Please wait...

<< Back

ทิเบต

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 235-236,238,241,245

(น.235) รูป 178 ศิลาจารึกเขียน 4 ภาษา คือ จีน มองโกล ทิเบต และแมนจู
(น.235) วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2544
เช้านี้ไปวัดผู่หนิง เป็นวัดลามะหนึ่งใน 8 ที่เรียกกันว่า วัดนอกเมือง 8 วัด ที่จักรพรรดิให้สร้างฉลองวันพระราชสมภพของจักรพรรดิและพระราชมารดา วัดผู่หนิงนี้จักรพรรดิเฉียนหลงสร้างฉลองชัยชนะพวกมองโกลที่ก่อกบฏ เป็นการอธิษฐานขอให้มีความสงบสุขในแถบแอ่งทาริมและมีการปรองดองกันในชาติ เมื่อไปถึงมีเจ้าอาวาสห่มเหลือง เอาผ้าฮาดาสีเหลืองมาให้ เมื่อเข้าประตูวัดไปมีศาลาศิลาจารึกเขียนเป็นภาษาจีน มองโกล ทิเบต แมนจู เล่าประวัติการที่จักรพรรดิราชวงศ์ชิงปราบคนกลุ่มน้อยทางภาคเหนือ จักรพรรดิถือว่าตนเองอยู่กลาง มีมองโกลและทิเบตอยู่ 2 ข้าง มีจีนหนุนหลัง จารึกที่เขียนเป็นลายพระหัตถ์จักรพรรดิเฉียนหลง ด้านซ้ายมีหอระฆัง ด้านขวามีหอกลอง ทุกวันเวลาสวดมนต์ต้องตีกลอง

(น.236) รูป 179 รูปเคารพกวนอิมพันมือ ทำด้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

(น.236) เข้าไปเป็นวิหารจตุโลกบาล และมีพระมี่เล่อ ด้านในมีวิหารมหาวีระ บนหลังคามีสัตว์ 8 ชนิด ข้างในมีวิหารพระลามะสวดมนต์ ลามะส่วนใหญ่มาจากทิเบต แต่เจ้าอาวาสดูเหมือนจะเป็นคนแมนจู บางคนว่ามาจากมองโกลเลียใน สวดมนต์จบหนึ่งก็แกว่งกระดิ่ง บนโต๊ะข้างหน้าพระลามะมีฉาบ ฉิ่ง สังข์ วางอยู่ ลามะเหล่านี้บวชตอนอายุ 18 โดยพ่อแม่เห็นชอบ บางทีเด็กอายุไม่ถึง 18 พ่อแม่มีศรัทธามากให้บวชก็มี ในวิหารนี้มีพระพุทธรูป 3 สมัย มีป้ายบอกว่าถ้าบริจาค 200 หยวน ติดชื่อไว้ได้ ½ ปี บริจาค 1,000 หยวน ติดชื่อ 3 ปี บริจาค 5,000 หยวน ติดชื่อ 18 ปี บริจาค 10,000 หยวน ติดชื่อ 50 ปี มีรูปพระอรหันต์ 18 องค์ ทำมือปางต่างๆ มีความหมายต่างๆ กัน มีวิหารกวนอิมพันมือ ถือเป็นรูปเคารพทำด้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใช้ไม้ 5 ชนิดต่อกัน ที่ผนังมีรูปพระองค์เล็กๆ

(น.238) รูป 181 หน้าต่างของวัดโปตาลาน้อย เลียนแบบทิเบต

(น.238) ด้านหน้ามีอาคารศิลาจารึก หลักกลางเล่าความเป็นมาของวัด ข้างๆ เป็นประวัติชนเผ่ามองโกลเผ่าหนึ่งซึ่งอยู่ในดินแดนรัสเซียปัจจุบัน แล้วหนีมาอยู่เฉิงเต๋อ หน้าต่างของอาคารเลียนแบบทิเบต เป็นหน้าต่างปลอม การที่ทำหน้าต่างไม่ให้เปิดได้ เพราะเดิมตรงนี้เป็นกุฏิพระ ต้องปิดไว้ไม่ให้ลามะเปิดหน้าต่างดูพระสนม ในอาคารมีห้องพระ พระ 6 องค์ หมายถึง อายุ 60 ปี พระ 8 องค์ หมายถึง อายุ 80 ปี รัฐบาลท้องถิ่นบูรณะวัดนี้ 10 ปีครั้งหนึ่ง โดยใช้เงินจากค่าผ่านประตู ขึ้นบันไดไปดาดฟ้าเห็นทิวทัศน์ภูเขา และทะเลสาบ

(น.241) ศาลาบูชากวนอิม ไกด์เล่าว่ามีชาวสวีเดนเคยมาขอพระราชทานศาลาหลังนี้ จะบูรณะหยวนหมิงหยวนให้ แต่ไม่ได้ตกลงกัน ศาลาศรีเทวี มีหน้าตาน่ากลัวขี่ลา ไกด์บอกว่ามีคำกล่าวว่า ทำดี 1,000 หน ทำชั่วหนเดียวก็ว่าเลว ทำชั่ว 1,000 หน ทำดีเรื่องเดียวก็ว่าดี ศรีเทวีนี้เดิมเป็นคนไม่ดี เมื่ออายุน้อยเป็นคนสวย แต่ไม่เรียบร้อย ไม่อยู่บ้าน ชอบคบผู้ชาย พ่อแม่จนปัญญา ผูกโซ่เหล็กล่ามไว้ แต่ก็หนีไปจนได้ ไปฆ่าคน ลักทรัพย์ อยู่ๆ ก็ได้รับความเมตตาจากเจ้าแม่กวนอิม เลยกลายเป็นพวกของกวนอิม ปราบอธรรม สมัยก่อนหาเด็กเป็นทายาทดาไลลามะ ปันฉานลามะก็ทำพิธีหน้ารูปนี้ เอาชื่อเด็กใส่แจกันจับฉลาก ก่อนใช้วิธีจับฉลากให้ลามะอุ้มให้เด็กจับฉลาก แต่ว่าเขาเกิดจับได้ว่าลามะที่อุ้มชอบบอกใบ้ให้เด็ก ก็เลยไม่ค่อยแม่น เปลี่ยนระบบสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ก่อนที่จะออกจากวัดดูการแสดง เล่าความเป็นมาของทิเบต ร่วมสร้างอารยธรรมโบราณ ออกมาเต้น ร้องเพลงสมัยใหม่สดุดีเมืองเฉิงเต๋อ (หญิง) ระบำมองโกลเผ่าฮุยเท่อ ร้องเพลงเดี่ยวชายมีหางเครื่อง หญิงชายร้องคู่ มีหางเครื่องกระโดดตีตะเกียบ พอมีเวลาจึงไปดูนิทรรศการเกี่ยวกับการค้าของเฉิงเต๋อ ผ่านตลาดวันอาทิตย์ สมัยก่อนตลาดนี้คนเอาของมาแลกกัน ไม่ต้องใช้เงิน

(น.245) ส่วนโปรเฟสเซอร์เฉินซูเผิงนี้ก็เป็นคนรู้จักกันมาสิบกว่าปี ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญภูมิศาสตร์ และ Remote Sensing ของ Chinese Academy of Sciences พบกันในการประชุมเมื่อสิบกว่าปีแล้ว ท่านมีผลงานด้านภูมิศาสตร์และแผนที่มาก โปรเฟสเซอร์เสี่ยวเค่อก็อยู่ Chinese Academy of Sciences ทำแผนที่และ Atlas ของจีน มาเมืองจีนครั้งใดก็ต้องพบและฟังเลกเชอร์จากท่านเกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ของสถานที่ที่จะไป คราวนี้โปรเฟสเซอร์จัดเตรียมแผนที่ด้านธรณีวิทยาของที่ราบสูงชิงไห่ ทิเบต แผนที่ด้านอุตุนิยม แผนที่ข้อมูลสถิตด้านการพัฒนาภาคตะวันตกของจีน ซึ่งน่าสนใจมาก เป็นแนวทางศึกษาได้ว่าควรจะพัฒนาแนวไหนที่ไหน โปรเฟสเซอร์เสี่ยวเค่อให้หนังสือแผนที่ The National Physical Atlas of China

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 251
(น.251) ที่ทิเบตมีเขื่อนกระแสไฟฟ้า กั้นน้ำในทะเลสาบซึ่งสูงกว่าแม่น้ำทำไฟฟ้า กลางคืนใช้ไฟฟ้ามาก ปล่อยน้ำลงมาใช้ กลางวันสูบน้ำขึ้นไปเทบนทะเลสาบ เมื่อรับประทานเสร็จแล้วกลับเรือนรับรองเตี้ยวอวี๋ไถ เก็บข้าวของ ช่วงบ่ายกลับไปมหาวิทยาลัยปักกิ่งอีก พบคณะอาจารย์ที่สอนภาษาจีนข้าพเจ้า และอาจารย์ภาษาไทย อาจารย์ที่ทำงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมา 20 กว่าปีแล้ว ชื่อ ศาสตราจารย์ฟั่น ท่านว่าท่านมีเชื้อสายไทย

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 258,262,266

พระราชดำรัส
ท่านว่านหลี่ ประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิวรรณกรรมแห่งชาติ
ท่านปู้เฮ่อ รองประธานคณะกรรมการบริหารประจำสภาผู้แทนประชาชน
ท่านซุนฝูหลิง รองประธานคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของประชาชน
ท่านซุนเจียเจิ้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ท่านจินปิ่งหัว รองประธานสมาคมนักเขียนแห่งประเทศจีน
ท่านผู้บริหารในส่วนราชการต่างๆ
มิตรเก่าและใหม่ทั้งหลาย
สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ในวันนี้ ณ ที่นี้ ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับรางวัลวรรณกรรมเพื่อความเข้าใจและมิตรภาพระหว่างประเทศ จากมูลนิธิวรรณกรรมแห่งชาติร่วมกับสมาคมนักเขียนแห่งประเทศจีน ข้าพเจ้าจึงมีความปีติยิ่ง ข้าพเจ้าชื่นชอบวรรณคดีจีน โดยเฉพาะบทกวีสมัยราชวงศ์ถังและซ่ง ยุคดังกล่าวบรรดากวีทั้งหลายซึ่งมีจำนวนมากมาย ได้สร้างสรรค์ผลงานที่เลอเลิศประเสริฐในปริมาณมหาศาล เป็นมรดกให้แก่คนรุ่นหลัง อาทิ ยอดกวีหลี่ไป๋ อริยกวีตู้ฝู่ มหากวี ซูตงปัว และกวีหญิง หลี่ชิงเจ้า ข้าพเจ้าได้เลือกสรรบทกวีจำนวน 34 บทจากกวีนิพนธ์ที่ได้เล่าเรียนมาและแปลถ่ายทอดเป็นภาษาไทย รวมเล่มตีพิมพ์ในชื่อ หยกใสร่ายคำ โดยมุ่งประสงค์ให้ชาวไทยได้รับทราบถึงสิ่งอันล้ำค่าชิ้นนี้ในประวัติวรรณคดีจีน ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยสองแห่งได้นำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของตำราเรียน ข้าพเจ้า

(น.258) ยังได้แปลนวนิยายเรื่อง ผีเสื้อ ของหวังเหมิ่ง และนวนิยายของฟังฟังเรื่อง เมฆเหินน้ำไหล ด้วย ปรากฏว่าเป็นที่นิยมชื่นชอบของนักอ่านชาวไทย ขณะนี้หนังสือทั้ง 3 เล่มดังกล่าวได้จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 8 แล้ว การแปลนวนิยายภาษาจีนแต่ละเรื่องก็ดี การประพันธ์หนังสือสารคดีท่องเที่ยวจีนแต่ละเล่มก็ดี ล้วนแล้วแต่ได้ก่อให้เกิดลูกคลื่นเกี่ยวกับเรื่องจีนๆ ในประเทศไทยระลอกแล้วระลอกเล่า ครั้งนี้เมื่อข้าพเจ้าได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนหนิงเซี่ย ชิงไห่ และทิเบต ทั้งสามมณฑล ก็ได้ก่อให้เกิดความนิยมภาคพื้นตะวันตกของจีนในประเทศไทยอีกระลอกหนึ่ง ข้าพเจ้านั้นเมื่อได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาจีนลึกซึ้งมากขึ้นเพียงใด ความสนใจชื่นชอบในการศึกษาวิจัยวัฒนธรรมจีนก็เพิ่มพูนมากขึ้นเพียงนั้น ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมปีนี้ ความใฝ่ฝันที่ฝังอยู่ในใจข้าพเจ้าหลายปีได้เป็นจริงขึ้นมา นั่นก็คือข้าพเจ้าได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นเวลา 1 เดือน ถึงแม้ว่าระยะเวลาจะสั้น แต่สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ความรู้ภาษาจีนได้เพิ่มพูนมากขึ้นอย่างชัดเจน ส่วนทางมหาวิทยาลัยปักกิ่งก็ได้มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้แก่ข้าพเจ้า อันเป็นเกียรติสูงยิ่ง เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศจีนก็ได้มอบรางวัลมิตรภาพภาษาและวัฒนธรรมจีนให้เช่นกัน รางวัลต่างๆ และเกียรติภูมิเหล่านี้นอกจากจะให้การยกย่องแล้วยังเป็นกำลังใจแก่ข้าพเจ้าด้วย ขอขอบคุณรัฐบาลจีนที่ให้ความสนับสนุนอย่างแข็งขันแก่ข้าพเจ้าเป็นเวลายาวนานในการศึกษาภาษาจีน และขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่ถ่ายทอดความรู้ภาษาจีนให้แก่ข้าพเจ้า ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการทั้งหลายที่ได้อำนวยความสะดวกในหลายสิ่งหลายอย่าง นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะขยันขันแข็งศึกษาภาษาจีนสืบต่อไป และยังจะมาเยี่ยมเยือนประเทศจีนอีก ตราบถึงปัจจุบันยังมีอีก 6 มณฑลที่ข้าพเจ้าไม่เคยไป ตั้งใจว่าจะต้องไป รวมทั้งมุ่งหวังว่า จากผลของการเยี่ยมเยือนและ

(น.262) ตำหนัก วิหาร ห้องโถงภายในพระราชวังได้รับการบูรณะอีกครั้งในสมัยของดาไลลามะองค์ที่ 13 พระราชวังโปตาลาต่างจากวัดและวังอื่นๆ ตรงที่ไม่ถูกทำลายในสมัยปฏิวัติวัฒนธรรม หลังจากทิเบตเปลี่ยนการปกครอง รัฐบาลจีนได้บูรณะพระราชวังไปแล้วหนึ่งครั้งและกำลังดำเนินการบูรณะครั้งที่สองด้วย งบประมาณ 170 ล้านหยวน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 5 ปี ในการบูรณะครั้งนี้รัฐบาลมีแผนการที่จะสร้างหอขนาดใหญ่เพื่อเก็บสมบัติและวัตถุต่างๆ ของพระราชวัง ในขณะนี้ได้ทำบัญชีทรัพย์สิน ประเมินค่า วัดขนาด และถ่ายรูปสิ่งของต่างๆ ไปแล้วประมาณ 80% พระราชวังโปตาลาเป็นสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ที่แสดงฝีมือของช่างศิลป์ทิเบตในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 138,025 ตารางเมตร ประกอบด้วยวังแดงและวังขาว วังแดงมีความสูง 13 ชั้น เป็นอาคารใหญ่ทาสีแดงอยู่ตรงกลางพระราชวัง วังขาวเป็นอาคาร 2 หลังทาสีขาวอยู่ด้านขวาและด้านซ้ายของวังแดง สีแดงเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ สีขาวแสดงถึงสันติภาพ

(น.266) วิหารกุนซังลาคังเก็บพระพุทธรูปและสถูปเล็กๆ ที่พ่อค้าชาวทิเบตชื่อเต็มปาต้าชี่เป็นผู้นำมาถวาย หอสมบัติเป็นที่แสดงของมีค่าต่างๆ ได้แก่ เสื้อผ้าและของใช้ของดาไลลามะและราชองครักษ์ เครื่องใช้ในการออกว่าราชการ เช่น หอยสังข์แกะสลักเป็นรูปมังกร พระพุทธรูปและเครื่องบูชาในการประกอบพิธีทางศาสนา เช่น พระพุทธรูปทำจากหินคริสตัลของจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 พระรูปทำด้วยทองแดงชุบทองของเหวัชระ (เกย ดอร์เจ) ซึ่งเป็นเทพตามลัทธิตันตระ ทรงยืนบนดอกบัวพร้อมชายา มันดาลาหรือภาพจำลองจักรวาล 3 มิติ สร้างในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทำจากไข่มุก 200,000 เม็ด ภาชนะใส่น้ำมนต์ทำจากปะการังและกัลปังหา เครื่องแต่งกายในการประกอบพิธีชัม ซึ่งเป็นการรำทางศาสนาที่มีพระเป็นผู้แสดง ทำจากกระดูกและหนังวัว สมบัติที่น่าสนใจอื่นๆ เช่น กุญแจใหญ่ที่สุดของพระราชวัง แบบจำลองพระราชวัง เขาแพะของแพะที่มีเขายาวมากจนกินหญ้าไม่ได้และต้องตายในที่สุด นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์ต่างๆ เช่น คัมภีร์การแพทย์ของยูทก ยนเต็น โกนโป ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นบิดาการแพทย์ของทิเบต คัมภีร์โหราศาสตร์ และที่สำคัญคือ คัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตรที่จักรพรรดิหย่งเล่อพระราชทาน ด้านตะวันออกของวังขาวเป็นลานกว้างขนาด 1,500 ตารางเมตร ชื่อว่าเตยังชาร์ ลานนี้เป็นที่แสดงพิธีทางศาสนารวมทั้งการแสดงพิธีชัม สองด้านของลานนี้เป็นกุฏิพระ 2 ชั้นและห้องเก็บของ ทางปีกตะวันออกของเตยังชาร์เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสอนธรรมะชื่อว่า เซล็อบต้า (โรงเรียนบนยอดเขา) สร้างโดยดาไลลามะองค์ที่ 7 ใน ค.ศ. 1749 บนฝาผนังของวังขาวมีภาพเขียนฝาผนังที่วิจิตร เป็นภาพโลกบาล การสร้างวิทยาลัยการแพทย์บนภูเขาชักโปรี ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับภูเขามาร์โปรี ที่ตั้งของพระราชวังโปตาลา การเสด็จเข้าสู่ทิเบตของเจ้าหญิงเหวินเฉิง การสร้างวัดต้าเจาซื่อ และการเสด็จไปปักกิ่งของดาไลลามะองค์ที่ 5 เพื่อเข้าเฝ้าจักรพรรดิราชวงศ์ชิง

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 11

(น. 11) รูป 3 งานเลี้ยงอาหารค่ำ
(น. 11) เมื่อไปนั่งโต๊ะรับประทานอาหาร ท่านห่วงว่าข้าพเจ้าใช้ตะเกียบเป็นหรือไม่ ข้าพเจ้าว่าคนทางตะวันออกใช้ตะเกียบเป็นทั้งนั้น ท่านว่ามีประวัติเล่ากันว่าเมื่อ 2 พันปีก่อน คนจีนไม่ได้ใช้ตะเกียบ ใช้แต่มีดซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ามีดโต๊ะของฝรั่ง สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ก่อน ค.ศ. 1122 – ก่อน ค.ศ. 770) มีงานพระราชทานเลี้ยง กษัตริย์เห็นว่ามีดเป็นของมีคมอาจเป็นอันตรายได้ จึงหั่นเนื้อเป็นชิ้นเล็กๆ (ลืมถามว่าแล้วคิดประดิษฐ์ตะเกียบใช้หรือไม่) ท่านเล่าต่อไปว่าท่านเคยไปเยี่ยมปันชันลามะนานมาแล้ว ตอนรับประทานอาหารก็ใช้มีดตัดแล้วใช้มือหยิบอาหาร คนทิเบต มองโกล อุยกูร์ ยังใช้มีดแบบนี้ ข้าพเจ้าถามว่าเขาใช้ส้อมจิ้มอาหารหรือเปล่า ท่านว่าใช้มือ ท่านบรรยายถึงสถานที่ที่ข้าพเจ้าจะไป ได้แก่ วัดจินซาน ในเมืองเจิ้นเจียง มีเจดีย์นางพญางูขาว และเล่าเรื่องย่อว่ามีนางพญางู

เจียงหนานแสนงาม หน้า 61

(น. 61)
2. Analysis of Radar Remote Sensing Imageries of China ใช้ข้อมูลหลายแหล่ง รวมทั้ง Radar Sat ของแคนาดาด้วย และใช้ Airborne Radar ของจีน
3. Agricultural Atlas of China พิมพ์ ค.ศ. 1994 พิมพ์จำนวนน้อย ท่านรองนายกรัฐมนตรีหลี่หลานชิงรับผิดชอบการจัดทำหนังสือนี้ ท่านเป็นผู้รับผิดชอบตัดสินนโยบายด้านเกษตรเรื่องการศึกษาและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ หนังสือเล่มนี้ให้ข้อมูลด้านการเกษตรของจีนทั้งประเทศอย่างละเอียด มีข้อมูลจังหวัดต่างๆ แต่บางทีไม่มีข้อมูลทางการเกษตร เพราะพื้นที่ไม่เหมาะที่จะเพาะปลูก เช่น ในที่สูงๆ ของทิเบต ส่วนข้อมูลแม่น้ำฉังเจียงก็น่าสนใจ การเกษตรลดลง แต่อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น มีน้ำท่วมรุนแรงมากขึ้น เป็นปัญหาที่พยายามค้นคว้าวิจัยว่าพฤติกรรมของมนุษย์และการพัฒนาเศรษฐกิจมีผลอย่างไรต่อสภาพแวดล้อม เมื่อน้ำหลากไหลลงทะเลสาบไท่หูได้ แต่เขื่อนริมน้ำทำให้น้ำไหลไม่ได้ ระดับน้ำสูงกว่าพื้นที่เพาะปลูกและเขตชุมชน เดี๋ยวนี้ที่ซูโจวต้องทำเขื่อนกั้นน้ำล้อมเมือง แต่ก่อนเมืองนี้เคยเป็นเวนิสตะวันออก เดี๋ยวนี้สร้างถนนมากขึ้น ทางน้ำน้อยลง
4. Introduce to the China Science Center International Eurasian Academy of Sciences (IEAS-CSC) August 1997 กล่าวถึงสมาชิกใหม่ในปี ค.ศ. 1997 เป็นคนสำคัญๆ เช่น ประธาน Chinese Academy of Sciences ประธานสาขาวิศวกรรมและสาขาสังคมวิทยาของ Chinese Academy of Sciences

เจียงหนานแสนงาม หน้า 88,92

(น. 88) รูป 72 พบรองประธานาธิบดีหูจิ่นเทา
Paying a call on Vice President Mr. Hu Jintao.

(น. 88) ตอนบ่ายไปพบรองประธานาธิบดีหูจิ่นเทาที่มหาศาลาประชาชน ห้องซินเกียง ท่านผู้นี้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีเมื่อปีที่แล้ว เป็นผู้ที่มีประวัติดีเด่น จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมชลประทาน มหาวิทยาลัยชิงหวา ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในพรรค เช่น ได้เป็นสมาชิกคณะกรรมการพรรคที่มีอายุน้อยที่สุดที่จีนเคยมี ตอนที่เป็นเลขาธิการพรรคมณฑลกุ้ยโจวก็มีอายุน้อยที่สุด เป็นเลขาธิการพรรคที่เป็นพลเรือนคนแรกของภูมิภาคปกครองตนเองทิเบต (5 คนที่เป็นเลขาธิการก่อนหน้าล้วนเป็นทหาร) ตอนเป็นกรรมการโปลิตบุโรก็เป็นกรรมการที่มีอายุน้อยที่สุด

(น. 92) เพียงแต่จะได้ชมทิวทัศน์ แต่ยังได้ศึกษาศาสนาพุทธแบบทิเบต ถ้าได้ไปทิเบตหรือชิงไห่ ควรจะไปเดือนมิถุนายน – สิงหาคม อากาศดีที่สุด ทิเบตก็น่าไป ท่านหูเคยทำงานอยู่ที่นั่น 3 ปี ถ้าไปฤดูหนาวลมแรงอุณหภูมิต่ำๆ คราวนี้ข้าพเจ้าจะได้ไปเมืองหยังโจว อยู่ห่างเมืองไท่จงที่ท่านหูเกิดและเติบโตเพียง 50 กิโลเมตร ตั้งแต่เด็กเคยไปหยังโจวหลายครั้ง ยังประทับใจชีวิตสมัยที่เป็นวัยรุ่น ที่ชอบมากคือ ทะเลสาบโซ่วซีหู มีทิวทัศน์สวยที่สุดในมณฑลเจียงซู การล่องเรือที่นี่ก็ไม่เหมือนที่อื่นเพราะทะเลสาบไม่กว้าง คดเคี้ยวไปมา เห็นทิวทัศน์ทีละแห่ง พอเลี้ยวไปก็จะเห็นอีกแห่ง ไม่ใช่เห็นทิวทัศน์กว้างๆ พร้อมๆ กันทั้งหมด แต่ก่อนกล่าวกันว่ามีทิวทัศน์เช่นนี้ถึง 30 แห่ง เดี๋ยวนี้เห็นได้ 10 กว่าแห่ง ในทะเลสาบยังมีภูเขาเล็กๆ บนเนินเขามีศาลเจ้าจินซาน มีตุ้ยเหลียน (คำขวัญคู่) ของกวีสมัยราชวงศ์ชิงกล่าวไว้ว่า เมื่อแสงจันทร์ส่องก็เห็นทั้งทะเลสาบ หากหมอกมากก็เห็นแต่ศาลเจ้าที่บนเนินเท่านั้น คราวนี้คงไม่ได้เห็นภาพเช่นนั้น เพราะไม่ได้ไปกลางคืน นอกจากนั้นยังมีสะพาน 5 ศาลา เมืองหยังโจวนั้นสถานที่ที่มีชื่อเสียงคือ วัดต้าหมิงซึ่งชาวญี่ปุ่นชอบไปมาก เป็นวัดที่สร้างเมื่อประมาณศตวรรษที่ 5 ในรัชศกต้าหมิงของจักรพรรดิเซี่ยวอู่ตี้ (ค.ศ. 454 – ค.ศ. 464) แห่งราชวงศ์หลิวซ่ง (ค.ศ. 420 – ค.ศ. 479) ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ วัดเดิมถูกทำลายไปในสงคราม ที่เราเห็นอยู่สร้างใหม่ในสมัยจักรพรรดิถงจื่อ (ค.ศ. 1862 – ค.ศ. 1874) ราชวงศ์ชิง ที่มีชื่อเสียงเพราะในราชวงศ์ถังเป็นที่จำพรรษาของพระเจี้ยนเจิน ตอนหลังไป

เจียงหนานแสนงาม หน้า 116,118

(น. 116) ห้องแสดงวัฒนธรรมการดื่มน้ำชา มีกาน้ำชาแบบต่างๆ และถ้ำชานานาชนิด ศาสนา แสดงของในลัทธิเต๋าและพุทธศาสนา มีพระพุทธรูป รูปงูมีหัวเป็นคน 2 ด้าน เป็นของสมัยห้าราชวงศ์ (ค.ศ. 907 – ค.ศ. 960) มีสิ่งของในพุทธศาสนามหายานนิกายต่างๆ รวมทั้งนิกายตันตระแบบทิเบต เครื่องทำพิธี คัมภีร์พระสูตรต่างๆ เช่น วัชรเฉทิกา สุขาวดีวยูหะ มีห้องขายของห้องใหญ่ ขายทั้งของโบราณและของสมัยใหม่ ของที่ทำเลียนแบบของเก่า หนังสือและหัตถกรรมของที่ระลึก ไม่ได้ซื้ออะไร ตรงไปที่ห้องรับรอง ผู้อำนวยการกล่าวว่าพิพิธภัณฑ์นานกิงนี้มีสิ่งของทุกยุคทุกสมัยรวม 400,000 กว่าชิ้น ของที่สำคัญที่สุดคือเครื่องเคลือบเตาหลวงสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง มีอยู่ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของของทั้งหมด ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของพิพิธภัณฑ์นี้คือ มีสถาบันวิจัย 14 แห่งขึ้นกับพิพิธภัณฑ์ เช่น สถาบันโบราณคดี สถาบันการอนุรักษ์ สถาบันวิจัยประเพณีพื้นบ้าน สถาบันวิจัยศิลปะโบราณ และสถาบันสถาปัตยกรรมโบราณ เป็นต้น เจ้าหน้าที่มี 200 กว่าคน 2 ใน 3 เป็นนักวิจัย มีนักวิจัยระดับสูงอยู่ประมาณ 1 ใน 3 การจัดแสดงสิ่งของเป็นผลงานของนักวิจัยเหล่านี้ที่ทำมา60กว่าปีแล้ว นอกจากนี้ยังมีวารสารของพิพิธภัณฑ์อีกด้วย ใน ค.ศ. 1948 – ค.ศ. 1949 รัฐบาลก๊กมินตั๋งย้ายของมีค่าที่สุดจำนวนหมื่นกว่าชิ้นไปไต้หวัน เดี๋ยวนี้อยู่ Palace Museum กรุง


(น. 118) รูป 95 จักจั่นทองเกาะใบไม้หยก
Golden cicada on jade leaf.

(น. 118)
2. จักจั่นทองเกาะใบไม้หยก เป็นของสมัยราชวงศ์ชิง เข้าใจว่าเป็นเครื่องประดับศีรษะของผู้หญิง
3. เสือดาวทองคำสมัยราชวงศ์ฮั่น ขุดพบพร้อมกับแจกันสำริด วางอยู่บนแจกัน ที่รู้ว่าเป็นของสมัยราชวงศ์ฮั่นนั้น เพราะขุดพบในสนามรบบ้านเกิดของนายพลสมัยฮั่น ทองคำหนัก 9 กิโลกรัม เสือดาวนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของการมีทรัพย์
4. พระพุทธรูปทรงเครื่องทองคำขนาดเล็ก ฝังอัญมณี สมัยราชวงศ์ฮั่น
5. โคมไฟรูปกระทิง ขุดพบพร้อมกับพระพุทธรูป ตัวกระทิงมีที่ใส่น้ำเพื่อป้องกันควัน แสดงว่าคนเมื่อก่อนนี้เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
6. ดุ้นหยก (หรือหิน) สีขาวแข็งมาก (ระดับ 7) สลักลายหน้ากาลอย่างประณีต หินชนิดนี้หายากมาก ขุดพบที่ฉังโจว
7. เครื่องประกอบพิธีทางพุทธศาสนาทำด้วยทองคำ
8. มณฑลสามมิติ รูปเขาพระสุเมรุ มีพระจันทร์ พระอาทิตย์ จตุโลกบาล และทิศย่อย 8 เป็นทองคำฝังลายมีไข่มุกประดับ
9. พระพุทธรูปนั่งแบบทิเบต ทองคำหนัก 41 กิโลกรัม

เจียงหนานแสนงาม หน้า 171

(น. 171)
6. ผู้หญิงร้องเพลงเดี่ยวชื่อเพลง ฟังเสียงฝน เขาว่าเป็นเพลงพื้นเมืองของหยังโจว คำร้องมาจากบทกวีสมัยราชวงศ์ซ่ง ฟัง เสียงเหมือนเพลงในหนังจีน ซุป (ศุภรัตน์) อธิบายว่าเพลงในภาพยนตร์และเพลงจีนยอดนิยมหลายเพลงนำแนวทำนองจากแถบมณฑลเจียงซูและเจ้อเจียง ถือว่าแถวนี้เป็นแหล่งอารยธรรมจีนโบราณ คนแถวฮกเกี้ยน ไต้หวันก็ดี คนกวางตุ้งหรือฮ่องกงก็ดี มีความชื่นชมในวัฒนธรรมนี้ จึงศึกษาเลียนแบบ
7. เชิดหุ่น ฉางเอ๋อสะบัดชายเสื้อ คนเชิดหุ่นคนนี้มีชื่อเสียง เคยไปแสดงที่สหรัฐอเมริกามาแล้ว หน้าตาฉางเอ๋อก็เขียนได้สวยมาก ที่เขาชมกันว่าหน้าตาสวยเหมือนหน้าหุ่น คงเป็นหุ่นพวกนี้
8. ระบำเผ่าทิเบต แต่ท่าทางเหมือนเต้นบัลเล่ต์ ชื่อระบำว่า Jolmo Lungma คำนี้ภาษาจีนใช้ว่า จูมู่หลังหม่าเฟิง เป็นชื่อที่ใช้เรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ในเทือกเขาหิมาลัย


(น. 171) รูป 132 หลังอาหารมีการแสดง
There were cultural performances after dinner.

เจียงหนานแสนงาม หน้า 334,336,337,338


(น. 334) รูป 223 พิพิธภัณฑ์ชนกลุ่มน้อยยูนนาน
The Nationality Museum, Yunnan Institute of the Nationalities.

(น. 334) คุนหมิง) น่าซี (ส่วนใหญ่อยู่ที่เมืองลี่เจียง) พวกฮาหนีหรืออีก้อ (ที่เหมิงไห่ และสิบสองปันนา) พวกว้าและปู้หลัง (สิบสองปันนา) พวกทิเบต (จงเตี้ยน) จ้วง (หงเหอโจว) เป็นต้น ในตู้มีหุ่นแสดงเครื่องแต่งกายของชนเผ่าต่างๆ เช่น เสื้อผ้าที่ทำจากหญ้าของพวกอี๋ (อยู่ที่ฉู่สง) เสื้อผ้าเปลือกไม้ของพวกฮาหนี เสื้อผ้าฟางของพวกจ้วง เสื้อผ้าหนังสัตว์ของพวกน่าซีและพวกหุย เสื้อผ้าป่านของพวกอี๋ เสื้อผ้าทำด้วยหัวเฉ่า (fireweed) ของพวกไต่ หรือไทย

Next >>