Please wait...

<< Back

ราชวงศ์หมิง

จากหนังสือ

ย่ำแดนมังกร
ย่ำแดนมังกร หน้า 28

(น.28)หลังจากนั้นเราไปที่ เทียนถาน หรือหอฟ้า อันเป็นที่ซึ่งจักรพรรดิตั้งแต่ราชวงศ์เหม็ง (หรือ หมิง) มากระทำพิธีพืชมงคลแบบจีนเพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่รัฐ เมื่อไปถึงลมแรงมากจนต้องควักแว่นตาขึ้นมาใส่ปะทะผงต่างๆ ที่จะเข้าตาเอาไว้ก่อนอาคารแรกที่ไปเป็นอาคารกลมๆ ชื่อว่า ซิ่นเเหนียนเตี้ยน ผู้ดูแลบอกว่าสร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1420 ในรัชกาลพระจักรพรรดิหย่งเล่อ (ใช้เวลาสร้าง 14 ปี) หลังคา 3 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องสีน้ำเงินสวยงามมาก สีน้ำเงินเป็นสีที่บ่งบอกความหมายถึงสวรรค์ เป็นสถานที่พำนักของเทพเจ้าหรือเรียกว่า เทียน (ถ้าเป็นพระราชวังหลังคาจะมุงด้วยกระเบื้องสีเหลืองซึ่งเป็นสีของกษัตริย์) อาคารนี้ถูกเผาในปี 1889 และได้บูรณะใหม่ให้เสร็จสิ้นใน ค.ศ. 1971 ภายในช่างใช้วิธีก่อสร้างอย่างไรก็ไม่ทราบ ทำให้มองเพดานสูงลิบ มีเสาสูงๆเป็นไม้ทั้งต้น เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณเมตรกว่า สูงเกือบ 20 เมตร ไม้ที่ใช้ทำเสานี้เห็นเขาบอกว่าภาษาจีนเรียกว่าไม้ หนานมู่ ไม่ทราบว่าภาษาไทยจะว่าอะไร ข้าพเจ้าเข้าใจว่าคงจะมีในเมืองไทยเพราะเป็นไม้ที่ได้จากป่าแถวๆ มณฑล ยูนนาน และ เสฉวน ซึ่งอากาศ

ย่ำแดนมังกร หน้า 322

(น.322)
อู่ไต้ FIVE DYNASTIES (WUDAI) A.D. 907-960
ซ่ง SUNG (SONG) A.D. 960-1279
หยวน YUAN (YUAN) A.D. 1279-1368
หมิง MING DYNASTY A.D. 1368-1644
หงอู่ HUNG WU (HONG WU) A.D. 1368-1399
เจี้ยนเหวิน CHIEN WEN (JIAN WEN) A.D. 1399-1403
หย่งเล่อ YUNG LO (YONG LE) A.D. 1403-1425
หงซี HUNG HIS (HONG XI) A.D. 1425-1426
เซวียนเต๋อ HSUAN THE (XUAN DE) A.D. 1426-1436
เจิ้งถ่ง CHENG TUNG (ZHENG TONG) A.D. 1436-1450
จิ่งไท่ CHING TAI (JING TAI) A.D. 1450-1457
เทียนซุ่น TUEN SHUN (TIAN SHUN) A.D. 1457-1465
เฉิงฮว่า CHENG HUA (CHENG HUA) A.D. 1465-1488
หงจื้อ HUNG CHIN (HONG ZHI) A.D. 1488-1506
เจิ้งเต๋อ CHENG THE (ZHENG DE) A.D. 1506-1522
เจียจิ้ง CHIA CHING (JIA JING) A.D. 1522-1567
หลงชิ่ง LUNG CHING (LONG QING) A.D. 1567-1573
ว่านลี่ WAN LI (WAN LI) A.D. 1573-1620
ไท่ชาง TAI CHANG (TAI CHANG) A.D. 1620-1621
เทียนฉี่ TIEN CHI (TIAN QI) A.D. 1621-1628
ฉงเจิน CHUNG CHEN (CHONG ZHEN) A.D. 1628-1644
ชิง CHING DYNASTY (QING) A.D. 1644-1911
ซุ่นจื้อ SHUN CHIH (SHUN ZHI) A.D. 1644-1662
คังซี KANG SHI (KANG XI) A.D. 1662-1723
หย่งเจิ้ง YUNG CHENG (YONG ZHENG) A.D. 1723-1736
เฉียนหลง CHIEN LUNG (QIAN LONG) A.D. 1736-1796

แกะรอยโสม
แกะรอยโสม 2534/03/25 หน้า 163

(น.163) ให้ไก๊ด์คนหนึ่งเป็นผู้หญิงพูดภาษาอังกฤษได้ช่วยอธิบาย บางทีก็พูดเป็นภาษาจีนให้คุณก่วนมู่แปล สิ่งสำคัญที่สุดในวัดนี้ก็คือแผ่นศิลาจารึกพระไตรปิฎก ข้าพเจ้ามีข้อเสียที่อ่านหนังสือได้น้อยมากจึงได้แต่ฟังจากที่เขาอธิบายเป็นส่วนใหญ่ เข้าใจว่าแผ่นศิลาจารึกนั้นมิได้มีเฉพาะแต่พระไตรปิฎก จะมีประวัติการสร้างพระไตรปิฎกนี้ด้วย จึงทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ พุทธศาสนา การสลักพระไตรปิฎกนี้ก็ไม่ได้ทำเสร็จภายในคราวเดียวกัน เขาว่าทำในราชวงศ์สุย ถัง เหลียว จิน หยวน หมิง ชิง และน่าภาคภูมิใจว่าเป็นพระไตรปิฎกภาษาจีนที่สมบูรณ์ที่สุด วัดนี้อยู่ระหว่างการบูรณะฟื้นฟู ค่าใช้จ่ายมาจากเงินบริจาคของราษฎร และการอุดหนุนของรัฐบาล เขาว่าที่นี่เป็นถ้ำตุนหวงของปักกิ่งทีเดียว

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 2 เหลียวหนิง หน้า 42

(น.42)
9. ภาพทิวทัศน์ในเทศกาลเช็งเม้ง ของเดิมเขียนในสมัยราชวงศ์ซ้อง แต่ภาพนี้สมัยราชวงศ์หมิง(เป็นภาพที่มีชื่อเสียงมากคนรุ่นหลังเขียนตามแบบ) ยาว 9.8 เมตร ทิวทัศน์ของเมืองซูโจวแสดงชีวิตของคนในสมัยนั้น เขียนได้ละเอียดมาก เริ่มต้นด้วยทิวทัศน์ในชนบทแล้วค่อยๆเข้าไปในเมืองซูโจว รายละเอียดมีร้านต่างๆ ขายผ้า ขายตะกร้า ขายตุ๊กตา ขายหนังสือ เครื่องโลหะ เครื่องยาจีน มีจนกระทั่งหาบเร่ และร้านโคมเขียว รายละเอียดมีมากอย่างนี้ จึงทำให้มีผู้เขียนหนังสือได้เป็นเล่มๆบรรยายเรื่องนี้ ภาพนี้มีชื่อว่า ชิงหมิงซ่างเหอถู ผู้เขียนคือฉิวอิง

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน หน้า 84

(น.84) ราชวงศ์หมิง ตั้งแต่จูหยวนจางตั้งราชวงศ์ มีตั๋วแลกเงินใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ หน้าตาคล้ายโพยก๊วนบ้านเรา ราชวงศ์ชิง ปี ค.ศ. 1682 จักรพรรดิคังซีเสด็จมาจี๋หลิน เพราะต้นราชวงศ์อยู่ที่แม่น้ำซงฮัวและเขาฉางไป๋ จักรพรรดิทุกองค์ที่มาอีสาน ต้องมาทอดพระเนตรน้ำในแม่น้ำนี้ เครื่องแต่งตัวขุนนางสมัยพระเจ้าหวงไท่จี๋ ป้าย 3 ภาษา (จีน แมนจู มองโกล) อานม้า โกลนม้า สมัยพระเจ้าเฉียนหลง มีเครื่องแต่งกายขุนนางทั้งฝ่ายบู๊และบุ๋น เครื่องใช้ในกระโจมของอาลาซูเกีย ผู้บัญชาการทหารแมนจู ทั้งเสื้อผ้าและของอื่น ๆ ของเหล่านี้อายุประมาณ 90 ปี

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 8

(น.8) ของสมัยราชวงศ์หยวน หมิง และชิง พบแถวๆ อำเภออู่ฉางและเมืองฮาร์บิน ที่แสดงไว้สมัยหมิง มีตราคันฉ่องสำริดจารึกคำสิริมงคลต่างๆ เช่น ให้พ่อ-ลูกเป็นอัครเสนาบดี (เป็นเจ้าเป็นนายทั้งพ่อทั้งลูก) ให้สอบได้เป็นจอหงวน พวกเครื่องลายคราม (Blue & White) ลายก็เป็นลายสิริมงคล เช่น มังกรคู่ ปลาคู่ พบที่อำเภออี้หลาน

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 99

(น.99) สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618-907) มีกองทัพประจำการที่นี่
สมัยราชวงศ์เหลียว (ค.ศ.946-1125) มีผู้แทนพระองค์ของจักรพรรดิมาอยู่ประจำการ
สมัยราชวงศ์จิน (ค.ศ.1115-1234) เมืองสำคัญอยู่แถวๆ ผู่ยู่ลู่
สมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1279-1368) มีแม่ทัพภาคตะวันออกมาตั้งสำนักงานอยู่ที่นี่
สมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368-1644) ตั้งกองบัญชาการทหารขึ้นที่นี่

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 5 ภาคผนวก หน้า 14

(น.14)
ราชวงศ์หยวน ก่อตั้งอาณาจักร ค.ศ. 1206
ผนวกราชวงศ์เซี่ยตะวันตก ค.ศ. 1227
ผนวกราชวงศ์จิน ค.ศ. 1234
ตั้งนามราชวงศ์ว่าหยวน ค.ศ. 1271
ผนวกราชวงศ์ซ่งใต้ ค.ศ. 1279
15. ราชวงศ์หยวน ค.ศ. 1279 – 1368
16. ราชวงศ์หมิง ค.ศ. 1368 – 1644
17. ราชวงศ์ชิง ค.ศ. 1644 – 1911
18. สาธารณรัฐ ค.ศ. 1912 – 1949
19. สาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ. 1949 – ปัจจุบัน

เย็นสบายชายน้ำ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 19,21

(น.19) ถึงเวลา 09.45 น. ถึงโรงแรมต้าจู๋ เขาให้พักผ่อน 30 นาที โรงแรมนี้เป็นโรงแรม 3 ดาว มีห้อง 136 ห้อง เทศบาลเป็นผู้ออกแบบและดำเนินการก่อสร้าง บริษัทของฮ่องกงรับเหมาตกแต่งภายใน พักผ่อนอยู่ประมาณครึ่งชั่วโมงเดินทางต่อ ดูสองข้างทางรู้สึกว่าชนบทที่นี่จะอุดมสมบูรณ์ เป็นที่ปลูกข้าว ปลูกแตง ข้าวฟ่าง (?) ตากพริกใส่กระด้งเอาไว้ เมื่อไปถึงเป๋าติ่งซาน รองศาสตราจารย์กัวเซียงหยิ่งมาต้อนรับ อาจารย์ท่านนี้เป็นประธานของพิพิธภัณฑ์ศิลปะถ้ำ แห่งอำเภอต้าจู๋ นครฉงชิ่ง เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยถ้ำต้าจู๋ แห่งสถาบันวิจัยสังคมศาสตร์เสฉวน แล้วยังเป็นสมาชิกสภานครฉงชิ่ง กรรมาธิการศิลปะและอะไร ๆ อีกหลายอย่าง ซุ้มหน้าประตูเขียนชื่อภูเขาเป๋าติ่ง เป็นลายมือของท่านเจ้าผู่ชู นายกพุทธสมาคมจีน การแกะสลักภูเขานี้ราว ค.ศ. 1179 - 1249 (ราชวงศ์ซ่ง) ในช่วงเวลาเพียง 70 ปีนี้ แกะรูปพระและรูปอื่น ๆ ได้ถึง 10,000 รูป ศิลาจารึกในบริเวณนี้มีทั้งสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงกล่าวถึงรายชื่อผู้ที่บริจาคเงินบำรุงหรือซ่อมสร้างรูปสลักต่าง ๆ

(น.21) ในค.ศ. 1961 เดือนมีนาคม วันที่ 4 รัฐบาลประกาศยกย่องเป็นสถานที่อนุรักษ์ระดับประเทศ อาจารย์กัวเลือกอธิบายรูปเป็นบางรูปเพราะเราไม่มีเวลามากนัก พระพุทธรูปปางตรัสรู้เป็นภาพสลักเขียนสี ศิลปะพวกนี้อาจารย์บอกว่าทำตามคติพุทธศาสนานิกายมี่จง หรือที่เรียกว่าตันตระ ข้าพเจ้าเห็นบนเศียรมีรูปบุคคลอยู่ ก็นึกสงสัยว่าคนอะไรจึงไปอยู่บนเศียรพระ อาจารย์กัวบอกว่าเป็นบุคคลสำคัญเจ้าลัทธิศาสนาท้องถิ่น ชื่อ หลิวเปิ่นจุน ที่อยู่บนเศียรพระเพราะถือตามลัทธิมหายานว่า ทุกคนมีโอกาสบำเพ็ญบารมีให้เป็นพระพุทธเจ้าได้เท่ากัน มีจารึกอีกแห่งในสมัยราชวงศ์หมิง เล่าถึงประวัติการแกะสลักรูปเหล่านี้ ผู้ที่เริ่มต้นสร้างเป็นพระตันตระชื่อ เจ้าจื้อเฟิ่ง

เย็นสบายชายน้ำ หน้า 103,107

(น.103) เราเดินขึ้นเขาไป มองเห็นแม่น้ำมีคนอธิบายว่า แม่น้ำตรงนี้แต่ก่อนกลางแม่น้ำมีก้อนหินสวยงาม ค.ศ.1958 รัฐบาลระเบิดเพื่อให้เดินเรือได้ง่ายไม่เป็นอันตราย เดินขึ้นไปอีกหน่อย ถึงถ้ำกวนอิม ชาวบ้านสมัยราชวงศ์หมิง-ราชวงศ์ชิงร่วมกันบริจาคเงินสร้างเอาไว้ มีแผ่นศิลา จารึกรายนามผู้บริจาค จากจุดนี้มองลงไปเห็นแม่น้ำฉางเจียง มองเห็นผาชื่อเจี๋ย หรือ ผาแดง สูง 1,370 เมตร เดินขึ้นไปอีกถึงแผ่นป้ายแสดงระดับน้ำเมื่อสร้างเขื่อนซานเสียเสร็จ มองเห็นวิวขุยเหมิน มีลวดสลิงข้ามหุบเขา มีคนแคนาดาเคยเดินข้ามลวดสลิงนี้ ไกด์อธิบายว่าแถวนี้มีผู้ขุดพบ Fossil ของช้าง มีอายุ 2 ล้านปี จึงทำพิพิธภัณฑ์ Fossil ช้างไว้

(น.107) ป่าจารึก รวบรวมศิลาจารึกที่เจอในอันฮุย เฟิ่งเจี๋ย ห้องที่เป็นศาลเจ้ามีรูปเคารพเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ขงเบ้ง สร้างในราชวงศ์หมิง ข้างนอกมีกวนซิงถิง (หอดูดาว) 6 เหลี่ยม เขาว่าเป็นหอที่ขงเบ้งดูดาว หอนี้ที่จริงสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิงนี่เอง

เย็นสบายชายน้ำ หน้า 129,138

(น.129) สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของที่นี่คือ มีโลงศพแขวน นักวิชาการกล่าวว่าโลงศพนี้เป็นของชนชาติส่วนน้อยชาวเป๋อ มีประเพณีว่าเมื่อตายจะนำโลงศพไปแขวนไว้ตามหน้าผา คนไหนยิ่งรวยมากก็ยิ่งเอาไปแขวนไว้บนที่สูง ๆ และอันตราย ถือว่าอยู่ใกล้สวรรค์ พวกเขาเอาโลงศพขึ้นไปอย่างไรนั้นไม่มีใครทราบ นักวิชาการสันนิษฐานไว้หลายอย่างยังไม่เป็นที่ตกลง ชนเผ่านี้ก่อกบฏในราชวงศ์หมิง จึงถูกปราบหมด ลูกหลานที่ยังเหลืออยู่ต้องเปลี่ยนแซ่ เดิมแซ่อา เปลี่ยนเป็นแซ่เหอ บางกลุ่มก็ยังยึดประเพณีคือ ถึงเวลาเดือน 8 ยังเดินทางมาในที่มีโลงศพแขวน เพื่อที่จะเซ่นไหว้บรรพบุรุษ อาชีพชาวบ้านแถบนี้คือ เก็บต้นไผ่ไปส่งโรงงานทำเยื่อกระดาษ นอกจากนั้นทำสวนชา (เป็นชาเขียว) เมื่อมีเวลาว่างก็ทำนารับจ้าง ฉะนั้นคนแถวนี้จะฐานะดีกว่าคนที่อยู่ลึกห่างไปจากแม่น้ำ ไปถึงตำบลซวงหลงที่เราจะรับประทานอาหารกลางวัน แต่ตอนนี้ยังไม่ถึงเวลาอาหารก็เลยไปเที่ยวต่อ แถวนี้เป็นแถบที่มีนักท่องเที่ยวมามาก จนเรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ คือ อำเภอเฟิ่งเจี๋ย อำเภออูซาน อำเภออูซี ทิวทัศน์ต่อไปจากนี้ก็คล้าย ๆ กับที่ผ่านมามีถ้ำ เช่น ถ้ำเห้งเจีย หินปอดม้าตับวัว หินรูปพระพุทธรูป หินรูปร่างเหมือนแกะ

(น.138) มีรูปสลักหินท่านชูหยวน สมัยราชวงศ์หมิง มีประวัติว่าสมัยนั้นมีนักธุรกิจคนหนึ่งประสบอุบัติเหตุทางเรือที่นี่ แต่ไม่มีใครในครอบครัวเสียชีวิต จึงเข้าใจว่าท่านชูหยวนพิทักษ์รักษา บริจาคเงินสร้างรูปนี้ไว้ สมัยนั้นไม่ทราบว่าท่านชูหยวนหน้าตาเป็นอย่างไร จึงจินตนาการให้เป็นคนหน้าตาใจดีเหมือนพระ ให้ดูมีบุญตามตำราโหงว เฮ้ง ถ้าใครไหว้รูปสลักหินนี้จะสมความปรารถนา

เย็นสบายชายน้ำ หน้า 145

(น.145) วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2539
ข้าพเจ้าตื่นตี 4 แต่นอนต่อไปจนตี 5 พอเกือบจะสว่างคนโน้นคนนี้ค่อย ๆ มาที่หัวเรือ คุยกันเรื่องโครงการซานเสีย ไกด์เดินเข้ามาอธิบายซีหลิงเสียซึ่งเป็นโตรกเขาสุดท้ายอยู่ตรงเขตติดต่อระหว่างมณฑลเสฉวนกับมณฑลอันฮุย เขาบอกว่าบริเวณซีหลิงเสียนี้มีดินถล่มมากที่สุด ตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงต่อเนื่องกันถึง 82 ปี เริ่มแต่ ค.ศ. 1544 เรือผ่านเกือบไม่ได้เพราะอันตรายมาก มีเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งมี 460 หลังคาเรือน ภายใน 10 นาทีพังทลายหมดหมู่บ้าน เหตุที่ดินถล่มเพราะชาวบ้านขุดถ่านหิน ทำให้ดินกลวงรับน้ำหนักไม่ได้ ที่แปลกคือหมู่บ้านพังพินาศทั้งหมู่บ้าน แต่ไม่มีใครเป็นอันตราย เพราะมีซินแสบอกไว้ล่วงหน้า นี่เป็นเรื่องเล่า ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบว่าเชื่อได้กี่เปอร์เซ็นต์ ตรงเส้นแบ่งเขตระหว่างมณฑลเป็นโตรกเล็ก ๆ เขาเล่าว่าต้นไม้ของมณฑลไหนจะเอนเข้ามณฑลนั้น ทำให้รู้ว่าจะขีดเส้นแบ่งเขตมณฑลตรงไหน

เย็นสบายชายน้ำ หน้า 176,178

(น.176) เดินขึ้นชั้น 2 มีร้านน้ำชาสำหรับนักท่องเที่ยว ถึงชั้น 2 โผล่หน้าต่างดู เห็นยอดเจดีย์ทำด้วยสำริด ไกด์อธิบายว่าเป็นยอดหอนกกระเรียนเหลืองตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง หอพังไปแล้ว เหลือแต่ยอดแค่นี้เอง หอนี้พังไปสร้างใหม่ทุกราชวงศ์ ถือเป็นเรื่องแปลก สร้างครั้งแรกสมัยสามก๊ก ค.ศ. 223 ซุนกวนสร้างเอาไว้ดูศัตรู ตอนนี้รอบ ๆ หอเป็นสวนสาธารณะกระเรียนเหลือง มองออกไปเห็นอาคารทรงจีนชื่อ อาคารเมฆขาว (ไป๋หยุน) มีเอ่ยถึงในบทกวีสมัยราชวงศ์จิ้น เดิมชื่อหอใต้ (หนานโหลว) เพิ่งเรียกหอเมฆขาวเมื่อสมัยราชวงศ์หมิง ที่จริงกวีขึ้นไปแต่งบทกวีที่หอเมฆขาว ไม่ใช่ที่หอนกกระเรียนเหลือง (น.176) รูป 162 อาคารเมฆขาว

(น.178) สมัยราชวงศ์หมิง เป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพในจีน เพราะว่าถูกเผาไปบ่อย ๆ เมื่อใดที่สร้างขึ้นมาและอยู่ได้ แสดงว่าประเทศสงบสุขและมั่นคง สมัยราชวงศ์ชิง ที่เราเห็นยอดหลังคาตั้งไว้ในสวน หอปัจจุบันคล้ายสมัยราชวงศ์ชิงมากที่สุด

เย็นสบายชายน้ำ หน้า 211

(น.211) วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2539
วันนี้ไปหอดูดาวโบราณปักกิ่ง ซึ่งเป็นหอดูดาวที่เก่าแก่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง สร้างมาตั้งแต่ ค.ศ. 1442 สมัยราชวงศ์หมิง มิชชันนารีชาวเบลเยียมชื่อ Ferdinando Verbius คนจีนเรียกว่า หนานหวยเหยิน เป็นคนเริ่มสั่งทำอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับวัดดาว เกือบทุกอย่างทำในประเทศจีน เพราะฉะนั้นเป็นลายมังกรดั้นเมฆแบบจีน มีแต่เครื่อง Azimuth Theodolite ที่เป็นลายองุ่นแบบฝรั่ง เขาอธิบายว่ากษัตริย์ฝรั่งเศสถวายจักรพรรดิคังซีเมื่อ ค.ศ. 1715 แต่เป็นเครื่องสร้างในเยอรมนี มีเครื่อง Equitoral Armilla, Ecliptic Armilla, Sextant (เครื่องวัดดาว) เครื่องที่ใหม่ที่สุดเรียกว่า New Armilla สมัยพระเจ้าเฉียนหลง ค.ศ. 1744 เครื่องนี้ใช้เวลาติดตั้งถึง 10 ปี มีลูกโลกดาวขนาดใหญ่ ที่จริงศึกษาละเอียดคงจะดีเหมือนกันจะได้ทราบว่าสมัยนั้นนักดาราศาสตร์เขามองเห็นดาวดวงไหนบ้าง ไกด์บอกว่าหอนี้เป็นหอดั้งเดิมตอนที่บูรณะยังพบอิฐที่มีตราจารึกสมัยราชวงศ์หมิง

เย็นสบายชายน้ำ หน้า 260

(น.260) ฉยุงหนูจับไปเลี้ยงแพะที่ทุ่งเป่ยไห่อันหนาวเย็น แม้จะตกระกำลำบากถึงเพียงนี้ ซูอู่ก็ไม่ยอมสวามิภักดิ์ต่อพวกฉยุงหนู ยืนหยัดอย่างเข้มแข็งในความรักชาติและศักดิ์ศรีของราชทูตจีน ซูอู่เลี้ยงแพะอยู่ที่ทุ่งเป่ยไห่ 19 ปี จึงได้กลับบ้านเกิดเมืองนอนในสมัยจักรพรรดิฮั่นเจาตี้ (ครองราชย์ก่อน ค.ศ. 86 – ก่อน ค.ศ. 73 = พ.ศ. 457 – พ.ศ. 470) เรื่องราวของซูอู่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อมา เพลงซูอู่เลี้ยงแพะ เป็นเพลงพื้นบ้านที่รู้จักกันแพร่หลายในหมู่ชาวจีนมาจนทุกวันนี้ นอกจากนั้นมีลายสิริมงคลต่าง ๆ ปวงเทพอวยพรอายุยืน (สมัยราชวงศ์ชิง) มรดกแห่งชาติ (สมัยราชวงศ์หมิง) พ่อแม่ลูก ลายทิวทัศน์ ลายภูเขาหวงซาน ลายราชอุทยาน เป็นต้น หมึกสมัยใหม่ผสมสีแดงดำ ฝนออกมาจะเป็นสีน้ำตาล ลายเป็นแบบธรรมชาติสวยงาม พวกหมึกโบราณเข้าใจว่าไม่ได้ขาย เป็นการนำมาจัดนิทรรศการให้ดู พร้อมกับของอื่น เช่น หนังสือข้อมูลจดบัญชีสมัยราชวงศ์ชิง พู่กัน ที่เมืองหวงซานนี้มีงานประจำปีเป็นเทศกาลเครื่องเขียน ในงานนี้จะมีหมึกชุดต่าง ๆ ที่สมัยก่อนทำถวายจักรพรรดิเพื่อทรงใช้ในห้องทรงพระอักษร มีพู่กันขนาดต่าง ๆ ทำด้วยขนหมาป่า ขนหางแกะ ขนหางกระต่าย ขนแพะ ประโยชน์ของหมึกนอกจากใช้เขียนหนังสือคือ สำหรับการสะสม ทำเป็นชุดเพื่อให้คนสะสม เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง สำหรับเข้าเครื่องยา ตำราโบราณกล่าวว่ายาที่ทำด้วยหมึกนั้นมีความเป็นกลาง เมื่อเข้าในหัวใจและม้าม สามารถห้ามเลือด

เย็นสบายชายน้ำ หน้า 289

(น.289)
4) เขตฉางเจียง เป็นเขตอุทยานไฮเทค
ข้าพเจ้าขอบันทึกไว้เพียงเท่านี้ การค้นคว้ารายละเอียดเรื่องนี้ที่ง่ายที่สุดคือในเครือข่ายอินเตอร์เนต ไปเที่ยวที่ย่านการค้าโบราณ เดิมเคยเป็นวัดชื่อว่า เฉิงหวงเมี่ยว อาคารบ้านเรือนก็เป็นแบบสถาปัตยกรรมโบราณสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง แต่ของที่ขายเป็นของแบบสมัยใหม่ เช่น รองเท้ากีฬาอาดิดาส แมคโดนัลด์ มีร้านขายยาอายุร้อยกว่าปี ร้านขายทอง เขาว่ากันว่าร้านขายทองร้านนี้ขายทองได้ปีละ 3 ตัน ร้านขายกระดาษตัดเป็นรูปต่าง ๆ ขนมและอาหารพื้นเมือง ไม่มีเวลาดูละเอียด ไปที่ร้านน้ำชา ข้ามสะพานที่เขาเรียกกันว่า สะพานเลี้ยว 9 ครั้ง ร้านน้ำชาแห่งนี้ได้ต้อนรับบุคคลสำคัญหลายท่าน สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 ก็เคยเสด็จมา (มีภาพ) เรานั่งดื่มน้ำชากับแกล้ม พลางฟังเพลงพื้นเมืองหลายเพลง ได้ความว่าเพลงเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเล ของชำร่วยของร้านเป็นหนังสือตำราชาสมัยราชวงศ์ถังทำเป็นเล่มเล็ก ๆ

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 76

(น. 76)
10. เครื่องเคลือบสมัยราชวงศ์หยวน-หมิง (ค.ศ. 1279 – ค.ศ. 1368 และ ค.ศ. 1368 – ค.ศ. 1644) มีเครื่องเคลือบชนิดต่างๆ สีขาว ขาวลายน้ำเงิน เหลือง สีประสมม่วงออกแดง บางชิ้นมีตราเขียนไว้ที่ชามบอกปีรัชศกที่ทำ มีเครื่องลายครามจากเตาหลวงที่จิ่งเต๋อเจิ้น เตาราษฎร์ทำอ่างลายคราม สิ่งของสมัยจักรพรรดิเจียจิ้งแห่งราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1522 – ค.ศ. 1566) มีเครื่องหยกต่างๆ

เจียงหนานแสนงาม หน้า 111-113,133,135,140

(น. 111) เครื่องเขิน เดิมลงรักไปบนเครื่องปั้นดินเผาสมัยเมื่อ 5,000 – 6,000 ปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นเป็นต้นมาจึงใช้โครงไม้แล้วลงรัก ในตู้นี้เขาเก็บเครื่องลงรักทั้งสีดำและสีแดงของทุกสมัย เครื่องลงรักแบบหยังโจว คือลงรักสีแดงให้หนาแล้วแกะลายของบางชิ้นก็ฝังมุก มีทองแดงลงรักปิดทองก็มี หรูอี้ลงรักแดงแกะลายสมัยจักรพรรดิเสียนเฟิง (ค.ศ. 1851 – ค.ศ. 1861) แห่งราชวงศ์ชิง ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นหรูอี้แบบนี้ เคยเห็นแต่ที่เป็นหยก นอกจากนั้นมีกล่องใส่อาหารลงรักแดงบนพื้นดำ แกะลายเป็นทิวทัศน์และเขียนตัวหนังสือ ยางรักส่วนใหญ่มาจากมณฑลยูนนาน เครื่องปั้นดินเผา มีศิลาดล มีประวัติว่าพวกเย่ว์เป็นผู้ทำตั้งแต่สมัยหินใหม่ พวกเย่ว์นี้อยู่ทางใต้ของแม่น้ำแยงซีในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก จากนั้นมีมาเรื่อยจนถึงราชวงศ์ชิง เครื่องลายคราม เริ่มมีมาตั้งแต่ราชวงศ์ถัง ที่จริงแล้วได้เศษมาชิ้นเดียว แต่ว่าพบในชั้นดินสมัยถัง ไม่ทราบว่าในวิชาโบราณคดีสันนิษฐานแบบนี้จะพอหรือไม่ นอกนั้นเป็นสมัยราชวงศ์หยวน หมิง ชิง มีข้าวของที่ประสมทั้งลายคราม ทั้งเขียนสีก็มี


(น. 111) รูป 90 เครื่องเขิน
Lacquerwares.


รูป 91 เครื่องเขิน
Lacquerwares.

Next >>