Please wait...

<< Back

หูหนาน

จากหนังสือ

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 20

(น.20) อ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษมีข่าวน่าสนใจอื่นๆอีก เช่น เรื่องธนาคารโลกให้เงินกู้จีนสำหรับการอนุ- รักษ์ป่าไม้ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อใช้ในโครงการปลูกป่า ขยายป่าสงวนแห่งชาติ การปลูกป่าเศรษฐกิจ (เพื่อใช้ไม้) เขตโครงการอยู่ทางทิศใต้ และตะวันออกของจีน (กวางตุ้ง กวางสี ไหหลำ ยูนนาน หูหนาน หูเป่ย เจ้อเจียง และชานตุง) มีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เชื่อมศูนย์ป่าไม้ทั้งประเทศ ทำให้เจ้าหน้าที่ประสานงานกันแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น มีระบบติดตามควบคุมผลไม่ให้การปลูกป่าก่อให้เกิดการพังทลายของดิน โครงการเงินกู้ของธนาคาร โลกนี้นอกจากมีเป้าหมายในการปลูกป่าแล้ว ยังมุ่งให้มีแนวคิดใหม่และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในงานป่าไม้ การสร้างแนวป่ากันชน (Shelter-belts) และปรับปรุงการดำเนินการของอุทยานแห่งชาติ

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 2 เหลียวหนิงหน้า156

(น.156) เรื่องการหัดพูดภาษาสำเนียงก็เป็นเรื่องยาก ท่านเหมาเป็นคนหูหนาน หูหนานเองก็มีหลายสำเนียง ท่านเหมาเป็นคนเกิดในเมืองเล็กๆ ถ้าพูดตามนั้นคนจะไม่รู้เรื่อง จึงเลือกเอาสำเนียงฉางซาซึ่งเป็นเมืองใหญ่ คนเข้าใจมาก แต่ก็รู้ว่ามาจากหูหนาน ข้าพเจ้าคิดว่าที่จริงแล้วน่าจะอยู่ที่ว่าท่านเหมาพูดอย่างไร คนจึงรู้เรื่องเชื่อฟังทั้งประเทศ แล้วก็พูดตามไปอย่างนั้น เขาได้แสดงพูดให้ฟังตอนท่านเหมาพูดกับผู้สื่อข่าวที่ซีอาน

หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 142-143

(น.142) ในบริเวณโหยวหลี่เฉิงเป็นสถานที่ที่เขาทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเหมือนทุกๆ ที่ คือมีอาคารต่างๆ ให้ดู เข้าไปถึงมีโรงคลุมกองดิน เข้าไปดูเขาบอกว่าเป็นซากกำแพงโบราณ ว่าบริเวณนี้ขุดพบวัตถุโบราณ กระดูกสัตว์ เครื่องใช้วัฒนธรรมหลงซานเพิ่งพบ จึงยังไม่ได้นำมาจัดให้ประชาชนชม

(น.143) มีศิลาจารึกสรรเสริญกษัตริย์อวี่ซึ่งเป็นกษัตริย์โบราณที่ต่อสู้อุทกภัยโดยการทำเขื่อน ตัวอักษรในจารึกมีลักษณะแปลกประหลาด จารึกหลักนี้เป็นของจำลอง ของจริงอยู่ที่เหิงซาน มณฑลหูหนาน นายอำเภอเอามาตั้งที่นี่

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 14

(น.14) ยุคที่ 5 สมัยสหมหาวิทยาลัยแห่งชาติตะวันตกเฉียงใต้ (National Southwest Association University) ค.ศ. 1937-1946 เป็นช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จีนถูกญี่ปุ่นรุกราน เมื่อเกิดสงครามต่อต้านญี่ปุ่น (เริ่ม 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937) เริ่มที่สะพานมาร์โคโปโล รวมมหาวิทยาลัยหนานไค (ที่เทียนสิน) มหาวิทยาลัยปักกิ่งและมหาวิทยาลัยชิงหัวอพยพไปที่นครฉางซา มณฑลหูหนาน ตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉพาะกาล ในที่สุดอพยพไปอยู่ที่นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน จึงได้ชื่อว่า สหมหาวิทยาลัยแห่งชาติตะวันตกเฉียงใต้

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 60

(น.60) งิ้วหมิ่นซีฮั่น เล่นทางตะวันตกของฝูเจี้ยน แถวๆ หลงเหยียน งิ้วแบบนี้มาจากมณฑลหูหนาน มีบทงิ้วและเสื้อผ้าแสดงไว้

เย็นสบายชายน้ำ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 140

(น.140) ไปดูสุสาน ไกด์เล่าว่ามีคนสงสัยว่าตามประวัติท่านชูหยวนเสียชีวิตในแม่น้ำมี่โหลเจียง มณฑลหูหนาน ทำไมศพมาอยู่ที่นี่ คำตอบคือที่นี่ไม่มีศพ ชาวบ้านในสมัยโบราณจัดพิธีเรียกวิญญาณมาอยู่ที่นี่ เขาเล่ากันว่า มีปลาเทพส่งศพกลับมาบ้านเกิด ชาวบ้านจัดพิธีรำลึกให้อย่างสูงสุด โดยปกติจะมีแต่จักรพรรดิที่มีพิธีแบบนี้ได้ ส่วนบนของสุสานจึงทำเป็นรูปปลา วิญญาณอยู่ในโลงศพไม้แดง (ไม้ทาสีแดง) ข้าพเจ้าดูสุสานวิญญาณของท่านชูหยวนแล้ว ต้องประกาศให้รู้ทั่วกันว่า ถ้าข้าพเจ้าตายห้ามเรียกวิญญาณโดยเด็ดขาด ข้าพเจ้าต้องการเป็นวิญญาณอิสระพเนจร ไม่ต้องการถูกขังในกรงเช่นนี้

เย็นสบายชายน้ำหน้า225

(น.225) ข้าพเจ้าสงสัยว่าการทำเขื่อนนี้จะป้องกันน้ำท่วมอู่ฮั่นได้อย่างไร เนื่องจากใต้เขื่อนยังมีแม่น้ำอีกหลายสาย มีระบบเขื่อนเล็กๆ ที่อื่นอีกหรือเปล่า ท่านนายกรัฐมนตรีบอกว่ายังมีโครงการเล็กๆ อีกหลายโครงการ เช่น แถวๆ อู่ฮั่นมีแม่น้ำชิงเจียง แม่น้ำฮั่นสุ่ย ที่มณฑลหูหนานอีก 4 แห่ง และยังมีอีกหลายเขื่อน เช่น ที่แม่น้ำหย่าหลงเจียงในมณฑลเสฉวน มีศักยภาพผลิตไฟฟ้าได้ 33,438.8 เม็กกะวัตต์

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 183

(น.183) โครงการอนุรักษ์ภูมิประเทศชื้นแฉะ (Wetland) อยู่ตอนกลางของลุ่มแม่น้ำฉังเจียงแถบมณฑลหูหนานและมณฑลหูเป่ย บริเวณนั้นเป็นถิ่นกำเนิดของสัตว์ต่างๆ หลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนก

ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 184

(น.184) ไปโรงแรมคิงเวิลด์ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานกงสุล พบกับคนไทยคือข้าราชการจากสถานทูตปักกิ่ง ข้าราชการและครอบครัวสถานกงสุลที่คุนหมิง คนไทยในเขตการดูแลของสถานกงสุล (ยูนนาน เสฉวน หูหนาน แต่หูหนานไม่มีคนไทย) มีพวกนักเรียน 7 คนที่เรียนอยู่ที่สถาบันชนชาติมณฑลยูนนาน เจ้าหน้าที่ของธนาคาร และบริษัทต่างๆ ที่มาลงทุนในยูนนานและเสฉวน

ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 221-224

(น.221) ดังนั้น คำว่า “จื้อจื้อโจว” ที่ภาษาอังกฤษใช้ว่า “Autonomous Prefecture” จึงน่าจะแปลเป็นภาษาไทยว่า “จังหวัดปกครองตนเอง” มีผู้แปลคำนี้ว่า “แคว้นปกครองตนเอง” ซึ่งดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกับความรับรู้ของคนไทยเท่าใดนัก เพราะคำว่าแคว้นในภาษาไทยสื่อความหมายถึงเขตการปกครองที่มีอิสระและปลอดจากอำนาจรัฐส่วนกลางในระดับสูง ขณะที่จื้อจื้อโจวของจีนมีอำนาจปกครองตนเองในระดับหนึ่งปัจจุบัน (ตามสถิติ พ.ศ. 2532) ประเทศจีนมีจื้อจื้อโจวอยู่ 30 จื้อจื้อโจวมณฑลที่มีมากที่สุดคือมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) มี 8 จื้อจื้อโจว รองลงมาคือมณฑลชิงไห่มี 6 จื้อจื้อโจว ภูมิภาคการปกครองตนเอง

(น.222) ชนชาติอุยกูร์ซินเจียง (ซินเกียง) มี 5 จื้อจื้อโจว มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) และมณฑลกุ้ยโจวมีมณฑลละ 3 จื้อจื้อโจว มณฑลกานซูมี 2 จื้อจื้อโจว มณฑลจี๋หลิน มณฑลหูเป่ย และมณฑลหูหนานมีมณฑลละ 1 จื้อจื้อโจว

(น.223) ประเทศจีนมีอำเภอ

(น.224) ปกครองตนเองทั้งหมด 110 อำเภอ มณฑลที่มีมากที่สุดคือมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) มี 28 อำเภอ ภูมิภาคปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี (กวางสี) มี 12 อำเภอ มณฑลกุ้ยโจวมี 11 อำเภอ มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) มี 8 อำเภอ มณฑลกานซู มณฑลชิงไห่ และมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) มีมณฑลละ 7 อำเภอ ภูมิภาคการปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเจียง (ซินเกียง) มี 6 อำเภอ มณฑลหูหนานมี 6 อำเภอ มณฑลเหลียวหนิงมี 5 อำเภอ มณฑลเห่อเป่ย มี 4 อำเภอ มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) มี 3 อำเภอ มณฑลจี๋หลินและมณฑลหูเป่ยมีมณฑลละ 2 อำเภอ มณฑลเจ้อเจียงและมณฑลเฮยหลงเจียงมีมณฑลละ 1 อำเภอ

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผาและป่าทราย หน้า 17

(น.17) งานโครงการเขื่อนซานเสียก็ต้องดูแล ตัวเขื่อนใหญ่จะอยู่ที่เมืองอี๋ชางในมณฑลหูเป่ย แต่ปิดเขื่อนแล้วส่วนที่เป็นอ่างเก็บน้ำจะอยู่ในฉงชิ่งเป็นส่วนใหญ่ (500 ตารางกิโลเมตร จาก 650 ตารางกิโลเมตร) ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติตามนโยบายเปิดสู่ตะวันตกของประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน ให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของแม่น้ำแยงซีตอนบน มีหน้าที่ดูแลการอพยพผู้คน คาดว่าเมื่อเขื่อนแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2009 จะต้องย้ายคนถึง 1,030,000 คน ขณะนี้น้ำยังไม่ขึ้น ได้ไปตระเตรียมสถานที่ย้ายคนเป็นอย่างดี แต่ยังไม่ได้ย้ายทั้งหมด นอกจากจะย้ายไปอยู่ตามเมืองต่างๆ ที่กะเอาไว้เดิมแล้ว ยังต้องกระจายไปตามมณฑลต่างๆ ด้วย เช่น ซานตง อานฮุย เจียงซู มหานครเซี่ยงไฮ้ (ซั่งไห่) เจ้อเจียง ฮกเกี้ยน (ฝูเจี้ยน) กวางตุ้ง (ก่วงตง) เจียงซี หูหนาน หูเป่ย เสฉวน (ซื่อชวน)

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 76

(น. 76)
11. ของที่พิพิธภัณฑ์ได้มาใหม่ เครื่องปั้นดินเผาจำลองและหม้อเผากำยานสมัยราชวงศ์ฮั่น เครื่องเคลือบสมัยราชวงศ์ถังและสมัยห้าราชวงศ์ (ค.ศ. 907 – ค.ศ. 960) จากหูหนาน มีชาวเกาหลีไปซื้อมาบริจาคให้

เจียงหนานแสนงาม หน้า 243-244

(น. 243) ผ้าปักด้วยไหมของเมืองซูโจวก็มีชื่อเสียงเช่นกัน เป็น 1 ใน 4 ของการปักไหมอันลือชื่อของจีน เรามีพิพิธภัณฑ์ผ้าปัก สถาบันวิจัย

(น. 244) และฝึกสอนการปักผ้า จะได้เห็นพรุ่งนี้ (อีก 3 แห่งคือ กวางโจวในมณฑลกวางตุ้ง ฉังซาในมณฑลหูหนาน และเฉิงตูในมณฑลเสฉวน)

เจียงหนานแสนงาม หน้า 262

(น. 262) ตอนบ่ายไปที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะไหมปักและสถาบันวิจัยการปักผ้าไหม การปักผ้าไหมเป็นงานศิลปะที่มีชื่อเสียงของจีน และมีมานานแล้ว ได้พบผ้าปักไหมในเจดีย์และในสุสานสมัยราชวงศ์ซ่ง การปักผ้าไหมส่วนใหญ่จะอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ที่มีชื่อเสียงมากมี 4 เมือง คือ ซูโจว มณฑลเจียงซู กวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ฉังซา มณฑลหูหนาน และเฉิงตู มณฑลเสฉวน จนเรียกขานกันว่า ซื่อต้าหมิงซิ่ว หรือ สี่ศิลปะปักอันเลื่องชื่อ เมื่อหลายปีก่อน สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันจัดนิทรรศการศิลปะปักผ้าไหมจากมณฑลหูหนาน ตั้งชื่อว่า วิจิตรบรรจงปัก ไหมเลิศลักษณ์จากหูหนาน ได้เชิญข้าพเจ้าไปเปิดงาน ครั้งนั้นได้เห็นงานงดงามจำนวนมาก ครั้งนี้ได้เห็นที่ซูโจว ซึ่งมีฝีมืองามยิ่งไม่แพ้กันเลย

เจียงหนานแสนงาม หน้า 322

(น. 322) ที่หมายต่อไปคือบ้านวีรสตรีชิวจิ่น (ค.ศ. 1875 – 1907) มีผู้ถามข้าพเจ้าว่ารู้จักวีรสตรีชิวจิ่นได้อย่างไร ข้าพเจ้าตอบว่ารู้จักจากการดูหนังจีนในโทรทัศน์ เป็นเรื่องที่เล่นต่อกันหลายตอน ดูบ้าง ไม่ดูบ้าง จึงไม่ค่อยรู้เรื่องและดูนานแล้วด้วย ชิวจิ่นเกิดในตระกูลขุนนาง มีโอกาสรับการศึกษาดี เธออยู่ที่เซ่าซิงจนอายุ 19 ปี จึงไปอยู่หูหนาน ตามบิดาซึ่งไปเป็นข้าราชการการคลังที่นั่น เมื่ออายุ 21 ปี บิดามารดาจัดให้แต่งงานกับบุตรคหบดีชาวหูหนาน

คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 120

(น.120) หลินเจ๋อสู (ค.ศ. 1785-1850) เป็นชาวฝูเจี้ยน เขาเป็นคนที่คนจีนถือว่าเป็นวีรบุรุษ ที่พยายามคุ้มครองคนจีนให้พ้นจากภัยฝิ่น คนจีนจึงเป็นชาติแรกที่พยายามหามาตรการเลิกยาเสพติด ใน ค.ศ. 1839 เขาดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหูเป่ยและหูหนาน ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจราชการมีภารกิจไปตรวจสอบเรื่องกรณีฝิ่นที่กวางตุ้ง