Please wait...

<< Back

ชิงไห่

จากหนังสือ

หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 116

(น.116) แม่น้ำหวงเหอเป็นแม่น้ำยาวอันดับสองของจีน มีต้นน้ำจากเทือกเขาที่ราบสูงทิเบต-ชิงไห่ ในเขตกลางมณฑลชิงไห่ สูงเหนือระดับน้ำทะเล 4,500 เมตร ไหลผ่านมณฑลชิงไห่ เสฉวน กานซู่ หนิงเซี่ย มองโกเลียใน ส่านซี ซานซี เหอหนาน และซานตง ออกสู่ทะเลโป๋ไห่ที่รอยต่ออำเภอเขิ่นลี่กับอำเภอลี่จิน มีรูปถ่ายตั้งแต่ต้นน้ำที่ชิงไห่ รวมทั้งแสดงว่าแม่น้ำมีการกั้นเขื่อนที่ไหนบ้าง มีแผนที่เริ่มตั้งแต่ชิงไห่เช่นเดียวกัน ผ่านมณฑลต่างๆ แล้วไปลงทะเลโป๋ไห่ มีสาขาของแม่น้ำหลายสาขา ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ ส่วนกลางของลุ่มน้ำ เนื้อที่ทั้งหมด 752,443 ตารางกิโลเมตร ความยาว 5,464 กิโลเมตร แสดงปัญหาตะกอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคกลางและปัญหาน้ำน้อย

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 204

(น.204) ที่อำเภอเต๋อเก๋อ มณฑลเสฉวน เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมทิเบตที่สำคัญ เป็นแหล่งพิมพ์หนังสือพุทธศาสนาเป็นภาษาทิเบต ค.ศ. 1950 รัฐบาลกลางส่งคนไปนำต้นฉบับมาเก็บไว้ที่หอสมุด 107 ผูกและพิมพ์ด้วยกระดาษธรรมดา ที่มณฑลชิงไห่ วัดถาเอ่อร์ ก็มีคัมภีร์ภาษาทิเบตที่หอสมุดรวบรวมมาไว้ หนังสือคนกลุ่มน้อยที่พิมพ์ที่สิบสองปันนา ในมณฑลยูนนานเป็นคัมภีร์ใบลาน

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 174

(น.174) มีข้อมูลบอกว่าในสมัยราชวงศ์ซ่งมีชาวมุสลิมจำนวนมากเป็นหมื่นๆ คนอยู่ที่นี่ มาจากเมือง Shiraj บริเวณอ่าวเปอร์เซีย ชาวเปอร์เซีย (อิหร่าน) เป็นผู้บูรณะสุเหร่านี้เมื่อ ค.ศ. 1310 ในสมัยราชวงศ์หยวน ปัจจุบันนี้เหลือเพียงประมาณ 1,000 คน ผู้สร้างสุเหร่าเป็นคนอาหรับ สร้างในปี ค.ศ. 1009 ตามประวัติว่าสร้าง 7 แห่ง ขณะนี้เหลืออยู่แห่งเดียว และเป็นวัด-ศาสนาสถานที่สำคัญ 1 ใน 10 ของจีน ที่รัฐบาลประกาศให้อนุรักษ์ใน ค.ศ. 1992 ที่เขาติดป้ายไว้ให้ดู มีดังนี้
1. สุเหร่าชิงจิ้ง เฉวียนโจว (คือที่เราดูอยู่)
2. วัดเส้าหลิน มณฑลเหอหนาน
3. วัดหันซาน เมืองซูโจว
4. วัดไป๋หม่า เมืองลั่วหยัง 5. วัดหลิงอิ่น เมืองหังโจว
6. วัดเซี่ยงกั๋ว เมืองไคเฟิง
7. วัดพระนอน ปักกิ่ง
8. วัดหลงซิง อำเภอติ้ง มณฑลเหอเป่ย
9. วัดจ๋าสือหลุนปู้ ทิเบต
10 วัดถ่าเอ่อร์ มณฑลชิงไห่

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 212

(น.212) ไปโรงละครปักกิ่งมีศาสตราจารย์เจ้าฉุนเชิง รองนายกสภามหาวิทยาลัยปักกิ่งมารับ วันนี้มีการแสดงการร้องเพลงจากภาคตะวันตกของจีน ส่วนมากเป็นเพลงซินเจียง เสริมด้วยเพลงชิงไห่ เป็นเพลงที่หวังลั่วปิน (ค.ศ.1913-1996) นักแต่งเพลงมีชื่อเสียง เป็นผู้คัดเพลงมาปรับปรุง ซุปบอกว่าอ่านข้อมูลจากอินเตอร์เนต ได้ความว่า หวังลั่วปินอยู่ในวงดุริยางค์ทหารของฝ่ายคอมมิวนิสต์ (กองทัพปาลู่จวิน) ไปปฏิบัติงานทางภาคตะวันตกแถบมณฑลกานซู่ ซินเจียง ชิงไห่ จึงมีความรู้และประทับใจเพลงพื้นบ้านของภาคตะวันตก เป็นนักดนตรีที่เก่ง ประพันธ์เพลงไว้ 100 กว่าเพลง ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในเพลงพื้นบ้านชิงไห่และซินเจียง เพลงของเขาเป็นที่นิยมของชาวจีนโพ้นทะเลในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก พวกชาวจีนในแผ่นดินใหญ่ก็ชอบเหมือนกัน

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 268

(น.268) ข้าพเจ้าเตรียมจะไปทิเบต ถามว่าที่ทิเบตมีข้อมูลเกี่ยวกับโภชนาการบ้างหรือไม่ ดร.เก้อบอกว่ามีข้อมูล ค.ศ.1992 เฉพาะแต่ในเมือง บุคลากรสำหรับสำรวจไม่มี การส่งคนไปช่วยก็ยาก เพราะว่าการเดินทางไม่สะดวก จะมีการประชุมใหญ่ด้านโภชนาการอีกครั้งในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ.2002 เดินทางไปทิเบต ถ้าไปชิงไห่ ไปซีหนิง (เมืองหลวงของมณฑล) สูงประมาณ 3,500 เมตร ไปลาซาจะต้องนั่งรถไป จากเฉิงตูมีทางไป (ตอนนี้ชักงงต้องหาข้อมูลว่าจริงๆ ไปได้ไหม) แถบๆ ลาซาก็มีศูนย์วิจัยต่างๆ เช่น เรื่องการสะสมของธารน้ำแข็ง ความร้อนจากพื้นดิน ที่ชิงไห่คนกินธัญพืชกินถั่วมากกว่าที่อื่น ทิเบตกินนมมาก เนื้อก็กิน เขาใช้วิธีฆ่าสัตว์ในฤดูหนาว และเก็บเอาไว้กินตลอดปี ธัญพืชที่กินมากคือ ข้าวโอ๊ต คนกินเหล้ากันมาก เป็นเหล้าชาวบ้านแรงมาก ไม่มีรายงานเรื่องกินปลาทั้งๆ ที่มีปลาแยะ ไม่ชอบกินผัก รู้สึกว่าเหมือนกินหญ้า

มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 38

(น.38) ห้องต่อไปที่เข้าดูเป็นห้องที่ลามะองค์ที่ 6 เคยมาพักอยู่ตอนมาเฝ้าพระเจ้าเฉียนหลง ปัจจุบันเขาจัดให้เป็นพิพิธภัณฑ์ มีของที่ได้จากต่างประเทศ (มีของจากกรมการศาสนาไทยด้วย) ของที่ใช้ประจำวัน ของต่าง ๆ เช่น หรูอี้ ประคำ เครื่องดนตรีในพิธีเช่น ปี่ สังข์ ระฆัง เสื้อผ้าที่กษัตริย์ราชวงศ์ชิงถวายลามะ เป็นเสื้อผ้า 4 ฤดู ฤดูหนาวหมวกมีขนสัตว์ ฤดูร้อนหมวกกันแดดปีกใหญ่ รูปปันชานลามะองค์ที่ 6,9,10 องค์สุดท้ายนี้เพิ่งเสียชีวิตไป เคยเป็นรองประธานสภาผู้แทน มีห้องหนึ่งเป็นห้องพระไภษัชยคุรุ ถือว่าเป็นที่ปรุงยาของวัด (ในสมัยก่อน) ปัจจุบันที่ปักกิ่งไม่มีพระลามะที่ปรุงยาได้แล้ว แต่ที่ชิงไห่และที่ทิเบตยังมี

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 133-134

(น.133) เมื่อเขียนถึงตรงนี้ข้าพเจ้าขอย้อนมาพูดเรื่องม้าอีกสักครั้ง (ต่อไปอาจจะพูดอีกหลายครั้งเมื่อมีข้อมูลเปลี่ยนแปลงคือไปคุยกับใครมาอีก) ข้าพเจ้าอ่านหนังสือกี่เล่ม ๆ ก็ไม่ค่อยตรงกัน ตามความเข้าใจว่าม้าที่ฮั่นอู่ตี้ได้มา เป็นม้าจากเฟอร์กานา เป็นม้าที่มีพลัง และความรวดเร็วเรียกว่า ม้าเหงื่อเลือด

(น.134) (ฮั่นเสว) ในเรื่องมังกรหยกว่าเป็นม้าที่ก๊วยเจ๋งใช้นั่นแหละ แต่มีนักวิชาการภายหลังตีความว่าที่ม้ามีเหงื่อเป็นเลือดไม่ได้เป็นพันธุ์พิเศษ แต่เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากแบคทีเรีย ตัวอย่างของม้าชนิดนี้คือม้าที่ขุดพบที่อู่เว่ยที่เรากำลังดูอยู่
ม้าชนิดที่ 2 คือม้าอูซุน มาจากทุ่งหญ้าแถบลุ่มแม่น้ำอีลี่ คือ ม้าที่เหยียบฉยุงหนู
ม้าชนิดที่ 3 ม้าเหอชูว ของจิ๋นซีฮ่องเต้ เดิมมาจากทุ่งหญ้าในกานซู ชิงไห่ และเสฉวน

ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 221,223-224

(น.221) คำว่า “จื้อจื้อโจว” ที่ภาษาอังกฤษใช้ว่า “Autonomous Prefecture” จึงน่าจะแปลเป็นภาษาไทยว่า “จังหวัดปกครองตนเอง” มีผู้แปลคำนี้ว่า “แคว้นปกครองตนเอง” ซึ่งดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกับความรับรู้ของคนไทยเท่าใดนัก เพราะคำว่าแคว้นในภาษาไทยสื่อความหมายถึงเขตการปกครองที่มีอิสระและปลอดจากอำนาจรัฐส่วนกลางในระดับสูง ขณะที่จื้อจื้อโจวของจีนมีอำนาจปกครองตนเองในระดับหนึ่งปัจจุบัน (ตามสถิติ พ.ศ. 2532) ประเทศจีนมีจื้อจื้อโจวอยู่ 30 จื้อจื้อโจวมณฑลที่มีมากที่สุดคือมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) มี 8 จื้อจื้อโจว รองลงมาคือมณฑลชิงไห่มี 6 จื้อจื้อโจว ภูมิภาคการปกครองตนเอง

(น.223) ประเทศจีนมีอำเภอ

(น.224) ปกครองตนเองทั้งหมด 110 อำเภอ มณฑลที่มีมากที่สุดคือมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) มี 28 อำเภอ ภูมิภาคปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี (กวางสี) มี 12 อำเภอ มณฑลกุ้ยโจวมี 11 อำเภอ มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) มี 8 อำเภอ มณฑลกานซู มณฑลชิงไห่ และมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) มีมณฑลละ 7 อำเภอ ภูมิภาคการปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเจียง (ซินเกียง) มี 6 อำเภอ มณฑลหูหนานมี 6 อำเภอ มณฑลเหลียวหนิงมี 5 อำเภอ มณฑลเห่อเป่ย มี 4 อำเภอ มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) มี 3 อำเภอ มณฑลจี๋หลินและมณฑลหูเป่ยมีมณฑลละ 2 อำเภอ มณฑลเจ้อเจียงและมณฑลเฮยหลงเจียงมีมณฑลละ 1 อำเภอ

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 46-47

(น.46) เครื่องบินลงที่สนามบินซีหนิง มณฑลชิงไห่ ทิวทัศน์เป็นภูเขาตามเคย สูง 2,600 เมตร อยู่ห่างจากเมืองประมาณ 25 กิโลเมตร ฝนตกเล็กน้อย เวลาทุ่มกว่าแล้วยังไม่มืด สองข้างทางต้นหมากรากไม้ดูเขียวดี มีแปลงปลูกผัก

(น.47) รับประทานอาหารเย็นกันเองภายในคณะเดินทาง รับประทานเสร็จ ดูแผนที่ชิงไห่กับทิเบต อาจารย์กฤษฎาวรรณเอาภาพพระปัทมสัมภวะ เป็นผ้าทอทังกา พระลามะที่กำลังจะสร้างวัดที่แคนานดาให้มา สำหรับถวายวัดต่างๆ กฤษฎาวรรณนัดคนอเมริกันคนหนึ่งเอาไว้ จบปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮาวาย แล้วมาอยู่ที่ชิงไห่ 14 ปีแล้ว กฤษฎาวรรณ ประพจน์และปีเตอร์จะลงไปคุยก่อน ถ้าน่าสนใจข้าพเจ้าจะไปคุยด้วยก็ได้ ข้าพเจ้าทำอะไรๆ อยู่พักหนึ่ง ลงไปร่วมวงสนทนากับคณะ และ Dr. Kevin Stuart ซึ่งมีผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับชนชาติทิเบตในชิงไห่ รวมทั้งสอนภาษาอังกฤษให้นักเรียนเผ่าทิเบตที่ชิงไห่ด้วย และยังพยายามช่วยหาทุนทำโครงการพัฒนาเล็กๆ เช่น ช่วยชาวบ้านด้านสุขาภิบาล โรงเรียนประถมศึกษา และเรื่องจัดหาน้ำใช้ เป็นต้น

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 91-92

(น. 91) ข้าพเจ้าว่า มีอีกหลายที่ที่เตรียมไว้เมื่อวานนี้ได้พบศาสตราจารย์ชาวจีน ท่านนำหนังสือมาให้หลายเล่ม ใช้ข้อมูลดาวเทียมรวบรวมระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ศึกษาน้ำท่วมในจีนเมื่อปีก่อน การใช้ที่ดินการเกษตร ข้าพเจ้าถามว่าจะไปที่ไหนดี ท่านศาสตราจารย์แนะนำมณฑลหนิงเซี่ยและมณฑลชิงไห่ ท่านหูว่า ชิงไห่เป็นต้นแม่น้ำหวงเหอและฉังเจียง มีคนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่หลายกลุ่ม เช่น พวกหุย มองโกล อยู่ที่นั่นไม่

(น. 92)เพียงแต่จะได้ชมทิวทัศน์ แต่ยังได้ศึกษาศาสนาพุทธแบบทิเบต ถ้าได้ไปทิเบตหรือชิงไห่ ควรจะไปเดือนมิถุนายน – สิงหาคม อากาศดีที่สุด ทิเบตก็น่าไป ท่านหูเคยทำงานอยู่ที่นั่น 3 ปี ถ้าไปฤดูหนาวลมแรงอุณหภูมิต่ำๆ