อได้ราชสมบัติจึงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองนี้ หย่งเล่อได้ทำประโยชน์แก่จีนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำพจนานุกรมหย่งเล่อต้าเตี่ยน [2]

พระราชกรณียกิจ

สถาปัตยกรรม

เกาเมี่ยว อยู่ในเมืองจงเว่ย วัดนี้สร้างในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ ราชวงศ์หมิง มีอีกชื่อว่า วัดเป่าอัน (รักษาสันติ) ที่เรียกว่าเกาเมี่ยว (แปลว่า วัดสูง) อาจเป็นเพราะสร้างอยู่บนป้อมเก่า ทำให้สูงกว่าวัดธรรมดา วัดนี้พังเสียหายและซ่อมสร้างขึ้นใหม่หลายครั้ง เช่น หลังแผ่นดินไหวสมัยจักรพรรดิคังซี ราชวงศ์ชิง ต่อมาใน ค.ศ. 1942 ไฟไหม้ต้องบูรณะใหม่อีก เดิมเป็นศาสนสถานของ 3 ศาสนา คือ พุทธ ขงจื้อ และเต๋า แต่ว่าปัจจุบันมีแต่ศาสนาพุทธ วิหารหน้าสุดเมื่อเข้าไปถึงเป็นวิหารจตุโลกบาล มีพระไมเตรยะอยู่ตรงกลาง ขึ้นบันไดไป บันไดชันมาก ผ่านเข้าประตูหัวจ้าง เข้าไปถึงวิหาร 3 ชั้น ชั้นล่างมีรูปพระศากยมุนีกับพระสาวก 2 องค์คือ พระอานนท์กับพระมหากัสสปะ รูปพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ขี่ช้างและพระมัญชุศรีขี่สิงห์ นอกจากนั้นยังมีพระอรหันต์ 18 องค์ พระกษิติครรภ ชั้นที่ 2 เป็นไม้แกะสลัก มีรูปพระอมิตาภะ พระอวโลกิเตศวร พระมหาสถามปราปตะ ชั้นบนสุดมีรูปพระพุทธเจ้าประจำทิศทั้ง 5 คือ พระไวโรจนะ ทิศกลาง พระอมิตายุส (พระอมิตาภะ) อยู่ทิศตะวันตก พระอโมฆสิทธิทิศเหนือ พระอักโษภยะยู่ทิศตะวันออก และพระรัตนสัมภวะอยู่ทิศใต้[3]

เทียนถาน หรือหอฟ้า อันเป็นที่ซึ่งจักรพรรดิตั้งแต่ราชวงศ์เหม็ง (หรือ หมิง) มากระทำพิธีพืชมงคลแบบจีนเพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่รัฐ อาคารแรกที่ไปเป็นอาคารกลมๆ ชื่อว่า ซิ่นเเหนียนเตี้ยน ผู้ดูแลบอกว่าสร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1420 ในรัชกาลพระจักรพรรดิหย่งเล่อ (ใช้เวลาสร้าง 14 ปี) หลังคา 3 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องสีน้ำเงินสวยงามมาก สีน้ำเงินเป็นสีที่บ่งบอกความหมายถึงสวรรค์ เป็นสถานที่พำนักของเทพเจ้าหรือเรียกว่า เทียน (ถ้าเป็นพระราชวังหลังคาจะมุงด้วยกระเบื้องสีเหลืองซึ่งเป็นสีของกษัตริย์) อาคารนี้ถูกเผาในปี 1889 และได้บูรณะใหม่ให้เสร็จสิ้นใน ค.ศ. 1971 ภายในช่างใช้วิธีก่อสร้างอย่างไรก็ไม่ทราบ ทำให้มองเพดานสูงลิบ มีเสาสูงๆเป็นไม้ทั้งต้น เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณเมตรกว่า สูงเกือบ 20 เมตร ไม้ที่ใช้ทำเสานี้เห็นเขาบอกว่าภาษาจีนเรียกว่าไม้ หนานมู่ คงจะมีในเมืองไทยเพราะเป็นไม้ที่ได้จากป่าแถวๆ มณฑล ยูนนาน และ เสฉวน ซึ่งอากาศไม่ต่างจากประเทศไทยมากนัก หัวเสาทำเป็นรูปมังกรและหงส์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิและมเหสีตามลำดับ ที่พื้นอาคารตรงกลางห้องพอดี เป็นหินอ่อนลวดลายธรรมชาติซึ่งคนจีนมองแล้วบอกว่าเป็นหงส์และมังกร บนยกพื้นมีบัลลังก์ ซึ่งจักรพรรดินั่งไม่ได้เพราะเป็นอาสนะของ เทียน (สวรรค์) จักรพรรดิต้องประทับพระราชอาสน์ที่อยู่ข้างๆ[4]

พุทธศาสนา

พระไตรปิฎก มหาปรัชญาปารมิตาสูตร สมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ เป็นฉบับแรกที่เขียนเป็นภาษาทิเบต เขียนด้วยทองคำ[5]

การต่างประเทศ

สมัยราชวงศ์หมิง จักรพรรดิหย่งเล่อประกาศพระบรมราชโองการในรัชศกหย่งเล่อปีที่ 5 ตรงกับ ค.ศ. 1407 จารึกในหลักศิลามีความตอนหนึ่งว่าให้รักษาศาสนาอิสลามในจีน ไม่ว่าข้าราชการ ชาวบ้าน ทหาร ในพื้นที่ที่มีสุเหร่า ห้ามรังแกชาวอิสลาม ถ้ารังแกจะลงโทษ บริเวณสุสานมีแผ่นศิลาจารึกโบราณที่สำคัญอยู่ 5 แผ่น สมัยราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิง เป็นภาษาอาหรับ แผ่นแรก ค.ศ. 1322 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบูรณะศาสนสถาน อีกแผ่นหนึ่ง ค.ศ. 1417 ปีที่ 15 ของจักรพรรดิหย่งเล่อ นายพลเจิ้งเหอได้มาคารวะสุสานนี้และได้ไปที่ต่างๆ หลายแห่ง มีการกล่าวถึงเมืองล่าถง เมืองถง เมืองหลี่เฉิง ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของเมืองเฉวียนโจว คนอาหรับชื่อถังซง กล่าวถึงศิษย์พระมะหะหมัดที่พูดว่า “เราจะไปหาความรู้ จะไม่กลัวทางไกล” (ไปประเทศจีน) คริสต์ศตวรรษที่ 17 สมัยราชวงศ์ชิง มีจารึกกล่าวถึงข้าราชการชั้นสูงที่นับถือศาสนาอิสลามต้องมาคารวะที่นี่[6]

สารานุกรมหย่งเล่อ

สถาบันชนชาติมณฑลยูนนาน ห้องเอกสารโบราณจีน ยังเก็บสำเนาจารึก (Rubbing) จากศิลาจารึกสมัยต่างๆ หนังสือหย่งเล่อต้าเตี่ยนฉบับที่สถาบันฯ มีอยู่ ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1959 (มี 200 กว่าเล่ม) มีตราสีแดงประทับไว้ว่าเป็นหนังสือหายาก หย่งเล่อต้าเตี่ยนเป็นสารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดของจีน ต้นฉบับมีอยู่ 3,519 ม้วน[7] หนังสือชุดหย่งเล่อต้าเตี่ยน ซึ่งจัดทำขึ้นในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ แห่งราชวงศ์หมิง รวบรวมเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1408 เป็นประมวลหนังสือที่แยกหมวดหมู่ตามเนื้อเรื่อง[8]

สุสานจักรพรรดิราชวงศ์หมิง

สุสานของจักรพรรดิ 13 องค์ใน 16 องค์ ของราชวงศ์เหม็ง สร้างระหว่าง ค.ศ. 1365 – 1641 รวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 277 ปี สุสานของจักรพรรดิองค์แรกคือ พระเจ้า หงอู่ อยู่ที่ นานกิง จักรพรรดิองค์ที่สองคือพระเจ้า เจี้ยนเหวิน เกิดความวุ่นวายในแผ่นดินเรื่องแย่งชิงบัลลังก์ พอเป็นจักรพรรดิได้ 4 ปีก็ฆ่าตัวตาย ของจักรพรรดิองค์ที่ 7 ไปอยูที่ เซียงซาน ส่วนสุสานจักรพรรดิ หย่งเล่อ (Yunglo) องค์ที่ส่งขันทีชื่อ เจิ้งเหอ (Cheng-Ho) มาแถวๆ Southeast Asia และมหาสมุทรอินเดียนั้นยังมิได้เปิดศึกษา[9]

อ้างอิง

1. มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 370
2. มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 30
3. ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 41
4. ย่ำแดนมังกร หน้า 28,30
5. ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 101
6. เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 175,181
7. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 178
8. หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 205
9. ย่ำแดนมังกร หน้า 63