<< Back
มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
เย็นสบายชายน้ำ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 197
(น.197) ไปที่ห้องปฏิบัติการภาษา ที่นี่มีห้องปฏิบัติการภาษา 20 กว่าห้อง เข้าไปห้องหนึ่งเขาให้ข้าพเจ้าทดลองฟังเทปและตอบคำถาม อุปกรณ์เหล่านี้เปิดใช้เดือนธันวาคม ค.ศ. 1994 (บริษัทพานาโซนิคของญี่ปุ่นสร้างให้) จากนั้นเข้าไปอีกห้อง เขาให้ทดลองเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สอนให้ออกเสียงสูงต่ำ (เสียงวรรณยุกต์) อีกเครื่องหนึ่งบอกระดับเสียง บอกความถี่ความยาวคลื่นได้ทุกอย่าง มีภาพแสดงที่เกิดของเสียง มีภาพแสดงโพรงปาก plot กราฟได้ อาจารย์คนที่สาธิตการใช้เครื่องมือ จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง (น.197) รูป 181 ทดลองเรียนภาษาจีน
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 273
(น.273) รูป 248 นายกเทศมนตรีมหานครเซี่ยงไฮ้เลี้ยง (น.273) จากนั้นไปนั่งที่โต๊ะอาหาร มีอาหารอร่อยๆ หลายอย่าง เช่น ซุปอยู่ในซาลาเปา เป็ดปักกิ่ง แต่รสชาติไม่เหมือนเป็ดที่ปักกิ่ง มีลักษณะเฉพาะ ท่านนายกเทศมนตรีพูดภาษาอังกฤษเก่งมาก ท่านบอกว่าเมื่อตอนยังหนุ่มอายุ 20 กว่าๆ ได้ทุนไปเรียนที่ Imperial College ในกรุงลอนดอน หลังจากนั้นได้อาศัยดูโทรทัศน์ทบทวนภาษา ท่านเป็นคนเซี่ยงไฮ้ แต่ไปเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ภริยาท่านไม่ชอบปักกิ่ง เห็นจะเป็นเพราะปักกิ่งสมัยก่อนเป็นเมืองเรียบๆ ไม่มีอะไร ส่วนเซี่ยงไฮ้นั้นเจริญมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยฝรั่งยังอยู่ ระหว่างที่รับประทานอาหารอยู่นี้ก็มีคนดีดเปียโนเป็นเพลงฝรั่ง เมื่อรับประทานเสร็จแล้ว คุยกับครูหวางพักหนึ่งเรื่องขอให้ครูช่วยหาข้อมูลเรื่องต่างๆ แล้วทดลองลงไปที่ห้อง fitness ในโรงแรมนี้ ตู่บ่นว่าที่จริงวิ่งหรือออกกำลังกายโดยไม่ใช้เครื่องดีกว่าไม่ต้องเสียเงิน ข้าพเจ้าก็ว่าอย่างนั้น แต่ที่เขาทำไว้แบบนี้มันก็สะดวกสำหรับในสถานที่ที่ออกไปวิ่งข้างนอกไม่ได้
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 9,11,12,13,14,15,16,19,31
(น.9) วันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2545 เช้านี้ เอบอกว่าเมื่อคืนไม่ได้มารับข้าพเจ้า เขียนบทความยังไม่เสร็จ เขาเอาหนังสือที่ซื้อจากมหาวิทยาลัยหนานจิงมาให้ รับประทานอาหารเช้า หมอวิภูมาด้วย เช้านี้ไปมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ที่ห้องหลินหูเซวียน อาจารย์หมินเหวยฟางรองอธิการบดีมารับแทนอธิการบดีซึ่งไม่อยู่ นอกจากนั้นเป็นคณะอาจารย์ที่เคยต้อนรับก็มาด้วย คราวนี้เขาพาไปดูหอแสดงประวัติมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เริ่มสร้าง ค.ศ. 1998 เนื่องในโอกาสฉลอง 100 ปีการก่อตั้งมหาวิทยาลัย เพิ่งเปิดให้คนเข้าชมในวันที่ 4 เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2002 มีเนื้อที่ 3,100 ตารางเมตร อาคารนี้มี 3 ชั้น 2 ชั้นอยู่ใต้ดิน ชั้นหนึ่งอยู่บนดิน เหตุที่ต้องสร้างอย่างนี้เพราะว่าในเขตมหาวิทยาลัยปักกิ่งห้ามสร้างอาคารสูง จุดมุ่งหมายของการสร้างหอประวัติมหาวิทยาลัยคือเพื่อเก็บและแสดงหลักฐานเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเพื่อ การศึกษาวิจัย (น.9) รูป
(น.11) รูป (น.11) ประวัติของมหาวิทยาลัยปักกิ่งมีความผูกพันกับการพัฒนาของประเทศจีนยุคใหม่ ถือว่าเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมใหม่ เป็นสถานที่ก่อกำเนิดขบวนการ 4 พฤษภาคม เป็นจุดเริ่มต้นของลัทธิมาร์กซิสม์ เป็นแหล่งกำเนิดความคิดประชาธิปไตย เป็นสถาบันที่บุกเบิกความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นสถานศึกษาระดับสูงในจีน จึงดึงดูดนักวิชาการที่มีชื่อเสียง และผู้เชี่ยวชาญทุกยุคทุกสมัยให้มาถ่ายทอดวิทยาการแก่นักศึกษาสมองเลิศรุ่นแล้วรุ่นเล่า ดีเด่นในศาสตร์หลายสาขา นิทรรศการนี้แบ่งประวัติของมหาวิทยาลัยออกเป็น 9 ยุค (แต่ละยุคให้รายละเอียดไว้มากมาย แต่ดูไม่ทัน) จึงขอบรรยายเพียงคร่าวๆ
(น.12) ยุคที่ 1 เป็นมหาวิทยาลัยหลวงแห่งปักกิ่ง (ค.ศ. 1898-1912) ขณะนั้นเป็นช่วงปลายราชวงศ์ชิง ระหว่างที่มีการปฏิรูปบ้านเมือง ค.ศ. 1898 มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงที่รวมวิทยาการหลากหลายสาขา ถือเป็นหน่วยราชการ เทียบปัจจุบันใกล้เคียงกับกระทรวงศึกษาธิการ ผู้นำของมหาวิทยาลัยมีตำแหน่งเป็นเสนาบดี ปรัชญาการศึกษาของยุคนี้คือ นำนักศึกษาให้คิดให้ถูกแนว เที่ยงตรง ฝึกให้รู้รอบกว้างไกล ความรู้พื้นฐานต้องเป็นความรู้แบบจีน แต่ต้องเรียนวิทยาการตะวันตกเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ยุคที่ 2 คือ ช่วงต้นของสมัยสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912-1916) (น.12) รูป
(น.13) เปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยหลวงแห่งปักกิ่ง (Imperial University of Peking) เป็นมหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Peking University)
อธิการบดีชื่อ เหยียนฟู่ (ค.ศ. 1854-1921) พยายามใช้ระบบประชาธิปไตย ปรับปรุงการบริหารและการเรียนการสอน แต่ติดอยู่ที่ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินขณะนั้นคือหยวนซื่อไข่ (Yuan Shikai) ไม่สนับสนุน จึงไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ยุคที่ 3 มหาวิทยาลัยปักกิ่งช่วงระยะก่อน-หลังการเกิดขบวนการ 4 พฤษภาคม (May Fourth Movement – ค.ศ. 1919) ยุคนี้คือ ช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 1916-1927 เดือนธันวาคม ค.ศ. 1916 อธิการบดีชื่อ ไช่หยวนเผย์ (Cai Yuanpei) ปฏิรูปการศึกษาให้เป็นอิสระตามอุดมการณ์ประชาธิปไตย เพิ่มจำนวนนักศึกษาให้มากขึ้น เป็นสมัยที่ออกแบบตรามหาวิทยาลัยที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้ (รูปคน 3 คน) ออกแบบธงมหาวิทยาลัย เชิญคนที่มีความสามารถสูงมาเป็นอาจารย์ เช่น หลู่ซุ่น เฉินตู๋ซิ่ว หลี่ต้าเจา เป็นต้น ส่งเสริมความคิดแนวทางต่างๆ มีวารสารออกมาจำนวนมาก เน้นการแลกเปลี่ยนวิทยาการกับชาวต่างประเทศ จัดปาฐกถาบ่อยครั้ง ผู้บรรยายมีทั้งชาวจีนและชาวต่างประเทศ เช่น จอห์น ดิวอี้ (John Dewey ค.ศ. 1859-1952) นักการศึกษาคนสำคัญของสหรัฐอเมริกา มาอยู่ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งถึง 2 ปี ยุคที่ 4 มหาวิทยาลัยปักกิ่งในทศวรรษ 1930 (ค.ศ. 1927-1937) รัฐบาลพยายามรวมมหาวิทยาลัยปักกิ่งกับมหาวิทยาลัยอื่น แต่มหาวิทยาลัยปักกิ่งไม่ต้องการ อธิการบดีชื่อ เจี่ยงเมิ่งหลิน (ค.ศ. 1886-1964) เรียนจบมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ช่วงนั้นอาจารย์มหาวิทยาลัยปักกิ่งมาจากโคลัมเบียหลายท่าน อธิการบดีท่านนี้ตั้งหลักการว่า อาจารย์ต้องสอนและค้นคว้าวิจัย นักศึกษาต้องเล่าเรียน เจ้าหน้าที่ต้องทำงาน อธิการบดีต้องบริหาร นักศึกษาทั้งสายวิทยาศาสตร์และสายอักษรศาสตร์ควรมีความรู้พื้นฐานข้ามสาขา
(น.14) ยุคที่ 5 สมัยสหมหาวิทยาลัยแห่งชาติตะวันตกเฉียงใต้ (National Southwest Association University) ค.ศ. 1937-1946 เป็นช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จีนถูกญี่ปุ่นรุกราน เมื่อเกิดสงครามต่อต้านญี่ปุ่น (เริ่ม 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937) เริ่มที่สะพานมาร์โคโปโล รวมมหาวิทยาลัยหนานไค (ที่เทียนสิน) มหาวิทยาลัยปักกิ่งและมหาวิทยาลัยชิงหัวอพยพไปที่นครฉางซา มณฑลหูหนาน ตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉพาะกาล ในที่สุดอพยพไปอยู่ที่นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน จึงได้ชื่อว่า สหมหาวิทยาลัยแห่งชาติตะวันตกเฉียงใต้ ยุคนี้เป็นยุคที่น่าศึกษา เพราะเป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จมาก ถึงจะยากลำบากเพราะการย้ายสถานที่ ขาดแคลนอุปกรณ์ เขาแสดงรูปห้องสมุดสมัยนั้น เอาหนังสือใส่หีบตั้งซ้อนๆ กัน สมัยนั้นมีศาสตราจารย์ที่มีชื่อหลายท่าน เช่น ศาสตราจารย์เหวินยี่ตัว นอกจากสอนมหาวิทยาลัยแล้ว ต้องไปสอนโรงเรียนมัธยม และหารายได้เพิ่มเติมด้วยการแกะตรา มหาวิทยาลัยมีผลงานมากมาย เช่น สร้างบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์ 163 คน นักวิทยาศาสตร์ 2 คน คือ หลี่เจิ้งเต้า และหยังเจิ้นหนิง ได้รับรางวัลโนเบล ยุคที่ 6 มหาวิทยาลัยปักกิ่งกลับคืนสู่ปักกิ่ง (ค.ศ. 1946-1949) อธิการบดีชื่อ หูซื่อ ขยายสาขาวิชาจากที่มีอักษรศาสตร์ วิทยาศาสตร์และกฎหมาย เพิ่มสาขาวิชาแพทย์ และเกษตร ยุคที่ 7 สมัย 17 ปีแรกของสมัยสาธารณรัฐประชาชนจีน (ค.ศ. 1949-1966) ป้ายชื่อมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นลายมือประธานเหมา ใน ค.ศ. 1952 ปรับปรุงหลักสูตร เพิ่มภาควิชาต่างๆ เนินวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ ย้ายที่ตั้งมาอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน รวมกับมหาวิทยาลัยเยี่ยนจิง ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของอเมริกัน ทั้ง 2 มหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาการ รวมทั้งการผลิตอาวุธนิวเคลียร์
(น.15) ยุคที่ 8 ยุคปฏิวัติวัฒนธรรม (ค.ศ. 1966-1976) มหาวิทยาลัยถูกเหตุการณ์ทางการเมืองกระทบมาก แต่พยายามสร้างผลงานดีเด่นสืบเนื่องต่อมา เช่น มีหนังสือ 5,000,000 เล่ม เป็นหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในบรรดามหาวิทยาลัยของจีน สร้างศูนย์คอมพิวเตอร์ สถานีรับสัญญาณดาวเทียม ยุคที่ 9 ยุคปฏิรูปและเปิดประเทศ (ค.ศ. 1976-2001) มหาวิทยาลัยพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก มีนักศึกษาปริญญาตรี 12,657 คน พยายามเพิ่มจำนวนนักศึกษาปริญญาโทและเอก เพิ่มจำนวนนักศึกษาต่างชาติเป็น 1,374 คน มากที่สุดในจีน ติดต่อกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ สร้างหอสมุดใหญ่หลังใหม่ มีรายชื่อผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ตั้งแต่ ค.ศ. 1983 ถึงปัจจุบันมี 21 คน (ข้าพเจ้าเป็นคนที่ 21) ก่อน ค.ศ. 1983 มี 3 คน (น.15) รูป
(น.16) ในหอประวัติเก็บสิ่งของเก่าๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น ป้ายชื่อมหาวิทยาลัยป้ายแรก ระฆังที่นักศึกษารุ่น ค.ศ. 1906 บริจาคเงินสร้าง
โต๊ะทำงานของอาจารย์ไช่หยวนเผย์ ตู้หนังสือของอาจารย์หูซื่อ ดูแล้วดีเหมือนกัน เหมือนกับได้ใกล้ชิดนักวิชาการใหญ่ของจีน ข้อสังเกตที่ได้ดูนิทรรศการในหอประวัตินี้คือ ทุกยุคเน้นเรื่องประชาธิปไตย ไม่ได้ถามเขาว่าประชาธิปไตยแต่ละยุคมีความหมายเหมือนกันหรือไม่ คนสมัยนั้นๆ เขียนไว้เองว่าเน้นเรื่องประชาธิปไตย หรือเป็นการตีความของผู้จัดนิทรรศการในยุคปัจจุบัน มหาวิทยาลัยปักกิ่งแต่ละยุค มีปรัชญาการศึกษา เป็นเป้าหมายสำหรับการปฏิบัติดำเนินการต่างๆ จากนั้นไปที่สถาบันวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ อยู่ชั้น 8 มีอาจารย์ประมาณ 100 คน มีนักศึกษาเกือบ 1,000 คน ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก มีโครงการสร้างสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศ ขณะนี้มีศูนย์วิจัย CPU เป็นหน่วยงานแรกของจีนที่วิจัยเรื่องนี้ กำลังพัฒนา microprocessor ขนาด 16 MB+ เพื่อให้คุณภาพดี ราคาถูก นักศึกษาใช้ได้ ที่ภาควิชามีห้องทำงานของอาจารย์และนักศึกษาที่มาทำงาน มีระบบ internet ติดต่อสะดวก ส่วนงานวิจัยอยู่ใน intranet ทำงานร่วมกันภายในภาควิชา มีงานวิจัยทั้งด้าน hardware & software (น.16) รูป
(น.19) จากมหาวิทยาลัยปักกิ่งไปบ้านครูฟั่นชุนหมิง (ครูสอนภาษาจีนที่มาอยู่กับข้าพเจ้าเมื่อปีก่อน (พ.ศ. 2544) ช่วงที่มาเรียนภาษาจีนที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง) ครูกับสามีอยู่ชั้น 15 แต่ลูกชายซึ่งเป็นครูสอนประวัติศาสตร์ ทิ้งชั้นเรียนมาไม่ได้ จึงไม่ได้มาต้อนรับ ครูฟั่นมาประจำอยู่ที่สถานทูตจีนในประเทศไทย และสอนภาษาจีนข้าพเจ้า 3 ปีเท่านั้น แต่สนิทกับข้าพเจ้ามาก จึงทราบว่าข้าพเจ้าชอบรับประทานอะไร เตรียมเอาไว้ให้ นั่งคุยกัน 2 คน มีเวลาคุยกันครึ่งชั่วโมง แล้วไปที่หมายต่อไป (น.19) รูป
(น.31) ภาพตำหนักใหญ่ พระราชวังหยวนหมิงหยวนก่อนถูกพันธมิตรตะวันตก 8 ประเทศทำลาย เป็นวังที่งดงามมาก ลายพระหัตถ์พระนางซูสีไทเฮา
บัญชีส่งของพระราชทานที่พระนางซูสีได้รับตอนเข้าวัง (ขณะนั้นยังไม่เป็นใหญ่) เป็นของมีค่า เช่น รูปพระอรหันต์ทำด้วยทับทิม
แหวนทอง รูปถ่ายเด็กหญิงที่รอคัดเลือกไปรับราชการฝ่ายใน เป็นเด็กเล็กๆ อายุราว 5-6 ปีเท่านั้น บัญชีผู้สอบรับราชการได้ที่ 1 และที่ 2 เอกสารขอก่อตั้งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง หนังสือกราบบังคมทูลจักรพรรดิถงจื้อ ในหนังสือมีลายพระหัตถ์ด้วยหมึกสีแดง มีข้อความต่างๆ เช่น เห็นด้วย ให้ดูเอกสารอื่นคือ มีคำสั่งอยู่ที่อื่นแล้ว ทราบแล้ว เป็นต้น รายงานเรื่องพระราชวังหยวนหมิงหยวนถูกทำลาย จักรพรรดิเสียนเฟิงกริ้วมาก สั่งให้ปลดข้าราชการที่รับผิดชอบ (เขียนยาวและลายพระหัตถ์หวัดกว่าฉบับอื่น) ไปที่โรงงิ้ว ข้างในเขียนลายดอกวิสทีเรีย (สีม่วง) ตามเสาและเพดานเพื่อให้มีบรรยากาศเหมือนอยู่ในสวนซึ่งมีดอกไม้ชนิดเดียวกัน เสาด้านนอกทาสีเขียว สีแดงสงวนไว้เฉพาะสำหรับจักรพรรดิ ระหว่าง ค.ศ. 1920-1930 ถือว่าเป็นโรงงิ้วที่ดีที่สุดในกรุงปักกิ่ง ขณะนี้จัดการแสดงทุกวัน วันนี้มีกายกรรมตีลังกา โยนโอ่ง ผู้หญิงนอนหงายท้องเตะโต๊ะ ผู้หญิงอีกคนตีกลอง แล้วร้องเพลงละครทีวี เล่าประวัติกรุงปักกิ่งตอนญี่ปุ่นยึดครอง คนปักกิ่งสมัยนั้นบางคนขายชาติ บางคนรักชาติ การร้องเพลงตีกลองแบบนี้ เป็นศิลปะการแสดงของปักกิ่ง มีผู้หญิงเล่นกล อีกคนใช้เท้าหมุนร่ม 5 คัน หมุนผ้า 4 ผืน ผู้ชายขี่รถจักรยานล้อเดียวสูงๆ ใช้เท้ากระดกชามขึ้นไปบนศีรษะ ตัวตลกแสดงศิลปะเสฉวนคือ เปลี่ยนหน้ากากว่องไวจนดูไม่ทันว่าเปลี่ยนเมื่อไร
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 54
(น.54) ผู้นำ เช่น หลินเจ๋อสู เว่ยหยวน เป็นผู้ที่ศึกษาค้นคว้าความรู้แบบตะวันตก ผู้นำอีกท่านหนึ่งชื่อ จั่วจงถัง ผู้ว่าราชการมณฑลฝูเจี้ยนและมณฑลเจ้อเจียง ทศวรรษ 1860 เรียกได้ว่าเป็นสมัยที่ริเริ่มทำให้ประเทศเป็นแบบตะวันตก (Westernization) ตัวอย่างที่สำคัญคือ อู่ต่อเรือสมัยใหม่แห่งแรกในจีนคือหมาเหว่ย ภาพเรือผิงหย่วน ซึ่งต่อที่อู่ดังกล่าวนี้ และใช้ในราชการกองทัพเรือจีน ภาพนายทหารเรือที่เรียนจบโรงเรียนนายทหารเรือที่อู่ใกล้กับอู่ต่อเรือหมาเหว่ย แสดงหุ่นจำลอง (model) อู่ต่อเรือ การยุทธ์ที่ปากแม่น้ำหมิ่น ฝรั่งเศสรบกับจีน ค.ศ. 1884 ช่วงนั้นฝรั่งเศสรุกรานและพยายามยึดครองเวียดนาม จึงเลยมาถึงจีนด้วย กองทัพเรือของทั้ง 2 ฝ่ายปะทะกัน มีภาพแสดงระดับน้ำ ในขณะมีการรบ น้ำลงทำให้ฝรั่งเศสเข้ามาถึงที่ตั้งกองทัพเรือจีนได้ สงครามเกาะไต้หวัน ขณะนั้นขึ้นกับมณฑลฝูเจี้ยน จีนรบกับฝรั่งเศส ถึงแม้ว่าจีนจะเพลี่ยงพล้ำ แต่ว่าฝรั่งเศสก็สูญเสียกำลังทหารไปมาก ใน ค.ศ. 1895 จีนแพ้ญี่ปุ่นต้องทำสนธิสัญญาหม่ากวน ทำให้ยิ่งต้องเร่งปฏิรูปประเทศ ทำให้คนจีนมีความรู้เกี่ยวกับวิชาการตะวันตก มีคนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับขบวนการปฏิรูปที่เป็นคนมณฑลฝูเจี้ยน เช่น อาจารย์เหยียนฟู่ (ค.ศ. 1854-1921) ซึ่งต่อมาเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยปักกิ่งในช่วงยุคที่ 2 (ค.ศ. 1912-1916) เป็นคนฝูโจว เป็นนักแปล แปลหนังสืออังกฤษและฝรั่งเศสหลายเล่ม เช่น หนังสือของ Montesquieu หนังสือ The Wealth of Nations ของ Adam Smith กล่าวกันว่าแม้ในปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดแปลได้ดีเท่าสำนวนนี้ แปลตำราวิชาการวิทยาศาสตร์อีกหลายเล่ม
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 155
(น.155) ขึ้นไปชมทิวทัศน์บนชั้นบนของตึก เห็นว่ามหาวิทยาลัยนี้มีที่ตั้งดีมาก มีทิวทัศน์ทั้งทะเลและภูเขา (พวกปริญญาโทเอกเรียนบนเขา ที่จริงน่าจะให้พวกปริญญาโทเอกเรียนที่ราบๆ ปริญญาตรียังหนุ่มสาวเดินคล่องแคล่วไปเรียนบนเขา แต่เขาอาจจะให้คนแก่ออกกำลังกายก็ได้) มีหอพัก หอประชุมอยู่ใกล้ถนนรอบเกาะเซี่ยเหมิน มีสระน้ำแบบเดียวกับมหาวิทยาลัยปักกิ่ง กำลังสร้างอาคารต่างๆ เพิ่มเติม มีสนามกีฬา อาคารพิพิธภัณฑ์หลู่ซุ่น ซึ่งมีป้ายอาคารเป็นลายมือของกัวมั่วรั่ว มีรูปปั้นหลู่ซุ่นเป็นฝีมือของอาจารย์ศิลปะในมหาวิทยาลัยนี้เอง ท่านหลู่ซุ่นเคยอยู่ที่เซี่ยเหมินพักหนึ่ง (4 กันยายน ค.ศ. 1926 – 16 มกราคม ค.ศ. 1927) ขณะนั้นคนรักอยู่ที่กวางโจว คนรักชื่อ สี่กว่างผิง เขียนจดหมายถึงกันมีสาระที่น่าสนใจ (น.155) รูป
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 195
(น.195) ตั้งแต่มาเก๊าคืนสู่จีนแล้ว การท่องเที่ยวในมาเก๊ามากขึ้น นักท่องเที่ยวเหล่านี้ได้แวะมาจูไห่ด้วย การไปมาหาสู่ระหว่างมาเก๊ากับจูไห่สะดวกขึ้น คนจากมาเก๊ามาซื้อของที่จูไห่ เพราะข้าวของที่จูไห่ผลิตเอง ราคาจึงถูกกว่า มีการเลี้ยงสัตว์ทะเลมาก สินค้าอุปโภคบริโภคของจูไห่มีอยู่มาก แรงงานของจูไห่ถูกกว่าแรงงานที่มาเก๊า อาหารที่มาเก๊าบางอย่าง เช่น เนื้อ ปลา ผัก ส่งมาจากจูไห่ ดอกไม้จากจูไห่ส่งไปขายที่มาเก๊า น้ำจืดที่ใช้ในมาเก๊าส่วนหนึ่งก็มาจากจูไห่ด้วย ที่จูไห่พัฒนาอุตสาหกรรมประเภทไฮเทคและไอทีได้ดี เพราะมีฐานในการค้นคว้าวิจัยจึงปรับปรุงอุตสาหกรรมสาขานี้ ปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 16 แห่ง มหาวิทยาลัยอื่นในจีนมาเปิดวิทยาเขตที่จูไห่ เช่น มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ชิงหัว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปักกิ่ง ครุศาสตร์ ปักกิ่ง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาร์บิน มหาวิทยาลัยจงซาน เป็นต้น พัฒนาท่าเรือได้เป็นอย่างดี อยากเชิญคนไทยมาลงทุน และท่องเที่ยวพักผ่อน เข้าห้องน้ำแล้วขึ้นเครื่องบินเดินทางต่อไปไหโข่วในมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) มาถึงสนามบินเมืองไหโข่ว มณฑลไหหลำ มืดแล้ว มีคณะของคุณวันชัย จิราธิวัฒน์ และคุณทรงศักดิ์ เอาฬาร จากสมาคมไหหลำไทยมารับ นั่งรถมาที่โรงแรม Mandarin ผู้จัดการมาจากสิงคโปร์ รับประทานข้าวมันไก่ตอน
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 225
(น.225) เขาภูมิใจว่าฉงไห่มีประวัติยาวนาน เป็นบ้านเกิดของชาวจีนโพ้นทะเลมากมาย มีพื้นที่ 1,690 ตารางกิโลเมตร มีชาวจีนโพ้นทะเลตระกูลต่างๆ 554,000 คน ส่วนใหญ่ไปอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย มีแม่น้ำว่านฉวน เมืองชายทะเลโป๋อ๋าว ประชากร 10,000 คนเท่านั้น และมีศูนย์ประชุมซึ่งเร็วๆ นี้จัด Asia Forum ต่อไปจะสร้างหอประชุมนั่งได้ 3,000 คน และสร้างที่พักมากขึ้น ที่นี่มีตึกทำงานของทหารหญิงรุ่นปัจจุบัน อายุราว 20-30 ปี ร่วมฝึกทหารทุกปี หน้าที่ประจำวันคือ การพัฒนาชุมชน คนฉงไห่มีการศึกษาสูง เป็นที่แรกในไหหลำที่จัดการศึกษาฟรี 9 ปีสำเร็จ นักเรียนจากที่นี่ไปสอบเรียนต่อได้ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยชิงหัวกันมาก ดูแผนที่สถานที่ท่องเที่ยว มีซานย่า หนานซาน และโป๋อ๋าว แผนที่แสดงสถานที่ปฏิวัติในเกาะไหหลำ มีผู้ที่สละชีวิตเพื่อการปฏิวัติ สภาพแวดล้อมที่นี่ดีมาก ธรรมชาติสวยงาม ประวัติศาสตร์น่าสนใจศึกษา มีที่ประชุม มีการลงทุนจากชาวจีนโพ้นทะเลทั้งมาเก๊า ฮ่องกง และที่อื่นๆ GDP สูงถึง 4,200 ล้านหยวน รายได้ต่อคน 3,800 หยวนต่อปีในชนบท ส่วนในเมืองได้ประมาณ 6,000 หยวน
หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 190,191
(น.190) อาคารที่ 12 เรือนรับรองเตี้ยวอวี๋ไถ วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม 2543 สวัสดีจ๊ะประพจน์ เช้านี้ออกไปวิ่ง หงเยี่ยนมาพอดี ผู้ช่วยทูตทหาร 3 เหล่าทัพ นิด จี้ ป้าจัน อ้อย ใหญ่ วิทยา (คณะทีวี) ลงไปด้วย หลังอาหารเช้าไปมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ไปดูหอพักของอาจารย์ที่มาเยือนซึ่งห้องดีมาก ทั้งห้องนอน ห้องน้ำและห้องครัว อยู่ใกล้ศูนย์คอมพิวเตอร์ (น.190) รูป 148 มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
(น.191) รูป 149 สนทนากับศาสตราจารย์เฉินจังเหลียง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยปักกิ่ง
(น.191) ดูอาคารหอพักเสร็จแล้วไปที่ห้องรับรอง ศาตราจารย์เฉินจังเหลียงเป็นรองอธิการบดี ต้อนรับ ท่านเป็นอาจารย์ทางด้าน Protein Engineering, Plant Genetic Engineering จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เล่าประวัติมหาวิทยาลัยปักกิ่งว่ามีอายุถึง 102 ปีแล้ว เริ่มก่อตั้งใน ค.ศ. 1898 ในรัชสมัยของจักรพรรดิกวางซวี่ เดิมมีชื่อว่า จิงซือต้าเสวียถัง (โรงเรียนฝึกหัดครูแห่งนครหลวง) เดิมตั้งอยู่ที่ ซาทาน ซึ่งอยู่ระหว่างเทียนอันเหมินและจงหนานไห่ หลังจากปลดแอกย้ายมาที่ตั้งปัจจุบัน ที่นี่เดิมเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเยี่ยนจิง (เป็นชื่อเก่าชื่อหนึ่งของปักกิ่ง) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่สหรัฐอเมริกาจัดตั้งและดำเนินงาน เมื่อสองมหาวิทยาลัยมารวมกันแล้ว ก็เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยปักกิ่ง แถวนี้มีทิวทัศน์สวยงาม ทางเหนือติดกับอุทยานหยวนหมิงหยวน ทางตะวันตกติดพระราชวังฤดูร้อนอี้เหอหยวน มหาวิทยาลัยปักกิ่งมีทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศแห่งหนึ่ง
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 212,214
(น.212) รูป 159 กล่าวปาฐกถา
(น.212) 1. กระทรวงศึกษาธิการ 2. ฝ่ายการศึกษาของรัฐบาลมณฑลต่างๆ สาธารณรัฐประชาชนจีน 3. สถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมจีน 4. อาจารย์ระดับอุดมศึกษาที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมจีน และต้องเป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียง 5. ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงและเชี่ยวชาญในการสอนภาษาจีนแก่ชาวต่างประเทศ 6. หน่วยงานที่ดำเนินกิจกรรมด้านการแลกเปลี่ยนมิตรภาพและวัฒนธรรมระหว่างจีนกับต่างประเทศ 7. หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการต่างประเทศ ที่ประจำอยู่ต่างประเทศ เช่น สถานทูต สถานกงสุล จะมีการมอบรางวัลนี้ 3 ปีครั้งหนึ่ง กรรมการชุดที่พิจารณาให้รางวัลฉันมี 6 ท่าน 1. ศาสตราจารย์เหรินจี้อวี๋ ผู้ทรงคุณวุฒิวิชาปรัชญาและศาสนา ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติจีน 2. ศาสตราจารย์หลี่เสวียฉิน ผู้อำนวยการสถาบันประวัติศาสตร์ สภาสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน ผู้ทรงคุณวุฒิทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี 3. ศาสตราจารย์หูหมิงหยัง มหาวิทยาลัยเหรินหมิน
(น.214) รูป 161 รางวัลที่ได้รับ
(น.214) หลังจากนั้นฉันกล่าวขอบคุณที่ได้รับรางวัล และได้กล่าวด้วยว่าได้เรียนภาษาจีนและสนใจวัฒนธรรมจีน ได้เดินทางมาประเทศจีน 11 ครั้ง (นับไปงานรับมอบมาเก๊าด้วย) การเดินทางนี้เป็นวิธีการเรียนที่ดียิ่ง ฉันได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการเยือนจีน เพื่อให้คนไทยได้รู้จักจีนมากขึ้น หวังว่ามิตรภาพจีน-ไทยจะสถิตสถาพรต่อไป
ศาสตราจารย์จี้เสี้ยนหลินกล่าวแสดงความยินดีในฐานะที่ท่านเป็นนักวิจัยด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน และในฐานะที่ฉันเป็นมิตรเก่าของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และท่านได้สอนที่มหาวิทยาลัยนี้มา 50 ปีแล้ว การที่ฉันได้รับรางวัลถือเป็นเกียรติของมหาวิทยาลัย ไทยกับจีนมีประวัติศาสตร์ติดต่อกันมานาน แม้ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 เหตุการณ์ต่างๆ ในโลกเปลี่ยนแปลงไปแต่มิตรภาพไทยจีนจะยั่งยืน ท่านทูตเป็นผู้กล่าวคนสุดท้าย กล่าวถึงงานเขียนต่างๆ ของฉัน คุณอู๋จวินเป็นผู้แปลสุนทรพจน์อื่นๆ เว้นที่ท่านทูตพูด คุณขลุ่ย (ชัยรัตน์) เป็นคนแปล เท่านี้ก็จบงาน เขาให้ฉันไปนั่งรออยู่ในห้องเสฉวน ที่จริงแล้วเขาน่าจะให้ฉันได้สังสรรค์กับแขกที่มาในงานบ้าง เพราะคนที่นั่งอยู่นอกจากเป็นคณะที่มาจากกรุงเทพฯ และคณะสถานทูตแล้ว ฝ่ายจีนมีข้าราชการจากหลายหน่วยงาน อาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัย
"ไอรัก" คืออะไร?
"ไอรัก" คืออะไร? หน้า 43
(น.43) รูป 40 ห้องควบคุม
(น.43)ขากลับคุยกับมาดามเซี่ยไม่ต้องใช้ล่าม รถยางแตก กลางทางต้องหยุดเปลี่ยนครู่หนึ่ง กลับมาถึงเตี้ยวหยูวไถ ศาสตราจารย์โจวเฉียง จากมหาวิทยาลัยปักกิ่งมาอธิบายหนังสือวรรณคดีเรื่อง หรูหลินไว่ฉื่อ (Ru Lin Wai Shi) ซึ่งเป็นหนังสือประเภทล้อเลียนสังคมที่มีชื่อเสียงในศตวรรษที่ 18 ถึงมีเวลาน้อยท่านก็อธิบายได้ดีมาก เสียดายอยู่แต่ที่ภาษาจีนของข้าพเจ้ายังใช้ไม่ได้ ต้องให้คุณหลิวและคุณก่วนมู่ช่วยกันแปล
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 11
(น.11) ครูหลี่ที่สอนมวยจีนอายุ 78 แล้วยังแข็งแรง สายตาดี อ่านหนังสือพิมพ์ไม่ต้องใส่แว่น ท่านว่าอะไรๆ ก็เคยเป็นมาแล้วทั้งเป็นทหาร เป็นครู ครูมวยจีน ผู้ตัดสิน ฯลฯ รำไปเที่ยวเดียว เหงื่อออกมาก ข้าพเจ้ารู้สึกว่ารำจบเร็วเกินไปขออีกเที่ยวหนึ่ง 2 เที่ยวกำลังดี ครูบอกว่าคนที่เคยรำอยู่เป็นประจำควรรำ 2 เที่ยว แต่ถ้าเพิ่งเริ่มหัดเที่ยวเดียวก็พอ ข้าพเจ้ารำประจำตอนอยู่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง แต่ว่ากลับเมืองไทยก็เลิก ถามว่าทำไมไม่เปิดเพลง ครูหลี่บอกว่าที่ถูกต้องไม่ควรเปิดเพลง เพราะจะเป็นการกวนสมาธิ ครูให้บทประพันธ์เกี่ยวกับมวยไทเก็กมาด้วย (น.11) รูป 10 รำมวยจีนที่ลานหน้าศาลาประชาชนเมืองฉงชิ่ง
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 73
(น.73) โตเร็วขึ้นและแข็งแรง ผู้ว่าฯ อวดว่า ในโลกมีจามรีประมาณ 10 ล้านตัว มีในชิงไห่ประมาณ 5 ล้านตัว ไปรับประทานอาหาร ถามผู้ว่าฯ เรื่องการศึกษาของเด็กลูกคนเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน รองผู้ว่าฯ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลการศึกษาบอกว่า สร้างโรงเรียนประจำเอาเด็กมาอยู่โรงเรียนไม่ไกลจากบริเวณที่พ่อแม่ทำมาหากินมากนัก พ่อแม่มาเยี่ยมได้ ในมณฑลชิงไห่มีโรงเรียน 120 โรงเรียน อยู่ในโครงการความหวัง มีมูลนิธิจากไต้หวันมาบริจาคเงินช่วยในด้านการศึกษา ผู้ว่าฯ คนนี้เป็นคนซีอาน เรียนจบจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งในด้านปรัชญาแล้วมาทำงานที่ชิงไห่ อายุ 45 ปี อ่อนกว่าข้าพเจ้าปีหนึ่ง นับเป็นผู้ว่าราชการมณฑลที่มีอายุน้อยที่สุดในจีน
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 211,213,214,215
(น.211) ต่างประเทศ แต่เป็นฝ่ายพูดภาษาอังกฤษ (ครูจี้พูดภาษาฝรั่งเศส) และมีน้องสาวของท่านทูตเหลียงเฟิงอีกคนหนึ่ง ครูจี้หนานเซิงไม่ได้ทำกับข้าว เอาแต่ไปสั่งที่ร้านอาหารต่างๆ หลายร้าน มีทั้งอาหารเสฉวน อาหารเซี่ยงไฮ้ (ครูจี้หนานเซิงเป็นคนเซี่ยงไฮ้) มีขนมกวางตุ้งเพราะท่านทูตเหลียงเฟิงเป็นคนกวางตุ้ง มีผลไม้พีชกับองุ่น เมื่อรับประทานอาหารแล้วคุยกันพักหนึ่ง ข้าพเจ้ากลับไปที่มหาศาลาประชาชน เพื่อไปรับรางวัลวรรณกรรมเพื่อความเข้าใจและมิตรภาพระหว่างประเทศ (International Literary Prize for Understanding and Friendship) อุปนายกสมาคมนักเขียนที่ข้าพเจ้าเคยพบที่บ้านหวังเหมิ่ง พาไปนั่งในห้องมีใครต่อใครมากันหลายคน ทั้งนักเขียน เช่น หวังเหมิ่ง ฟังฟัง และผู้ที่เกี่ยวข้อง ประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิวรรณกรรมแห่งชาติจีนชื่อ ท่านว่านหลี่ อายุ 85 ปี ยังแข็งแรง ตีเทนนิสได้ แต่ว่าหูตึง ข้าพเจ้าจะคุยด้วยต้องให้หลานของท่านเป็นล่ามหรือเป็นเครื่องขยายเสียงให้ อาจารย์มหาวิทยาลัยปักกิ่งมากันหลายคน เมื่อมาพร้อมกันแล้ว เข้าไปในห้องทำพิธี มีคนประมาณ 200 กว่าคน
(น.213) รัฐมนตรีวัฒนธรรมนายซุนเจียเจิ้งกล่าวยกย่องว่า ข้าพเจ้าศึกษาภาษาจีน วัฒนธรรมจีน แต่งหนังสือเกี่ยวกับจีน ซึ่งไม่เฉพาะแต่คนไทย คนจีนก็ได้อ่านด้วย การศึกษาวิจัยวรรณคดีโบราณและสมัยใหม่ของจีนนั้นข้าพเจ้าทำไปอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ความวิริยะนี้น่าสรรเสริญยิ่ง และหวังว่าข้าพเจ้าจะสนใจต่อไป และช่วยผลักดันให้ความสัมพันธ์ไทย-จีนเจริญยิ่งๆ ขึ้นสืบไป หวังเหมิ่ง อุปนายกสมาคมนักเขียนเป็นตัวแทนของนักประพันธ์ กล่าวในฐานะสมาชิกของสมาคมและเพื่อนเก่าของข้าพเจ้า ชื่นชมข้าพเจ้าที่ทำงานด้านการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และไม่ได้สนใจแต่เฉพาะวรรณคดีโบราณ วรรณกรรมร่วมสมัยก็สนใจด้วย เคยแปลหนังสือเรื่อง ผีเสื้อ ที่เขาเขียน ข้าพเจ้าได้เขียนคำนำ หนังสือเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าเข้าใจประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของจีนอย่างดี ทั้งยังได้แปลงานของนักประพันธ์หญิงที่ชื่อฟังฟังอีกด้วย เมื่อ ค.ศ. 1987 เขาไปเชียงใหม่ ได้พบข้าพเจ้าที่พระตำหนักภูพิงคราชนเวศน์ ได้สนทนากันเรื่องวรรณคดี ค.ศ. 1994 เขาได้ไปร่วมในพิธีแนะนำหนังสือของข้าพเจ้าที่ปักกิ่ง (เป็นหนังสือที่คัดสรรงานเขียนของข้าพเจ้าบางเรื่องจาก มณีพลอยร้อยแสง ครูกู้หย่าจงแปลเป็นภาษาจีน ตอนนั้นข้าพเจ้าและหวังเหมิ่งได้คุยกัน ข้าพเจ้ากำลังเขียนเรื่อง เกล็ดหิมะในสายหมอก) เมื่อข้าพเจ้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งก็ได้ไปเยี่ยมบ้านของเขา แสดงว่าเป็นผู้มีไมตรีจิตต่อนักเขียน นักวิชาการจีน กับเขาและครอบครัว สุดท้ายถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(น.214) ครูหวังรั่วเจียงซึ่งสอนข้าพเจ้าที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง กล่าวถึงช่วงเวลาเดือนหนึ่งที่ข้าพเจ้าไปอยู่ที่มหาวิทยาลัยรู้สึกว่าข้าพเจ้าสนใจวรรณคดี วัฒนธรรมจีนตั้งแต่ยังอายุน้อย ศึกษาตั้งแต่เรื่องวรรณคดีโบราณจนถึงเรื่องสมัยใหม่ เช่น หนังสือกำลังภายในจีน นวนิยายร่วมสมัย ครูหวังเห็นว่าข้าพเจ้าขยันขันแข็งในการจดบันทึกคำอธิบาย จัดภาพประกอบ เวลาครูไปเมืองไทย ได้ไปศูนย์หนังสือจุฬา ได้เห็นหนังสือเหล่านี้จำหน่ายอยู่ ในด้านการแปลนอกจากข้าพเจ้าแปลหนังสือจีนแล้วยังได้ทำความรู้จักนักแปลท่านอื่น เช่น ศาสตราจารย์จี้เซี่ยนหลิน ผู้แปลหนังสือรามายณะเป็นภาษาจีน หนังสือของข้าพเจ้าได้ช่วยเพิ่มพูนความเข้าใจ เป็นสะพานเชื่อมมิตรภาพไทย-จีน จึงรู้สึกว่าเป็นการสมควรยิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับรางวัลนี้ ขอแสดงความยินดีด้วย ท่านทูตดอนพูดเกี่ยวกับการต้อนรับที่ดีที่ทิเบต มาดามเซริงเอาผ้ามาให้และกอดกัน หนังสือที่เขียนช่วยอธิบายความสัมพันธ์ที่ดี เมื่อเช้าท่านนายกฯ จูหรงจีก็ชมข้าพเจ้าว่าเป็นทูตในด้านการพัฒนาความสัมพันธ์ ปลูกฝังอนุชนให้เข้าใจความสัมพันธ์ไทย-จีน เมื่อรับรางวัลมีโล่และประกาศนียบัตรจากท่านว่านหลี่ ท่านปู้เฮ่อ และท่านซุนฝูหลิง แล้วกล่าวขอบคุณที่ได้รับรางวัล มีใจความว่า ข้าพเจ้าชอบวรรณคดี บทกวีสมัยราชวงศ์ถัง และราชวงศ์ซ่ง เช่น บทกวีของกวีหลี่ไป๋ ตู้ฝู่ ซูตงปัว หลี่ชิงเจ้า เป็นต้น กวีเหล่านี้ฝากผลงานไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา ข้าพเจ้าเลือกบทกวี 34 บท จากที่ได้เรียนมา
(น.215) รูป 165 กล่าวขอบคุณ
(น.215) แปลเป็นภาษาไทยเพื่อให้คนไทยได้อ่าน มีมหาวิทยาลัย 2 แห่ง ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาจีน ข้าพเจ้าแปลเรื่อง “ผีเสื้อ” ของหวังเหมิ่ง และเรื่อง “เมฆเหินน้ำไหล” ของฟังฟัง คนไทยชอบอ่านหนังสือทั้งสองเล่มนี้ และได้พิมพ์ออกจำหน่ายแล้วเล่มละ 8 ครั้ง คนไทยชอบอ่านเรื่องท่องเที่ยวประเทศจีนเช่นเดียวกัน
ครั้งนี้ข้าพเจ้าไปหนิงเซี่ย ชิงไห่ และทิเบต คนไทยคงจะสนใจภาคตะวันตกของจีน ตัวข้าพเจ้าเองสนใจศึกษาวรรณคดีจีนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมปีนี้ ข้าพเจ้าได้โอกาสที่ใฝ่ฝันมานานแล้วคือ ได้ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นเวลาเดือนหนึ่ง ถึงแม้ว่าเวลาจะสั้น แต่ก็ช่วยให้ระดับความรู้ภาษาจีนของข้าพเจ้าดีขึ้นมาก มหาวิทยาลัยปักกิ่งยังให้ปริญญากิตติมศักดิ์แก่ข้าพเจ้า ถือเป็นเกียรติยิ่ง เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วกระทรวงศึกษาธิการของจีนได้ให้รางวัลมิตรภาพภาษาและวัฒนธรรมจีน รางวัลและเกียรติยศเหล่านี้ช่วยกระตุ้นให้ข้าพเจ้าศึกษาเรื่องจีนมากขึ้น ขอขอบคุณรัฐบาลจีนที่ช่วยสนับสนุนการศึกษาของข้าพเจ้า ขอบคุณอาจารย์ที่ช่วยสอนภาษาจีน และนักวิชาการที่ช่วยข้าพเจ้าในด้านอื่นๆ หลังจากนี้ข้าพเจ้าจะต้องศึกษาภาษาจีนอย่างขยันขันแข็งมากขึ้น และยังจะต้องมาเมืองจีนอีก ยังมีอีก 6 มณฑลที่ยังไม่เคยไป และเตรียมจะไปอีก
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 221
(น.221) วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2544 เช้านี้ครูมาจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง 2 คนคือ ครูหวังรั่วเจียงกับครูจังอิง มารับประทานอาหารเช้าด้วย แล้วไปเฉิงเต๋อ ด้วยกัน นั่งรถทัวร์ใหญ่ไปถึงเขตเฉิงเต๋อหยุดพักที่โรงแรมจิ้นซานเพื่อพักผ่อนเข้าห้องน้ำ มีไกด์ของเฉิงเต๋อมาขึ้นรถอธิบาย รถขึ้นไปบริเวณกำแพงเมืองจีน ส่วนที่เรียกว่าจินซานหลิ่ง ประมาณ 150 กิโลเมตรจากปักกิ่ง อยู่ในเขตภูเขาของอำเภอหลวนผิง มณฑลเหอเป่ย เป็นที่มั่นทางการทหาร โครงสร้างของสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่สร้างใน ค.ศ. 1570 สมัยราชวงศ์หมิง กำแพงเมืองจีนช่วงนี้ยาว 20 กิโลเมตร อยู่เหนือระดับน้ำทะเลราว 800 เมตร ทำด้วยอิฐ มีหอคอยสำหรับดูม้าศึกเป็นระยะๆ หอคอยแต่ละแห่งมีขนาด รูปร่าง และแบบต่างๆ กัน ช่องกำแพงที่นี่มีลักษณะต่างจากที่ปาต๋าหลิ่ง คือจะยาวกว่า ช่องเหล่านี้แต่ละช่องไม่เหมือนกัน มีลวดลายด้วย ตรงกำแพงมีช่องให้น้ำไหล จะโยนหรือเทก้อนหินใส่ข้าศึกตามช่องนี้ก็ได้ มีป้อมยามสำหรับส่งสัญญาณ กลางวันส่งเป็นควัน กลางคืนเป็นกองไฟ เชื้อเพลิงที่ใช้ในการจุดไฟสัญญาณที่ดีที่สุดคือขี้หมาป่า เพราะจุดแล้วควันขึ้นตรง ไม่ทราบเหตุผลว่าทำไมถึงได้เป็นอย่างนั้น
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 246,247,251
(น.246) รูป 185 ทักทายกับคณะครูมหาวิทยาลัยปักกิ่งที่เคยสอนข้าพเจ้า
(น.246) วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2544 ตั้งแต่ 8 โมงเช้า ไปมหาวิทยาลัยปักกิ่ง รองอธิการบดีหมินเว่ยฟง และคณะครูที่เคยสอนข้าพเจ้ามาครบทุกคน เว้นครูจังสอนพู่กันจีนไปสอนที่อื่น ตอนนี้มหาวิทยาลัยปักกิ่งยังไม่เปิด อีกอาทิตย์หนึ่งจึงจะเปิด
(น.247) รองอธิการบดีบอกว่าได้ไปร่วมสัมมนาระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้พบอธิการบดีจุฬาฯ คิดว่าจะร่วมมือกันทางวิชาการ ปลายเดือนมีนาคมปีหน้าจะไปสิงคโปร์ ตอนบ่ายนี้จะให้ข้าพเจ้าไปดูงานที่คณะจิตวิทยา อดีตอธิการบดีไช่หยวนเผยจบวิชาจิตวิทยามาจากเยอรมนี ฉลอง 100 ปีของคณะไปแล้ว ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม Chinese Academy of Sciences เลิกวิชาจิตวิทยา บอกว่าไม่มีสาระ แต่ขณะนี้สภาพเปลี่ยนไปคนหันมาสนใจ มหาวิทยาลัยมีห้อง lab จิตวิทยาด้วย ขณะนี้มหาวิทยาลัยปักกิ่งมีโครงการบัณฑิตอาสาคือ บัณฑิตที่จบใหม่ๆ ยังไม่เริ่มเรียนปริญญาโท ส่งไปชนบทเพราะว่าเด็กรุ่นใหม่ไม่รู้จักความลำบากเหมือนคนสมัยก่อน ปีที่แล้วส่งไปชิงไห่ (น.247) รูป 186 รองอธิการบดีหมินเว่ยฟงแห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่งมอบหนังสือให้ข้าพเจ้า
(น.251) ที่ทิเบตมีเขื่อนกระแสไฟฟ้า กั้นน้ำในทะเลสาบซึ่งสูงกว่าแม่น้ำทำไฟฟ้า กลางคืนใช้ไฟฟ้ามาก ปล่อยน้ำลงมาใช้ กลางวันสูบน้ำขึ้นไปเทบนทะเลสาบ เมื่อรับประทานเสร็จแล้วกลับเรือนรับรองเตี้ยวอวี๋ไถ เก็บข้าวของ ช่วงบ่ายกลับไปมหาวิทยาลัยปักกิ่งอีก พบคณะอาจารย์ที่สอนภาษาจีนข้าพเจ้า และอาจารย์ภาษาไทย อาจารย์ที่ทำงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมา 20 กว่าปีแล้ว ชื่อ ศาสตราจารย์ฟั่น ท่านว่าท่านมีเชื้อสายไทย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 258
(น.258) ยังได้แปลนวนิยายเรื่อง ผีเสื้อ ของหวังเหมิ่ง และนวนิยายของฟังฟังเรื่อง เมฆเหินน้ำไหล ด้วย ปรากฏว่าเป็นที่นิยมชื่นชอบของนักอ่านชาวไทย ขณะนี้หนังสือทั้ง 3 เล่มดังกล่าวได้จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 8 แล้ว การแปลนวนิยายภาษาจีนแต่ละเรื่องก็ดี การประพันธ์หนังสือสารคดีท่องเที่ยวจีนแต่ละเล่มก็ดี ล้วนแล้วแต่ได้ก่อให้เกิดลูกคลื่นเกี่ยวกับเรื่องจีนๆ
ในประเทศไทยระลอกแล้วระลอกเล่า ครั้งนี้เมื่อข้าพเจ้าได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนหนิงเซี่ย ชิงไห่ และทิเบต ทั้งสามมณฑล ก็ได้ก่อให้เกิดความนิยมภาคพื้นตะวันตกของจีนในประเทศไทยอีกระลอกหนึ่ง ข้าพเจ้านั้นเมื่อได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาจีนลึกซึ้งมากขึ้นเพียงใด ความสนใจชื่นชอบในการศึกษาวิจัยวัฒนธรรมจีนก็เพิ่มพูนมากขึ้นเพียงนั้น ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมปีนี้ ความใฝ่ฝันที่ฝังอยู่ในใจข้าพเจ้าหลายปีได้เป็นจริงขึ้นมา นั่นก็คือข้าพเจ้าได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นเวลา 1 เดือน ถึงแม้ว่าระยะเวลาจะสั้น แต่สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ความรู้ภาษาจีนได้เพิ่มพูนมากขึ้นอย่างชัดเจน ส่วนทางมหาวิทยาลัยปักกิ่งก็ได้มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้แก่ข้าพเจ้า อันเป็นเกียรติสูงยิ่ง เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศจีนก็ได้มอบรางวัลมิตรภาพภาษาและวัฒนธรรมจีนให้เช่นกัน รางวัลต่างๆ และเกียรติภูมิเหล่านี้นอกจากจะให้การยกย่องแล้วยังเป็นกำลังใจแก่ข้าพเจ้าด้วย ขอขอบคุณรัฐบาลจีนที่ให้ความสนับสนุนอย่างแข็งขันแก่ข้าพเจ้าเป็นเวลายาวนานในการศึกษาภาษาจีน และขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่ถ่ายทอดความรู้ภาษาจีนให้แก่ข้าพเจ้า ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการทั้งหลายที่ได้อำนวยความสะดวกในหลายสิ่งหลายอย่าง นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะขยันขันแข็งศึกษาภาษาจีนสืบต่อไป และยังจะมาเยี่ยมเยือนประเทศจีนอีก ตราบถึงปัจจุบันยังมีอีก 6 มณฑลที่ข้าพเจ้าไม่เคยไป ตั้งใจว่าจะต้องไป รวมทั้งมุ่งหวังว่า จากผลของการเยี่ยมเยือนและ
คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 58
(น.58) วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน 2540 เช้านี้ลงไปที่ห้องอาหารพบกับอาจารย์อำพล พรรณเชษฐ์เลยชวนอาจารย์รับประทานอาหารเช้าด้วย อาจารย์มาที่มหาวิทยาลัยจงซานเพื่อมาปาฐกถาเกี่ยวกับจีนโพ้นทะเล อาจารย์เคยบรรยายหัวข้อนี้ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งมาแล้ว จากนี้อาจารย์จะไปฮ่องกงเพื่อสังเกตการณ์การคืนสู่เหย้า เวลา 08.30 น. เดินทางไปพิพิธภัณฑ์สุสานกษัตริย์หนานเยว่ริมแม่น้ำจูเจียง มีคนมารำมวยจีน คนที่ขับรถให้เราก็เป็นคนเดียวกับที่ขับให้ที่ซัวเถา แต้จิ๋ว เขาขับรถมาจากซัวเถา 5 ชั่วโมง มาถึงเมื่อคืนนี้ คนที่มานั่งด้วยเป็นรองนายกเทศมนตรีหญิงหวังโช่วชู รองฯ หวังเคยพบกับข้าพเจ้าหลายครั้งแล้ว ทั้งที่เมืองไทย ซึ่งเขาไปในนามสภาสตรีและสโมสรไลอ้อน (เขาแปลของเขาว่า สโมสรสิงโต) และที่กวางโจวเมื่อข้าพเจ้าเดินทางกลับจากการเดินทางตามเส้นทางสายแพรไหมเมื่อ 7 ปีมาแล้ว เขาบอกว่าเมื่อไปส่งข้าพเจ้าที่พิพิธภัณฑ์แล้วก็ต้องขอตัวตามข้าพเจ้าไปตลอดไม่ได้ เพราะจะต้องเป็นประธานเปิดรถไฟใต้ดิน คิดโครงการก็นานแล้ว สร้างก็อีกนาน เพิ่งใช้ได้เพียงส่วนเดียว ยังต้องสร้างต่อไป พิพิธภัณฑ์นี้สร้างครอบสุสานจริงๆ เอาไว้ สร้างด้วยปูนทาสีอิฐ ขุดพบสุสานนี้เมื่อ ค.ศ. 1983 เมื่อจะสร้างอาคารที่อยู่อาศัย นักโบราณคดีมาศึกษาดู พบข้าวของจำนวนมาก สันนิษฐานว่าเป็นที่ฝังพระศพพระเจ้าแผ่นดินแคว้นหนานเยว่
Next >>