<< Back
กวางตุ้ง
เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 22
(น. 22)เห็นไข่ไดโนเสาร์อยู่ในรังยุคครีเตเชียส (Cretaceous) ตอนปลาย ประมาณ 65-95 ล้านปีมาแล้ว พบที่อำเภอหนานสง มณฑลกวางตุ้ง ขณะนี้ถือว่าเป็นรังไดโนเสาร์ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลก มีอยู่ 2 รัง 2 ชนิด คือ Golithes Nyustus และ Golithes Elongatus ในรังที่สองมีไข่ 29 ฟองเรียงกัน 3 ชั้น ไข่ฟองโตที่สุดยาว 22 เซนติเมตร มีคนมาขอซื้อไข่ฟองละ 6 แสนเหรียญสหรัฐ ทั้งรังมีมูลค่า 10 กว่าล้านเหรียญ
เจียงหนานแสนงาม หน้า 148,150,167,169,171
(น. 148) ชาวจีนที่มาตั้งถิ่นฐานในไทยส่วนมากมาจากมณฑลกวางตุ้ง (ชาวจีนแต้จิ๋ว จีนกวางตุ้ง และจีนแคะบางส่วน) นอกจากนั้นมีที่มาจากมณฑลฮกเกี้ยน (ชาวจีนฮกเกี้ยน) ในขณะที่บางส่วนมาจากภูมิภาคปกครองตนเองกวางสี (ชาวจีนแคะ) และเกาะไหหลำ (ชาวจีนไหหลำ)
(น. 150) ตอนที่ไปเมืองจีนครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1981 นั้น ข้าพเจ้าได้เรียนภาษาจีนมาบ้างแล้ว ขณะนั้นฝ่ายจีนและฝ่ายไทยมีการเยือนในระดับสูงหลายครั้ง ฝ่ายๆไทยมีนายกรัฐมนตรีคึกฤทธิ์ (ค.ศ. 1975) นายกรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ (ค.ศ. 1978) ประธานรัฐสภาหะริน (ค.ศ. 1979) และนายกรัฐมนตรีเปรม (ค.ศ. 1980) ฝ่ายจีนมีท่านเติ้งเสี่ยวผิง (ค.ศ. 1978) มาดามเติ้งอิ่งเชา (ค.ศ. 1980) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหวังหวา (ค.ศ. 1980) นายกรัฐมนตรีเจ้าจื่อหยัง (มกราคม ค.ศ. 1981)
หลังจาก ค.ศ. 1981 ข้าพเจ้ายังคงเรียนภาษาจีนกับครูที่สถานทูตจีนจัดให้ แต่ไม่ได้มีโอกาสเยือนจีนอีกเลยจนเก้าปีภายหลัง ได้เดินทางไปตามเส้นทางแพรไหมใน ค.ศ. 1990 หลังจากนั้นได้เยือนจีนสม่ำเสมอทุกปี ได้ไปหลายแห่ง เช่น ทางภาคอีสาน เดินทางล่องเรือตามแม่น้ำฉังเจียง เพื่อเยี่ยมชมโตรกเขาซานเสีย ไปเมืองต่างๆ ในมณฑลยูนนาน ไปมณฑลกวางตุ้งระหว่างการไปชมฮ่องกงคืนสู่จีน
(น. 167) นายกเทศมนตรีภูมิใจที่ได้เห็นบ้านเมืองมีวัฒนธรรมที่เจริญสมัยโบราณมีสำนักจิตรกรสำคัญเรียกว่า แปดประหลาดแห่งเมืองหยังโจว เป็นสำนักที่วาดภาพมีลักษณะพิเศษจนทุกวันนี้
ข้าพเจ้าถามถึงแปดประหลาด นายกเทศมนตรีว่าจะต้องให้รองนายกเทศมนตรีเป็นคนเล่า เพราะเขาจบปริญญาเอกทางประวัติศาสตร์และเป็นคนหยังโจว ส่วนนายกเทศมนตรีเป็นคนมณฑลกวางตุ้ง (เมืองจงซาน)
รองนายกเทศมนตรีเล่าว่า ในสมัยราชวงศ์ชิง มีจิตรกร 8 คนที่มีชื่อเสียง ที่จริงทั้งกลุ่มไม่ได้มีเฉพาะ 8 คน มีหลายคน แต่มีชื่อเสียงมากแค่ 8 คน ถือเป็นตัวแทนของสำนัก ภาพวาดของพวกเขามีลักษณะพิเศษกว่าที่วาดกันมาก่อน คนจึงว่าประหลาดและมีอิทธิพลถึงภาพวาดของจีนในสมัยต่อมา นอกจากนั้นท่านได้กล่าวเสริมต่อไปว่า โอวหยังซิวและซูตงปัว กวีเอกสมัยราชวงศ์ซ่งล้วนเคยเป็นนายกเทศมนตรีที่นี่
(น. 169) อาหารที่นี่ที่มีชื่อเสียงคือ ข้าวผัดหยังโจว คนจีนและคนต่างชาติรู้จักข้าวผัดหยังโจวมากกว่าเมืองหยังโจวเสียอีก เมืองอื่นก็ทำข้าวผัดหยังโจว ถ้าเป็นที่กวางตุ้งมักนิยมใช้ข้าวไทยทำ แต่ที่นี่มีข้าวของตัวเอง
(น. 171)
6. ผู้หญิงร้องเพลงเดี่ยวชื่อเพลง ฟังเสียงฝน เขาว่าเป็นเพลงพื้นเมืองของหยังโจว คำร้องมาจากบทกวีสมัยราชวงศ์ซ่ง ฟัง
เสียงเหมือนเพลงในหนังจีน ซุป (ศุภรัตน์) อธิบายว่าเพลงในภาพยนตร์และเพลงจีนยอดนิยมหลายเพลงนำแนวทำนองจากแถบมณฑลเจียงซูและเจ้อเจียง ถือว่าแถวนี้เป็นแหล่งอารยธรรมจีนโบราณ คนแถวฮกเกี้ยน ไต้หวันก็ดี คนกวางตุ้งหรือฮ่องกงก็ดี มีความชื่นชมในวัฒนธรรมนี้ จึงศึกษาเลียนแบบ
(น. 171) รูป 132 หลังอาหารมีการแสดง
There were cultural performances after dinner.
เจียงหนานแสนงาม หน้า 243-244
(น. 243)ผ้าปักด้วยไหมของเมืองซูโจวก็มีชื่อเสียงเช่นกัน เป็น 1 ใน 4 ของการปักไหมอันลือชื่อของจีน เรามีพิพิธภัณฑ์ผ้าปัก สถาบันวิจัย
(น. 244)และฝึกสอนการปักผ้า จะได้เห็นพรุ่งนี้ (อีก 3 แห่งคือ กวางโจวในมณฑลกวางตุ้ง ฉังซาในมณฑลหูหนาน และเฉิงตูในมณฑลเสฉวน) เมืองนี้มีวัดในพุทธศาสนามาก พรุ่งนี้จะได้ดูแห่งเดียวคือ วัดซีหยวน มีชื่อเสียงเพราะมีรูปพระอรหันต์ 500 องค์
เจียงหนานแสนงาม หน้า 262
(น. 262) ตอนบ่ายไปที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะไหมปักและสถาบันวิจัยการปักผ้าไหม การปักผ้าไหมเป็นงานศิลปะที่มีชื่อเสียงของจีน และมีมานานแล้ว ได้พบผ้าปักไหมในเจดีย์และในสุสานสมัยราชวงศ์ซ่ง การปักผ้าไหมส่วนใหญ่จะอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ที่มีชื่อเสียงมากมี 4 เมือง คือ ซูโจว มณฑลเจียงซู กวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ฉังซา มณฑลหูหนาน และเฉิงตู มณฑลเสฉวน จนเรียกขานกันว่า ซื่อต้าหมิงซิ่ว หรือ สี่ศิลปะปักอันเลื่องชื่อ เมื่อหลายปีก่อน สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันจัดนิทรรศการศิลปะปักผ้าไหมจากมณฑลหูหนาน ตั้งชื่อว่า วิจิตรบรรจงปัก ไหมเลิศลักษณ์จากหูหนาน ได้เชิญข้าพเจ้าไปเปิดงาน ครั้งนั้นได้เห็นงานงดงามจำนวนมาก ครั้งนี้ได้เห็นที่ซูโจว ซึ่งมีฝีมืองามยิ่งไม่แพ้กันเลย
เจียงหนานแสนงาม หน้า 286
(น. 286)ปัจจุบันมณฑลเจ้อเจียงมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ มี GNP เป็นที่ 4 ของประเทศรองจากมณฑลกวางตุ้ง เจียงซู ซานตง ปัจจุบันพัฒนาการค้าและอุตสาหกรรมมาก ใช้ระบบกลไกตลาดแบบสังคมนิยม มีการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน อุตสาหกรรมที่นี่มีด้านโทรคมนาคมและอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก สร้างเครื่องโทรศัพท์มือถือและเพจเจอร์ นอกนั้นมีเวชภัณฑ์ เครื่องจักร รถ รถตู้ รถจักรยานยนต์ เคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับน้ำมันบางอย่าง เสื้อผ้า เครื่องไฟฟ้าจำพวกตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ มาดามเองเคยไปเมืองไทยเมื่อ ค.ศ. 1987 เพื่อไปดูการผลิตและได้นำเข้า compressor ตู้เย็นที่ไทยผลิตร่วมกับสหรัฐอเมริกาในนิยมอุตสาหกรรม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 340
(น. 340)
3. การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวของยูนนานอาศัยทัศนียภาพธรรมชาติที่สวยงาม โบราณสถานที่น่าสนใจ และประเพณีหลายหลากของชนกลุ่มน้อย ถือได้ว่ามีทรัพยากรท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ที่สุดมณฑลหนึ่ง เมื่อปีที่แล้วในบรรดา 31 มณฑลและนครของประเทศรวมกัน ยูนนานถือได้ว่าเป็นอันดับที่ 7 ในด้านการท่องเที่ยวและเป็นที่ 1 ในภาคตะวันตก มณฑลที่ประสบความสำเร็จทางด้านการท่องเที่ยวส่วนมากเป็นมณฑลทางทิศตะวันออก ได้แก่ มณฑลกวางตุ้ง นครปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง มณฑลฮกเกี้ยน
4. อุตสาหกรรมเหมืองแร่ อัญมณี และการป่าไม้
ในสี่ปีมานี้การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้เพิ่มขึ้นมากมาย การขยายสนามบินที่คุนหมิงก็เสร็จแล้ว ยังมีสนามบินใหม่อีก 4 แห่ง คือที่ลี่เจียง ต้าหลี่ (สองแห่งนี้เปิดใช้แล้ว)
ย่ำแดนมังกร
ย่ำแดนมังกร หน้า 195
(น.195) ท่านผู้ว่าฯ บอกว่านึกขึ้นมาได้ว่าที่สืบสองปันนามีช้าง บนภูเขามีเสือ งูตัวโตๆ คนทางเหนือไม่กินงู ทางใต้แถวๆ กวางตุ้งกิน ท่านผู้ว่าฯ บ่นว่าทางเหนือกับทางใต้ของจีนมีอะไรต่างกันแยะเวลาท่านผู้ว่าฯ ไปกวางตุ้งยังต้องติดเอาล่ามไปด้วย
มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 55
(น.55) ห้องกวางตุ้ง ผนังกรุหินอ่อนแกะเป็นรูปแสดงความรู้สึกของชาวกวางตุ้งในความกระตือรือร้น ขนบประเพณี ความรัก ความรักบ้านเกิด การปฏิรูป และการเปิดประเทศ ทำให้กวางตุ้งเจริญขึ้น ห้องกวางตุ้งนี้ตกแต่งใหม่ เสาเป็นเหล็กไร้สนิม เฟอร์นิเจอร์ทำด้วยหวาย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 73
(น.73) สมัยราชวงศ์ซ่ง (ซ้อง) มีเส้นทางแพรไหมทางทะเล ทำให้เส้นทางบกลดบทบาทลง เส้นทางแพรไหมทางทะเลนั้นรุ่งเรืองอยู่ที่มณฑลฟูเจี้ยน(ฮกเกี้ยน) และกว่างตง (กวางตุ้ง) ต่อไปที่สิงคโปร์ ลังกา แอฟริกา และยุโรปตะวันตก
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 120-121
(น.120) ไก๊ด์อธิบายว่าวัดที่นี่สร้างขึ้นในค.ศ. 684 เพื่อเป็นที่ทำพิธี 100 วัน พระบรมศพพระจักรพรรดิถังเกาจง ชื่อว่าวัดเซี่ยนฟู่ หมายถึงวัดสำหรับทำพิธีบูชาเพื่อให้ความสุข ตอนนั้นพระจักรพรรดิถังจงจงยังครองราชย์อยู่ครองได้ไม่นานจักรพรรดิอู่เจ๋อเทียนพระมารดาก็ขึ้นครองแทน และให้วัดนี้เป็นวัดหลวง
สำหรับเจดีย์ห่านฟ้าเล็กเป็นของหลวงจีนอี้จิงซึ่งไปจาริกแสวงบุญและไปสืบหาพระคัมภีร์ที่อินเดีย ในตอนนั้นพระถังซำจั๋งกลับมาแล้ว หลวงจีน
(น.121) อี้จิงไปลงเรือที่กวางตุ้ง ใน ค.ศ. 671 เดินทางผ่านมะละกาไปอินเดีย เรียนอยู่ทีอินเดียเป็นเวลาถึง 25 ปี แสดงให้เห็นว่าสมัยราชวงศ์ถังน่าจะมีเส้นทางแพรไหมทั้งทางบกและทางทะเล บุคคลสำคัญคนหนึ่งที่เดินทางตามเส้นทางแพรไหมทางบกได้แก่ พระถังซำจั๋ง ส่วนผู้ที่เดินทางเรือที่สำคัญคือ หลวงจีนอี้จิง เมื่อท่านกลับมาถึงประเทศจีนใน ค.ศ. 695 ท่านได้เดินทางไปที่ลั่วหยาง ขณะนั้นพระจักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียนประทับอยู่ลั่วหยาง ไปรับพระอี้จิงด้วยพระองค์เอง พระอี้จิงได้ตามเสด็จกลับมาเมืองฉางอานเพื่อแปลคัมภีร์ในวัดนี้ เมื่อ ค.ศ. 705 จักรพรรดิอู่เจ๋อเทียนสวรรคต จักรพรรดิจงจงได้ขึ้นครองราชย์อีกครั้ง หลวงจีนอี้จิงแปลคัมภีร์ไปได้ 56 ม้วน 230 เล่ม ถึง ค.ศ. 707 จึงได้สร้างเจดีย์ ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี การก่อสร้างเจดีย์ห่านฟ้าเล็กใช้วัสดุคล้ายคลึงกับเจดีย์ห่านฟ้าใหญ่ของพระถังซำจั๋ง แต่รูปแบบต่างกัน และการก่อสร้างเจดีย์ห่านฟ้าเล็กทำอย่างประณีตกว่า
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 17
(น.17) งานโครงการเขื่อนซานเสียก็ต้องดูแล ตัวเขื่อนใหญ่จะอยู่ที่เมืองอี๋ชางในมณฑลหูเป่ย แต่ปิดเขื่อนแล้วส่วนที่เป็นอ่างเก็บน้ำจะอยู่ในฉงชิ่งเป็นส่วนใหญ่ (500 ตารางกิโลเมตร จาก 650 ตารางกิโลเมตร) ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติตามนโยบายเปิดสู่ตะวันตกของประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน ให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของแม่น้ำแยงซีตอนบน มีหน้าที่ดูแลการอพยพผู้คน คาดว่าเมื่อเขื่อนแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2009 จะต้องย้ายคนถึง 1,030,000 คน ขณะนี้น้ำยังไม่ขึ้น ได้ไปตระเตรียมสถานที่ย้ายคนเป็นอย่างดี แต่ยังไม่ได้ย้ายทั้งหมด นอกจากจะย้ายไปอยู่ตามเมืองต่างๆ ที่กะเอาไว้เดิมแล้ว ยังต้องกระจายไปตามมณฑลต่างๆ ด้วย เช่น ซานตง อานฮุย เจียงซู มหานครเซี่ยงไฮ้ (ซั่งไห่) เจ้อเจียง ฮกเกี้ยน (ฝูเจี้ยน) กวางตุ้ง (ก่วงตง) เจียงซี หูหนาน หูเป่ย เสฉวน (ซื่อชวน)
คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 9-10
(น.9) การอ่านข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาทำให้รู้ความเป็นมาของเมืองแต้จิ๋วที่เกี่ยวพันมาถึงนครซัวเถาและเมืองเจียหยางได้กระจ่างขึ้น เมืองแต้จิ๋วเป็นเมืองเก่าแก่ ตั้งขึ้นเมื่อประมาณศตวรรษที่ 3 เป็นเขตห่างไกลล้าหลัง ต่อมาในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 ตรงกับปลายราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420) ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางการปกครองแห่งหนึ่งในดินแดนตะวันออกเฉียงใต้ และมาเจริญรุ่งเรืองมากในราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) เมืองแต้จิ๋วได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งป็นมณฑลที่มีสภาพทำเลที่ตั้งที่เปิดกว้างต่อการติดต่อกับต่างประเทศ
(น.10) เมืองแต้จิ๋วมีอำเภอสำคัญชื่อ อำเภอเฉิงไห่ หรือเท่งไฮ้ในภาษาจีนแต้จิ๋ว คำว่า “เฉิงไห่” แปลว่า ทะเลใส อำเภอนี้ตั้งอยู่ริมทะเลจีนใต้ มีอ่าวใหญ่น้ำลึกที่กำบังคลื่นลมได้ดี เรือสำเภาขนาดใหญ่สามารถจอดเทียบท่าได้ ชัยภูมิดังกล่าวทำให้อำเภอเฉิงไห่เป็นชุมทางสำคัญของการติดต่อค้าขายระหว่างมณฑลกวางตุ้งกับมณฑลฮกเกี้ยน และระหว่างดินแดนทางภาคใต้ของจีนกับประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงประมาณทศวรรษ 1860
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 16,22,27-28,30
(น.16) เรื่องนี้ไม่น่าเชื่อว่าจริง สมัยกรุงธนบุรีบ้านเมืองยากจน จะเอาทองที่ไหนส่งไปเมืองจีนถึง 18 โอ่ง พระเจ้าตากเองยังทรงปรารภเรื่องบ้านเมืองยากจน ข้าวปลาอาหารขาดแคลนดังความในพระราชพงศาวดารว่า...ออกพระโอษฐ์ว่า บุคคลผู้ใดเป็นอาทิคือเทวดาบุคคลผู้มีฤทธิ์ มาประสิทธิ์ มากระทำให้ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ขึ้น ให้สัตว์โลกเป็นสุขได้ แม้นผู้นั้นปรารถนาพระพาหาแห่งเราข้างหนึ่ง ก็อาจตัดบริจาคให้แก่ผู้นั้นได้...
ในตอนนั้นมีผู้กล่าวว่าพระบิดาพระเจ้าตากอาจจะไม่ใช่คนเท่งไฮ้เพราะในพงศาวดารกล่าวว่าทรงเป็นบุตรจีนไหฮอง ซึ่งภาษาจีนกลางอ่านว่าไห่เฟิง เป็นอำเภออยู่ทางตอนใต้ของมณฑลกวางตุ้ง ครึ่งทางจากเท่งไฮ้ไปเสิ่นเจิ้น ที่เริ่มกล่าวว่าพระเจ้าตากเป็นคนเท่งไฮ้นั้น มาจากหนังสือของ G. William Skinner เรื่อง Chinese Society in Thailand (New York: Cornell University Press, 1957) หนังสือเล่มนี้กล่าวว่าชื่อไหฮองนั้นอาจจะเป็นชื่อเฉพาะของพระราชบิดา ไม่ใช่ชื่ออำเภอ ข้าพเจ้าลองคิดดูเล่นๆ ว่า สกินเนอร์อาจจะถูกที่ว่าพระบิดาเป็นคนเท่งไฮ้ แต่บรรพบุรุษหลายชั่วคนก่อนมาจากไหฮอง มีคนเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าในสมัยก่อนไหฮองเป็นเขตที่ค่อนข้างทุรกันดาร คนจึงโยกย้ายหาที่ทำกินในที่อื่นของประเทศ จึงมาตั้งรกรากที่เท่งไฮ้
(น.22) รูป 14 บริเวณท่าเรือโบราณจางหลิน
(น.22) เข้าไปถึงเห็นเสาทำด้วยหินแกรนิตสีชมพู เขียนว่าท่าเรือโบราณจางหลิน (คนแต้จิ๋วอ่านว่า จึงลิ้ม) มีจารึกประวัติท่าเรือ ท่าเรือนี้ถือว่าเป็นท่าเรือที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง มีความสำคัญทางการทหารและพาณิชย์เจริญรุ่งเรืองที่สุดสมัยราชวงศ์ชิง ในรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง (ค.ศ.1736-1796) ต่อมาถึงจักรพรรดิเจียชิ่งหรือเกียเข่ง (ค.ศ. 1796-1821) หรือประมาณ 200 ปีมาแล้ว หลังจากนั้นก็ค่อยๆเสื่อมไปเมื่อฝรั่งบังคับให้เปิดซัวเถา ความเจริญก็ย้ายไปทางนั้น
ท่าเรือจางหลินนี้เดิมเป็นศูนย์กลางของเรือหัวแดงหรืออั้งเท้าจุ๊น ซึ่งเป็นเรือของมณฑลกวางตุ้ง (เรือของมณฑฝูเจี้ยนหรือฮกเกี้ยน จะทาสีเขียว) เส้นทางเดินเรือทางเหนือไปถึงต้าเหลียน เซี่ยงไฮ้ หนิงโป ส่วนทางใต้ไปอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทย เชื่อกันว่าพระราชบิดาของพระเจ้าตากสินก็ใช้ท่าเรือนี้เดินทางมาประเทศไทย สมัยก่อนเขาว่ากันว่าใช้เวลาประมาณเดือนหนึ่ง
(น.27) เร็วๆ นี้จะมีการประชุมอีกอย่างหนึ่งคือ การประชุมชาวแต้จิ๋วทั่วโลก จำนวนคนแต้จิ๋วมีมาก แต่ละประเทศต้องส่งตัวแทนมา ก็มีจำนวนมากแล้ว พูดถึงคนจีนเท่งไฮ้ที่ไปอยู่เมืองไทยก็พูดภาษาไทยกันหมดแล้ว ในมณฑลกวางตุ้งนี้มีภาษาแต้จิ๋ว กวางตุ้ง และแคะ ส่วนมากก็จะพอฟังภาษากันออก
(น.28) รูป 20 ท่าเรือซัวเถา ที่เห็นด้านซ้ายเป็นเรือที่จอดอยู่
(น.28) ตอนบ่ายที่หมายแรกเราไปท่าเรือซัวเถา ท่าเรือนี้นับว่าเป็นท่าเรือที่สำคัญด้านชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกวางตุ้ง เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในมณฑลกวางตุ้ง และมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) อยู่บริเวณปากแม่น้ำสามสายที่ได้กล่าวมาแล้ว เป็นศูนย์กลางด้านส่งออกและสั่งเข้า (export, import) เป็นหน้าต่างของเขตเศรษฐกิจพิเศษซัวเถา
ท่าเรือแห่งนี้เริ่มขนส่งสินค้าตั้งแต่ ค.ศ. 1861 ในปัจจุบันมีท่าเทียบเรือขนาด 5,000 ตัน 15,000 ตัน 20,000 ตัน และ 35,000 ตัน สำหรับขนส่งผู้โดยสาร สินค้า และมีท่าเรือเฉพาะสำหรับขนส่งถ่านหิน รวม 24 ท่า ถ่านหินนี้สำหรับใช้ในโรงไฟฟ้าหัวหนาน (ขนาด 6 เมกกะวัตต์ มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เครื่อง) ที่อยู่ตรงอ่าวนี้ จุดจอดเรือนอกท่าอีก 17 จุด ขณะนี้มีความสามารถในการขนส่งสินค้าปีละ 8.6 ล้านเมตริกตัน (ปีที่แล้วรับได้ 8.3 ล้านเมตริกตัน) ผู้โดยสารปีละ 400,000 คน ถือเป็นท่าเรือใหญ่อันดับ 11 ของจีน (ข้อมูล ค.ศ. 1994) ติดต่อกับท่าเรือทั่วโลก 210 ท่าใน 47 ประเทศ ท่าเรือนี้มีโครงการขยายการก่อสร้างในระยะที่ 2 ให้เสร็จสิ้นใน ค.ศ. 2000
(น.30) เราไปที่มหาวิทยาลัยซัวเถา อธิการบดีคือ ศาสตราจารย์จางเซียงหยู
มหาวิทยาลัยแห่งนี้ถือว่าค่อนข้างจะใหม่ ได้รับอนุมัติให้ก่อตั้งใน ค.ศ. 1981 เปิดสอนใน ค.ศ. 1983 มีอาณาเขตประมาณตารางกิโลเมตรหนึ่ง
เป้าหมายของการเปิดมหาวิทยาลัยแห่งนี้คือ การผลิตบุคคลากรเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าและการขยายตัวของซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง ในด้านเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาประเทศตามนโยบายสี่ทันสมัย เงินทุนในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนจากนายลีกาซิง นักธุรกิจชาวฮ่องกง เป็นเงิน 1,100 ล้านเหรียญฮ่องกง
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 51-53,56-57
(น.51) กลับไปที่โรงแรมจินม่าน นายเฉินเฮ่าเหวิน รองนายกเทศมนตรีเมืองเฉาโจว (แต้จิ๋ว) ต้อนรับ เขากล่าวว่า นายกเทศมนตรีไม่อยู่เพราะต้องไปประชุมที่กวางโจว เขาอธิบายเรื่องเมืองแต้จิ๋วว่า มีประชากร 2,300,000 คน มี 2 อำเภอ 2 เขต ขึ้นกับรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง มีประวัติยาวนานมาถึง 1,600 กว่าปี มีโบราณสถาน โบราณวัตถุมาก บรรพบุรุษของชาวจีนอพยพส่วนใหญ่มาจากเมืองนี้ โดยเฉพาะพวกที่อยู่เมืองไทย ฉะนั้นจะมีการประชุมชาวแต้จิ๋วทั่วโลกที่นี่
(น.52) เขาคุยว่าเมืองนี้ค้าขายกับต่างประเทศมาก มูลค่าส่งออกมากกว่านำเข้า สินค้าสำคัญ ได้แก่ อาหารแปรรูป (ขายปลาไหลได้มาก) เครื่องเย็บปักเสื้อและผ้า มีชื่อแห่งหนึ่งใน 4 แห่งคือ ปักกิ่ง ซูโจว เสฉวน และที่นี่ เครื่องปั้นดินเผาแต้จิ๋ว มีศิลปะดี เขาบอกว่าของขวัญที่เติ้งเสี่ยวผิงให้กิมอิลซุง อดีตผู้นำเกาหลีเหนือก็ทำที่แต้จิ๋ว แหล่งเครื่องปั้นที่มีชื่อเสียงอื่นๆ เช่น ชานตุง เจียงซู เจียงซี (กังไส) กวางตุ้งที่โฝซาน เซรามิกที่ใช้ในเครื่องอิเล็คโทรนิคส่งขายญี่ปุ่น นอกจากนี้มียาสมุนไพร
อาหารที่นี่อร่อยมากตามเคย มีหูฉลามแบบแต้จิ๋ว น้ำหูฉลาม ที่เหลือก็เอามาทำซุปผักต่อ ขนมต่างๆ อีกหลายชนิด
จากนั้นนั่งรถกลับไปขึ้นเครื่องบินลำเดิมที่สนามบินซัวเถาไปนครกวางโจว นครกวางโจวนี้เป็นเมืองหลวงของมณฑลกวางตุ้งอยู่ตอนบนของที่ราบลุ่มแม่น้ำจูเจียง หรือแม่น้ำไข่มุก นครกวางโจวนี้ถือว่าเก่าแก่มาก มีอายุกว่า 2,200 ปี ตั้งเมืองมาตั้งแต่ก่อนสมัยสามก๊ก มีประวัติเป็นนิทานปรัมปราเล่ากันว่า ในอดีตมีเทวดา 5 องค์ ขี่แพะ 5 ตัว ลงจากสวรรค์ มาที่กวางโจวนี้เพื่อนำรวงข้าวมาให้ชาวบ้าน ทำให้เมืองนี้อุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันนี้เป็นเมืองหลักทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนในการค้าระหว่างประเทศ เป็นเมืองขนาด
(น.53) ใหญ่ที่สุดของจีนตอนใต้ มีงานแสดงสินค้าส่งออกของจีนปีละ 2 ครั้งมาตั้งแต่ ค.ศ. 1957
เมื่อไปถึงสนามบินมีนายหลูจงเหอ รองผู้ว่าราชการมณฑลมาต้อนรับ พาไปที่มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศและการค้าต่างประเทศกวางโจว ระหว่างทางได้ชมตัวเมืองกวางโจวซึ่งเป็นเมืองใหญ่ มีการก่อสร้างมาก มีแต่ตึกสูงๆ สร้างแทนตึกเก่าๆ ที่อยู่อาศัยก็ดูจะกลายเป็นคอนโดหรืออาคารสงเคราะห์ไปหมด ถนนหนทางมาก มีถนนให้คนเดิน ถนนจักรยาน ผู้คนมีจำนวนมาก แต่บ้านเมืองก็ดูสะอาดดี มีคนเก็บขยะแต่งชุดสีแดงคอยเก็บกวาด ในเมืองมีป้ายคำขวัญการคืนฮ่องกงตลอดทาง
เมื่อไปถึงมหาวิทยาลัย อธิการบดีคือ ศาสตรจารย์หวงเจี้ยนหัวและคณาจารย์ต้อนรับ พาขึ้นไปที่ห้องรับแขก อาคารคณะภาษาตะวันออก ชั้นที่ 5 (เดินขึ้นไป) อธิการบดีแนะนำมหาวิทยาลัยว่ามหาวิทยาลัยนี้ขึ้นตรงกับมณฑลกวางตุ้ง ก่อตั้งเมื่อค.ศ. 1995 โดยการรวมมหาวิทยาลัย 2 แห่งคือ มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกวางโจว ซึ่งขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ และมหาวิทยาลัยการค้าต่างประเทศกวางโจว ซึ่งขึ้นกับกระทรวงการคลังเข้าด้วยกัน มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกวางโจวตั้งขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1965 ผู้ตั้งคือ นายกรัฐมนตรี โจวเอินไหล ตั้งแต่ ค.ศ. 1965-1995 มีนักศึกษาที่สำเร็จระดับอนุปริญญาและปริญญาตรีไปกว่า 9,000 คน ปริญญาโทและปริญญาเอกกว่า 200 คน รวมทั้งยังอบรมภาษาให้บุคคลภายนอกอีกกว่า 10,000 คน นับว่าเป็นศูนย์อบรมทางภาษาที่สำคัญ
(น.56) รูป 49 ป้ายเกี่ยวกับไทย
Next >>