Please wait...

<< Back

เจ้อเจียง

มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 67-68

(น.67) ตามเส้นทางแพรไหมนั้น จีนได้แตงโม มะเขือเทศ มาจากตะวันตก ส่งดินประสิว เข็มทิศ การพิมพ์ เครื่องถ้วยชามไปตะวันตก การเอาแพรไหมไปตะวันตกไม่เสียหายอะไร เครื่องถ้วย (เซรามิก) มีการเสียหายมาก แต่ในการขุดค้นพบแพรไหมน้อย พบแต่เครื่องถ้วย

(น.68) ที่มณฑลฮกเกี้ยนพบเรือโบราณมีเครื่องเคลือบมาก ที่กวางตุ้งก็พบเรือของราชวงศ์หยวน ข้อมูลต่างประเทศก็มีของที่พบในอ่าวไทย แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเครื่องถ้วยจีนจากฮกเกี้ยน กังไส เจ้อเจียง เสียเป็นส่วนใหญ่

คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 60

(น.60) คำว่า เยว่ นั้นพจนานุกรมบอกว่าเป็นแคว้นหนึ่งในสมัยโจวตะวันออก (770-256 ก่อนคริสต์กาล) ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเจ้อเจียง และเจียงซู ตัวอักษรจีนเขียนดังนี้ 越 นั่นเป็นพวกที่หนึ่ง พวกนี้ถูกพระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้ผนวกดินแดน

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 236-237

(น.236) รัฐบาลกลาง มณฑล ภูมิภาคปกครองตนเอง และมหานครต่างๆ มอบของขวัญให้แก่ HKSAR เวลามอบมีตะกร้าใหญ่ๆ มาตั้งบนเวที มีคนแต่งตัวเป็นชนพื้นเมืองจูงเด็กแต่งตัวเป็นชาติต่างๆ เอาดอกไม้ใส่ตะกร้า ขณะที่ประกาศชื่อว่าใครให้ของอะไร ฉายรูปของขวัญให้ดูชัดๆ ในจอ ฉายแผนที่มณฑลและสถานที่ที่ให้ของ และรูปทิวทัศน์ในที่นั้นด้วย มีคำอธิบายดังนี้ รัฐบาลกลาง ให้รูปปั้นทำด้วยสำริดหุ้มทอง เป็นรูปดอกชงโค (Bauhinia) บานตลอดกาล มีคำอธิบายว่าดอกชงโคเป็นสัญลักษณ์ของ HKSAR ตั้งอยู่บนฐานทำด้วยหินแกรนิตสีแดงจากเสฉวน ทำเป็นรูปกลมและรูปเหลี่ยม เป็นสัญลักษณ์ของทั้งประเทศและรูปกำแพงเมืองจีนที่สลักไว้ด้านใน หมายถึง มาตุภูมิที่ยิ่งใหญ่ รูปดอกชงโคเป็นศิลปะแบบจีน หมายถึง อนาคตอันมั่งคั่งของฮ่องกง รูปปั้นดอกชงโคนี้สูง 6 เมตร
มหานครปักกิ่ง ให้แจกันถมปัดแบบจิ่งไท่หลาน แสดงความยินดีทั่วโลก
มหานครเทียนสิน ให้พรมแขวนผนังเป็นรูปกำแพงเมืองจีน
มณฑลเหอเป่ย ให้ขวดแก้วเจียระไนที่เขียนข้างในขวด แสดงความยินดีระดับชาติ
มณฑลซานซี ให้รูปจำลองเจดีย์ที่ตำบลอินเซี่ยงทำด้วยไม้สลัก

(น.237) ภูมิภาคปกครองตนเองมองโกเลียใน ให้รูปปั้นม้าวิ่งสู่อนาคต
มณฑลเหลียวหนิง ให้เครื่องรัก วิญญาณของชาติจีน
มณฑลจี๋หลิน ให้หินฝนหมึก รูปสนและชงโคหยั่งรากลึกในดินแดนจีน
มณฑลเฮยหลงเจียง ให้แจกันรูปดอกชงโคบานอีกครั้งในฤดูใบไม้ผลิ
มหานครเซี่ยงไฮ้ ให้หยกสลัก รูปชาวลุ่มน้ำผู่เจียงฉลองการกลับคืนของฮ่องกง
มณฑลเจียงซู ให้ผ้าปักซูโจว รูปการเดินทางกลับ
มณฑลเจ้อเจียง ให้ไม้สลัก รูปการเดินเรือกลับ

ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 221,223-224

(น.221) เนื่องจากคำว่า “โจว” เป็นศัพท์เก่าแก่ด้านการปกครองที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์จีนมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 220) ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบันจึงมีชื่อเขตการปกครองในระดับต่างๆ ของจีนเป็นจำนวนมากที่มีคำว่าโจวติดอยู่ด้วย โดยที่มิได้มีฐานะเป็นจื้อจื้อโจวแต่อย่างไร ทั้งนี้เพราะคำว่าโจวในเขตการปกครองเหล่านั้นได้ใช้กันมาเป็นเวลานานแล้ว ดังตัวอย่างประกอบข้างล่างนี้ นครที่ขึ้นต่อมณฑล (เสิ่งเสียซื่อ) ที่มีคำว่า “โจว” อยู่ด้วย เช่น หลานโจวในมณฑลกานซู เจิ้งโจวในมณฑลเหอหนาน หังโจวในมณฑลเจ้อเจียง และกว่างโจวในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) จังหวัด (ตี้ชีว์) ที่มีคำว่า “โจว” อยู่ด้วย เช่น ฮุยโจวในมณฑลอานฮุย หยางโจวในมณฑลเจียงซู และไถโจวในมณฑลเจ้อเจียง เมืองที่ขึ้นต่อจังหวัด (ตี้ชีว์เสียซื่อ) เช่น สุยโจวในมณฑลหูเป่ย จังโจวในมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) และเฉาโจวหรือที่คนไทยเรียกว่าเมืองแต้จิ๋วในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ดังนั้น คำว่า “จื้อจื้อโจว” ที่ภาษาอังกฤษใช้ว่า “Autonomous Prefecture” จึงน่าจะแปลเป็นภาษาไทยว่า “จังหวัดปกครองตนเอง” มีผู้แปลคำนี้ว่า “แคว้นปกครองตนเอง” ซึ่งดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกับความรับรู้ของคนไทยเท่าใดนัก เพราะคำว่าแคว้นในภาษาไทยสื่อความหมายถึงเขตการปกครองที่มีอิสระและปลอดจากอำนาจรัฐส่วนกลางในระดับสูง ขณะที่จื้อจื้อโจวของจีนมีอำนาจปกครองตนเองในระดับหนึ่งปัจจุบัน (ตามสถิติ พ.ศ. 2532) ประเทศจีนมีจื้อจื้อโจวอยู่ 30 จื้อจื้อโจวมณฑลที่มีมากที่สุดคือมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) มี 8 จื้อจื้อโจว รองลงมาคือมณฑลชิงไห่มี 6 จื้อจื้อโจว ภูมิภาคการปกครองตนเอง

(น.223) ประเทศจีนมีอำเภอ

(น.224) ปกครองตนเองทั้งหมด 110 อำเภอ มณฑลที่มีมากที่สุดคือมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) มี 28 อำเภอ ภูมิภาคปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี (กวางสี) มี 12 อำเภอ มณฑลกุ้ยโจวมี 11 อำเภอ มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) มี 8 อำเภอ มณฑลกานซู มณฑลชิงไห่ และมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) มีมณฑลละ 7 อำเภอ ภูมิภาคการปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเจียง (ซินเกียง) มี 6 อำเภอ มณฑลหูหนานมี 6 อำเภอ มณฑลเหลียวหนิงมี 5 อำเภอ มณฑลเห่อเป่ย มี 4 อำเภอ มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) มี 3 อำเภอ มณฑลจี๋หลินและมณฑลหูเป่ยมีมณฑลละ 2 อำเภอ มณฑลเจ้อเจียงและมณฑลเฮยหลงเจียงมีมณฑลละ 1 อำเภอ การที่มณฑลหยุนหนานมีจังหวัดและอำเภอปกครองตนเองอยู่มากนั้นเพราะเป็นมณฑลที่มีชนกลุ่มน้อยชนชาติต่างๆ อยู่มากที่สุดในประเทศจีนถึง 20 กว่าชนชาติ

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 24

(น.24) กงหวังฝู่ เป็นวังเก่าตั้งแต่สมัยจักรพรรดิหงอู่ ราชวงศ์หมิง แต่ไม่เหลือร่องรอยของสมัยนั้นแล้ว สมัยราชวงศ์ชิง เหอเซิน (ค.ศ. 1750-1799) เสนาบดีผู้เป็นนักปราชญ์ในรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง เคยได้มาอยู่วังนี้ แต่ในที่สุดเสนาบดีเหอเซินต้องราชภัย วังแห่งนี้จึงถูกยึด ค.ศ. 1857 จักรพรรดิเสียนเฟิงพระราชทานสถานที่นี้ให้เป็นวังอนุชาอี้ซิน (ค.ศ. 1832-1898) ซึ่งมีตำแหน่งเป็นกงชิงหวัง จึงเรียกว่า กงหวังฝู่ มีเนื้อที่ 60,000 ตารางเมตร แบ่งเป็นสัดส่วนวังและส่วนที่เป็นสวน เราได้ดูแต่ส่วนที่เป็นสวน เพราะส่วนที่เป็นวังยังไม่ได้บูรณะ ส่วนที่เป็นสวนเปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่ ค.ศ. 1988 เป็นสวนสวยงาม จัดได้ถูกต้องตามตำราฮวงจุ้ย มีลักษณะคล้ายคลึงกับสวนที่นิยมกันในเจียงหนาน (มณฑลเจียงซูและมณฑลเจ้อเจียง) อันเป็นดินแดนที่จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดปราน เสด็จถึง 6 ครั้ง


(น.24) รูป

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 53-54,67

(น.53) อุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ
ตรงทางออกจากห้องมีรูปเจิ้งเฉิงกง
ห้องต่อไป เล่าเรื่องการปราบฝิ่น มีกระบอกสูบฝิ่น ลายมือหลินเจ๋อสูที่เขียนต่อต้านฝิ่น
ภาพทหารอังกฤษเข้ามารบที่เซี่ยเหมิน (เอ้หมึง) ในสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 จีนถูกบังคับให้เปิดเซี่ยเหมิน (ฮกเกี้ยน-แอ้มุ้ง ฝรั่งเรียกว่า Amoy ไทยเรียก เอ้หมึง) และฝูโจว เป็นสถานีการค้าของชาวตะวันตก
เหตุการณ์ชาวนาก่อกบฏ
สภาพสังคมจีนหลังสงครามฝิ่น
ค.ศ. 1851-สมัยอาณาจักรไท่ผิง มีเรื่องราวของหงซิ่วฉวน หัวหน้ากบฏไท่ผิง มณฑลทางใต้ที่พวกกบฏยึดได้ การตั้งไท่ผิงเทียนกั๋ว (เมืองแมนแดนสันติ)
สมัยหลังสงครามฝิ่น คนจีนเห็นว่าตัวเองสู้ฝรั่งไม่ได้ จึงพยายามเรียนรู้เทคโนโลยีของตะวันตก เพื่อต่อต้านตะวันตก (หรือเพื่อปกป้องตนเองให้พ้นจากการยึดครองของตะวันตก)

(น.54) ผู้นำ เช่น หลินเจ๋อสู เว่ยหยวน เป็นผู้ที่ศึกษาค้นคว้าความรู้แบบตะวันตก ผู้นำอีกท่านหนึ่งชื่อ จั่วจงถัง ผู้ว่าราชการมณฑลฝูเจี้ยนและมณฑลเจ้อเจียง ทศวรรษ 1860 เรียกได้ว่าเป็นสมัยที่ริเริ่มทำให้ประเทศเป็นแบบตะวันตก (Westernization) ตัวอย่างที่สำคัญคือ อู่ต่อเรือสมัยใหม่แห่งแรกในจีนคือหมาเหว่ย ภาพเรือผิงหย่วน ซึ่งต่อที่อู่ดังกล่าวนี้ และใช้ในราชการกองทัพเรือจีน

(น.67) มณฑลฝูเจี้ยน (หรือฮกเกี้ยน) มีชื่อย่อว่า หมิ่น ได้ชื่อจากแม่น้ำหมิ่น (หมิ่นเจียง) ส่วนชื่อฮกเกี้ยนก็เรียกกันมานานกว่า 1,300 ปีแล้ว มณฑลนี้เปิดสู่โลกภายนอกมานาน มาร์โคโปโลบันทึกไว้ว่า ท่าเรือแห่งหนึ่งที่ฮกเกี้ยนมีพ่อค้ามาจากทั่วโลก ฮกเกี้ยนเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางแพรไหมทางทะเล เมืองฝูโจวและเมืองเซี่ยเหมินเป็นเมืองท่าที่อนุญาตให้ชาวต่างชาติมาค้าขายได้ เป็น 2 แห่งในจำนวน 5 แห่งแรก มีจังหวัด 9 จังหวัด 85 อำเภอ เนื้อที่ 120,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ติดกับมณฑลกวางตุ้ง เจ้อเจียง และเจียงซี ทางใต้ใกล้กับเกาะไต้หวัน มีพื้นที่ทางทะเล 130,000 ตารางกิโลเมตร มีแนวชายฝั่งยาวกว่า 3,300 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับ 2 ในบรรดามณฑลต่างๆ ของจีน

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 80,90,93-94,96-97

(น.80) ไปที่กุฏิของเจ้าอาวาส เจ้าอาวาสเชิญนั่ง ในห้องรับแขกฝาผนังห้องติดลายพู่กันจีนเอาไว้เต็ม ทั้งที่เป็นป้ายไม้และกระดาษ เจ้าอาวาสอธิบายลักษณะการก่อสร้างวัดทางภาคใต้ ท่านว่าวัดมี 3 แบบ
1. แบบภาคเหนือมีซุ้มประตูใหญ่ อาคารใหญ่ๆ ไม่ค่อยมีรายละเอียด
2. แบบภาคใต้แถบกวางตุ้ง ฮกเกี้ยน มีลวดลายละเอียดคล้ายๆ กับศิลปะไทย
3. แบบมณฑลเจียงซู เจ้อเจียง อานฮุย ใช้สีดำ-สีขาวมาก

(น.90) เดินผ่านอาคาร Drawing Making Institute เป็นที่ออกแบบเรือและเครื่องยนต์ มีเนื้อที่ใช้สอย 600 ตารางเมตร เป็นที่ฝึกอบรมช่างต่อเรือด้วย ชั้นบนเป็นพิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารก่ออิฐสอปูน ใช้ปูนผสมน้ำข้าวเหนียวเพราะสมัยนั้นยังไม่มีปูนซีเมนต์ (อายุ 135 ปี) ภายในแสดงประวัติอู่ต่อเรือตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงยุคปัจจุบัน ประวัติสมัย ค.ศ. 1866-1911 มีภาพสำนักงานของอู่ต่อเรือ โรงเรียนนายเรือ หุ่นจำลองต่างๆ ภาพผู้ว่าราชการมณฑลฮกเกี้ยน-เจ้อเจียง ชื่อ จั่วจงถัง (ค.ศ. 1812-1885) ภาพเสนาบดีกระทรวงกิจการเรือ เป็นลูกเขยหลินเจ๋อสู ชื่อ เสิ่นเป่าเจิน ผู้สร้างอู่ต่อเรือสมัยใหม่ (ค.ศ. 1820-1879) ซึ่งเริ่มสร้างเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1866 ขณะนั้นขุนนางในรัฐบาลกลางหลายคนสนับสนุน รวมทั้งพระนางซูสีก็เห็นด้วย

(น.93) แล่นรถไปตามอู่อี๋ซานไปหยุดที่พิพิธภัณฑ์ในพื้นที่ (site museum) เป็นเตาเผาเซรามิก ชื่อ อวี้หลินถิง สมัยราชวงศ์ซ่ง ในกำหนดการใช้คำว่าโรงงาน พวกเราฝ่ายที่เป็นนักซื้อถึงกับเตรียมเงินจะซื้อเครื่องปั้นดินเผากัน แต่ไม่มีของขาย


(น.94) รูป

(น.94) เครื่องเคลือบดินเผาจากเตานี้เป็นที่นิยมทั่วไปในจีนและญี่ปุ่น รวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เตาตรงนี้ขุดค้นพบใน ค.ศ. 1998 จึงจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เรามาดูนี้มีคำอธิบายต่างๆ ทั้งภาษาจีนและอังกฤษ ถ่ายรูปเมื่อขุดพบเตา และอธิบายขั้นตอนการผลิต การขุดแต่ง ขุดค้นบริเวณเตา สิ่งที่พบ ชามต่างๆ เครื่องเคลือบดินเผาที่ญี่ปุ่นชอบใช้ในพิธีชงชา เขาถ่ายรูปและอธิบายสภาพภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมบริเวณนี้ มีบ่อน้ำพุซันเตี๋ย มีรูปสะพานโบราณสำหรับขนส่งของไปทางมณฑลเจียงซี มณฑลเจ้อเจียง สมัยราชวงศ์ซ่ง เขาพบบ่อน้ำที่ใช้ทำเครื่องถ้วย เมืองตรงนั้นพบซ้อนกันหลายชั้น

(น.96) หมิ่นเยว่เป็นอาณาจักรแรกของมณฑลฮกเกี้ยน พวกหมิ่นเยว่เป็นกลุ่มคนที่มาอาศัยอยู่นานแล้ว ที่มาตั้งเป็นอาณาจักรได้ในสมัยราชวงศ์ฮั่น เพราะผู้นำของพวกหมิ่นเยว่ช่วยฮั่นเกาจู่รบกับจักรพรรดิราชวงศ์ฉิน จึงได้รับสถาปนาเป็นอ๋อง (อ๋อง เป็นภาษาถิ่นฮกเกี้ยน ภาษาจีนกลางว่า หวัง 王) ครองแคว้นหมิ่น สร้างเมือง สร้างวัง นับอายุได้ 2,200 ปีมาแล้ว


(น.96) รูป

(น.97) รูป


(น.97) อาคารพิพิธภัณฑ์ทำเลียนแบบวังของหมิ่นหวัง (ตามจินตนาการ) แต่ขนาดเล็กกว่า เป็นตึกแบบจีนสองหลัง สูงประมาณเท่าตึก 2 ชั้น น่าจะเป็นอาคารแบบจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น พระราชวังของหมิ่นเยว่อยู่ได้ 92 ปี ถูกจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้บุกโจมตีอพยพผู้คนกวาดต้อนไปมณฑลอานฮุยและ เจ้อเจียง

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 127

(น.127) วัฒนธรรมที่มีลักษณะเด่นคือ หีบศพแขวน (hanging coffin) เป็นวัฒนธรรมยุคสำริด ตามยอดเขาในเทือกนี้พบหีบศพแบบนี้ เช่น ที่ยอดกวนอิมพบใน ค.ศ. 1973 หีบมีรูปร่างเหมือนเรือ แบบเดียวกับที่พบในมณฑลเจียงซูและเจ้อเจียง ทำด้วยไม้หนานมู่ที่พบในท้องถิ่น อายุของหีบประมาณ 3,800 ปี มีรูปถ่ายตอนเปิดหีบ ในหีบมีกระดูกชายอายุราว 50-60 ปี สมัยนั้นถือว่าคนอายุ 60 ปี อายุยืนมาก เสื้อที่ศพสวมอยู่มักผุพังไปแล้ว แต่พอเหลือเศษเอาไปวิเคราะห์ พบเสื้อที่ทำด้วยวัตถุหลายอย่าง เช่น ฝ้าย ป่าน ไหม เสื้อเหล่านี้ทำให้ประวัติการทอผ้าของจีนเก่าไปอีก 1,000 ปี เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 192



(น.192) ขึ้นไปชั้นบนเป็นพิพิธภัณฑ์เรือจีน จัดแสดงตั้งแต่เรือสมัยหินใหม่ที่ขุดพบในสุสาน แสดงความแตกต่างของเรือที่เรียกว่า โจว กับที่เรียกว่า ฉวน แสดงแผนที่บริเวณที่ขุดพบเรือโบราณ เรือทิเบตชนิดที่ใช้หนังจามรีขึง (หนังยังมีขน) เรือไม้ขุด แพหนังแพะชนิดที่ข้าพเจ้าเห็นเขาใช้กันในหนิงเซี่ยพิพิธภัณฑ์ซื้อจากเมืองหลานโจว เป็นแพที่ใช้ทั่วไปในแถบแม่น้ำหวงเหอ เรือที่ใช้กันที่เมืองเซ่าซิง (มณฑลเจ้อเจียง) เรือสำราญของจักรพรรดิสุยหยังตี้ เป็นเรือพระที่นั่ง ใช้คนลาก 80,000 คน เพราะทั้งขบวนเสด็จมีเรือ 2,000 กว่าลำ มีเรือของจักรพรรดิที่ใช้สาวอายุ 15 ปี ประมาณ 200-300 คนลากเรือเดินทะเล

Next >>