Please wait...

<< Back

ปักกิ่ง

จากหนังสือ

หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 5, 6

(น.5)ท่านประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมินมาประชุมที่ซีอาน และได้กล่าวถึงนโยบายที่จะให้พัฒนาภาคตะวันตกของจีน ในการประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติครั้งนี้ ท่านนายกรัฐมนตรีจูหรงจีก็ได้กล่าวถึงการพัฒนาภาคตะวันตกเช่นเดียวกัน รัฐบาลของมณฑลพอใจนโยบายของรัฐบาลกลางและพยายามปฏิบัติตามนโยบายนี้ โดยกำหนดเป็นแผนงานได้แก่
1. เร่งพัฒนางานด้านสาธารณูปโภค การคมนาคม การสื่อสาร โทรคมนาคม มณฑลลงทุนด้านนี้มาก เช่น การปรับปรุงทางรถไฟ ทางด่วน
2. จัดการสิ่งแวดล้อม มีนโยบายเพิ่มป่าและทุ่งหญ้า ให้ชาวนาปลูกป่า (ที่เขาพูดตรงนี้ฉันเข้าใจว่าหมายถึง ให้ชาวนาลงแรงปลูกป่าแทนการเสียภาษี ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่) ยุติการถางป่า อุดหนุนการปลูกป่าเป็นเงิน 200 หยวนต่อ 1 โหม่ว รัฐบาลมณฑลเป็นผู้หากล้าไม้และพันธุ์หญ้า ในมณฑลส่านซีมีแม่น้ำหวงเหอไหลผ่าน มีปัญหาน้ำกัดเซาะทรายไหลลงในแม่น้ำปริมาณมากต้องหาทางป้องกัน
3. ปรับปรุงการศึกษาของประชาชน เหตุผลที่ภาคตะวันตกของประเทศล้าหลังเพราะการศึกษาของประชาชนยังต่ำอยู่ ต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านวิทยาศาสตร์ ปรับปรุงอุตสาหกรรม วิธีการหนึ่งคือ การติดตั้งระบบไฟฟ้าให้ครบทุกหมู่บ้าน ให้ประชาชนได้ดูโทรทัศน์ และส่งเสริมการใช้ internet เพื่อให้เกิดการศึกษาทางไกลได้

(น.6)4. พัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ไม่ซ้ำกับอุตสาหกรรมของภาคตะวันออก ตัวอย่างคือ ที่ซีอานมีอุตสาหกรรมทหาร มีโรงงานผลิตเครื่องบินใหญ่ 2 โรง กำลังแปลงโรงหนึ่งเป็นโรงงานสร้างเครื่องบินพลเรือน ที่มีข่าวเร็วๆ

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 25

(น.25) วันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1948 ประธานเหมานำส่วนกลางของพรรคมาลงเรือที่ชวนโข่ว ข้ามแม่น้ำหวงเหอ เนื่องจากพรรคก๊กมินตั๋งยึดเหยียนอานได้เป็นเวลา 1 ปี 1 เดือน 3 วัน กองทัพแดงจึงยึดคืนมาได้ (มีแผนที่แสดงเส้นทางจากชวนโข่ว ผ่านซีไป่โพว ไปปักกิ่ง)

(น.28) นโยบายการพัฒนาภาคตะวันตกของประเทศ นอกจากจะพัฒนาเศรษฐกิจโดยตรงแล้ว ยังต้องสร้างระบบนิเวศที่สมบูรณ์สอดคล้องกับความเป็นจริง ต้องรับว่าเหยียนอานอยู่ในเขตที่ถูกแม่น้ำหวงเหอกัดเซาะ ต้องพยายามแก้ปัญหานี้ ปัญหาอีกอย่างคือ การคมนาคม เครื่องบินจากปักกิ่งมาที่นี่เพียงสัปดาห์ละครั้ง ต้องพยายามให้มีเที่ยวบินมากขึ้น

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 40

(น.40) รูป 29 เจ่าหยวน สำนักงานกลางของเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์

(น.40) ไปดูที่อยู่ของผู้นำ สถาปัตยกรรมแถวนี้แปลก สร้างบ้านเหมือนกับเป็นอุโมงค์ เข้าไปเป็นห้อง เขาจัดข้าวของต่างๆ ของผู้นำแต่ละคนไว้ในห้อง ติดรูปที่เกี่ยวข้องกับผู้นำท่านนั้นๆ รวมทั้งผลงานหนังสือที่แต่งด้วย เช่น บ้านเหรินปี้สือ (ค.ศ. 1944) เดือนมีนาคม ค.ศ. 1938 ได้ไปมอสโกในฐานะตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำโคมินเทอร์น กลับจากมอสโกใน ค.ศ. 1940 มาเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ดูแลกิจการในเขตนี้ เหรินปี้สือเสียชีวิตในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1950 ที่ปักกิ่ง อายุได้ 57 ปี

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 57, 83

(น.57) เมื่อไปถึงมหาวิทยาลัยซานตง ผู้ที่ต้อนรับเป็นรองอธิการบดีชื่อ ศาสตราจารย์จั้นเทา (Zhan Tao) เพราะอธิการบดีติดประชุมสมัชชาอยู่ที่ปักกิ่ง รองอธิการบดีกล่าวต้อนรับและบรรยายกิจการของมหาวิทยาลัย บอกว่าฉันเป็นแขกสำคัญคนแรกใน ค.ศ. 2000 ถือว่าเป็นการเสริมไมตรีด้านการศึกษาเพราะได้นำนักวิชาการมาหลายท่าน หวังว่าจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย (น.83) กลับที่เรือนรับรอง ตอนค่ำมีเลี้ยง รองผู้ว่าราชการมณฑลเป็นเจ้าภาพ ก่อนอื่นคุณอู่ทำตัวเป็นพิธีกรแนะนำใครๆ และเชิญรองผู้ว่าราชการมณฑลกล่าวบรรยายสรุป ท่านรองผู้ว่าราชการฯ บอกว่า ผู้ว่าราชการมณฑลซึ่งประชุมอยู่ที่ปักกิ่งโทรศัพท์มากำชับให้ดูแลรับรองฉันให้ดี และแนะนำสถานที่ว่า จี่หนานเป็นเมืองหลวงของมณฑล มณฑลซานตงมีประชากร 86,820,000 คน เนื้อที่ 156,000 ตารางกิโลเมตร ขงจื่อเกิดในมณฑลนี้ที่ชวีฝู่ ซึ่งเป็นเมืองหลวงแคว้นหลู่ สมัยชุนชิว จั้นกว๋อ (ส่วนทางตะวันออกของจี่หนานเป็นเมืองหลวงของแคว้นฉี ซึ่งอยู่สมัยเดียวกัน)

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 87, 96

(น.87) อำเภอไท่อานเป็นเมืองระดับกลาง มีฐานะสำคัญมากในมณฑลซานตง เพราะเป็นที่ตั้งของภูเขาไท่ซาน ซึ่งอุดมด้วยแร่ธาตุถึงครึ่งหนึ่งของแร่ธาตุที่มีในมณฑล นอกจากนั้นยังอยู่ในเส้นทางจากปักกิ่งไปเซี่ยงไฮ้และปักกิ่งไปฝูโจว การคมนาคมสะดวกมาก

(น.96) อาคารด้านซ้ายของขุยเหวินเก๋อเป็นอาคารไม้สำหรับเป็นที่ประทับของเหล่าพระประยูรญาติที่เสด็จมาเซ่นไหว้ขงจื่อ ขวามือเป็นศาลาจารึก มีจารึกอยู่สามหลัก จารึกในสมัยราชวงศ์ จิ้น ซ่ง และหมิง มีฐานตั้งป้ายเป็นรูปเต่าและสัตว์อื่นๆ บ้าง มีจารึกหลักหนึ่งที่จักรพรรดิคังซี (ค.ศ. 1662-1722) ทรงย้ายจากปักกิ่งโดยลำเลียงทางคลองขุดใหญ่ เหลือระยะทางอีก 45 กิโลเมตร ใช้วิธีรอให้ถึงหน้าหนาวเอาน้ำราดถนน น้ำกลายเป็นน้ำแข็งแล้วใช้วัวลากมา ใช้เวลาครึ่งเดือน ศิลาจารึกนี้หนักถึง 65 ตัน ต้องใช้วัวลาก 465 ตัว

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 135

(น.135) วันนี้ต้องเดินทางค่อนข้างไกลคือ ตั้งสองชั่วโมง รถผ่านคนนุ่งกระสอบไว้ทุกข์ในพิธีศพเดินมาเป็นแถว หงเยี่ยนบอกว่าเดี๋ยวนี้ในปักกิ่งเขาไม่ทำพิธีแบบนี้กันแล้ว มีแต่ต่างจังหวัด ฉันนึกถึงว่าคนจีนเคยบอกว่าถ้าจะศึกษาธรรมเนียมจีน ต้องศึกษากับจีนโพ้นทะเล เพราะยังรักษาไว้ได้ดีกว่า เมื่อคืนนี้ที่ดื่มเหล้าตู้คังกันนั้น เหล้ามีแอลกอฮอล์ถึง 58% ถ้าผู้หญิงดื่มได้ 10 แก้ว ไม่ยากเลย แต่เมื่อคืนฉันก็ดื่มไม่ถึง 10 แต่คิดว่าถึงก็คงไม่เป็นไร

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 198, 201

(น.198) ไปรับประทานอาหารกับพวกครูที่สอนภาษาจีนมีอาจารย์จังเยี่ยนชิว อาจารย์จี้หนานเซิง อาจารย์หวังเยี่ย อาจารย์ฟั่น (อาจารย์คนปัจจุบัน) และฝ่ายไทย มีพี่สุคนธ์ พี่หวาน ซุป ปกรณ์ ป้อม ตู่ อาจารย์จี้หนานเซิงบอกว่าที่จริงก็ไม่ได้ไปไหน อยู่ที่ปักกิ่งนั่นเอง แต่ทำไมเมื่อปีที่แล้วไม่มีใครมาบอก ปีนี้อาจารย์ฟู่อู่อี้ไปอยู่ฉังชุนจึงมาไม่ได้ อาจารย์จี้หนานเซิงเอารูปตอนที่ฉันไปเจอกับเขาที่เมืองจีน ตอนนั้นสามีเขาเป็นทูตจีนประจำลาว แปลกที่ในรูปฉันดูเด็กมาก จนครูคนอื่นทายไม่ถูกว่าอายุเท่าไร ครูจี้หนานเซิงแปลบทกวีภาษาฝรั่งเศสบางบทของฉันเป็นภาษาจีน ก็เลยมีบทแปล 2 สำนวน เพราะอาจารย์หวังเยี่ยได้แปลไว้แล้ว และตีพิมพ์ในบทกวีภาษาฝรั่งเศสของฉันที่ตั้งชื่อว่า Reflexion หรือ ความคิดคำนึง

(น.201) รูป 152 ดูหนังสือโบราณหายาก

(น.201) ดูนิทรรศการหนังสือเก่า ผู้บรรยายคือ หัวหน้าฝ่ายหนังสือโบราณหายากชื่อ คุณหวงรุ่นหวา หนังสือเหล่านี้รวบรวมหลังสมัยปลดแอก ใน ค.ศ. 1937 ทหารญี่ปุ่นบุกเข้ายึดมณฑลซานซี พวกทหารปาลู่จวินบอกชาวบ้านให้เอาหนังสือและของมีค่าไปซ่อน หลังจากปลดแอกปักกิ่งในเดือนมกราคม ค.ศ. 1949 รัฐบาลปักกิ่งขอให้รัฐบาลท้องถิ่นส่งหนังสือเหล่านี้มาเก็บไว้ที่ปักกิ่ง มีทั้งหมด 4,800 กว่าเล่ม อยู่ในสภาพที่ไม่ดี จึงต้องซ่อมแซมใช้เวลานานถึง 17 ปี เล่มแรกที่ดูเป็นหนังสือคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตรที่เขียนในราชวงศ์จิน ได้มาจากวัดกวงเซิ่งซื่อ

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 215, 222

(น.215) มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง อาจารย์ที่เคยสอนภาษาจีนให้ฉัน กรรมการเป็นบุคคลที่น่าสนใจทั้งนั้น ฉันได้พบศาสตราจารย์หลินเต้าหลายครั้งแล้ว แต่คนอื่นๆ ไม่แน่ใจ ศาสตราจารย์จี้เสี้ยนหลินที่นั่งข้างๆ ฉัน ฉันก็ไม่มีโอกาสได้สนทนา ด้านประวัติศาสตร์ฉันก็สนใจเพราะว่าเคยได้เรียนแต่กับอาจารย์ที่ศึกษามาด้านยุโรปและสหรัฐอเมริกา ไม่ได้พบกับอาจารย์จีนมากนัก ถ้าฉันไปเรียนที่ปักกิ่งอาจจะมีโอกาสบ้าง

(น.222) กลับไปที่เตี้ยวอวี๋ไถ แล้วไปสถานทูตเพื่อพบกับคณะราชการและคนไทยในปักกิ่ง มีนักเรียนและนักธุรกิจจำนวนหนึ่ง แต่ไม่ได้คุยกันมากเหมือนคราวก่อน เพราะมีจำนวนมากด้วย กลับเตี้ยวอวี๋ไถอีกครั้ง รับประทานอาหารค่ำ แล้วไปสนามบิน โดยสารเครื่องบิน China Eastern Airlines MU 7102 เดินทางไปนครไท่หยวน มณฑลซานซี ในเครื่องบินคุยกับมาดามฉงจวินอีก พักที่โรงแรมอิ๋งเจ๋อ

หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 232,234

(น.232) เจ้าของบ้านตอนที่มั่งคั่งชื่อ เฉียวจื้อยง อยู่ในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง นอกจากทำเรื่องการเงินแล้วยังขายธัญพืชทั่วประเทศจีนและเลยไปถึงรัสเซีย ถึงรุ่นที่ 7 ธุรกิจก็ล้มเหลว ค.ศ. 1937 ลูกหลานกระจัดกระจายไปอยู่ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และยูนนาน เขาว่าถึงแม้เจ้าของบ้านไม่อยู่แล้ว แต่ก็ไม่มีใครมาทำลายบ้านเพราะถือว่าเป็นตระกูลคนใจบุญ (มีอักษรจารึกที่บ้านนี้ว่าการทำบุญทำให้มีความสุขที่สุด) อย่างไรก็ตามส่วนที่ลูกชายใหญ่อยู่ถูกทำลายตอนปฏิวัติวัฒนธรรม

(น.234) ท่านผู้ว่าราชการกล่าวต้อนรับในนามของประชาชน 30 ล้านคนของมณฑล ท่านบอกว่าเพิ่งกลับจากการประชุมที่ปักกิ่ง เมื่อเช้านี้เอง ท่านได้เห็นในโทรทัศน์ว่าได้พบพูดคุยกับประธานาธิบดี ท่านว่ากำหนดการเดินทางของฉันแน่นมาก เพิ่งมาถึงก็ได้ไปกำแพงเมืองผิงเหยาและบ้านตระกูลเฉียวแล้ว ที่จริงอยากให้มาอยู่หลายๆ วัน เพราะมณฑลซานซีเป็นบ่อเกิดอารยธรรมจีน มีแหล่งโบราณสถานมากมาย ทางเหนือของมณฑลที่จะไปดูมีถ้ำหยุนกั่ง ภูเขาเหิงซาน (เป่ยเอี้ย) ซึ่งเป็นเขาสำคัญหนึ่งใน 5 ของจีน ทางใต้มีเจดีย์โบราณสร้างด้วยไม้ มีภูเขาอู่ไถซาน ศาลเจ้ากวนอู (เป็นบ้านเกิดของกวนอู) ทิวทัศน์ทางธรรมชาติที่น่าสนใจ มีน้ำตกหูโข่วในอำเภอจี๋

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 20,21,31

(น.20) ที่หมายต่อจากบ้านครูฟั่น ไปศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมสำหรับคณะผู้แทนด้านการทูตแห่งปักกิ่ง (Beijing Language and Cultural Center for Diplomatic Missions) ผู้อำนวยการสถาบันมาคอยรับ ครูหวังจวินเซียงก็มาด้วย ครูหวังสอนภาษาจีนข้าพเจ้าก่อนครูฟั่น เมื่อปี พ.ศ. 2539 เคยไปแม่น้ำฉางเจียงด้วยกัน เพิ่งกลับจากประเทศไนเจอร์ (สามีไปเป็นทูต) ครูหม่าเยี่ยนหัวก็มารออยู่ด้วย ไปที่ห้องประชุมหลัก ผู้อำนวยการบรรยายภารกิจของสถาบัน กล่าวต้อนรับว่าดีใจที่ข้าพเจ้ามาที่สถาบันแห่งนี้ เพราะสถาบันได้จัดครูไปสอนข้าพเจ้าที่กรุงเทพฯ ถึง 6 คน และข้าพเจ้าดูแลครูเป็นอย่างดี ศูนย์แห่งนี้สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ท่านนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งในทศวรรษ 1950 เปลี่ยนชื่อศูนย์หลายครั้ง กว่าจะได้ชื่อที่ใช้ในปัจจุบัน

(น.20) รูป

<(น.21) รูป

(น.21) หน้าที่ของสถาบันคือ สอนภาษาจีนให้นักการทูต เจ้าหน้าที่สหประชาชาติ สื่อสารมวลชนต่างประเทศ และคู่สมรสของบุคคลเหล่านี้ ที่พำนักอยู่ในกรุงปักกิ่ง มีผู้จบการศึกษาไปกว่า 15,000 คน มีเอกอัครราชทูตกว่า 200 คน บุคคลสำคัญอื่นๆ มีอดีตประธานาธิบดีบุชและอดีตประธานาธิบดีอินเดียท่านหนึ่ง

(น.31) ไปที่โรงงิ้ว ข้างในเขียนลายดอกวิสทีเรีย (สีม่วง) ตามเสาและเพดานเพื่อให้มีบรรยากาศเหมือนอยู่ในสวนซึ่งมีดอกไม้ชนิดเดียวกัน เสาด้านนอกทาสีเขียว สีแดงสงวนไว้เฉพาะสำหรับจักรพรรดิ ระหว่าง ค.ศ. 1920-1930 ถือว่าเป็นโรงงิ้วที่ดีที่สุดในกรุงปักกิ่ง ขณะนี้จัดการแสดงทุกวัน วันนี้มีกายกรรมตีลังกา โยนโอ่ง ผู้หญิงนอนหงายท้องเตะโต๊ะ ผู้หญิงอีกคนตีกลอง แล้วร้องเพลงละครทีวี เล่าประวัติกรุงปักกิ่งตอนญี่ปุ่นยึดครอง คนปักกิ่งสมัยนั้นบางคนขายชาติ บางคนรักชาติ การร้องเพลงตีกลองแบบนี้ เป็นศิลปะการแสดงของปักกิ่ง มีผู้หญิงเล่นกล อีกคนใช้เท้าหมุนร่ม 5 คัน หมุนผ้า 4 ผืน ผู้ชายขี่รถจักรยานล้อเดียวสูงๆ ใช้เท้ากระดกชามขึ้นไปบนศีรษะ ตัวตลกแสดงศิลปะเสฉวนคือ เปลี่ยนหน้ากากว่องไวจนดูไม่ทันว่าเปลี่ยนเมื่อไร

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเลหน้า42-44,72

(น.42) หลินเจ๋อสูเกิดที่เมืองฝูโจว เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1785 รัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง บิดาเป็นครู ฐานะยากจน มารดาต้องทำดอกไม้กระดาษเป็นการหารายได้เพิ่ม บิดามีความคาดหวังสูงว่าบุตรชายจะต้องเป็นขุนนาง มีอนาคตดี จึงสอนหนังสือตั้งแต่อายุ 4 ปี สามารถเขียนบทความได้ตั้งแต่อายุ 7 ปี เมื่ออายุ 13 ปีสอบได้ที่ 1 ในตำบล
อายุ 14 ปีสอบได้เป็น ซิ่วไฉ
อายุ 20 ปีเป็น จี่เหริน แต่งงาน
(น.43) อายุ 27 ปีเป็น จิ้นซื่อ และเข้าเรียนที่สถาบันฮั่นหลิน (ในกรุงปักกิ่ง) สถาบันวิชาการระดับสูงสำหรับขุนนาง (การสอบไล่ด้านวิชาการในประเทศจีนนั้นเป็นลำดับจากซิ่วไฉ-จี่เหริน-จิ้นซื่อ ผู้ที่สอบได้จิ้นซื่อได้ที่ 1 เรียกว่า จ้วงหย่วน หรือ จ่อง้วนในภาษาแต้จิ๋ว ภาษาไทยใช้ว่า จอหงวน)

(น.44) ตอนมารับตำแหน่งที่มณฑลกวางตุ้งหลินเจ๋อสูเคยเรียกพวก (พ่อค้า) 13 ห้าง (สือซานหัง) ที่ก่วงโจว (เมืองกวางตุ้ง) มาประชุม และบอกว่าวันใดที่ฝิ่นยังไม่หมดสิ้นไป ตัวข้าพเจ้าจะไม่กลับกรุง ขอเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เป็นไปไม่ได้ที่ฝิ่นจะไม่หมดสิ้น (13 ห้าง คือ กลุ่มพ่อค้าจีนที่ร่วมทุนกับพวกฝรั่ง ได้รับสิทธิพิเศษผูกขาดทางการค้า) แต่แรกเมื่อมีรายงานการปราบฝิ่นส่งเข้ากรุง จักรพรรดิเต้ากวงทรงแทงหนังสือว่าเป็นเรื่องน่ายินดี รับทราบแล้ว เอกสารฉบับนี้เป็นสำเนา ตัวจริงอยู่พระราชวังกู้กงในกรุงปักกิ่ง จักรพรรดิเต้ากวงรู้ว่าชนะ จึงปิดประกาศ อันเป็นเหตุผลหนึ่งที่พวกฝรั่งมาทำสงครามฝิ่น

(น.72) รูป

(น.72) ข้าพเจ้าถามว่าก่อนเป็นผู้ว่าราชการมณฑลเคยทำงานด้านไหน บอกว่าเคยเป็นรองเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งฮกเกี้ยนมากว่า 20 ปี (ตำแหน่งปัจจุบันเพิ่งทำได้ 3 วัน) ข้าพเจ้าถามว่าเคยอยู่มณฑลอื่นบ้างไหม เขาบอกว่าเคยอยู่เจ้อเจียง เหอเป่ย ปักกิ่ง เฮยหลงเจียงก็เคยอยู่ ข้าพเจ้าล้อว่ายังแพ้หลินเจ๋อสูซึ่งทำงานถึง 14 มณฑล ผู้ว่าราชการมณฑลบอกว่า หลินเจ๋อสูเป็นแบบอย่างการปฏิบัติราชการของเขา

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเลหน้า100

(น.100) เหตุที่นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า เมืองนี้เป็นเมืองของหมิ่นเยว่หวังเพราะมีเอกสารประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบันทึกไว้ และลักษณะเป็นเมืองแบบฮั่น เมืองนี้มีเนื้อที่ 480,000 ตารางเมตร เท่ากับ 2 ใน 3 ของพระราชวังในกรุงปักกิ่ง

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเลหน้า105

(น.105) ขึ้นรถไปภูเขาเทียนโหยว เอาของใส่กระเป๋าไปน้อย เพราะกลัวว่าจะหนักเวลาเดิน เขาอวดว่าที่นี่ภูมิประเทศสวยงาม อากาศและน้ำไม่มีมลภาวะ มีโอโซนมากกว่าที่ปักกิ่ง 2,000 เท่า ฉะนั้นเวลาเดินทางจะเหมือนกับไปเที่ยวสวรรค์ เดินขึ้นไปไม่ค่อยจะเหนื่อยเท่าไร เพราะมีที่หยุดชมทิวทัศน์ แต่ว่าเหงื่อออกมาก มีคนแก่เป็นลมบนเขาต้องแบกกันลงมา แล้วเรียกรถพยาบาลรับ พวกที่เดินขึ้นเขาไม่มีใครมีเครื่องช่วยชีวิตแบบปฐมพยาบาลฉุกเฉินเลย

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเลหน้า162,174,175,176,190

(น.162) รูป

(น.162) เฉินเจียเกิงเกิดที่บ้านจี๋เหม่ยเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1874 เขาจากบ้านเกิดไปค้าขายที่สิงคโปร์เมื่ออายุได้ 17 ปี ได้ไปทำกิจการสวนยางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใน ค.ศ. 1940 ส่งคณะแพทย์ไปช่วยรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ที่เหยียนอาน ครั้งนั้นประธานเหมาและนายพลจูเต๋อเลี้ยงอาหารเขาที่เหยียนอานตามประสายาก มีแต่อาหารง่ายๆ ทุกคนตื่นเต้นกันมาก เฉินเจียเกิงคิดว่าระบอบของเหยียนอานเป็นอนาคตของจีน (ในขณะนั้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้แต่สหรัฐอเมริกายังไปเหยียนอานเจรจากับประธานเหมา เพราะคิดว่าจริงจังในการต่อสู้ญี่ปุ่นมากกว่าฝ่ายจีนคณะชาติ) ค.ศ. 1950 เฉินเจียเกิงกลับจี๋เหม่ยซึ่งเขาจากไป 60 ปี เขาใช้ชีวิต 12 ปีสุดท้ายที่จีน วันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1962 ตายที่ปักกิ่ง อายุ 88 ปี โจวเอินไหลให้เกียรติมาเป็นประธานในงานศพของเขาด้วยตนเอง รัฐบาลกลางเป็นเจ้าภาพงานศพ มีธงชาติจีนคลุม เขามีลูก 17 คน ยังมีชีวิตอยู่ 8 คน ชาย 5 หญิง 3 อยู่ต่างประเทศ อนุสาวรีย์ตรงกลางนอกจากมีประวัติคร่าวๆ แกะสลักไว้แล้ว ยังมีความรู้เรื่องพืช สัตว์ และยาจีนเหมือนตำราที่วัดโพธิ์

(น.174) รูป

(น.174) มีข้อมูลบอกว่าในสมัยราชวงศ์ซ่งมีชาวมุสลิมจำนวนมากเป็นหมื่นๆ คนอยู่ที่นี่ มาจากเมือง Shiraj บริเวณอ่าวเปอร์เซีย ชาวเปอร์เซีย (อิหร่าน) เป็นผู้บูรณะสุเหร่านี้เมื่อ ค.ศ. 1310 ในสมัยราชวงศ์หยวน ปัจจุบันนี้เหลือเพียงประมาณ 1,000 คน ผู้สร้างสุเหร่าเป็นคนอาหรับ สร้างในปี ค.ศ. 1009 ตามประวัติว่าสร้าง 7 แห่ง ขณะนี้เหลืออยู่แห่งเดียว และเป็นวัด-ศาสนาสถานที่สำคัญ 1 ใน 10 ของจีน ที่รัฐบาลประกาศให้อนุรักษ์ใน ค.ศ. 1992 ที่เขาติดป้ายไว้ให้ดู มีดังนี้
สุเหร่าชิงจิ้ง เฉวียนโจว (คือที่เราดูอยู่)
วัดเส้าหลิน มณฑลเหอหนาน
วัดหันซาน เมืองซูโจว
วัดไป๋หม่า เมืองลั่วหยัง
วัดหลิงอิ่น เมืองหังโจว
วัดเซี่ยงกั๋ว เมืองไคเฟิง
วัดพระนอน ปักกิ่ง
วัดหลงซิง อำเภอติ้ง มณฑลเหอเป่ย
วัดจ๋าสือหลุนปู้ ทิเบต
วัดถ่าเอ่อร์ มณฑลชิงไห่

(น.175 เข้าไปข้างในมีห้องละหมาด หันหน้าไปทางกรุงเมกกะ มีลักษณะศิลปะแบบจีน แต่ก่อนมีประวัติว่าเป็นศิลปะแบบอาหรับ แต่ชำรุดผุพังไปตามกาลเวลา ที่เห็นอยู่นี้ทำขึ้นสมัยจักรพรรดิเจียชิ่ง ราชวงศ์ชิง

(น.175) รูป

(น.176) รูป

(น.176) หน้าห้องมีนาฬิกา 6 เรือน ยังเดินอยู่เรือนเดียว คือ เวลาที่ปักกิ่ง นอกนั้นใช้สำหรับบอกเวลาให้มาทำละหมาด ดังนี้ เฉิน ตอนเช้าที่พระอาทิตย์เริ่มขึ้น ราว 05.15 น.
สั่ง ราวบ่ายโมง
ปู บ่าย 3 โมง – 5 โมงเย็น
ฮุน เริ่มมืดเย็น 6 โมง พระอาทิตย์จะตก
เซียว กลางคืน มืดสนิท ประมาณทุ่มหนึ่ง
เวลาพวกนี้ไม่แน่นอน แล้วแต่ฤดูกาลหน้าร้อน หน้าหนาว
หน้าห้องละหมาดมีกระถางธูปและแท่นเผากำยานแบบจีน ทำด้วยหินจากโซ่วซาน

(น.190) ศาสนาคริสต์ มีหลักฐานว่าแพร่เข้ามาในจีนตั้งแต่ราชวงศ์หยวน มีจารึกที่เขียนเป็นภาษาตุรกีโบราณที่ใช้ในซีเรียโบราณ ยังไม่มีคนอ่านได้เพราะตัวอักษรเลือนมาก หินหลุมศพมีรูปไม้กางเขนของศาสนาคริสต์นิกายฟรานซิสกัน เป็นนิกายหนึ่งของคาทอลิก นักบวชชาวอิตาลีชื่อ ฟรานซิส แห่งเมืองอัสซีซิ (Assisi) เป็นผู้ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1209 แพร่เข้ามาในจีนที่เมืองปักกิ่งและเฉวียนโจวเมื่อ ค.ศ. 1294 แล้วหยุดชะงักไปพักหนึ่ง จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในสมัยราชวงศ์ชิง ศาสนาคริสต์จึงแพร่เข้ามาในจีนอีกครั้งหนึ่งหลายนิกายทั้งคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และออร์โธดอกซ์