<< Back
หังโจว
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า173,174,177
ที่หมายต่อไปคือ สุเหร่าชิงจิ้ง ข้างทางมีร้านขายตุ๊กตาหินแกะสลัก เป็นรูปมงคลที่พ่อค้าชอบวางไว้หน้าร้าน เช่น รูปสิงโต รูปเจ้าแม่กวนอิม
(น.173) รูป
(น.174) รูป
(น.174) ที่สุเหร่ามีนายกสมาคมมุสลิมชื่อ Hajji Abdullah Huang Quirun มารับ ศาสนาอิสลามเข้ามาในจีนราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 ลูกศิษย์ของพระมะหะหมัดได้เดินทางมากับเรือสินค้า เข้ามาอยู่ที่เมืองเฉวียนโจวและเผยแพร่ศาสนาอิสลามที่เมืองนี้จนถึงแก่กรรม และมีสุสานอยู่ที่นี่ด้วย
มีข้อมูลบอกว่าในสมัยราชวงศ์ซ่งมีชาวมุสลิมจำนวนมากเป็นหมื่นๆ คนอยู่ที่นี่ มาจากเมือง Shiraj บริเวณอ่าวเปอร์เซีย ชาวเปอร์เซีย (อิหร่าน) เป็นผู้บูรณะสุเหร่านี้เมื่อ ค.ศ. 1310 ในสมัยราชวงศ์หยวน ปัจจุบันนี้เหลือเพียงประมาณ 1,000 คน ผู้สร้างสุเหร่าเป็นคนอาหรับ สร้างในปี ค.ศ. 1009 ตามประวัติว่าสร้าง 7 แห่ง ขณะนี้เหลืออยู่แห่งเดียว และเป็นวัด-ศาสนาสถานที่สำคัญ 1 ใน 10 ของจีน ที่รัฐบาลประกาศให้อนุรักษ์ใน ค.ศ. 1992
ที่เขาติดป้ายไว้ให้ดู มีดังนี้
1. สุเหร่าชิงจิ้ง เฉวียนโจว (คือที่เราดูอยู่)
2. วัดเส้าหลิน มณฑลเหอหนาน
3. วัดหันซาน เมืองซูโจว
4. วัดไป๋หม่า เมืองลั่วหยัง
5. วัดหลิงอิ่น เมืองหังโจว
6. วัดเซี่ยงกั๋ว เมืองไคเฟิง
7. วัดพระนอน ปักกิ่ง
8. วัดหลงซิง อำเภอติ้ง มณฑลเหอเป่ย
9. วัดจ๋าสือหลุนปู้ ทิเบต
10 วัดถ่าเอ่อร์ มณฑลชิงไห่
(น.177) ห้องนิทรรศการ มีคำอธิบายภาษาจีนและอังกฤษ แสดงเรื่องศาสนาอิสลามในเฉวียนโจว เริ่มด้วยการแสดงวิธีการทำละหมาดที่ถูกต้อง ต่อด้วยสาระความรู้อื่นๆ เช่น
ในสมัยราชวงศ์ถัง เฉวียนโจวเป็นท่าเรือที่สำคัญ 1 ใน 4 ของจีน ได้แก่
1) เฉวียนโจว
2) กว่างโจว (เมืองกวางตุ้ง)
3) หังโจว
4) หมิงโจว (เมืองหนิงโปในปัจจุบัน)
ท่าเรือเฉวียนโจวนั้นพัฒนาไปได้ระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยราชวงศ์หยวน เปรียบได้กับท่าเรืออเล็กซานเดรียในอียิปต์
เย็นสบายชายน้ำ หน้า265
(น.265) แม่น้ำหวงผู่ไหลมาจากทะเลสาบไท่หูในเมืองหังโจว ไหลผ่านเซี่ยงไฮ้ แบ่งนครเซี่ยงไฮ้ออกเป็นสองฝั่งดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ชมทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำ เห็นที่ทำการของศุลกากร (ไห่กวน) และโรงแรมสันติภาพ แต่ก่อนเป็นอาคารที่ชาวอังกฤษชื่อวิกเตอร์ แซสซูน มาสร้างใน ค.ศ. 1928 ต่อไปเป็นธนาคารแห่งประเทศจีน มีคนเล่าว่าตั้งใจสร้างให้สูงกว่าอาคารของชาวต่างประเทศคือ โรงแรมสันติภาพ ฝั่งขวามีอนุสาวรีย์ปลดแอก และหอไข่มุกตะวันออก ผ่านปากแม่น้ำซูโจวซึ่งไหลมาบรรจบกับแม่น้ำหวงผู่ แม่น้ำหวงผู่นี้ยาวราว 114 กิโลเมตร กว้างราว 500 เมตร ลึกราว 9 เมตร เรือหนัก 20,000 ตันผ่านได้
เย็นสบายชายน้ำ หน้า276
(น.276) สำหรับการต่อสู้ที่ยาวนาน ในประเทศจีนเองขณะนั้นก็มีสมาคมรักชาติต่าง ๆ มากมาย ที่สำคัญคือ กลุ่มของดร.ซุนยัดเซ็น
หลู่ซุ่นกลับประเทศจีนในปลาย ค.ศ. 1909 เป็นอาจารย์ที่อำเภอเช่าซิงและที่หังโจว เขาใช้เวลาส่วนใหญ่วิจัยด้านวรรณกรรม
ค.ศ. 1911 เกิดการปฏิวัติที่เรียกกันว่าการปฏิวัติในปีซินไฮ่ มีการตั้งรัฐบาลชั่วคราวที่นานกิง ค.ศ. 1912 หลู่ซุ่นได้เข้าทำงานกระทรวงศึกษา แล้วย้ายไปอยู่ปักกิ่ง
ใน ค.ศ. 1915 ที่ปักกิ่งเขาตีพิมพ์บทความชื่อ บันทึกประจำวันของคนบ้า จากนั้นได้ใช้นวนิยายและสารคดีเป็นเครื่องมือโจมตีรัฐบาล ช่วงที่หลู่ซุ่นโจมตีรัฐบาลด้วยวรรณกรรมนี้นักปฏิวัติคนอื่น ๆ เช่น เฉินตู๋ซิ่ว (ค.ศ. 1879 – 1942) หลี่ต้าเจา (ค.ศ. 1889 – 1927) และ หูชื่อ (ค.ศ. 1891 – 1962) รวมกันก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นพวกที่ทำงานมวลชนมากแต่ไม่ใช่นักเขียน ต่อจากนั้นหลู่ซุ่นเขียนเรื่องยา เรื่องอวยพร
ในค.ศ. 1921 เขียนเรื่องประวัติอาคิว เขาใช้ตัวเอกในเรื่องชื่ออาคิว แสดงปัญหาที่คนจีนในสมัยนั้นยังมีความคิดที่ล้าหลัง เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาบ้านเมือง
ค.ศ. 1926 หลู่ซุ่นย้ายไปเซี่ยเหมิน (เอ้หมึง) สอนที่มหาวิทยาลัยเซี่ยเหมิน ค.ศ. 1927 ย้ายไปอยู่กว่างโจว ซึ่งเป็นดินแดนที่มีแรงแห่งการปฏิวัติอยู่ทุกหย่อมหญ้า เพราะกว่างโจวเป็นที่พักของพ่อค้าและทหาร เขาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยจงซาน
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า131,132
(น.131) รูป 144 ที่โรงละคร คุยกับรองอธิการบดีก่อนดูบัลเล่ต์
(
น.131) รายการแรก เป็นบัลเล่ต์เรื่อง หวงเหอ มีผู้แต่งเพลงเอาไว้นานแล้ว แต่นักเปียโนเพิ่งเอามาแต่งเป็นบทสำหรับเล่นเปียโนและใช้แสดงระบำบัลเล่ต์ได้ ท่อนที่เอามาเล่นคืนนี้เล่นเรื่องแม่น้ำหวงเหอว่าเป็นแม่น้ำที่ทรงพลัง (มีคลื่น) หล่อเลี้ยงชีวิตคนจีน ต่อมาเกิดภัยญี่ปุ่นบุก และคนจีนลุกขึ้นต่อต้านญี่ปุ่น
รายการที่สอง เป็นเรื่องที่นำมาจากนิทานโบราณ เรื่อง เหลียงซานโป๋กับจู้อิงไถ ดูเหมือนว่าผู้ที่เอามาเป็นบัลเล่ต์จะเป็นชาวสวิส เล่นครั้งแรกที่เซี่ยงไฮ้ ปรากฏว่าประสบความสำเร็จมาก ผู้ชมซาบซึ้งถึงกับร้องไห้ เรื่องมีอยู่ว่า มีสาวน้อยแสนสวยแสนฉลาดคนหนึ่งชื่อ จู้อิงไถ อายุ 17 ปี เธออยากจะไปเรียนหนังสือ แต่พ่อแม่ไม่อนุญาต ในที่สุดก็ต้องยอมให้แต่งตัวเป็นผู้ชายไปเรียนหนังสือที่หังโจว ระหว่างทางได้พบชายหนุ่มชื่อ
(น.132) รูป 145 เซ็นสมุดเยี่ยม
(น.132) เหลียงซานโป๋ อายุ 18 ปี สองคนเดินไปโรงเรียนด้วยกัน ระหว่างที่เรียนเป็นเพื่อนสนิทกันเอื้ออาทรต่อกัน แต่เหลียงซานโป๋ ไม่ทราบว่า จู้อิงไถเป็นผู้หญิง ยังเรียนไม่ทันจบ พ่อเรียกให้จู้อิงไถกลับบ้าน ไม่กลับก็ไม่ได้ เหลียงซานโป๋เรียนต่อ แต่เดินไปส่งจู้อิงไถ ระหว่างทางจู้อิงไถพยายามบอกใบ้หลายครั้งว่าตนเองเป็นหญิง เช่น ครั้งหนึ่งเดินผ่านบ่อน้ำชวนให้เหลียงซานโป๋ชะโงกดูเงาของสองคนแล้วบอกว่า “ดูซิ เราสองคนเหมือนเป็นสามีภรรยากัน” เหลียงซานโป๋ไม่พอใจบอกว่า “เธอเห็นฉันเป็นผู้หญิงหรือ” จู้อิงไถเลยไม่ทราบว่าจะบอกว่าอย่างไร เมื่อจะต้องลาจากกัน จู้อิงไถบอกเหลียงซานโป๋ว่าตนมีน้องสาวคนหนึ่งหน้าตาเหมือนกัน เรียนจบแล้วให้มาที่บ้านและสู่ขอน้องสาว เหลียงซานโป๋ดีใจมาก เมื่อจู้อิงไถกลับบ้านจึงทราบว่าพ่อจะให้แต่งงานกับลูกขุนนางคนหนึ่ง แต่จู้อิงไถไม่ยอมเพราะจะคอยเหลียงซานโป๋ พ่อโกรธมากบอกว่าจะไปแต่งงานกันอย่างไรเหลียงซานโป๋เป็นคนจน เมื่อเหลียงซานโป๋เรียนจบมาที่บ้านจู้อิงไถจึงทราบว่า จู้อิงไถเป็นผู้หญิง แต่เขาถูกพ่อของนางไล่ออกจากบ้านไปและตรอมใจตาย พอรู้ข่าวว่าเหลียงซานโป๋ตาย จู้อิงไถร้องไห้ 3 วัน 3 คืน หลังจากนั้นบอกพ่อว่าจะยอมแต่งงาน แต่ว่าวันที่นั่งเกี้ยวไปบ้านเจ้าบ่าวขอให้ผ่านฮวงซุ้ยของเหลียงซานโป๋ พ่ออนุญาต เมื่อเกี้ยวไปถึงฮวงซุ้ย จู้อิงไถลงจากเกี้ยวร้องไห้ อากาศครึ้มฝนตกฟ้าคะนอง ฮวงซุ้ยก็เปิดกว้าง จู้อิงไถกระโดดลงไป ฮวงซุ้ยปิด อากาศกลับดี มีผีเสื้อสองตัวบินออกมาจากฮวงซุ้ย คงจะเป็นวิญญาณของทั้งสองคน
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า273
(น.273) ภาคผนวก
เฉินตวนเซิง และถานฉือ ไจ้เซิงหยวน
เฉินตวนเซิงเป็นชาวหังโจว เกิดในตระกูลขุนนาง ปู่เป็นบรรณาธิการใหญ่ในการจัดทำหนังสือ ประมวลประวัติศาสตร์ชุด อุ๋นเซี่ยนทงเข่า ซึ่งเป็นฉบับที่ต่อจากหนังสือประวัติศาสตร์ที่หม่าตวนหลินได้เขียนไว้ เฉินตวนเซิงมีความสามารถทางการประพันธ์ เมื่ออายุราวๆ 18-20 ปีได้แต่งถานฉือ (บทขับ) ชื่อ ไจ้เซิงหยวน แต่ประพันธ์ถึงตอนที่ 16 ก็ทิ้งค้างไว้ จากนั้นแต่งงานกับฟั่นเอี๋ยน ต่อมาสามีต้องคดีทุจริตการสอบไล่ ถูกลงโทษเนรเทศไปอยู่ซินเจียง หลังจากทิ้งถานฉือที่แต่งค้างไว้ 10 กว่าปีได้ประพันธ์ต่ออีก 1 ตอนเป็นตอนที่ 17 แล้วชะงักไปอีก ทั้ง ๆ ที่ยังประพันธ์ไม่จบ ต่อมากวีหญิงชื่อ เหลียงเต๋อเสิง ได้ประพันธ์ต่ออีก 3 ตอน รวมเป็น 20 ตอน แล้วมีกวีหญิงอีกคนหนึ่งชื่อ โหวจือซิว เขียนดัดแปลงให้เป็นนวนิยาย 80 บท
ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า27
(น.27) รูป 24 ทางไปเมืองฉู่ฉยง
(น.27) รถจะต้องแล่นระยะทางไกล ฉะนั้นเขาจึงไม่ได้จัดให้มีผู้ใหญ่จีนนั่งมาด้วย มีแต่คุณหลิว และหลี่หงเยี่ยน คนขับรถชื่อคุณลุงเซิงฮงจยุน แต่แรกข้าพเจ้าจำลุงได้คลับคล้ายคลับคลา ที่แท้ก็คือเตี่ยที่ขับรถให้ข้าพเจ้าเมื่อ 14 ปีมาแล้วนั่นเอง เหตุหนึ่งที่ไม่มีทางจะจำได้คือสไตล์การขับรถ เที่ยวก่อนไปแค่ทะเลสาบคุนหมิง ใช้เวลาเกือบ 3 ชั่วโมง เที่ยวนี้แล่นฉิว เลี้ยวหักมุมไปมาอย่างช่ำชอง จะเป็นเพราะถนนดีขึ้นหรือจะเป็นเพราะว่าคราวก่อนใช้รถยี่ห้อหงฉีหรือธงแดงของจีน แต่เที่ยวนี้ไม่ใช่ หงเยี่ยนบอกว่าเดี๋ยวนี้หงฉีเขาก็ปรับปรุงดีขึ้นแล้ว แต่อาจจะมีข้อเสียที่จะกินน้ำมันมาก ท่านนายกหลี่เผิงยังใช้อยู่ ถ้าอยากนั่งต้องไปแถวๆ หังโจว เขายังชอบใช้กันอยู่ หงเยี่ยนได้ตามเสด็จสมเด็จป้าไปเมื่อปีที่แล้ว ส่วนคุณหลิวเคยไปกับน้องเล็กเมื่อหลายปีมาแล้ว
ออกไปนอกเมืองเป็นเขตชนบท ขณะนั้นเริ่มจะเข้าฤดูชุนเทียนหรือฤดูใบไม้ผลิ ดอกท้อบานสีชมพู ตามไร่นาจะปลูกผักต่างๆ ที่แถบนี้เป็นที่สูงๆ ต่ำๆ เป็นลูกคลื่น ฉะนั้นคนทำนาขั้นบันได (ซึ่งดีกว่าทำแบบไร่ ที่ไม่สนใจกับเส้นระดับ) ภาษาจีนเรียกว่า ชีเถียน ที่เห็นมากที่สุดคือ ผักน้ำมัน (โหยวช่าย) ออกดอกสีเหลือง พวกเราที่ไม่ทราบว่า
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 220,221
(น.220)
2.5 จื้อจื้อโจว (自治州) ในตี้ชีว์หรือจังหวัดที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จนเป็นชนส่วนใหญ่ของตี้ชีว์นั้นๆ รัฐบาลจีนก็จะให้ตี้ชีว์นั้นๆ เป็นจื้อจื้อโจว มีระเบียบการปกครองที่แตกต่างจากตี้ชีว์ แต่มีฐานะที่อยู่ในระดับเดียวกัน จื้อจื้อโจวจะมีรัฐบาลประจำจังหวัดของตนเอง มีสิทธิออกกฎหมายขึ้นใช้ภายในจื้อจื้อโจวและบริหารงานต่างๆ โดยมีอิสระในระดับหนึ่ง แต่ก็ต้องขึ้นกับรัฐบาลมณฑลหรือภูมิภาคปกครองตนเองที่รับผิดชอบดูแลจื้อจื้อโจวนั้นๆ ส่วนข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของจื้อจื้อโจวจะเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอยู่มากที่สุดในจื้อจื้อโจวนั้นๆ
ดังนั้นในปัจจุบันคำว่า “โจว” ในการจัดระเบียบการปกครองของจีนใช้กับเขตการปกครองระดับจังหวัดที่มีการปกครองตนเองใน
(น.221)ระดับหนึ่ง ส่วนจังหวัดทั่วๆ ไปจะใช้ว่าตี้ชีว์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคำว่า “โจว” เป็นศัพท์เก่าแก่ด้านการปกครองที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์จีนมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 220) ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบันจึงมีชื่อเขตการปกครองในระดับต่างๆ ของจีนเป็นจำนวนมากที่มีคำว่าโจวติดอยู่ด้วย โดยที่มิได้มีฐานะเป็นจื้อจื้อโจวแต่อย่างไร ทั้งนี้เพราะคำว่าโจวในเขตการปกครองเหล่านั้นได้ใช้กันมาเป็นเวลานานแล้ว ดังตัวอย่างประกอบข้างล่างนี้
นครที่ขึ้นต่อมณฑล (เสิ่งเสียซื่อ) ที่มีคำว่า “โจว” อยู่ด้วย เช่น หลานโจวในมณฑลกานซู เจิ้งโจวในมณฑลเหอหนาน หังโจวในมณฑลเจ้อเจียง และกว่างโจวในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง)
จังหวัด (ตี้ชีว์) ที่มีคำว่า “โจว” อยู่ด้วย เช่น ฮุยโจวในมณฑลอานฮุย หยางโจวในมณฑลเจียงซู และไถโจวในมณฑลเจ้อเจียง
เมืองที่ขึ้นต่อจังหวัด (ตี้ชีว์เสียซื่อ) เช่น สุยโจวในมณฑลหูเป่ย จังโจวในมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) และเฉาโจวหรือที่คนไทยเรียกว่าเมืองแต้จิ๋วในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง)
ดังนั้น คำว่า “จื้อจื้อโจว” ที่ภาษาอังกฤษใช้ว่า “Autonomous Prefecture” จึงน่าจะแปลเป็นภาษาไทยว่า “จังหวัดปกครองตนเอง” มีผู้แปลคำนี้ว่า “แคว้นปกครองตนเอง” ซึ่งดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกับความรับรู้ของคนไทยเท่าใดนัก เพราะคำว่าแคว้นในภาษาไทยสื่อความหมายถึงเขตการปกครองที่มีอิสระและปลอดจากอำนาจรัฐส่วนกลางในระดับสูง ขณะที่จื้อจื้อโจวของจีนมีอำนาจปกครองตนเองในระดับหนึ่งปัจจุบัน (ตามสถิติ พ.ศ. 2532) ประเทศจีนมีจื้อจื้อโจวอยู่ 30 จื้อจื้อโจวมณฑลที่มีมากที่สุดคือมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) มี 8 จื้อจื้อโจว รองลงมาคือมณฑลชิงไห่มี 6 จื้อจื้อโจว ภูมิภาคการปกครองตนเอง
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า142
(น.142) มีภาพทังกามาจากหังโจว มีรูปพระปันฉานลามะในอดีต
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า224,229
(น.224) รับประทานเสร็จแล้วตอนบ่ายไปที่วังฤดูร้อนเย่อเหอ (Jehol) บริเวณอุทยานของวังนี้กว้างใหญ่ เป็นราชอุทยานที่ใหญ่ที่สุดของจีน
(น.229) บริเวณวังมีทะเลสาบ จักรพรรดิโปรดให้จำลองทิวทัศน์ของภาคใต้ ได้แก่ ทะเลสาบซีหู สร้างศาลากลางน้ำ แถบนี้ 80% เป็นภูเขา มองเห็นโขดหินรูปกระบองซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองนี้ มองจากที่ไหนก็เห็น หลีเต้าหยวน นักภูมิศาสตร์จีนโบราณซึ่งเขียนตำราภูมิศาสตร์ว่าด้วยสายน้ำ ก็กล่าวถึงโขดหินนี้ ตำราของหลีเต้าหยวนยังใช้กันมาจนทุกวันนี้ มีเจดีย์องค์หนึ่งสร้างตามแบบเจดีย์ที่หนานจิงและเจดีย์ที่หังโจว ตำหนักชมจันทร์ มีสวนที่จักรพรรดิชอบเที่ยว เวลาหน้าร้อนชอบพายเรือเก็บฝักบัว
เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม คำนำ
(น. 3) ไป๋จวีอี้ (ค.ศ. 772 – ค.ศ. 846) กวีเอกและขุนนางในสมัยราชวงศ์ถังเป็นผู้แต่งร้อยกรองบทนี้ นักวรรณคดีกล่าวว่า บทกวีนี้ใช้ภาษาเรียบง่าย ไพเราะ ฟังสบาย ใช้อักษรเพียง 27 ตัวก็บรรยายภาพฤดูใบไม้ผลิที่เจียงหนานได้อย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างภาพตัดกันในบาทที่ 3 และ 4 นั้นทำได้ดีมาก ในค.ศ. 822 ไป๋จวีอี้มารับราชการอยู่ที่เจียงหนาน เป็นเจ้าเมืองหังโจว 2 ปี ซูโจว 1 ปี รวมอยู่เจียงหนาน 3 ปี ไป๋จวีอี้ประทับใจธรรมชาติที่งดงามและวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองของเจียงหนาน สิ่งเหล่านี้อยู่ในความทรงจำจึงได้แต่งบทกวีเกี่ยวกับเจียงหนานไว้หลายบท
เจียงหนานแสนงาม หน้า13,14
(น. 13) ท่านเล่าถึงเมืองหยังโจว ว่าเป็นบ้านเกิดของเจิ้งป่านเฉียว (ค.ศ. 1693 – ค.ศ. 1765) จิตรกรและนักเขียนตัวหนังสือหรือลายมือที่มีชื่อเสียงในราชวงศ์ชิง เขียนตัวหนังสือสวยมาก เหตุที่ลายมือของเขางามเป็นพิเศษ ก็เพราะว่าเขาได้ศึกษาค้นคว้าลายมือของคนสมัยก่อน แล้วได้มาหัดเขียนลายมือโดยคิดแบบของตนเอง เขายังมีความสามารถพิเศษในการเขียนภาพไม้ไผ่ด้วย
ข้าพเจ้าถามถึงเมืองเซ่าซิง ภริยาของท่านรองนายกรัฐมนตรีเล่าว่าเป็นบ้านเกิดบุคคลสำคัญ เช่น นางชิวจิ่น วีรสตรีที่ได้เข้าร่วมขบวนการปฏิวัติประชาธิปไตยของท่านซุนยัดเซ็น ท่านหลู่ซวิ่น นักประพันธ์มีชื่อ (ซึ่งข้าพเจ้าเคยเขียนประวัติของท่านอย่างละเอียดแล้วในหนังสือ เย็นสบายชายน้ำ) สุสานของกษัตริย์ต้าอวี่ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ก็อยู่ที่เซ่าซิง พระราชบิดาของกษัตริย์ใช้วิธีปิดกั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้ามา แต่กษัตริย์พระองค์นี้ใช้วิธีระบายน้ำออก
สตรีมีชื่อของเมืองนี้ คือ นางชิวจิ่น วีรสตรีผู้ห้าวหาญ นางเฉาเอ๋อ หญิงยอดกตัญญู นางไซซี หญิงผู้มีความงามเลอลบ มีบทกวีของซูซื่อหรือซูตงปัวชมทะเลสาบซีหูในเมืองหังโจวว่างามเหมือนนางไซซี ดังพรรณนาที่ว่า จะเปรียบซีหูกับซีจื่อ (นางไซซี) แต่งเข้มแต่งอ่อนก็งามงด ทะเลสาบซีหูงามเสมอไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอากาศเช่นใด
ที่หยังโจวมีทะเลสาบสวยเหมือนที่เมืองหังโจว แต่แคบและเล็กกว่า จึงเรียกว่า โซ่วซีหู (โซ่ว แปลว่า ผอม) คนมักนิยมล่องเรือลอดสะพานที่ทะเลสาบนี้ (ข้าพเจ้าเห็นว่าน่าจะแปลคำ โซ่วซีหู
(น. 14) เป็น ซีหูแคบ ดูจะเข้าทีกว่าซีหูผอม ซี แปลว่า ตะวันตก หู แปลว่า ทะเลสาบ ทะเลสาบสวยของหังโจวและหยังโจวต่างอยู่ทางตะวันตกของเมือง จึงเรียกว่า ซีหู)
ข้าพเจ้าถามถึงซูโจว หังโจว ภริยาท่านรองนายกรัฐมนตรีเอ่ยเอื้อนคำกล่าวว่าภาษาจีนที่รู้จักกันดีว่า “ซั่งโหย่วเทียนถัง เซี่ยโหย่วซูหัง” ตรงกับความในภาษาไทยว่า “บนฟ้ามีสวรรค์ บนแผ่นดินมีซูโจวและหังโจว” เรียกเมืองซูโจวและหังโจวรวมๆ กันว่า ซูหัง คำกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นว่า เมืองซูโจวและหังโจวเป็นเมืองที่สวยงามน่ายลยิ่ง
ท่านกล่าวต่อไปว่า เมืองซูโจวมีเอกลักษณ์คือ เป็นเมืองโบราณที่คงสภาพเดิมไว้ ที่มีชื่อเสียงคือ เรื่องสวนและคฤหาสน์ สมัยก่อนขุนนางที่เกษียณอายุชอบไปสร้างสวนเล็กบ้างใหญ่บ้าง ความจริงแล้วสามารถจัดทัศนียภาพสวนให้สวยงามได้โดยไม่ต้องใหญ่โต สวนที่มีชื่อคือ สวนจัวเจิ้ง ซึ่งขุนนางใหญ่ผู้สร้างต้องการสวนนอกเมือง เพื่ออยู่อย่างสงบ ห่างไกลจากวงราชการและการเมืองที่ตนเองได้รับพิษภัยมา
สิ่งที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งคือ การดีดพิณเล่านิทาน แต่เขาเล่าภาษาท้องถิ่น คนมาจากทางเหนือฟังไม่เข้าใจ
ท่านเล่าต่อถึงเรื่องงิ้วของเมืองเซ่าซิงว่าคนท้องถิ่นชอบมากกว่างิ้วปักกิ่ง ซึ่งเป็นของประจำชาติ งิ้วทางใต้นี้เรียกว่า เย่ว์จวี้ มีความงามหลายด้านคือ นักแสดงหน้าตาสวยงาม รูปร่างดี ขับร้องไพเราะ ร่ายรำงดงาม เสื้อผ้างาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า91,92,93
(น. 91) รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายการชลประทานเป็นเรื่องอันดับ 1 ในการสร้างสาธารณูปโภค ดีใจที่ได้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยพัฒนาการเกษตร เห็นว่าประเทศเราทั้งสองจะร่วมมือกันได้ในด้านนี้ ถ้าบริษัทจีนประมูลได้ ก็จะทำดีที่สุด
ท่านหูเล่าว่าท่านเพิ่งกลับจากมณฑลเหอหนาน ไปตรวจงานการจัดการลุ่มแม่น้ำหวงเหอ ซึ่งเป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่ที่นั่นแต่ละปีช่วงปลายกรกฎาคม – สิงหาคม น้ำในแม่น้ำจะมาก เกิดอุทกภัย ยังเหลือเวลาอีก 3 เดือน ต้องเร่งบูรณะเขื่อน 2 ฟากแม่น้ำต้านน้ำท่วม และต้องทำความสะอาดขุดลอกคลองด้วย
การไปเยือนเจียงซูและเจ้อเจียง ข้าพเจ้าจะได้ไปเยือนหนานจิง (นานกิง) และหังโจว ซึ่งรวมอยู่ในเมืองหลวงโบราณ 7 แห่งของจีน ทราบว่าข้าพเจ้าเคยไปปักกิ่งและซีอานแล้ว คราวนี้ได้ไปอีก 2 เมือง เป็น 4 เมือง ยังมีลั่วหยัง ไคเฟิง และอานหยัง อีก 3 เมืองคราวนี้คงไปไม่ได้ แต่ว่าคราวหน้ายินดีต้อนรับ จะได้เห็นนครหลวงครบทั้ง 7 เมือง
ข้าพเจ้าว่า มีอีกหลายที่ที่เตรียมไว้ เมื่อวานนี้ได้พบศาสตราจารย์ชาวจีน ท่านนำหนังสือมาให้หลายเล่ม ใช้ข้อมูลดาวเทียมรวบรวมระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ศึกษาน้ำท่วมในจีนเมื่อปีก่อน การใช้ที่ดินการเกษตร ข้าพเจ้าถามว่าจะไปที่ไหนดี ท่านศาสตราจารย์แนะนำมณฑลหนิงเซี่ยและมณฑลชิงไห่
ท่านหูว่า ชิงไห่เป็นต้นแม่น้ำหวงเหอและฉังเจียง มีคนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่หลายกลุ่ม เช่น พวกหุย มองโกล อยู่ที่นั่นไม่
(น. 92) เพียงแต่จะได้ชมทิวทัศน์ แต่ยังได้ศึกษาศาสนาพุทธแบบทิเบต ถ้าได้ไปทิเบตหรือชิงไห่ ควรจะไปเดือนมิถุนายน – สิงหาคม อากาศดีที่สุด ทิเบตก็น่าไป ท่านหูเคยทำงานอยู่ที่นั่น 3 ปี ถ้าไปฤดูหนาวลมแรงอุณหภูมิต่ำๆ
คราวนี้ข้าพเจ้าจะได้ไปเมืองหยังโจว อยู่ห่างเมืองไท่จงที่ท่านหูเกิดและเติบโตเพียง 50 กิโลเมตร ตั้งแต่เด็กเคยไปหยังโจวหลายครั้ง ยังประทับใจชีวิตสมัยที่เป็นวัยรุ่น ที่ชอบมากคือ ทะเลสาบโซ่วซีหู มีทิวทัศน์สวยที่สุดในมณฑลเจียงซู การล่องเรือที่นี่ก็ไม่เหมือนที่อื่นเพราะทะเลสาบไม่กว้าง คดเคี้ยวไปมา เห็นทิวทัศน์ทีละแห่ง พอเลี้ยวไปก็จะเห็นอีกแห่ง ไม่ใช่เห็นทิวทัศน์กว้างๆ พร้อมๆ กันทั้งหมด แต่ก่อนกล่าวกันว่ามีทิวทัศน์เช่นนี้ถึง 30 แห่ง เดี๋ยวนี้เห็นได้ 10 กว่าแห่ง ในทะเลสาบยังมีภูเขาเล็กๆ บนเนินเขามีศาลเจ้าจินซาน มีตุ้ยเหลียน (คำขวัญคู่) ของกวีสมัยราชวงศ์ชิงกล่าวไว้ว่า เมื่อแสงจันทร์ส่องก็เห็นทั้งทะเลสาบ หากหมอกมากก็เห็นแต่ศาลเจ้าที่บนเนินเท่านั้น คราวนี้คงไม่ได้เห็นภาพเช่นนั้น เพราะไม่ได้ไปกลางคืน นอกจากนั้นยังมีสะพาน 5 ศาลา
เมืองหยังโจวนั้นสถานที่ที่มีชื่อเสียงคือ วัดต้าหมิงซึ่งชาวญี่ปุ่นชอบไปมาก เป็นวัดที่สร้างเมื่อประมาณศตวรรษที่ 5 ในรัชศกต้าหมิงของจักรพรรดิเซี่ยวอู่ตี้ (ค.ศ. 454 – ค.ศ. 464) แห่งราชวงศ์หลิวซ่ง (ค.ศ. 420 – ค.ศ. 479) ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ วัดเดิมถูกทำลายไปในสงคราม ที่เราเห็นอยู่สร้างใหม่ในสมัยจักรพรรดิถงจื่อ (ค.ศ. 1862 – ค.ศ. 1874) ราชวงศ์ชิง ที่มีชื่อเสียงเพราะในราชวงศ์ถังเป็นที่จำพรรษาของพระเจี้ยนเจิน ตอนหลังไป
(น. 93) ญี่ปุ่นนำพระธรรมและวิทยาการต่างๆ ไปสู่ญี่ปุ่น พยายามไปถึง 6 หน จึงไปถึง ไปเผยแพร่พุทธธรรม 10 ปี และมรณภาพที่นั่น ญี่ปุ่นระลึกถึงบุญคุณทำรูปไว้บูชา ค.ศ. 1963 ครบรอบ 1,200 ปีของการมรณภาพ รัฐบาลสร้างหอที่ระลึกเอาไว้ที่วัดต้าหมิงนี้ ยังมีโบราณสถานอีกมากในสี่เมืองนี้ (หนานจิง หยังโจว ซูโจว หังโจว) มีนิทานประกอบด้วย แต่ร้อยคำไม่สู้ไปดูหนเดียว จะกล่าวไปก็ยาวเปล่าๆ สู้ไปดูเองไม่ได้
ข้าพเจ้าว่า เมื่อสามปีก่อนไปล่องแม่น้ำฉังเจียง ลงเรือที่นครฉงชิ่งไปขึ้นบกที่นครอู่ฮั่น ต่อทางบกไปหวงซาน เซี่ยงไฮ้ คราวนี้เหมือนได้ดูต่อลงมา คราวก่อนดูโครงการเขื่อนซานเสีย เมื่อโครงการเสร็จเรียบร้อยแล้วจะไปอีกเพื่อดูว่ามีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ท่านหูว่า โครงการนี้ถ้าสร้างเสร็จก็จะเหมือนที่ท่านประธานเหมาประพันธ์ไว้ว่า จะมีทะเลสาบราบเรียบอยู่ในช่องเขาสูง จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ใน ค.ศ. 2003 หวังว่าจะได้ต้อนรับ เรื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบนั้น ประธานาธิบดีเจียงก็ได้รับเชิญเป็นพระราชอาคันตุกะในต้นเดือนกันยายนนี้ ช่วงที่ศตวรรษหนึ่งกำลังจะผ่านไปและศตวรรษใหม่จะมาถึงนั้น การเยือนนี้มีความหมายยิ่งทางประวัติศาสตร์ จะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศเจริญขึ้นอีก
เจียงหนานแสนงาม หน้า106,112,128
(น. 106) หลี่ชิงเจ้า (ค.ศ. 1084 – ค.ศ.1155?) เป็นบุตรีของขุนนางผู้ใหญ่ ในวัยเยาว์ได้เรียนหนังสือ จนมีความรู้แตกฉานในด้านภาษา วรรณคดี และประวัติศาสตร์ มีอัจฉริยภาพในการแต่งบทกวี ฝีมือประพันธ์ดีเยี่ยม เมื่ออายุ 18 ปีแต่งงานกับเจ้าหมิงเฉิง ผู้ซึ่งเป็นบุตรของอัครมหาเสนาบดี เป็นคู่สมรสที่เหมาะเจาะ มีรสนิยมตรงกันทั้งในด้านบทกวี ศิลปะ และวิชาการ ต่อมาหลี่ชิงเจ้าและสามีต้องอพยพจากภาคเหนือลงมาอยู่ทางภาคใต้ เพราะว่าราชวงศ์ซ่งเสียดินแดนแก่ชนเผ่าหนี่ว์เจินแห่งราชวงศ์จิน (พวกกิมก๊ก) จนใน ค.ศ. 1127 ต้องมาตั้งมั่นอยู่ทางใต้ ตั้งเมืองหลวงที่หังโจว เป็นราชวงศ์ซ่งใต้ (หนานซ่ง ค.ศ. 1127 – ค.ศ. 1279) สามีของหลี่ชิงเจ้าถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 1129 เมื่อสามีจากไปแล้ว ชีวิตของหลี่ชิงเจ้าก็ผกผัน ฐานะตกต่ำลง อยู่อย่างลำบาก เงียบเหงา เดียวดาย บทกวีของหลี่ชิงเจ้านั้น ในช่วงแรกชีวิตมีสุข รำพันถึงความรัก ความรื่นรมย์ ชีวิตในช่วงหลังมีความทุกข์ พรรณนาถึงความเศร้า ความเดียวดาย และชะตากรรมของยุคสมัย (น. 106) รูป 86 ดอกไห่ถัง
(น. 112) มีเครื่องเคลือบเตาเต๋อฮว่า สมัยราชวงศ์หมิง เป็นเครื่องเคลือบสีขาวงาช้างที่มีชื่อเสียงของมณฑลฮกเกี้ยน ที่ทำได้สวยเป็นที่รู้จักคือ รูปเจ้าแม่กวนอิม
เครื่องเคลือบสีต่างๆ เครื่องปั้นพบในเรือของเนเธอร์แลนด์ที่จม สีคราม แดง เหลือง เป็นพวกของทำส่งออกที่เรียกว่า Exportware มีเครื่องลายครามจากเรือที่จม มีผู้ซื้อบริจาคให้
พิมพ์ต่างๆ เป็นรูปหน้าตุ๊กตาสมัยราชวงศ์ถัง
เรือต่างๆ เรือขุดอายุ 2,000 กว่าปี มีลักษณะคล้ายเรือมาด แต่มีขนาดใหญ่กว่า ได้จากหังโจว ขาดไปเหลือเพียงครึ่งลำ
เรือมังกรจำลองทำด้วยไม้ และหุ่นจำลองเรือชนิดต่างๆ
นอกจากนั้นมีเครื่องเซรามิกจัดแสดงไว้ด้วย
(น. 128) ต้นไม้ใหญ่ๆ มีหลายต้น เช่น ต้นหงซานหรือ Redwood ต้นพันธุ์ประธานาธิบดีนิกสันนำมาให้นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล ปลูกเอาไว้ที่หังโจว ต้นนี้ขยายพันธุ์มาปลูก พืชนี้อายุยืนมาก อาจอยู่ได้ 1,000 กว่าปี ที่สหรัฐอเมริกาโตแล้วตายเป็นรูให้รถยนต์แล่นผ่านได้ นอกจากนั้น มีต้นสุ่ยซาน มีแต่ในประเทศจีน
Next >>