<< Back
เฉิงตู
เย็นสบายชายน้ำ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 6,13,14
(น.6) รูป 3 ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ คุนหมิง
(น.6) งานนี้ (เรียกย่อ ๆ ว่า Kunming Fair) เป็นงานแสดงสินค้าท้องถิ่นซึ่งจัดโดยรัฐบาลมณฑลเสฉวน มณฑลยูนนาน มณฑลกุ้ยโจว ภูมิภาคปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสี ภูมิภาคปกครองตนเองทิเบต นครเฉิงตูและนครฉงชิ่ง (ซึ่งเป็นนครอยู่ในมณฑลเสฉวน) กระทรวงการค้าต่างประเทศและความร่วมมือทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกลางให้ความเห็นชอบ การจัดงานมีหลักการคือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้เป็นภาคหนึ่งของจีนที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาเศรษฐกิจ มีพื้นที่ 2,570,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากรถึง 200 ล้านคน มีพรมแดนติดต่อกับเวียดนาม ลาว พม่า และสามารถต่อไปถึงประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูฏาน เนปาล และอินเดีย ฉะนั้นถือได้ว่าเป็นประตูสู่ประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(น.13) ก็ใหญ่มาก มีประชากรถึง 130 ล้านคน นครฉงชิ่งก็เป็นเมืองสำคัญคือเป็นเสมือนเมืองหลวงระหว่าง ค.ศ. 1949 - 1953 การเดินทางจากนครเฉิงตูมาที่นี่ระยะทาง 336 กิโลเมตร ถือว่าเป็นเมืองภูเขาและแม่น้ำ มีแม่น้ำสำคัญ 2 สายคือ ฉางเจียงและเจียหลิงเจียง ในนครฉงชิ่งมีประชากร 15 ล้านคน นับได้ว่ามากที่สุดในจีน แบ่งการปกครองเป็น 3 เมือง 11 เขต 7 อำเภอ เขาถือว่าฉงชิ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมเก่า ทั้งยังดีในทางการเกษตรด้วย มีเกษตรกรราว 10 ล้านคน อยู่ในเมือง 5 ล้านคน พืชหลักคือ ข้าวโพด อุตสาหกรรมของฉงชิ่งมีมาประมาณ 50 ปีตั้งแต่สมัยต่อต้านญี่ปุ่น ในสมัยปลดปล่อยรัฐบาลย้ายอุตสาหกรรมาฉงชิ่งอีกหลายอย่าง ฉะนั้นจึงเป็นพื้นฐานที่ดี ปัจจุบันอุตสาหกรรมประเภทเครื่องยนต์มีความสำคัญเป็นอันดับที่ 3 ในประเทศจีนรองจากเซี่ยงไฮ้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแหล่งผลิตจักรยานยนต์มากที่สุดในจีน ผลิตได้สองล้านสองแสนกว่าคันต่อปี เป็น 1/3 ของจักรยานยนต์ทั้งหมด รัฐบาลกลางของจีนตั้งเป้าไว้ว่าใน ค.ศ. 2000 จะผลิตจักรยานยนต์ให้ได้ 26 ล้านคันต่อปี โรงงานในฉงชิ่งต้องผลิตให้ได้ 10 ล้านคัน มีโรงงานร่วมทุนกับญี่ปุ่นหลายบริษัท เช่น อีซูซุผลิตรถยนต์ ยามาฮ่าและซูซูกิผลิตจักรยานยนต์ ใช้ยี่ห้อจีน เช่น ยี่ห้อเจียหลิง อุตสาหกรรมเหล็กกล้าก็เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญ นอกจากนั้นมีอุตสาหกรรมยา อาหาร สิ่งทอ และอิเล็กทรอนิกส์
ผ่านอาคารสูง มาดามหลู่อธิบายว่าเป็นหอพัก มีทั้งที่สิงคโปร์และฮ่องกงมาลงทุน มีอาคารส่งเสริมการค้าต่างประเทศ
(น.14) สะพานข้ามแม่น้ำเจียหลิงเจียงสร้างใน ค.ศ. 1960 มองไปบนเขาเห็นศาลาเรียกว่า เหลี่ยงเจียงถิง แปลว่า ศาลาแม่น้ำสองสาย ถนนต่อจากนี้ค่อนข้างแคบ ข้ามภูเขาเลี้ยวไปเลี้ยวมาเรียกว่า ผานซานต้า ไม่เหมือนที่เฉิงตูซึ่งมีถนนค่อนข้างกว้างและตรง ที่ฉงชิ่งมีคนขี่จักรยานน้อยกว่าที่อื่น เพราะพื้นที่สูง ๆ ต่ำ ๆ ขี่ไม่ไหว
สะพานข้ามแม่น้ำฉางเจียง เมื่ออยู่กลางสะพานนี้มองเห็น 3 เขตคือ กลางนคร เขตเหนือแม่น้ำ เขตใต้แม่น้ำ เข้าในเมือง ผู้คนคับคั่ง มาดามหลู่บอกว่า ที่นี่แก้ปัญหาโดยออกกฎไม่ให้รถวิ่งกลางเมืองในวันเสาร์วันอาทิตย์ให้คนเดินอย่างเดียว
นอกจากชาวเมือง ยังมีนักท่องเที่ยวทั้งคนจีนและชาวต่างประเทศอีกเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่เริ่มโครงการซานเสียนักท่องเที่ยวมากันมากขึ้น มาดามหลู่ได้ทราบว่าข้าพเจ้าเขียนเรื่องทุกครั้งที่เดินทางมาประเทศจีน จึงอยากให้เขียนเรื่องซานเสียด้วย
มาถึงโรงแรมรื้อของ กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่ต้องทำก็คือ เขียนโพสต์การ์ด ที่ยูนนานมัวแต่ยุ่งก็เลยลืมเรื่องนี้ไปสนิท คิดว่าจะเขียนที่นี่แล้วฝากใครไปส่งที่คุนหมิง โพสต์การ์ดไปเมืองไทยติดแสตมป์ 2.6 หยวน อีกอย่างหนึ่งที่พยายามทำคือ ทดลองต่อคอมพิวเตอร์แต่ไม่สำเร็จ
เวลาทุ่มกว่าลงไปชั้นล่าง รับประทานเลี้ยงอาหาร มีคนไทยที่มาจากบริษัทต่าง ๆ ที่มาทำธุรกิจที่นี่ ในด้านธนาคาร อาหารสัตว์ เครื่องจักรกลการเกษตร การผสมพันธุ์ข้าวโพด (นำพันธุ์ผสมพื้นเมืองของที่นี่มาผสมกับพันธุ์ผสมของเรา)
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 17
(น.17) วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2539
ตื่นขึ้นมาแต่ตีห้าแล้วเขียนต่อ พี่หวานเขียนข้อมูลเพิ่มมาให้
06.30 น. ลงไปรับประทานอาหารเช้าที่ห้อง Sunset Grill พูดกันถึงเรื่องนครฉงชิ่งว่า เคยเป็นเมืองหลวงสำรอง เราเคยตั้งสถานทูตที่นานกิง ท่านทูตเคยไปสืบหาสถานทูตที่นานกิง ยังไม่พบ
07.30 น. ออกเดินทางไปเป๋าติ่งซาน อำเภอต้าจู๋ เพื่อไปดูภาพหินสลัก ภาพหินสลักถ้ำของจีนนั้นมีสกุลช่างสองสกุล คือ สกุลช่างทางเหนือและสกุลช่างทางใต้ หินสลักทางเหนือฝีมือละเอียด เส้นคมชัดเจน หากเป็นภาพบุคคลจะค่อนข้างท้วม ภาพสลักทางใต้นั้นเส้นไม่คมชัดนัก ฝีมือหยาบกว่า หินสลักบุคคลจะค่อนข้างผอม ที่ต้าจู๋เป็นสกุลช่างทางใต้
คณะนักธุรกิจที่มางานเลี้ยงเมื่อคืนมาส่งข้าพเจ้าไปต้าจู๋ พวกเขาก็ต้องเดินทางกลับเฉิงตู ข้าพเจ้านั่งรถคนเดียวก็ดีเหมือนกันได้เขียนหนังสือ แต่ก็เขียนลำบากเพราะทางไม่ดี เดินทางรถทำให้เข้าใจได้ชัดเจนว่าฉงชิ่งเป็นเมืองภูเขา สองข้างทางเป็นเนินเขา ต้องเข้าอุโมงค์บ่อย แต่ละอุโมงค์ยาวเป็นกิโล ๆ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 50
(น.50) รูป 49 ไปหมู่บ้านจิตรกร จิตรกรให้รูปข้าพเจ้ายืนที่โตรกเขาซานเสีย
(น.50) ถึงหมู่บ้านจิตรกรที่ถนนหัวหลงเฉียว มีคุณซ่งกว่างซุ่นเป็นผู้อำนวยการของหมู่บ้านมากล่าวต้อนรับ เล่าเรื่องหมู่บ้านว่าที่นี่มีจิตรกร 17 คน เขียนภาพพู่กันจีน สีน้ำมันแบบฝรั่ง และภาพพิมพ์ไม้ จิตรกรอยู่ที่นี่ 42 ปีแล้ว แต่เพิ่งเปิดให้ชาวต่างประเทศเข้าชมเมื่อค.ศ.1985 ผู้ที่อยู่ในหมู่บ้านนี้ส่วนมากจะเป็นจิตรกรรุ่นแรก อายุ 70 กว่าปีแล้ว พวกที่เรียกว่าหนุ่มก็อายุ 50 กว่าปี แต่ละคนมีห้องทำงานของตนเองและมาแสดงภาพในห้องประชุมนี้ ส่วนมากจะส่งภาพประกวดระดับชาติ ได้รับรางวัลมากมาย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติก็มาสั่งรูปที่หมู่บ้านนี้ หลายคนได้รับเชิญไปแสดงภาพที่ต่างประเทศ เช่น หลี่เซ่าเหยียน จิตรกรชาวเสฉวนเคยไปแสดงผลงานในประเทศไทยในค.ศ.1990 ได้ไปเที่ยวที่ต่าง ๆ เช่น พระบรมมหาราชวัง เสียดายที่เขาไม่ได้มาต้อนรับด้วยเพราะอยู่ที่เฉิงตู อายุ 80 กว่าแล้วจึงมาไม่ไหวได้แต่โทรศัพท์มาให้คนอื่นช่วยต้อนรับข้าพเจ้า จิตรกรอื่น ๆ เคยไปฝรั่งเศส นอร์เวย์ เยอรมนี ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จิตรกรที่นี่
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 93,97,98,105
(น.93) รูป 83 ไกด์บรรยายสรุปเรื่องผังเมืองใหม่
ข้างหน้าห้องโถงมีป้าย ไกด์บรรยายสรุปเรื่องผังเมืองใหม่ว่าโครงการซานเสียนี้มีคนสนใจมาก การสร้างถึงจะนำความเสียหายมาให้ แต่ก็นำโอกาสมาให้ด้วย ในวันแรกที่สร้างเสร็จจะเกิดเมืองใหม่ชื่อว่านโจว กลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจพิเศษ ขณะเดียวกันเมืองนี้จะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเกลือและแก๊สธรรมชาติด้วย
(น.97) รูป 87 เสาสะพาน
(น.97) นั่งรถไปดูสะพานที่กำลังสร้าง ในรถนายกเทศมนตรีเล่าว่า เมืองนี้ในฤดูร้อน อุณหภูมิสูงสุด 40 องศาเซลเซียส หนาวที่สุด 5 องศาเซลเซียส จึงได้เปรียบในด้านการเพาะปลูก สามารถเก็บเกี่ยวได้ปีละ 3 ครั้ง ด้านอุตสาหกรรมมีอุตสาหกรรมเคมี อาหาร ทอผ้า เครื่องกล ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเบา ปัจจุบันมีวัสดุก่อสร้าง ปูนซีเมนต์ ดินเผา พลาสติก เครื่องตกแต่งภายใน มหาวิทยาลัยว่านเซี่ยนเพิ่มการพัฒนาอบรมในด้านต่าง ๆ สำหรับการเปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดโครงการซานเสีย
สะพานขนส่งทางบกนี้เป็นส่วนของถนน 318 ที่จะเชื่อมนครต่าง ๆ คือ ลาซา เฉิงตู ฉงชิ่ง ว่านเซี่ยน อู่ฮั่น หนานจิง (นานกิง) เซี่ยงไฮ้ เป็นโครงการสำคัญของกระทรวงคมนาคม สะพานนี้ยาว 856 เมตร กว้าง 24 เมตร สูง 250 เมตร การสร้างใช้คอนกรีตเหล็กกล้า ข้ามแม่น้ำโดยใช้โครงสร้างโค้งเดี่ยว ยาว 420 เมตร โครงสร้างลักษณะนี้ในประเทศจีนที่นี่ใหญ่ที่สุด เท่าที่ท่านนายกเทศมนตรีทราบ ยูโกสลาเวียก็มีโครงสร้างแบบนี้ แต่ยาวเพียง 390 เมตร เขตสะพานนี้ต่อไปจะเป็นเมืองใหม่ เริ่มย้ายโรงงานเกลือมาทางนี้แล้ว กำลังสร้างโรงงานดินเผา ศูนย์พาณิชย์ และธนาคารประชาชน
(น.98) รูป 88 ติดป้ายให้ระวังอันตราย
(น.98) นอกจากนั้นยังมีแหล่งหินแร่เกลือ การทำเหมืองเกลือใช้วิธีการฉีดน้ำลงไป ล้างให้เกลือละลาย แล้วสูบขึ้นมา ชั้นหินเกลือหนา 158 เมตร เป็นพื้นที่ประมาณ 2,000 ตารางกิโลเมตร แก๊สธรรมชาติอยู่บริเวณที่เรียกว่า เกาเฟิงฉ่าง ห่างจากที่นี่ราว 18 กิโลเมตร อุดมมากมี 40 กว่าบ่อ ส่งทางท่อไปเฉิงตู ฉงชิ่ง นอกจากนั้นมีถ่านหินอุตสาหกรรมเคมีมีทำสีน้ำมันทาบ้าน การเพาะปลูกส้มเป็นอันดับ 3 ของประเทศ มีส้มธรรมดา ส้มโอ ผ้าไหมของเมืองนี้มีคุณภาพเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศ มีแหล่งท่องเที่ยว 127 แห่ง เปิดให้นักท่องเที่ยวไปเที่ยวได้แล้ว 50 กว่าแห่ง มีศาลเจ้าเล่าปี่มอบบุตรให้ขงเบ้งที่ไป๋ตี้เฉิง เป็นต้น
(น.105) เดินไปถึงยอดเขานั่งพักกินน้ำ คุยกับนายอำเภอ เขาบอกว่าตรงนี้มีคน 900,000 คน ตอนนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ข้าพเจ้าถามว่าที่หลี่ไป๋เขียนบทกวีชื่อว่า เจ่าฟาไป๋ตี้เฉิง (เดินทางจากเมืองไป๋ตี้แต่เช้า) มีความว่า
“เช้าตรู่ อำลาเมืองไป๋ตี้ท่ามกลางเมฆหลากสี เดินทางพันลี้ถึงเมืองเจียงหลิงในวันเดียว สองฝากฝั่งเสียงลิงร้องไม่หยุด เรือน้อยคล้อยผ่านหมื่นช่องผา” ข้อมูลถูกต้องหรือเปล่าที่ว่าเดินทางถึงเจียงหลิง (เมืองจิงโจวอยู่มณฑลหูเป่ย) ใช้เวลาวันเดียวได้จริง ๆ หรือ นายอำเภอยืนยันว่าจริง
(น.105) รูป 93 ป้ายชื่อเมืองไป๋ตี้
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 317
(น.317) ตะวันตกของหิมาลัย และทางใต้ของซีอาน แม่น้ำตอนนี้กว้างประมาณ 1,000 – 1,600 ฟุต ลึกประมาณ 30 ฟุต ไหลเร็วและแรง ตลิ่งมักสูงชัน ทางน้ำลาดลงประมาณ 820 ฟุตในมณฑลนี้ คนเสฉวนเรียกเขตลุ่มน้ำแยงซีว่า ดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ ดินดีมาก ภูมิอากาศก็เหมาะแก่การเพาะปลูก เพราะภูเขาสูงกั้นอากาศเย็นที่มาจากทางตะวันตกและทางเหนือ ภูมิอากาศที่ค่อนข้างดีนี้ทำให้เลี้ยงไหมได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุ เช่น ถ่านหิน ทองแดง ฟอสฟอรัส ทอง น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ประชากรหนาแน่นในเขตเมืองใหญ่ ๆ เช่น เฉิงตู ฉงชิ่ง อันเป็นเมืองอุตสาหกรรมและเมืองท่า (river port)
พ้นเขตมณฑลเสฉวน แม่น้ำแยงซีไหลผ่านเขตภูเขา ประมาณ 125 ไมล์ มีโตรกเขา 3 โตรก ที่เรียกว่า ซานเสีย ก่อนที่จะไหลลงสู่ที่ราบ โตรกเขาทั้งสามนี้ลึกเป็นผาชัน เป็นหินปูน สูงประมาณ 1,300 – 2,000 ฟุตจากระดับน้ำ โตรกแรกยาว 5 ไมล์ เป็นโตรกที่สั้นที่สุด เป็นช่วงที่แล่นเรือได้ยากที่สุด เพราะแม่น้ำแคบ มีเกาะแก่งมาก โตรกที่สองยาว 30 ไมล์ มีหน้าผาสูงชัน เป็นเหมือนฝาผนัง สูงประมาณ 1,600 – 2,000 ฟุต โตรกที่สาม ยาว 21 ไมล์
ความกว้างของแม่น้ำในช่วงนี้ ประมาณ 1,600 – 2,000 ฟุต ในเขตที่เป็นโตรกกว้างเพียง 500 – 600 ฟุต แต่ความลึกลึกถึง 500 – 600 ฟุต ทำให้แม่น้ำแยงซีเป็นแม่น้ำที่ลึกที่สุดในโลก
ช่วงปลายแม่น้ำ ไหลผ่านเขตที่ราบลุ่มของจีน เป็นเขตอากาศอบอุ่น ร้อนในฤดูร้อน เย็นในฤดูใบไม้ผลิ ค่อนข้างหนาวในฤดูหนาว ลมมรสุมกำหนดลักษณะอากาศในเขตนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อนถึงฤดูใบไม้ร่วงมักมีไต้ฝุ่นพัดเข้ามาบ่อย ๆ ภูมิอากาศเหมาะ
ย่ำแดนมังกร
ย่ำแดนมังกร หน้า 49
(น.49) มีทั้งท่าน เหมาเจ๋อตุง และท่านโจวเอินไหล ขุดถ้ำอยู่กันที่นั่นถึง 7 ปี ตอนนั้นไปตั้งฐานกำลังถึงกับตั้งโรงเรียน มีนักเรียนถึง 4 หมื่นคน
เล่าเรื่องมาถึงตอนนี้พอดีรถออกไปถึงนอกเมือง บรรยากาศดีมาก สองฟากถนนเขาปลูกต้นไม้สวยร่มรื่น ออกมานอกเมืองนี่รถไม่มีมาก คนธรรมดาเขาก็ขี่จักรยาน บางคนมีจักรยานยนต์ก็เอารถอะไรก็ไม่ทราบพ่วงข้างๆ ไว้อีกคันด้วย มีรถเทียมม้า เทียมวัว รวมความแล้วเห็นพาหนะหลายอย่าง ชานเมืองเขาปลูกผักกันมาก ผักกาดของเขางามดี หัวโตเบ้อเริ่ม ถามดูอธิบดีอธิบายว่าปลูกผักนี้เขาใช้น้ำบาดาล ขุดเป็นบ่อเอาเครื่องสูบน้ำสูบขึ้นมาแถบๆ ที่รถผ่านนี้ มีอ่างเก็บน้ำซึ่งจะเอาน้ำมารดได้ถึง 4,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ข้าพเจ้าสงสัยว่าคนจีนในเมืองจีนนี่เขารดน้ำผักกันอย่างไร จะเมือนพวกคนจีนทำสวนผักในเมืองไทยที่ทำร่องมีน้ำในน้ำร่องเขาก็ปลูกข้าวเป็นแถว คนที่เก่งๆ เขาเอาพวยมีด้ามยาวๆ วิดน้ำเป็นฝอยๆ ถ้าทำไม่เป็น (อย่างข้าพเจ้า) น้ำจะลงมาเป็นก้อนๆ ผักเน่าตายหมด ท่าเสิ่นผิงบอกว่า จีนปลูกผักเดี๋ยวนี้มีวิธีสองอย่าง คือทำร่องแบบโบราณ อีกอย่างหนึ่งก็ใช้เครื่องพ่น (Sprinkler)
จีนปลูกข้าวสาลีหนึ่งในสามธัญญาหารทั้งหมด อีกสองในสามปลูกข้าวเจ้า และธัญญาพืชอื่นๆ ข้าวสาลีจะปลูกมากทางเหนือๆ แถวซีอาน ใน เสฉวน แถวเมือง เฉิงตู ปลูกข้าวเจ้า พูดถึงปุ๋ย ท่านคุยว่า การเลี้ยงหมูนั่นแหละดี “มูลฝอยหมู” (นี่จดตามล่าม) นี้ใช้ได้ประโยชน์มาก หมู 1 ตัว ปลูกพืชได้ 2.4 โหม่ว (= 1/15 –
ย่ำแดนมังกร หน้า 145
(น.145) ศตวรรษทีเดียว หลังจากนั้นท่านหันก็เล่าถึงเมืองต่างๆ ที่ข้าพเจ้าจะได้ดูบอกว่า เฉิงตู เป็นเมืองเก่า มีกวีจำนวนมากเขียนบทกลอนพรรณนาเอาไว้ ท่านยกตัวอย่าง มีกวีสมัยฮั่นชื่อ หยางฉยุง (เขียนถูกหรือเปล่าก็ไม่รู้) หลี่ไป๋ ไป๋จูอี้ ตู้ฝู่ กวีสมัยราชวงศ์ ถัง และ ซูตงโพ กวีสมัยซ้อง ที่ เฉิงตู (นครหลวงของมณฑลเสฉวน) ยังมีที่พักของ ตู้ฝู่ และ หลี่ไป๋ จีนมีหนังสือรวมบทกวีของกวีหลายสมัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งราชวงศ์ถัง ข้าพเจ้าบอกว่าข้าพเจ้าเคยอ่านบทกวีจีนที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ ไม่ทราบว่าเขาจะแปลได้ตรงหรือไม่ แต่ก็เห็นว่ามีความไพเราะมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทที่กล่าวถึงธรรมชาติ มีความละเอียดอ่อนมาก สำหรับมณฑลเสฉวนนั้นท่านว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ฯพณฯ เติ้งเสี่ยวผิง ก็เป็นคนเสฉวน ท่านนายกจ้าวจื่อหยางก็มามีชื่อเสียงที่เสฉวน เสฉวนมีทรัพยากรมาก มีแร่มาก ดีสำหรับการยกระดับของประชาชน ซึ่งต้องให้เศรษฐกิจพัฒนา อากาศที่เฉิงตูดีมาก ที่ซีอาน เฉิงตูอากาศไม่หนาว ที่ซีอานก็มีของน่าดูหลายอย่าง เช่น หุ่นจำลองรูปทหารจากสุสาน คนโบราณสร้างเก่งมา สมัยนี้แม้จะมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็ยังทำอะไรอย่างเก่าไม่ได้ ข้าพเจ้าถามว่า การที่วัฒนธรรมบางอย่าง (หรือวิชการ) ที่ไม่ส่งผ่านถึงคนรุ่นหลังและไม่ได้มีการพัฒนา จะเป็นเพราะคนจีนมักจะหวงวิชาใช่หรือไม่ ท่านหันบอกว่าเดี๋ยวนี้ยังค่อยยังชั่วขึ้นหน่อย ไม่ค่อยหวงวิชาเหมือนเมื่อก่อนแล้ว ข้าพเจ้าเล่าให้ท่านหันฟังถึงว่าคนไทยก็มีการหวงวิชาเหมือนกัน ส่วนมากเขาจะบอกว่าวิชาเกิดแต่ตัวเขา ฉะนั้นจะต้องตายกับ
ย่ำแดนมังกร หน้า 230
(น.230) ท่านหวังชี้ให้ดูยอดเขา ฉินหลิ่ง ซึ่งเป็นภูเขากั้นระหว่างมณฑลส่านซีกับมณฑลเสฉวน แล้วก็สอนภาษาจีนต่อ พูดถึงภาษาจีนที่ใช้ตัวอักษรอย่างใหม่ ท่านหวังเทียบตัวอักษรใหม่และเก่า บอกว่าของใหม่เป็นผลงานที่นักวิชาการคิดค้นคว้ามาหลายปีเริ่มใช้ใน ค.ศ. 1955 ตอนเริ่มต้นเขาสอนในหนังสือพิมพ์ ขณะนี้ใช้ในสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่ที่อื่นๆ เช่น คนจีนในเมืองไทยก็ใช้อย่างเดิม ท่านหวังบอกว่ามีนคนคิดจะใช้ระบบอักษรโรมันเสียด้วยซ้ำไปแต่ประสบอุปสรรคใหญ่หลวง ข้าพเจ้าเลยว่าถ้าเป็นอย่างนั้นก็แย่ เราก็ไม่ต้องเรียนหนังสือจีนกันแล้ว
แอร์โฮสเตสเดินมาบอกว่าใกล้จะถึง เฉิงตู แล้ว อุณหภูมิที่เฉิงตู 24 ํ ท่านหวังบอกว่าเฉิงตูเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์มากข้าพเจ้ามองลงไปทางช่องหน้าต่างเห็นพืชพันธุ์ธัญญาหารเขียวไปหมดได้ทราบว่าที่นี่ทำนาได้ปีละ 2-3 ครั้ง ท่าหวังว่าขณะนี้เก็บข้าวสาลีแล้ว กำลังเก็บ อิ๋วไช่จื่อ ซึ่งเป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่ง
เมื่อเครื่องบินลง ก็มีคณะเมืองเฉิงตูคอยต้อนรับ แนะนำทุกคนที่บันไดเครื่องบินอย่างที่เคย แต่ที่นี่แปลกกว่าที่ปักกิ่งและซีอาน คือ เขาพาเดินขึ้นตึกรับรองของสนามบินและเชิญนั่งรับประทานน้ำชา รองนายกเทศมนตรีเมืองเฉิงตูกล่าวคำต้อนรับและให้รองหัวหน้าสำนักงานวิเทศกิจอ่านหมายกำหนดการ ว่าต่อจากนี้เราจะได้ไปดูโรงงานทอผ้าไหม ถึงเวลา 19.00 น. ผู้ว่าการมณฑลเสฉวนจะเลี้ยง วันรุ่งขึ้น 7.00 น.รับประทานอาหารเช้า 8.00 น. จะไปดูชลประทาน ตูเจียงเอี้ยน ดูการผลิตไหมของกองการผลิต (เซิง ฉ่าน ตุ้ย – production team) ของคอมมูน
มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 363
(น.363)
ราชวงศ์ที่ปกครองจีน
1. ราชวงศ์เซี่ย ประมาณก่อน ค.ศ. 2205 – 1766 บางหลักฐานระบุว่าประมาณก่อน ค.ศ. 1994 – 1523
2. ราชวงศ์ซาง ประมาณก่อน ค.ศ. 1766 – 1122 บางหลักฐานระบุว่าประมาณก่อน ค.ศ. 1523 – 1027
3. ราชวงศ์โจว ประมาณก่อน ค.ศ. 1122 – 770 บางหลักฐานระบุว่าประมาณก่อน ค.ศ. 1027 – 770
4. ยุคชุนชิว ก่อน ค.ศ. 770 – 476
5. ยุคจ้านกว๋อ ก่อน ค.ศ. 476 – 221
6. ราชวงศ์ฉิน ก่อน ค.ศ. 221 – 206
7. ราชวงศ์ฮั่น ก่อน ค.ศ. 206 – ค.ศ. 220
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ก่อน ค.ศ. 206 – ค.ศ. 8
หวังหมางยึดอำนาจ (ราชวงศ์ซิน) ค.ศ. 8 – 23
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ค.ศ. 25 – 220
8. สมัยสามก๊ก ค.ศ. 220 – 265
ราชวงศ์เว่ย (ก๊กของโจโฉ ตั้งเมืองหลวงที่ลั่วหยาง) ค.ศ. 220 – 265
ราชวงศ์สู่หรือสู่อั่น (ก๊กของเล่าปี่ ตั้งเมืองหลวงที่เฉิงตู) ค.ศ. 221 – 263
ราชวงศ์หวู (ก๊กของซุนกวน ตั้งเมืองหลวงที่หนานจิง) ค.ศ. 222 – 280
ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า 52
(น.52) รูป 52 เส้นทางแพรไหมทางใต้
(น.52) เดินไปอีกห้อง มีหินสลักรูปกวนอิม หม้อเก็บกระดูกสมัยราชวงศ์หยวน พบในต้าหลี่ มีเครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีต่างๆ สีเขียวไข่กาบางชนิดคล้ายๆ กับสังคโลก หรือเครื่องปั้นทางเมืองเหนือของไทยมีลายครามกังไส
รูปถ่ายเส้นทางแพรไหมทางใต้ มีพวกตุ๊กตาม้า และหน้าบุคคล ศุภรัตน์ผู้สนใจเส้นทางแพรไหมเป็นพิเศษถามว่า เส้นทางนี้เริ่มอย่างไรผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์บอกว่าเริ่มจากเฉิงตู ยูนนาน พม่า และอินเดีย ข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะมาจากซีอานเมืองหลวงในสมัยนั้น เหลือบไปดูในแผนที่เห็นชื่อเมือง Bonan คืออะไร ได้ความว่า เป็นอำเภอโป๋หนาน (สมัยราชวงศ์ถังเรียกว่า หย่าผิง)
Next >>